ทำไมสหรัฐเรียกร้องให้ระงับการเจรจากับอิหร่านเกี่ยวกับจรวดขีปนาวุธ?

1052



ใน การอภิปรายครั้งล่าสุดของสหรัฐกับอิหร่านได้มีการอภิปรายเกี่ยวกับการพัฒนา พลังงานนิวเคลียร์และจรวดขีปนาวุธ ซึ่งอิหร่านเองก็ต้องเผชิญหน้ากับปฏิกิริยาที่รุนแรงเช่นกัน

ล่าสุดหน่วยงานความมั่นคงของสหรัฐได้อ้างว่า ปี 2015 อิหร่านจะสามารถพัฒนาจนผลิตจรวดขีปนาวุธที่สามารถยิงข้ามทวีปขึ้นมาได้ ไมเคิล ฟลินน์ หัวหน้าหน่วยงานความมั่นคงของสหรัฐ ได้อ้างอิงเรื่องนี้ในการประชุมระหว่าง วุฒิสภาและคณะกรรมการเกี่ยวกับอาวุธ

การคาดการณ์ล่วงหน้าของเขามาจากข้อมูล ที่เขาได้รับ จากการพูดคุยของเหล่าเสนาธิการทหารอเมริกา เกี่ยวกับการพัฒนาจรวดขีปนาวุธที่สามารถยิงข้ามทวีปได้ของอิหร่าน ว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้

ตอนนี้จึงเกิดคำถามขึ้นว่า แม้จะมีความคืบหน้าในการเจรจาปัญหานิวเคลียร์ระหว่างประเทศอิหร่านและ P5 +1  สหรัฐกลับให้ระงับการเจรจาแล้ววางหัวข้อใหม่ขึ้นมา ในขณะที่พวกเขาเชื่อว่าจะต้องเจอกับการคัดค้านของอิหร่าน ซึ่งในเรื่องนี้มีสองทัศนะในการวิเคราะห์ดังนี้

ทัศนะที่1 : คือมุมมองของสหรัฐและอิสราเอลที่มีต่อพลังงานนิวเคลียร์และกองกำลังทหารของ อิหร่าน   มี3ประเด็นด้วยกันและทั้งสามประเด็นนี้มีการให้ความสำคัญในการส่งเสริมและ พัฒนาอย่างจริงจัง ซึ่งสหรัฐคิดว่าตนและพันธมิตรไม่ควรอนุญาตให้ใน 3 ประเด็นนี้ได้รับการพัฒนา โดยหวังว่ากรณีการยับยั้งอิหร่านนี้จะขยายเป็นวงกว้าง เพื่ออิหร่านจะไม่เป็นภัยคุกคามต่อไปในอนาคต 3 ประเด็นที่ว่า คือ

1.การพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ : อิหร่านสามารถจะพัฒนายูเรเนียมและยกระดับตนเองให้เป็นผู้ผลิตพลังงาน นิวเคลียร์ได้ โดยปัจจุบันอิหร่านมีศักยภาพยกระดับได้ถึง ร้อยละ 20 ประมาณ 19,000 หน่วยนับของการเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียม จากแนวทางในการพัฒนาดังกล่าวนั้น เมื่อมีการยกระดับขึ้นแล้วมันไม่อาจหวนคืนกลับไปยังจุดเริ่มต้นได้อีก  ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้นั้น มีทางออกอยู่ทางเดียว คือ การโน้มน้าวให้อิหร่านลดปริมาณการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมลง ให้เป็นไปตามข้อตกลงที่มีขึ้นในเจนีวา ที่จะต้องไม่ยกระดับการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมเกิน ร้อยละ 5

2.การผลิตจรวดพิสัยไกลที่สามารถยิงข้ามทวีป: ซึ่งจากทรรศนะผู้เชี่ยวชาญทางด้านทหารและนักยุทธศาสตร์ของสหรัฐ ประเมินว่าอิหร่าน ในปัจจุบันสามารถพัฒนาจรวดขีปนาวุธที่ยิงไกลได้ถึง 5 พันกิโลเมตรพร้อมติดหัวรบนิวเคลียร์ น้ำหนักประมาณ1ตันได้แล้ว  ขีปนาวุธดังกล่าวเป็นที่รู้จักในชื่อว่า ซิจญีล ซึ่งเคยผ่านการทดสอบมาแล้ว ถึงแม้ระยะห่างของอิหร่านกับด้านตะวันออกของสหรัฐนั้นจะมีระยะประมาณ 10,000 กิโลเมตร อาจยังไม่สามารถยิงตรงไปยังสหรัฐได้ในวันนี้ แต่ถ้าหากปล่อยให้อิหร่านพัฒนาเช่นนี้เรื่อยๆ อิหร่านก็อาจจะผลิตสุดยอดแห่งขีปนาวุธในโลกได้เช่นกัน

