อหังการ เนทันยาฮู

1837

 

ท่าน รู้จัก เบนจามิน เนทันยาฮู มากแค่ไหน ? ทำไมในสมัยของ ผู้กระหายเลือดคนนี้ จึงเป็นสมัยที่ตกต่ำที่สุดของอิสราเอลในรอบ ๖๐ ปี  และทำไม แม้แต่กลุ่มผู้สนับสนุนหลักของอิสราเอล ถึงได้วิพากษ์ วิจารณ์ การเมืองของอิสราเอล อย่างรุนแรงถึงขนาดนี้  เชิญทำความรู้จักกับ นายกผู้กระหายเลือด ด้วยบทความชิ้นนี้


เบนจามีน เนทันยาฮู หรือรู้จักกันในชื่อ บี บี  นายกรัฐมนตรีผู้กระหายเลือดแห่งอิสราเอล ผู้ซึ่งกระหายสงคราม หัวหน้าพรรคลิคควิด และเป็นนหนึ่งในบุคคลที่สุดโต่งที่สุดในกองทัพนี้ เขาได้สร้างผลงานที่ไม่อาจเทียบเคียงกับยุคสมัยใดๆ ไว้ในยุคสมัยของตัวเองไว้อย่างมากมาย


ในช่วง ๔ ปีล่าสุดที่ผ่านมานี้ นายกรัฐมนตี เนทันยาฮู  ได้สร้าง ภาวะที่เลวร้ายที่สุด ทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม มีการประท้วงเกิดขึ้นมากมาย ในประเทศของตัวเอง ให้เห็นกันอย่างเนืองนิจ


ในทางการเมือง เขาได้ทำให้สถานะของอิสราเอลตกต่ำที่สุด ในเวทีสหประชาชาติ อิสราเอล ต้องอับอายขายหน้า และยังมีความสัมพันธ์อันหย่อนยาน แม้แต่ คนใกล้ชิด และผู้สนับสนุนของเขา ยังต้องส่ายหน้ากับผลงานของเนทันยาฮู

ในยุคสมัยของเนทันยาฮู อิสราเอล และอเมริกา มีความสัมพันธ์ที่เปราะบาง และอ่อนแอ อย่างเห็นได้ชัด

นัก วิชาการในอิสราเอลส่วนมาก ถือว่า เนทันยาฮู คือปัญหาหลักที่ทำให้ประเทศต้องเผชิญกับปัญหา และวิกฤตต่างๆอยู่ทุกวันนี้  ไม่ว่าจะเป็นปัญหา ในการเผชิญหน้ากับชาวปาเลสไตน์  หรือปัญหาในการชักศึกเข้าบ้านที่เพิ่มขึ้น หรือจะเป็นประเด็นการถูกกดดันอย่างหนัก ต่อแผนการขยายเมือง อย่างผิดกฎหมาย ที่กำลังตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อยู่ในสหประชาชาติขณะนี้
และ ยังมีผลงานล่าสุด ที่เนทันยาฮูได้นำไปสู่การเพิ่มศัตรูให้กับประเทศ ก็คือ การเริ่มต้นโจมตี ฉนวนกาซ่า ในปีที่ผ่านมา หรือสงครามแปดวัน  และผลคือต้องรับความพ่ายแพ้อย่างน่าสังเวช  หรือจะเป็นการประกาศหยุดยิงจากฝ่ายอิสราเอล และยังมี ความวิตกจริตต่อชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น และประชาชนที่อยู่อาศัยในปาเลสไตน์  อีกด้วย
นอกจากนี้ ภาพอันน่าขำของเนทันยาฮู ในสหประชาชาติก็ยัง

เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่นำความอับอายมาสู่ประเทศนี้
ชีวประวัติของเนทันยาฮู ก่อนเข้ารับตำแหน่งทางการเมือง
เนทันยาฮู ถือกำเนิดในปี ๑๙๔๙ ในเทลอาวีฟ หรือก่อนประกาศจัดตั้งประเทศอิสราเอล ที่ได้ยึดครองจากแผ่นดินปาเลสไตน์ ประมาณหนึ่งปี   เขาได้อาศัยอยู่ในเยรูซาเล็ม ในช่วงวัยเด็ก และวัยรุ่น   หลังจากนั้น เขาได้เดินทางไปศึกษาต่อ พร้อมกับบิดาของเขา คือนาย เบนซียูน เนทันยาฮู ในประเทศอเมริกา พ่อของเขาทำงานเป็นนักวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ หลังจากนั้น ไม่นาน ก็เสียชีวิต ต่อมา เบนจามิน จึงได้เดินทางกลับไปในแผ่นดินที่อิสราเอลยึดครองได้ในปี ๑๙๖๗
หลังจากที่ เนทันยาฮู กลับสู่ประเทศอิสราเอล เข้าได้เข้าร่วมกับทางกองทัพ และเข้าร่วมในปฏิบัติการต่างๆอย่างมากมาย ในการเข้าร่วมทัพอากาศในปี ๑๙๗๒  เขาได้กลายมาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสังหารชั้นเซียน และทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์เป็นระยะเวลายาวนาน ในปีเดียวกันเกิดสงครามระหว่างอาหรับและอิสราเอล เขาได้เข้าร่วมในสงครามนี้ รู้จักกันในนาม วันแห่งการถือศีล การนี้ได้เลื่อนยศเป็นผู้บังคับกอง ในเวลาต่อมา

 

_1

 

เนทันยาฮู เข้ารับการศึกษามหาวิทยาลัย ในสาขา วิศวกรรมธุรกิจ ในมหาวิทยาลัย เอ็ม ไอ ที และหลังจากนั้น ได้ศึกษาต่อ ในสาขารัฐศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

_2

 

ใน ช่วงระหว่างปี ๑๙๗๙ ถึงปี ๑๙๘๔ เขาได้เข้าร่วมในเวทีประชุมต่างๆ โดยเฉพาะเวทีที่พูดถึงหัวข้อของการต่อสู้กับองค์กรก่อการร้ายตามการอ้างอิง ของเขา  และได้นำเสนอ ทฤษฎีต่างๆอย่างมากมาย จากคำกล่าวของ George Pratt Shultz รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของอเมริกาในสมัยนั้น  การเคลื่อนไหวของเนทันยาฮู และหนังสือต่างๆที่เขาได้เขียนขึ้น มีผลต่อแนวทางการเมืองอเมริกา ในการต่อต้านกลุ่มก่อการร้าย เป็นอย่างมาก

ในปี ๑๙๘๒ เนทันยาฮู ถูกรับเลือกให้เป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติการณ์ของสถานฑูต อิสราเอล ในวอชิงตัน  และในปี ๑๙๘๔ เขาได้ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นตัวแทนของอิสราเอล ในสหประชาชาติ เพื่อทำการรักษาผลประโยชน์ และผลกำไรให้กับอิสราเอล หลังจากผ่านไปได้ ประมาณ ๖ ปี เขาหมดหน้าที่ในการเป็นตัวแทนในสหประชาชาติ ต่อมาเขาได้ก้าวสู่เส้นทางการเมืองอย่างเต็มรูปแบบ โดยเข้าร่วมกับพรรคลิควิด และได้รับตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศอิสราเอลในเวลาต่อมา
ในปี ๑๙๙๓ เนทันยาฮู ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคลิควิด ในปี ๑๙๙๖ เขายังเป็นผู้นำฝ่ายค้านในอิสราเอล โดยเขาได้คัดค้านและปฏิเสธ การประนีประนอมกับกลุ่มปาเลสไตน์ในทุกรูปแบบ
และ ในปี ๒๐๐๘ เขาได้ต่อต้านการหยุดยิง หรือการยุติสงครามกับปาเลสไตน์อย่างรุนแรง นอกจากนี้ เขาไม่เคยถือว่า ปาเลสไตน์ เป็นประเทศอย่างเป็นทางการเลย แม้แต่ครั้งเดียว
ก่อน ที่ เบนจามิน เนทันยาฮู จะก้าวสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอิสราเอลแล้ว เขายัง เคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณะสุข กระทรวงเศรษฐกิจ และตัวแทนอิสราเอลในสหประชาชาติ และกระทรวงกิจการผู้เกษียณอายุ อีกด้วย
เนทันยาฮู ได้เขียนหนังสือ จำนวน ๕ เล่มที่เกี่ยวข้องกับ การเมือง นานาชาติสากล และผู้ก่อการ้าย

