10 ปี แห่งการปิดล้อมกาซา กับผลกระทบที่น่าสะเทือนใจอย่างมาก

1654

tasnimnews  /  islamtimes   –  สถาบันกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเจนีวา ได้นำเสนอรายงานที่น่าตกใจและสะเทือนใจอย่างมาก เกี่ยวกับผลกระทบที่ร้ายแรงของการปิดล้อมฉนวนกาซาโดยอิสราเอลนับจาก 10   ปี ที่ผ่านมา  

รายงานจากแหล่งข่าวอัลญะดีด   ว่า ศูนย์สิทธิมนุษยชนยุโรปและเอเชียกลางนำเสนอรายงานเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ประเด็นผลกระทบอันน่าตกใจและสะเทือนใจจากการที่อิสราเอลได้ปิดล้อมฉนวนกาซานับตั้งแต่ปี 2006

ตามรายงานระบุว่า นับจากเดือน มกราคม ปี 2006 หลังการเลือกตั้งรัฐสภาปาเลสไตน์ขบวนการอิสลามฮามาสได้รับชัยชนะ อิสราเอลได้ทำการลงโทษชาวกาซาเป็นครั้งประวัติการณ์ซึ่งการปิดล้อมครั้งนี้ทำให้เกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรมในฉนวนกาซามีความรุนแรงมากขึ้น

สถาบันสิทธิมนุษยชนยุโรปและเอเชียกลางเป็นองค์กรยุโรปซึ่งตั้งอยู่ในเจนีวา รายงานว่า ผลจากการปิดล้อมของอิสราเอลอย่างต่อเนื่องต่อฉนวนกาซาช่วง 10 ปีที่ผ่านมา  ทำให้ร้อยละ 40 ของผู้อยู่อาศัยในฉนวนกาซา ซึ่งมีประมาณสองล้านคนต้นอยู่ในสภาพความยากจน  ร้อยละ 80 ของพวกเขาได้รับความช่วยเหลือ และร้อยละ 73 ของครอบครัวต้องเผชิญกับความรุนแรง

139411052103115676971224นอกจากนั้น ร้อยละ 50 ของเด็กชาวปาเลสไตน์อยู่ในความต้องการของการสนับสนุนทางด้านจิตใจ และร้อยละ 55 ของชาวกาซาตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า

จากการปิดล้อมของอิสราเอลในฉนวนกาซาได้ทำให้ 922,000 คนต้องพลัดถิ่นและต้องการความช่วยเหลือด้านสุขภาพ ที่อยู่อาศัย การศึกษาและการสนับสนุนในปัจจัยเบื้องต้นที่จำเป็น

วิกฤตน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างรุนแรงในฉนวนกาซาและกระแสไฟฟ้าขัดข้องอย่างต่อเนื่อง

วิกฤตการณ์น้ำมันเชื้อเพลิงในฉนวนกาซาที่นำไปสู่กระแสไฟฟ้าขัดข้องอยางต่อเนื่อง ทำให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของประชาชน และเป็นอุปสรรคในการให้บริการขั้นพื้นฐานกับพวกเขา เพราะจะมีการตัดไฟในฉนวนกาซาประมาณ 12 – 16 ชั่วโมงต่อวัน

ผู้อยู่อาศัยในฉนวนกาซายังต้องเผชิญกับความเสี่ยงของการขาดแคลนน้ำ เนื่องจากการตัดกระแสไฟฟ้า ทำให้ร้อยละ 40 ของผู้อยู่อาศัยในฉนวนกาซาเข้าถึงน้ำสามวันครั้งและเป็นชั่วระยะเวลาแค่ 4-8 ชั่วโมงเท่านั้น  นอกจากนั้นร้อยละ 90 ถึงร้อยละ 95 ของผู้อยู่อาศัยในฉนวนกาซาไม่มีน้ำดื่มที่สะอาด ขณะที่มีการนำเอาน้ำที่ไม่สะอาดจำนวน 90,000 ลูกบาศก์เมตรจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

139411052102082306971214

สภาพของโรงพยาบาลในฉนวนกาซา

ในรายงานยังระบุอีกว่า โรงพยาบาลในฉนวนกาซามีการให้บริการโดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกร้อยละ 40   เท่านั้น สำหรับการผ่าตัดใหญ่บางโรคในโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในฉนวนกาซาคือโรงพยาบาล “ชิฟาอ์” จะให้คิวผ่าตัดแก่ผู้ป่วยประมาณ 18 เดือนถัดไป  เนื่องจากขาดสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาลและการแพทย์ทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากขาดการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องและต้องทนทุกข์ทรมาน