3.ความก้าวหน้าทางอากาศและทางทะเล : เจ้าหน้าที่อิหร่านระบุถึงการดักจับเครื่องบินไร้คนขับของสหรัฐได้เมื่อ เร็วๆนี้ เป็นการสื่อให้เห็นว่าเทคโนโลยีทางด้านการบินและทางเรือของอิหร่านนั้น มีความก้าวหน้าล้ำสมัยขึ้นเช่นเดียวกัน มันเป็นสื่อบ่งบอกถึงศักยภาพทางด้านนี้ของอิหร่าน และจากศักยภาพเหล่านี้อิหร่านสามารถจะใช้มันบรรทุกขีปนาวุธที่มีหัวรบ นิวเคลียร์เพื่อเตรียมพร้อมไม่ว่าจะเป็นการใช้ไปในด้านใดหรือมีเป้าหมายอะไร ก็ตาม

จากทัศนะของเหล่านักยุทธศาสตร์ของสหรัฐ มองว่าไม่ว่าประเทศใดก็ตามสามารถบรรลุถึงศักยภาพต่างๆ ใน 3 ด้านข้างต้นได้อย่างไม่ยาก ด้วยเหตุผลหลัก คือ พลังงานนิวเคลียร์ ในมุมมองของวอชิงตันนั้นถือเป็นภัยคุกคามต่อระเบียบโลก ด้วยเหตุนี้พวกเขาถือว่าไม่ควรปล่อยอิหร่านไว้แบบนี้ เพราะจะเป็นเหตุให้อิหร่านสามารถผลิตขีปนาวุธและพัฒนาจนสามารถใช้ยิงในระยะ ทางไกล 10,000 กิโลเมตรได้สำเร็จ และอีกจุดหนึ่งจากทัศนะนี้ คือ ไม่สามารถแยกออกจากกันได้คือพลังงานนิวเคลียร์และขีปนาวุธ ซึ่งควรจะได้รับการตรวจสอบเช่นกันในการถกเถียงกับอิหร่าน

ทัศนะที่ 2 : บนพื้นฐานของทัศนะนี้  การเปิดโต๊ะเจรจากับอิหร่านไม่ควรจำกัดขอบเขตให้อยู่แต่ในข้อพิพาทเรื่องการ พัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ และเรื่องที่สำคัญที่จำเป็นและสามารถนำมาเป็นเป้าหมายของการพูดคุยกับ อิหร่านคือ กองทัพ ของประเทศนี้ใน 25 ปีให้หลัง จากผ่านสงครามอันยาวนานระหว่างอิรัก-อิหร่าน ในทัศนะนี้ จะเน้นย้ำอ้างอิงถึงปัญหาขีปนาวุธอิหร่านถือเป็นวาระที่ควรจะถูกอภิปรายถก เถียงกันในอนาคต  ซึ่งอิหร่านและตะวันตกเอง ได้มีการวางแผนจัด “กระบวนการพูดคุย” กันไว้แล้ว

วิพากษ์ทัศนะที่ 1 สามารถกล่าวได้ว่าเป็นทัศนะที่ไร้สาระและห่างไกลจากความเป็นจริง เป็นมุมมองที่ออกมาจากกลุ่มผู้มีอคติกับประเทศอิหร่านในสหรัฐและอิสราเอล คือกลุ่มบุคคลที่ต้องการจะกล่าวหาว่าอิหร่านพยายามที่จะผลิตระเบิด นิวเคลียร์ กลุ่มคนเหล่านี้ถือว่า การเจรจา พูดคุยกับอิหร่านนั้นไม่มีประโยชน์ใดๆ มันเป็นเพียงแค่การซื้อเวลาของอิหร่านเพื่อต้องการจะไปถึงเป้าหมายของตนที่ วางไว้