 

๔

เนทันยาฮู ได้เขียนหนังสือ จำนวน ๕ เล่ม ว่าด้วยการต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย และสันติภาพอันยั่งยืน
และในปี ๒๐๐๕ เนทันยาฮู ยังถูกจัดอันดับ ให้เป็นหนึ่งใน ๕๐ บุคคลผู้มีอิทธิพลต่อโลก โดย นิตยสารภาษาอังกฤษ New Statesman

ความสัมพันธ์ที่อ่อนปวกเปียกระหว่าง เนทันยาฮู และโอบามา

Aaron David Miller ที่ปรึกษากระทรวงต่างประเทศ อเมริกา ได้อธิบายถึงแต่ละห้วงเวลา ที่ ความสัมพันธ์ระหว่างโอบามา กับเนทันยาฮู เริ่มบั่นทอน โดยเขากล่าวว่า  “ผมเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างโอบามาและเนทันยาฮูเป็นความสัมพันธ์ที่ค่อน ข้างจะเลวร้ายที่สุด และไร้ผลที่สุด”
นอกจากนี้หลายๆปัญหาที่มีในอดีต ระหว่าง ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และนายกรัฐมนตรีอิสราเอล จากพรรคลิควิด  ก็ถูกขุดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง บิล คลินตัน ก็มีปัญหากับเนทันยาฮูอย่างรุนแรง และนายกอิสราเอล ก็ไม่พอใจต่อเขาด้วยเช่นกัน จนถึงขั้นโกรธเคืองกันไปเลย เรียกได้ว่าต่างฝ่ายต่างก็ไม่พอใจต่อกัน  และในปี 1996 ในการประชุมครั้งแรกของเขากับเนทันยาฮู   ปธน.คลินตัน ถึงกับต้องมีน้ำโหกับนายคนนี้ จนขั้นที่ต้องพูดต่อหน้าคนที่อยู่รอบตัวเขาว่า “ใครมีอำนาจที่นี่กันแน่?

ความขัดแย้งระหว่าง คณะรัฐมนตรีอเมริกา และเนทันยาฮู ในยุคปัจจุบันเริ่มต้นในช่วงไหน

Jeffrey Mark Goldberg  นักข่าวอเมริกันผู้มีชื่อเสียง และใกล้ชิดกับรัฐบาลโอบามา ได้เขียนบันทึกลงในเว็บไซต์ Bloomberg เกี่ยวกับ ความขัดแย้งขั้นรุนแรงระหว่าง โอบามา และเนทันยาฮู โดยโกลเบอร์ก ได้ชี้ถึงความขัดแย้งระหว่างโอบามาและเนทันยาฮูที่ดำเนินมาตลอดระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมานี้ และจนถึงขณะนี้ ทำเนียบขาวต้องย้ำเตือนเนทันยาฮู ถึงแผนยุทธศาสตร์ของเขาหลายต่อหลายครั้ง ในการเผชิญหน้ากับอิหร่าน และซีเรีย

 

๕

เจฟ ฟรี่ย์ มาร์ก โกลเบอร์ค : ทำเนียบขาวต้องย้ำเตือนเนทันยาฮู ถึงแผนยุทธศาสตร์ของเขาหลายต่อหลายครั้ง ในการเผชิญหน้ากับอิหร่าน และซีเรีย