ผลมาจากการปิดล้อมฉนวนกาซาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้สภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเกิดภาวะวิกฤติอย่างหนัก   GDP ในฉนวนกาซาลดลงเหลือร้อยละ 50  ในฉนวนกาซาลดลง  ในขณะที่การส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับก่อนที่จะถูกปิดล้อม   และฉนวนกาซายังต้องเจอกับการขาดแคลนหมู่บ้านพักอาศัยจำนวน 100,000 หน่วย
อัตราการว่างงานในฉนวนกาซา

อัตราการว่างงานในฉนวนกาซาร้อยละ  43  ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดของการว่างงานในโลก  ร้อยละ 63  เป็นผู้หญิง และร้อยละ 37 เป็นผู้ชาย และร้อยละ 62 เป็นคนหนุ่มสาวที่ว่างงานในฉนวนกาซา

ความปลอดภัยด้านอาหารในฉนวนกาซา

ตามรายงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนยุโรปและเอเชียกลาง ระบุ  จาก 10 ครัวเรือนในฉนวนกาซาจะมี 6 ครัวเรือนที่ต้องทนทุกข์ทรมานในความไปปลอดภัยด้านอาหาร และร้อยละ 27 ของประชาชนในฉนวนกาซากำลังเผชิญกับภาวะขาดอาหารและความไม่ปลอดภัยของอาหารอย่างรุนแรง

139411052059427596971204

เขตแดนในฉนวนกาซา

อิสราเอลยังมีการจำกัดการไปมาผ่านเขตแดนต่างๆและการขนส่งของชาวกาซา   อิสราเอลใช้อำนาจและมาตรการการควบคุมเขตแดนด้วยการกำหนดนโยบายปิดเขตแดนต่างๆ ของฉนวนกาซาซึ่งอิสราเอลได้ใช้วิธีการนี้อย่างต่อเนื่องนับจาก 10 ปีที่แล้ว และก็ยังคงดำเนินการมาตรการเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง  จำนวนผู้อยู่อาศัยในฉนวนกาซาที่พวกเขาได้รับอนุญาตให้ผ่าน ด่านเขตแดน บัยตุ คอตูน ลดลงร้อยละ 75 ตั้งแต่ปี 2005  เช่นเดียวกรณีเฉพาะเจาะจง เช่นผู้ป่วยและแรงงานจะได้รับอนุญาตให้ข้ามพรมแดน

พรมแดนราฟาอ์ เป็นประตูเดียวที่เปิดให้ชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซามีการติดต่อกับโลกภายนอก  ในปี 2015  เปิดพรมแดนแค่ 20 วันเท่านั้น ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของฉนวนกาซาจะใช้พรมแดนนี้เท่านั้นในการข้ามไปมา
นอกจากนั้นพรมแดน การัมอบูซาลิม เป็นพรมแดนเชิงพาณิชย์เท่านั้นในฉนวนกาซาซึ่งมีการใช้งานในขณะนี้ ในขณะก่อนปิดล้อม มีพรมแดนเชิงพาณิชย์จำนวนสี่แห่ง

ความเสี่ยงต่อการเกิดโศกนาฏกรรมด้านมนุษยธรรมในฉนวนกาซา

สถาบันสิทธิมนุษยชนยุโรปและเอเชียกลางได้เตือนถึงการล่มสลายอย่างแท้จริงของภาคส่วนต่างๆในกาซา หากในสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมที่เกิดขึ้นในฉนวนกาซายังคงดำเนินการเป็นแบบนี้อย่างต่อเนื่อง และเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ของอิสราเอลออกมารับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อฉนวนกาซาภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ

ต้องดำเนินคดีต่ออิสราเอล

นอกจากนี้สถาบันดังกล่าวยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการดำเนินคดีและลงโทษผู้เกี่ยวข้องโดยตรงในการปิดล้อมฉนวนกาซาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับถือว่าเป็นการก่ออาชญากรรมสงครามต่อชาวกาซา

UN: ฉนวนกาซาไม่อาจที่จะอาศัยได้ในอีก 5 ปีข้างหน้า

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) กล่าวในรายงานประจำปีว่าถ้าสถานการณ์ปัจจุบันในฉนวนกาซายังคงดำเนินการเป็นเชนนี้อีกก็จะไม่อาศัยที่จะเป็นที่อยู่อาศัยได้อีก

ตามรายงานเผย่า นับจากการปิดล้อมและการดำเนินการทางทหารของอิสราเอลในฉนวนกาซาในปีที่ผ่านมา ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจและสังคมจำนวนมากในภูมิภาคสู่ระดับต่ำสุดในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่าน กล่าวคือ นับจากจุดเริ่มต้นของอิสราเอลที่ได้ยึดครองดินแดนปาเลสไตน์

