พม่าคือแนวรบแถวหน้าของอเมริกาในการเผชิญหน้ากับจีน

3202

การเลือกตั้งในพม่าซึ่งเป็นประเทศที่ถูกรู้จักและมีชื่อเสียงในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวมุสลิม อันเป็นชัยชนะที่หอมหวานสำหรับอเมริกา ผู้นำฝ่ายค้านของพม่าได้รับอิสรภาพจากการถูกจำกัดบริเวณด้วยการช่วยเหลือของ ฮิลลารี คลินตันและจะเป็นผู้ที่อำนาจในประเทศพม่าในเร็วๆ นี้

การเลือกตั้งในพม่า กลายเป็นประเด็นหลักในการพาดหัวข่าวของสื่อทั่วโลก  ประเทศที่มีพรมแดนติด จีน ไทย บังคลาเทศ   ซึ่งเป็นที่โด่งดังเมื่อปี 2012  ที่ได้สังหารและเข่นฆ่าชาวมุสลิมในประเทศ

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เป็นวันที่มีการเลือกตั้ง ว่า “แบบอิสระ” นับตั้งแต่ประเทศพม่าได้รับเอกราช   เป็นการเลือกตั้งที่ไม่อนุญาตให้มุสลิมในฐานะที่เป็นชนกลุ่มน้อยเข้าสมัครเลือกตั้งและไม่มีสิทธิลงคะแนนเสียง  แม้ว่าการนับคะแนนยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง  แต่อย่างไรก็ตามฝ่ายค้านของพม่า “สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย” ภายใต้การนำ “อองซานซูจี” จะได้ชัยชนะอย่างแน่นอน

IMG16582141เกิดอะไรขึ้นในพม่า ?

นับจากที่พม่าได้รับอิสรภาพ จากสหราชอาณาจักรในปี 1948  ซึ่งในเวลานั้นว่าเป็นที่รู้จักในนาม  “พม่าสหราชอาณาจักร”   ซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ยังตกอยู่ภายใต้การปกครองของทหาร โดยมี นายพล “เต็งเส่ง” เป็นประธานาธิบดี ตั้งแต่ปี 2011  เป็นต้นมา โดยมีความพยายามอย่างมากที่จะปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง ซึ่งหนึ่งในมาตรการดังกล่าวใช้นโยบายกำหนดข้อจำกัดต่างๆ นานาต่อมุสลิมในประเทศนี้

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พม่าถือเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับจีน และไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับตะวันตก  โครงการพัฒนาในประเทศจำนวนมากที่ได้ดำเนินการโดยผู้รับเหมาชาวจีน  อีกทั้งระดับของความสัมพันธ์ระหว่างย่างกุ้ง – ปักกิ่งมีความสัมพันธ์ที่ดีแบบผิดปรกติ   หลังจากที่การเลือกตั้งปี 2010  ประธานเต็งเส่ง เริ่มลดความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่าย  และอีกด้านหนึ่งประธานาธิบดีคนใหม่ได้ขยายตัวในการสานสัมพันธ์กับตะวันตกมากยิ่งขึ้น

IMG17080946

เอกราชของพม่าจากสหราชอาณาจักรนั้น เกิดขึ้นหลังจากที่มีการลงนามในข้อตกลงระหว่างออง ซาน กับกรุงลอนดอน  ซึ่งลูกสาวของนายพล อองซาน วัยเจ็ดสิบปี  ได้เป็นผู้นำฝ่ายค้านของพม่าในวันนี้    ผู้หญิงคนหนึ่งที่มีชีวิตอยู่ภายใต้การถูกจำกัดบริเวณ ตั้งแต่ปี  1989-2010 แต่ในวันนี้หลังจากหลุดพ้นจากการถูกจำกัดบริเวณ  กลายเป็นผู้ชนะในการเลือกตั้ง !!!