โกลเบอร์ค ยังได้รายงาน ด้วยการอ้างอิงจากแหล่งข่าวของผู้มีบารมีในทำเนียบขาวด้วยอีกว่า ทำเนียบขาวไม่ค่อยมั่นใจกับ เนทันยาฮูเท่าไหรนัก และ ยังผิดหวังกับกับนายคนนี้อีกด้วย เขาได้เขียนในบทความว่า จริงๆแล้ว โอบามารู้ดีถึงแผนการตัดสินใจดำเนินการขยายเมือง ใกล้กับเขตบัยตุลมุกอดดิซ  ของเนทันยาฮู แต่ก็ไม่ได้แสดงความเป็นเดือดเป็นร้อนใดๆ และไม่แม้แต่จะแสดงท่าทีโกรธเคือง หรือต่อต้าน ออกมาให้เห็นแม้แต่น้อย แต่ที่น่าสนใจก็คือ โอบามากล่าวกับบุคคลรอบตัวเขาว่า เขารอคอยเวลาที่จะให้เนทันยาฮู กระทำการดังกล่าว  แล้วหลังจากนั้น ค่อยต่อต้าน แผนขยายเมือง และรื้อถอนบ้านเรือน ของเนทันยาฮู

พฤติกรรมของเนทันยาฮู อันตราย กว่าการคุกคามของอิหร่าน

ตามคำกล่าว ของโกลเบอร์ก หลังจากมีการลงคะแนนเสียง ให้ปาเลสไตน์ เป็นหนึ่งในสมาชิกของสหประชาชาติ โอบามาได้กล่าว ต่อวงในว่า “อิสราเอล ไม่เคยรู้เลยว่า ผลประโยชน์ของพวกเขา คืออะไร “ เขายังกล่าวเกี่ยวกับ การตัดสินใจดำเนินโครงการขยายเมืองของเนทันยาฮูอีกว่า “เนทันยาฮู กำลังเดินไปสู่ความโดดเดี่ยวอย่างสมบูรณ์แบบในเวทีสหประชาชาติ
โอ บามาเชื่อว่า หากรัฐบาลเล็กๆอย่างอิสราเอล ไม่แสดงน้ำใจมากกว่านี้ เขาจะต้องสูญเสียเพื่อนเพียงคนเดียวคืออเมริกา  และจะต้องพบกับความพินาศในที่สุด อิหร่าน เป็นเพียงภัยคุกคามระยะสั้น สำหรับอิสราเอล ก็จริงอยู่ แต่พฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีอิสราเอล ดูจะเป็นภัยคุกคามต่อประเทศอิสราเอล ในระยะยาวเสียยิ่งกว่า
โกล เบอร์ก อ้างว่า โอบามาเชื่อว่า เนทันยาฮู คือนักการเมืองขี้ขลาดตาขาว เขาเป็นผู้นำที่ไม่ค่อยโต้แย้ง ขณะที่ เขาปราถนาที่จะใช้งบประมาณทางการเมือง เพื่อผลักดันแผนการก่อสร้าง และไม่ตกลงกับปาเลสไตน์เสียด้วยซ้ำไป

 

โอบามาล้างแค้นเนทันยาฮู ในการเลือกตั้ง

ตาม รายงานของสำนักข่าว มัชรัก ในช่วงที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาใหม่ๆ  เนทันยาฮู พยายามที่ จะหนุนหลังให้ มิท รอมนีย์ คู่แข่งคนสำคัญของโอบามาได้รับชัยชนะ ในการเลือกตั้ง เหตุเพราะ รีพับลีกัน มีนโยบายที่สอดคล้องกับแนวทางการเมืองของเนทันยาฮู  ตรงนี้เอง ที่ นาย มีท รอมนีย์ ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มผู้สนับสนุนอิสราเอล
การ ที่เนทันยาฮู ได้ทำการสนับสนุนคู่แข่งโอบามา อย่างนี้ ทำให้ประธานาธิบดี ต้องเลือก คณะรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม และกระทรวงต่างประเทศชุดใหม่ ที่อย่างน้อย ได้แสดงความเห็นต่างในการยอมรับ การลอบบี้ของอิสราเอล  แต่เมื่อสิ้นสุดการเลือกตั้ง และทุกคนต่างรู้ผลลับแล้ว  เรื่องที่คนใกล้ชิดของโอบามา สัญญา ว่าจะล้างแค้นเนทันยาฮู ก็ไปถึงหูนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เหตุนี้ ในช่วงเริ่มต้นรัฐบาลชุดใหม่ของโอบามา ปี ๒๐๑๓  กลายเป็นปีที่  มีการท้าทายกันระหว่างผู้นำสองประเทศนี้ ไปโดยปริยาย  และดูเหมือนว่า โอบาม่า จะตัดสินใจ เริ่มต้นการเมืองแบบแย้ง เนทันยาฮู ในระดับหนึ่ง

