อิทธิพลจากการเผยแพร่แนวคิดไอซิสในสังคมโซเซียล เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ “กลุ่มก่อการร้ายไอซิส” มีอิทธิพล และอำนาจ แผ่ขยายไปทั่วโลก หลักฐาน และข่าวกระแสรายวัน และการแสดงอุดมการณ์สนับสนุนพวกเขา ที่ปรากฎ ตามสังคมออนไลน์คือพยานในเรื่องนี้
ไอซิสใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อน และแผ่ขยายแนวคิดของตน พวกเขารู้จักวิธีในการผลักดัน แรงโกรธ และเกลียดชังของมนุย์ และใช้สิ่งเหล่านั้น เป็นสื่อที่ใช้กระซิบ และชักชวนผู้คนให้เข้ามาร่วมกับตน ซึ่งปัจจุบัน เครือข่ายไอซิสได้ปรากฎเป็นกลุ่มก้อน ทั้งใน ทวิตเตอร์ เฟสบุ๊ก หรือ แม้แต่กลุ่มไลน์ และแน่นอน สังคมโซเซียลของประเทศไทย ก็มีการเผยแพร่แนวคิดไอซิส ทั้งมาในรูปของเพจ หรือ เฟสบุ๊กปลอม
การวิเคราะห์ และสืบสวนการเผยแพร่แนวคิดตักฟีรี (วินิจฉัยผู้อื่นว่าตกศาสนา) ในอินเตอร์เน็ต ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวด เพราะการสร้างกระแสเหล่านี้ ย่อมมีผลกระทบตามมาในภายหลัง และผลกระทบแรก จะเกิดขึ้นกับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ทั้งที่เป็นมุสลิม และไม่ใช่มุสลิม
การใช้อินเตอร์เน็ตเป็นอาวุธต้องการสองสิ่ง คือ “ความเชี่ยวชาญจำเพาะ” กับ “เงิน” แน่นอนว่า สำหรับทหารชั้นล่างของไอซิส พวกเขาไม่มีทั้งความเชี่ยวชาญทางอินเตอร์เน็ต และไม่มีทั้งเงิน และไม่มีแหล่งเงินทุนโดยตรง เพราะถ้าหากพวกเขา “มีความรู้” และทรัพย์สินที่ใช้เลี้ยงชีพ คนเหล่านี้ก็คงไม่เข้าร่วมกับไอซิส และเหตุผลหนึ่งที่ดึงวัยรุ่นให้กลายเป็นทหารของกลุ่มตักฟีรีย์ ก็คือ “ความยากจน”
แต่ไอซิสมีทั้งแหล่งเงินทุน และ แผนทางการเมือง เป็นพื้นฐาน ซึ่งถูกวางไว้หลายปีจากผู้นำชาติอาหรับในอ่าวเปอร์เซีย และแผนการเมืองที่ถูกกำหนดไว้ก็ให้ผลประโยชน์กับพวกเขาอย่างที่คาดไว้ ดังนั้นจะรู้ว่าใครสร้างไอซิสก็ให้ดูว่าใครได้ประโยชน์จาก “กิจกรรมของไอซิส” บ้าง!!
อิสราเอล : ไม่มีประเทศไหนที่จะได้ผลประโยชน์จากสงครามภายใน ของซีเรีย, อิรัก หรือแม้แต่ลิเบีย, ตูนีเซีย, อิยิปต์, เยเมน ไม่มีประประเทศไหนเลยที่จะได้ผลประโยชน์เท่าอิสราเอล
อิสราเอลไม่สามารถทำภารกิจสำเร็จ ในการทำสงครามโดยตรงกับ “ฮิสบุลลอฮ” ในเลบานอน และ “ฮามาส” ในกาซ่า แต่พวกเขากลับประสบความสำเร็จจากสงครามความขัดแย้งระหว่างนิกาย ซึ่งอันตรายยิ่งกว่า เพราะเดิมที ประเทศซีเรีย อิรัค อิยิปต์ ลิเบีย เยเมน เป็นประเทศที่ประชาชนต่อต้านพวกเขาอยู่แล้ว การเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่จึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงอำนาจ ซึ่งรวมถึงนโยบายของประเทศเหล่านี้ที่จะเปลี่ยนแปลงไปด้วยในเรื่องของอิสราเอล และนั่นคือ อันตรายที่อิสราเอลได้ทำลายความเสี่ยงไปแล้ว นอกจากนี้อิสราเอลยังสามารถดึงตุรกีให้มาเป็นฝ่ายของตนได้อีกด้วย
ซาอุดิอาระเบีย : สามารถเปลี่ยนจากความต่างระหว่างนิกายให้กลายเป็นสงคราม และอุดมการณ์หลักของศาสนาได้สำเร็จ ทำให้ทัศนะกลายเป็นสโลแกน ทำให้ตัวหนังสือที่ดุดันกลายเป็นการหลั่งเลือด พวกเขาเปลี่ยนโยบายชนกับ อิหร่านด้วยความรุนแรง และกลุ่มก่อการร้ายอย่างไอซิสก็ใช้อุปกรณ์สังหาร อย่างระเบิด และอาวุธต่างๆ เพื่อทำลาย ชีอะฮ์
ซาอุดิอาราเบียปัจจุบัน ยอมเปลี่ยนนโยบายทางการเมือง ถึงขั้นยอมจับมือกับอิสราเอลเพื่อสู้กับอิหร่าน และนั่นคือ บทบาทล่าสุดของประเทศนี้ ในปี 2016