ในขณะเดียวกันกระบวนการพัฒนาพลังงานของอิหร่านก็ถูกควบคุมดูแลโดยสำนักงาน พลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) เป็นการแสดงให้เห็นว่าอิหร่านไม่ได้มีโครงการดังกล่าวข้างต้น และบางประเด็นเช่นเรื่องมลพิษของการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมก็ยังมีการระบุไว้ อย่างชัดเจน และเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ IAEA ก็ได้ยืนยันแล้วเช่นเดียวกัน และ ผู้นำสูงสุดของประเทศอิหร่าน ได้กล่าวเน้นย้ำอยู่เสมอว่า อิหร่านไม่ได้มีความจำเป็นต่อระเบิดนิวเคลียร์เลย และความพยายามในการพัฒนาเพื่อผลิตอาวุธที่ร้ายแรงในทรรศนะของอิสลามเอง ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตให้กระทำได้

วิพากษ์ ทัศนะที่ 2 นี้ก็เป็นไปในอีกมุมมองหนึ่ง อิหร่านเองไม่ได้มีจุดมุ่งหมายในการปกปิดการทำงานของตนไม่ว่าจะเป็นความ ก้าวหน้าทั้งทางด้านกองกำลังและอาวุธเลย เพราะอิหร่านถือว่าความก้าวหน้าของตนคือสิทธิของตนเองที่สามารถพึงกระทำได้ สหรัฐและประเทศอื่นๆไม่มีสิทธิจะมาเรียกร้องอะไร และประชาคมโลกไม่เคยลืม ในสงครามอันเจ็บปวดที่อิรักบุกอิหร่าน โดยผ่านการสนับสนุนของประเทศอย่าง อเมริกา และสมุน คือ ฝรั่งเศส เยอรมัน ซาอุดิอารเบีย คูเวต อังกฤษ ทั้งทางตรงและทางอ้อม  อิหร่านป้องกันประเทศของตนโดยลำพัง และเพื่อความปลอดภัยจากการโจมตี มีการใช้สถานที่หลบภัยหลักคือบริเวณพื้นที่อุตสาหกรรมกลาโหมแห่งชาติ เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับประเทศที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาประสบแต่ภัยคุกคามใน ทุกๆด้าน เมื่อสงครามสงบจะต้องมีการพัฒนาสุดความสามารถในการติดตั้งอาวุธที่ใช้ในการ ป้องกันตน เพื่อปกป้องบูรณภาพแห่งดินแดนของตนเอง  กระทั่งสามารถยืนหยัดและเตรียมความพร้อมที่จะยับยั้งภัยคุกคามต่างๆได้ และอย่างน้อยความสามารถเหล่านี้คือสิ่งที่ประชาชนชาวอิหร่านเองก็รอคอยมา ตลอด ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่อิหร่านจะปิดบังการทำงานของตน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันอยู่นอกเหนือข้อพิพาท!!

ด้วยเหตุนี้สามารถกล่าวได้ว่า ประเด็นที่เกี่ยวกับขีปนาวุธที่ร้ายแรงของอิหร่าน มีแหล่งที่มาจากฝั่งสหรัฐเสียมากกว่า ที่มักมองว่าตนเองฉลาดรอบรู้ และประกอบกับมีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ ทั้งที่เป็น เป้าหมายระยะสั้น และ ระยะยาว

เป้าหมายระยะสั้น คือ การตอบสนองความต้องการของเหล่าอเมริกันชนและไซออนิสต์สุดโต่ง พวกเขาไม่เห็นด้วยกับการเจรจาที่กำลังดำเนินการอยู่ระหว่างอิหร่านและ P5 +1

เป้าหมายระยะยาว คือ การเตรียมความพร้อมในการเจรจากับอิหร่านในอนาคต ซึ่งคาดคะเนได้ว่าอาจจะเกิดขึ้นหลังจากข้อตกลงเรื่องนิวเคลียร์

ซึ่งทั้งสองทางยังถือว่าเป็นเรื่องที่ห่างไกล แต่อิหร่านก็พร้อมเสมอในการพิสูจน์ความชอบธรรมของตนต่อโลกตะวันตกโดยเฉพาะ สหรัฐ ในการเจรจา ซึ่งตามที่ได้ยินมาในการเจรจาปัญหานิวเคลียร์อิหร่านเองก็ได้ขีดเส้นแดงไว้ เช่นกัน คือ สถานที่ในการเจรจาจะต้องไม่ใช่กับอเมริกา  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องลดปริมาณการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม หรือ ประเด็นอื่นๆ

คงต้องรอดูในเดือนหน้า สหรัฐจะใช้ประเด็นอะไรอีกในการอ้างพิพาทถึงอิหร่าน ในเวทีอภิปรายที่จะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้