 

๖

นอกจาก นี้ บารัค โอบามายังเป็นประธานาธิบดี อเมริกา ที่ไม่เคยเดินทางไปอิสราเอล ในรอบ ๔ ปี เลย และยังบ่ายเบี่ยงที่จะพบกับเนทันยาฮู หลายต่อหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายที่โอบามาไม่ยอมออกไปพบปะเจรจากับเนทันยาฮู  คงต้องย้อนกลับไปที่การประชุมในสหประชาชาติในช่วงแรกๆ เมื่อโอบามารู้ว่า เนทันยาฮูจะบินมานิวยอ์ค ก็ต้องรีบแจ้นหนีไปบ้านพักต่างอากาศทันที  ทำให้ เนทันยาฮุ ฉุนเป็นอย่างมาก  แถมยังพกอารมณ์ฉุนเฉียวในครั้งนี้ เข้าไปสมัชชาใหญ่สหประชาชาติอีกด้วยเช่นกัน

โอ บามา ได้ตอบคำถาม ในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว เอ็นบีซี ถึงสาเหตุที่ เขาไม่เคยเดินทางไปอิสราเอลเลย ว่า “ผมจะไปอิสราเอล ก็ต่อเมื่อผมมั่นใจว่า การเจรจาจะก้าวเดินไปข้างหน้าได้” โอบาม่าได้กล่าวสรุป ด้วยว่า “ผมได้เดินทางไปอิสราเอลแล้ว ในช่วงที่ผมเป็นประธานาธิบดี ตอนนี้ผมจึงอยากจะประกาศว่า อิสราเอล คือพันธมิตรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเรา และเป็นพรรคพวกของเรา และเราจะทำให้ความสามัคคีอันนี้ กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ผมจะเดินทางไปอิสราเอล ในโอกาศหน้า แต่ผมต้องมั่นใจในเงื่อนไขต่างๆที่จะเกิดขึ้นในตะวันออกกลางเสียก่อน ว่า กระบวนการเจรจาระหว่าง เรา กับอิสราเอล จะต้องให้ผลบวก “

 

๗

เพราะการเมืองที่บ้าคลั่งของเนทันยาฮู ทำให้โอบามา ต้องบ่ายหน้าหนี ที่จะพบเจอกับเขา
ในอีกด้านหนึ่งของความขัดแย้งระหว่าง โอบามา และเนทันยาฮู ก็คือ การที่อิสราเอลขีดเส้นแดง ให้กับอิหร่าน และเปิดไฟแดงบีบให้อเมริกา เข้าโจมตีอิหร่าน  ทางอิสราเอล พยายาม กำหนดเส้นตาย โครงการนิวเคลีย สันติภาพ ของอิหร่านมาโดยตลอด และยังให้ทำสัญญาอีกเวยว่า จะต้องทำการจู่โจมทางการทหารเพื่อทำลายโครงการอันนี้ของอิหร่าน โดยแสดงให้เห็นว่า ณ เวลานี้ อิหร่าน ได้เลยมาถึงเส้นแดงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ถึงกระนั้น ไม่ว่าอิสราเอล จะกำหนดเส้นตายแค่ไหน และอเมริกา จะกดดันอิหร่านมากแค่ไหน อิหร่านก็ยังสามารถพัฒนาโครงการนิวเคลียต่อไป
แต่เนทันยาฮู ก็ยังไม่วายที่จะกดดันให้อเมริกา  ตระหนักถึงอันตรายซ้ำแล้วซ้ำเล่า เขากล่าวว่า พวกคนเหล่านี้ ไม่ยอมขีดเส้นแดงให้กับอิหร่าน สักที “ แต่ถึงกระนั้น ไม่ใช่ว่าอเมริกา ไม่ตามคำสั่งของอิสราเอล แต่เป็นเพราะว่า พวกเขาไม่มีหลักฐานและน้ำหนักที่เพียงพอจะกล่าวหาอิหร่านแบบโต่งๆได้อีก อนึ่ง เพราะเนทันยาฮู ได้กล่าวหาอิหร่านหลายๆต่อหลายครั้ง โดยบางข้อกล่าวหา ก็ไม่อาจพิสูจณ์ได้ อีกนัยหนึ่ง ข้อกล่าวหาเหล่านี้ ดูไม่มีน้ำหนักเสียเหลือเกิน ล่าสุด อิหร่านก็จวกอิสราเอลอย่างหนักในกรณี ที่ทางการอิสราเอล ได้กล่าวหาว่า อิหร่าน ส่งมอบอาวุธให้ปาเลสไตน์