ฮิลลารี คลินตัน – ธันวาคม 2011 – พม่า

IMG16582235“ฮิลลารี คลินตัน” เป็นชื่อของบุคคลหนึ่งที่กำลังรณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันนี้  ซึ่งถือเป็นรัฐมนตรีต่างของประเทศสหรัฐอเมริกาคนแรกที่ถูกบันทึกไว้ที่ได้เดินทางเยือนประเทศพม่า  หลังจากภารกิจในการเยือนอียิปต์ และได้พบกับ เต็งเส่ง  ในระหว่างการเยือนครั้งนั้น ได้มีการพบปะประชุมกับนางอองซาน ซึ่งการพบปะสามฝ่ายกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงได้มีขึ้นในบ้านของซูจี  โดยในครั้งนั้นผู้นำฝ่ายค้านพม่าประกาศในที่ประชุมว่า จะลงสมัครเลือกตั้งรัฐสภาครั้งนี้อย่างแน่นอน   ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น มันเป็นชัยชนะที่หอมหวานสำหรับอเมริกา  ตามการรายงานของสมาชิกพรรคของนางอองซานซูจี  สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ในการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศ สามารถกวาดที่นั่งได้เกือบทั้งหมดและสามารถแซงพรรค  ปึกแผ่นและการพัฒนา (USDP) อันเป็นโอกาสสำหรับนางที่จะนั่งเก้าอี้ผู้นำของพม่าคนต่อไป

ทำไมชัยชนะครั้งนี้จึงหอมหวาน?

พม่าหลังจากทศวรรษที่  90 หลังจากการยึดอำนาจโดยทหาร (สภา) ถูกสหรัฐอเมริกาคว่ำบาตรอเมริกาเรื่อยมา   เป็นการคว่ำบาตรของทางกระทรวงการคลังที่เรียกว่า BURMA SANCTIONS PROGRAM ซึ่งผู้นำของประเทศนี้อยู่ภายใต้มาตรการถูกคว่ำบาตรที่รุนแรงที่สุด   การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจครั้งนี้ทำให้พม่าต้องเผชิญกับปัญหาโครงสร้างขั้นพื้นฐานอย่างมากมาย   ไม่กี่วันก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไป  “เบนโรดส์” รองผู้อำนวยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติของอเมริกาได้เดินทางเยือนพม่า  หลังจากที่กลับไปยังกรุงวอชิงตัน แล้ว  กล่าวว่า การยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร นั้น ต้องมีการเลือกตั้งที่โปร่งใสในประเทศ

IMG16582183
หากพิจารณากรณีที่ตำรวจพม่ามีบทบาทในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการคาดเดาว่า ชัยชนะจะเป็นของฝ่ายค้าน   ซึ่งก่อนหน้านี้ ในระหว่างการเลือกตั้งปี 1990 ซูจีได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง แต่ผู้นำทางทหารไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งในครั้งนั้น   ทำให้ทหารยังคงเป็นรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง  ชัยชนะเมื่อ 25 ปีก่อนนั้น แสดงให้เห็นว่าประชาชนชาวพม่ามีแนวโน้มที่จะโน้มเอียงและสนับสนุนฝ่ายค้าน  และในวันนี้ ภายใต้การกดดันของอเมริกาจึงทำให้เวทีให้กับฝ่ายค้านมากยิ่งขึ้น  เพื่อจะเป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านเข้ามาเป็นรัฐบาล

ชัยชนะอันหอมหวานของอเมริกาเนื่องจากการเข้ามามีบทบาทของฝ่ายค้าน และมีความโน้มเอียงที่จะสร้างสัมพันธ์กับตะวันตกมากขึ้น และสามารถเข้าใกล้ชิดกับพรมแดนของจีน แม้ว่าเต็งเส่งมีความพยายามที่จะเปิดพื้นที่ทางการเมืองและลดความสัมพันธ์ให้กับประเทศจีนน้อยลง   แต่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ยังไม่สามารถดึงดูดความพึงพอใจของอเมริกามากสักเท่าใดนัก  โดยขั้นตอนแรกสำหรับสหรัฐอเมริกา คือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในพม่าที่นุ่มนวล   และขั้นตอนต่อไปอาจจะเป็นการตั้งฐานทหารในประเทศพม่าเพื่อที่จะควบคุมการเคลื่อนไหวของจีน  อันเป็นการกระทำที่จะทำให้สมการในภูมิภาค Far East   มีความตึงเครียดมากขึ้น     พม่าอาจจะเป็นฐานทัพใหม่สำหรับสหรัฐอเมริกาและเป็นการประทับในทฤษฎีของตนเองว่าอเมริกาต้องการที่จะเข้าไปมีบทบาทและอิทธิพลตะวันออกไกล (Far East) ซึ่งนั่นหมายถึง เอเชียทั้งหมด…..


อ้างอิง
http://nasimonline.ir/detail/News/1037314/169
http://mersadnews.ir/node/248348