ตุรกี : ค่อยๆ มีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์กับมรดกที่ดินในอิรัก ในที่สุดพวกเขาก็สรรหาเหตุผลที่ทำให้สามารถส่งทหารลงไปในพื้นที่ได้สำเร็จ มีการโปรโมทให้ตุรกีเป็นประเทศต้นแบบอิสลาม นั่นหมายความว่าพวกเขาต้องการการสนับสนุนนทั้งจากศาสนาและธุรกิจ แนวการเมืองระหว่างประเทศของตุรกีจึงเป็นการพยายามสร้างอำนาจในนามของอิสลามหากเกิดอะไรขึ้นกับซาอุฯ
สหรัฐอเมริกา : วอชิงตันใช้เรื่องวิกฤตก่อการร้ายของไอซิสให้เกิดประโยชน์จากสถานการณ์นี้ และคอยสนับสนุน และเป็นหลักประกันให้อิสราเอล และผลประโยชน์ของพวกเขาในอีกด้านหนึ่ง ผลประโยชน์ที่เห็นได้ชัดคือ “กำไรจากการขายอาวุธครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์”
ยุโรป : โดยเฉพาะฝรั่งเศส ได้รับผลประโยชน์จากสถานการณ์ในซีเรียและเลบานอน แต่ไม่ถึงขั้นเสริมเขี้ยวให้ไอซิส หรือทำลายไอซิส ยุโรปต้องเจอกับประเด็นเรื่องความมั่นคงภายใน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการกลับมาของนักรบไอซิสที่อาศัยอยู่ในประเทศ
รัสเซีย : มอสโก ถือว่า ปัญหายูเครน มียุโรปกับสหรัฐฯ เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง พวกเขาจึงเดินนโยบายในการรักษาผลประโยชน์ของตนเอง และลงมือปราบปรามไอซิสที่เป็นภัยต่อความมั่นคง
การต่อสู้ระหว่างรัสเซียกับไอซิสไม่ใช่การต่อสู้ทางการทหารแต่เพียงอย่างเดียว เพราะรัสเซียเล่นบทเปิดโปงผู้สร้าง ไอซิสและผู้สนับสนุน พร้อมนำหลักฐานมาโชว์สื่อทั่วโลก ทั้งเรื่องน้ำมันหรือแหล่งเงินทุน รัสเซียต้องการจะบอกว่า ที่เกิดปัญหาวุ่นวายอย่างนี้ ก็เพราะกลุ่มประเทศมีอำนาจเหล่านี้แหละ ที่พยายามสร้างวิกฤติเพื่อทำให้ตัวเองได้อยู่รอดต่อไป
อิหร่าน : ผ่านร้อนผ่านหนาวมาสามสิบปี เจอกับสงครามระหว่างประเทศ การต่อสู้ทางวัฒนธรรม, การต่อต้านทางนิกาย, การบอยคอตกดดันทางเศรษฐกิจ สารพัดเรื่อง กระนั้นไม่ว่ามิตรหรือศัตรูของอิหร่านก็ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า สามสิบปีที่ผ่านมาพวกเขาเติบโตมากับการต่อสู้ในสนามรบ ทั้งการเมือง ทั้งสนามรบจริงๆ ทั้งศาสนา เป็นเวลาเกิน 30 ปี ผู้คนในประเทศจึงได้รับประสบการณ์พิเศษ และรู้วิธีเผชิญหน้าและแก้ปัญหา
อิหร่าน ประกาศนโยบายต่อต้านกลุ่มก่อการร้ายกลุ่มสุดโต่งทุกประเภทแม้แต่ชีอะฮ์ด้วยกันเอง และเสนอทางแก้ปัญหา คือ เอกภาพระหว่างนิกาย พร้อมๆ กับเปิดโปงผู้อยู่เบื้องหลัง การสร้างกระแสความปั่นป่วนเหล่านี้ ทั้งในโลกไซเบอร์ ในเวทีการเมืองระดับโลก และในโลกแห่งความเป็นจริง
ปัจจุบัน กลุ่มก่อการร้ายสุดโต่งได้ใช้อินเตอร์เน็ต พรมแดนไร้อาณาเขต เป็นเครื่องมือในการชักจูงกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย ให้เข้าร่วม หรืออย่างน้อยทำให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสนับสนุนแนวคิดและนโยบายของพวกเขา และยังทำให้เกิดความแตกแยกและความเกลียดชังในสังคมโซเซียลเน็ตเวิร์ค ความรุนแรงในอินเตอร์เน็ต Hate post ,Hate Comment ถือเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการผลักดัน และชุบตัวให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตกลายเป็นผู้นิยมความรุนแรง นั่นคือถ้าไม่รุนแรงกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับตน ก็จะรุนแรงกับฝ่ายที่อยู่ตรงข้าม ซึ่งนั่นคือ อรัมภบท ในการเปิดสงครามศาสนา
…ดังนั้น สิ่งที่ระวังก็คือ การไม่ตกเป็นเครื่องมือของกระแสความเกลียดชังเหล่านี้!!
อ้างอิง http://fa.abna24.com/cultural/archive/2016/02/29/699626/story.html