“UNCTAD” ยังเตือนว่า ผู้ที่อยู่อาศัยอยู่ในฉนวนกาซากำลังเผชิญหน้ากับการขาดอาหาร น้ำดื่มไฟฟ้าและที่อยู่อาศัยอย่างหนัก

ตามรายงานระบุว่า ผลกระทบทางสังคม สุขภาพและความปลอดภัยของความหนาแน่นของประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นในฉนวนกาซาเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้ฉนวนกาซาไม่อาจที่จะอยู่อาศัยได้ในปี 2020

อัตราการว่างงานและปัญหาที่เกิดจากการปิดล้อมและสงคราม

ตามสถิติที่ได้รับนับจากการปิดล้อมมากกว่า 272,000 คนตกงาน   แรงงาน 150,000 กว่าคน และ 100,000 ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยโดยไม่มีงานทำ  ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา  20,000 หน่วยที่อยู่อาศัยถูกทำลาย และเนื่องจากระบอบการปกครองไซออนิสต์มีการสกัดกั้นไม่ให้นำเอาวัสดุก่อสร้างมาจากพื้นที่อื่น ทำให้ปะชาชน จำนวน 100,000 คนไร้ที่พักพิงอาศัย

สถานะด้านการบริการสุขภาพเสื่อมโทรมอย่างรุนแรง โดยที่ศูนย์การดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้อกับเวชภัณฑ์ 141 แห่งถูกทำลาย  และทำให้การผลิตภัณฑ์ยาขั้นพื้นฐาน 205 ชนิดต้องหยุดชะงักลง

หนึ่งในปัญหาที่ยากลำบากที่สุดของฉนวนกาซาคือปัญหาของกระแสไฟฟ้า  โดยสามารถทำลายล้างการพัฒนาและการใช้ชีวิตของมนุษย์ได้อย่างสูง โดยมีไฟฟ้าใช้เฉลี่ย 4 ชั่วโมงต่อวันซึ่งสิ่งนี้ส่งผลให้เกิดการสูญเสียของการผลิตอาหารและการปิดโรงงานผลิตจำนวนมาก

คำสัญญาของสันนิบาตอาหรับและตุรกีหลังสงคราม

ชาติอาหรับได้มีการจัดประชุมวิสามัญเพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือและฟื้นฟูของฉนวนกาซา หลังจากสงคราม 22 วัน  8 วันและ 51 วัน   ในการประชุมเหล่านี้พวกเขาสัญญาว่าทุกประเทศที่เข้าร่วมในครั้งนี้จะให้การช่วยเหลือและฟื้นฟูของฉนวนกาซา  แต่ทว่าในความเป็นจริงแล้วชาติดังกล่าวไม่ได้ให้การช่วยเหลือฟื้นฟูกาซา แม้  1   ดอลลาร์  จะมีเพียงสองประเทศกาตาร์และซาอุดีอาระเบียเท่านั้นที่ให้การช่วยเหลือในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ

ซาอุดีอาระเบียให้ทุนช่วยเหลือแก่กลุ่มติดอาวุธกลุ่มหนึ่ง ซึ่งชาวกาซาไม่มีส่วนใดๆเลยที่จะได้รับการช่วยเหลือ  ส่วนกาตาร์มีการเข้าไปสังเกตการณ์โดยมีเป้าหมายในการช่วยเหลืออย่างเต็มรูปแบบผ่านการประสานงานกับอิสราเอล ซึ่งสิ่งนี้ก็ไม่สามารถที่จะบรรเทาความทุกข์ทรมานของฉนวนกาซาได้   และยิวไซออนิสต์ก็ไม่อนุมัติให้มีการจ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าวไปยังภาคโครงสร้างพื้นฐาน

ส่วนตุรกีเป็นชาติที่อ้างตนในการปลดปล่อยให้ฉนวนกาซาหลุดพ้นจากการถูกปิดล้อมก็ได้ส่ง เรือบรรเทาทุกข์ “เสรีภาพ” ที่ 1 และ 2 ไปยังฉนวนกาซาภายใต้ชื่อประเทศตุรกีตามที่ได้อ้างไว้ ……  แต่หลังจากที่ตุรกีมีความสัมพันธ์ร้าวกับรัสเซียจึงหันมาสร้างสัมพันธ์กับอิสราเอลแทน และไซออนิสต์ก็ไม่ยอมรับเงื่อนไขของตุรกีที่จะทำการยกเลิกการปิดล้อมกาซา ทำให้ตุรกีเสียหน้าที่ไม่อาจทำให้ยุติการปิดล้อมกาซาตามที่แอบอ้าง

ในวันนี้ความยากจนในฉนวนกาซามากถึงร้อยละ 40  แล้ว  ทำให้ต้องมีการตระหนักมากขึ้นในการให้ความช่วยเหลือแก่ชาวปาเลสไตน์ให้มากไปกว่านี้…