 

๘

 

ตัวตลกใน สหประชาชาติ และคลื่นแห่งการหัวเราะเยาะเย้ย

อีกหนึ่งผลงานของเนทันยาฮูที่สร้างความอับอายให้แก่อิสราเอล ซึ่งทำให้ สื่อ และตัวแทนระดับสูง ต้องเอาไปทำเป็นเรื่อง โจ๊ก ก็คือ การที่เขา เอารูปวาดเด็กๆที่นำมาแสดงให้สหประชาชาติ เห็นว่า “นี่ไง เส้นแดงของอิหร่าน”

๙

ซึ่ง ภายหลังจากการโชว์ห่วยครั้งนี้  สื่อเกือบทุกทวีป ต่างก็ล้อเลียน และวิพากษ์วิจารณ์ถึงการแสดงตลกของเนทันยาฮู ในครั้งนี้ ให้เป็นที่อายกันไปถ้วนหน้า   แม้กระทั่งสื่อภายในประเทศอิสราเอล ก็ยังไม่ละเว้น

๑๐

๑๑

 

ความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นในสังคม และการเผาตัวเองในอิสราเอล

เมื่อ เรามองย้อนกลับไปดู เมื่อสองปีก่อนหน้านี้ จะเห็นว่า เกิดความชลมุนวุ่นวายขึ้นในอิสราเอล มีกระแสการประท้วง เกิดขึ้น แม้กระทั่งงการเผาตัวเองประท้วงในอิสราเอล ก็ยังปรากฎให้เห็น เป็นการสะท้อนถึงปัญหาภายในที่เกิดขึ้นในอิสราเอล
โดยการประท้วง มาจากปัญหาทางเศรษฐกิจ และค่าครองชีพ ของผู้อยู่อาศัย ในช่วงสองปีที่ผ่านมา อิสราเอล ต้องแบกรับการความกดดันทั้งจากภายนอก และภายใน ทำให้รากฐานความมั่นคงของอิสราเอล ค่อยๆถูกกัดกร่อนให้เปราะบางลงไปวันละนิด การประท้วงของกลุ่มผู้อยู่อาศัย และผู้อพยพ ยังมีอีกปัจจัยหนึ่ง ก็คือ ความไม่เท่าเทียมกัน และความเหลื่อมล้ำต่ำสูงในสังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งจากปัญหาหลักอันนี้ ทำให้ ประชาชนแห่กันมาเต็มถนนในเทลอาวีฟ  หลายต่อหลายครั้ง  ซึ่งจำนวนผู้ชุมนุมไม่น้อยกว่าหมื่นคนเสียด้วยซ้ำ และทุกครั้งที่มีการประท้วงเกิดขึ้น ทางฝ่ายตำรวจจะต้องใช้กำลังขั้นรุนแรง เพื่อสลายการชุมนุม อยู่เรื่อยไป  นอกจากจะเผชิญปัญหาเหล่านี้แล้ว อิสราเอล ยังต้องรับมือ กับการต่อต้านที่รุนแรง ขององค์กรนิรโทษกรรมสากลอีกด้วย

 

๑๒

และ แน่นอน ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ และการตกงานของประชาชน  กลายเป็นปัญหาที่วุ่นวายที่สุด ปรากฎขึ้นในสมัยของ เบนจามิน เนทันยาฮู  นักวิจารณ์หลายๆคน ชี้ว่า บีบี หรือ เนทันยาฮู นั้น ไม่เคยสนใจปัญหาที่เกิดคนภายในประเทศของตนเองแม้แต่น้อยเลย เขาได้แต่ด่าอิรหร่าน และศัตรูอื่นๆของอิสราเอล ในเวทีของสหประชาชาติ

 

๑๓

ประเด็นปัญหา ภาวะตกงาน ของประชาชน ในสมัย เนทันยาฮู ได้เพิ่มขึ้นถึง ๒๕ เปอร์เซนต์
การประท้วงเหล่านี้  ดำเนินไปถึง ขั้น ที่ว่า กลุ่มผู้ประท้วงต้องการโค่นล้มเนทันยาฮู !! ให้หลุดออกจากอำนาจ ผู้คนเริ่มเผาตัวเองเพื่อทำการประท้วง  โดยการเผาตัวเอง เกิดขึ้นหลังจากที่การกระท้วงได้ผ่านมาเป็นเวลาประมาณ ๑ ปี เพื่อชี้ให้เห็นถึงการไม่สนใจประชาชน  มีประชาชนจำนวน ๑๒ คน ที่ได้จุดไฟเผาตัวเอง ตามถนนกลางกรุงเทลอาวีฟ การประท้วงเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนนับ เป็นความรุนแรงที่น่าตระหนกที่สุดในประวัติศาสตร์อิสราเอล และเป็นการไขกุญแจ สู่การล่มสลายของรัฐบาลเนทันยู

 

ชัยชนะที่อ่อนแอของเนทันยาฮู ในการเลือกตั้ง

หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้อิสราเอล ต้องอ่อนแอถึงขนาดนี้ ก็เพราะตัวของเนทันยาฮูเอง  ภายหลังจากผลการเลือกตั้งของอิสราเอล กลายเป็นว่า พรคของเนทันยาฮู ได้ครองเก้าอี้ อยู่ไม่มากนัก จึงต้องมีรัฐบาลผสม  แต่หลังจากนั้นไม่นาน ก็ต้องยุบตำแหน่งบางส่วน เพื่อจัดตั้ง คณะรัฐบาลชุดใหม่  ซึ่งเนทันยาฮู ไม่มีทางเลือกนอกจากจะต้องร่วมกับพรรคการเมืองที่เป็นคู่แข่งของตัวเอง มีสัญญาณที่ทำให้เห็นถึงความขัดแย้งในคณะรัฐบาลชุใหม่ เป็นระยะๆ

 

๑๔

นอกจาก นี้ ในคณะรัฐบาลชุดใหม่  ก็ได้ มูเช่ ยุอาโลน มาเป็น รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ  ซึ่งดูเหมือนนายคนนี้ จะมีนโยบายที่ค่อนข้างขัดแย้งกับเนทันยาฮู ในเรื่องอิหร่าน อยู่หลายครั้ง เหมือนๆกับคนมีตำแหน่งในรัฐบาลคนอื่นๆ  นายคนนี้ไม่เคยตกลงที่จะใช้กำลังทางการทหารกับอิหร่านเลย
ส่วนภาพที่ทุกๆคนกำลังเห็นอยู่ในขณะนี้  ก็คือ เบนจามิน บีบีย์ เนทันยาฮู นับวันมีแต่จะดิ่งลงเหว และอาจจะเป็นไปได้ว่า เนทันยาฮู อาจโดนปลดกลางอากาศ หรือถูกโค่นล้มก็เป็นได้

 

 

แหล่งอ้างอิง
http://www.bbc.co.uk/persian/world/2012/09/120912_008-kf-obama-netanyahu.shtml
http://www.bbc.co.uk/persian/world/2013/02/130204_u05_israel_obama_trip.shtml
http://www.netanyahu.org/biography.html
http://www.nationalreview.com/articles/338009/who-s-coward-obama-and-netanyahu-mona-charen