การเป็นศัตรูกับอิหร่าน ถือเป็นความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ของตะวันตก

987

 

แม้อิหร่านจะถูกนับว่าเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก และ ครอบครองแหล่งก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เป็นที่ยอมรับในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา และตอนนี้ก็อยู่ในช่วงของการเร่งสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ 23 แห่งเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้ 20,000 เมกะวัตต์ ในขณะเดียวกัน รัฐบาลอิหร่านรู้ดีถึงนโยบายอันมุ่งมั่นของตนแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อเพิ่มสมรรถนะแร่ยูเรเนียมใน เตาปฏิกรณ์

รัฐบาลตะวันตกมีความกังวลใจในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และ พวกเขาเคยยกย่องอิหร่านเนื่องจากความทะเยอทะยานของมุฮัมหมัดริฏอ ปาเลวี อดีตกษัตริย์ และความคิดสร้างสรรค์ของเขา แต่ในขณะเดียวกันความเป็นจริง ตะวันตกก็ตระหนักดีว่าชาฮ์ คือ เผด็จการอันเหี้ยมโหด ซึ่งเขาได้ใช้งบประมาณหมดไปกับการซื้อและสะสมอาวุธจากรัฐบาลสหรัฐ และประเทศอื่นๆอย่างมากมาย และในช่วง10 ปี ระหว่างปี 1960-1970  เขาใช้งบประมาณเป็นพันล้านดอลลาร์ในการจัดตั้งโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน และใช้งบประมาณเพื่อทุนการศึกษาแก่ผู้เชี่ยวชาญชาวอิหร่านเป็นพันๆคนที่ อาศัยอยู่ในตะวันตก จนกระทั่งในปี 1978 ได้เกิดการปฏิวัติขึ้นในประเทศอิหร่านและได้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการ ปกครองเป็น สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน

หลังจากการใช้งบประมาณมหาศาลที่ครอบคลุมทั้งการเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ บริษัทต่างๆของชาวต่างชาติก็ถูกอัปเปหิออกนอกประเทศ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลายคนที่เหลืออยู่ในประเทศไม่มีใครรู้ถึงชะตา กรรมของพวกเขา

ผู้นำทางการเมืองคนใหม่ของอิหร่านเข้าใจและรู้ถึงความสำคัญในการพัฒนาความ ก้าวหน้าของโครงการนิวเคลียร์เพื่อเป็นตัวส่งเสริมในการพัฒนาในด้านต่างๆไม่ ว่าจะเป็นการพัฒนาทางด้านการแพทย์,เกษตรกรรม,อุตสาหกรรมและพลังงาน และได้พยายามอย่างมากเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ประเทศอื่นๆ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ความคืบหน้าของโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านนับว่าประสบความสำเร็จมาแล้วขั้น หนึ่ง คือ ประชาชนของประเทศนี้ได้เรียนรู้แล้วว่า ความก้าวหน้าและการพัฒนาของโครงการนี้ นั้น พวกเขาต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญและนักวิทยาศาสตร์ของตนเอง
สหรัฐและตะวันตกในสมัยกษัตริย์ชาฮ์ ด้วยกับความชื่นชอบในกษัตริย์ชาฮ์ จึงให้การสนับสนุนตลอดมา แต่ตอนนี้เตหะรานกลายเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของสหรัฐซะแล้ว!! แถมสหรัฐยังตะโกนขู่ประเทศอื่นไปทั่วว่า ห้ามให้ร่วมมือใดๆกับประเทศอิหร่าน และยังเตือนประเทศพันธมิตรของตนให้ออกห่างจากโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน มิหนำซ้ำแม้กระทั่งอุตสาหกรรมน้ำมันดิบและก๊าซก็อย่าให้การสนับสนุน

 

ปัญหาโครงการพลังงานนิวเคลียร์

หลังจากเกิดปัญหานิวเคลียร์ไม่นาน สหรัฐ และ ประเทศต่างๆในยุโรบ ได้ร่วมมือกันคว่ำบาตรอิหร่านเพื่อให้อ่อนแอ  และเป็นการนำความเจ็บปวดให้แก่ประชาชนอิหร่าน เกิดปัญหาการขาดแคลนเครื่องอุปโภค บริโภค และยังมีการนำเข้ายาเสพติดสู่ประเทศอิหร่านโดยหวังทำลายสังคมภายในอิหร่าน เป็นผลทำให้เด็กจำนวนมากเสียชีวิตไปด้วยโรคร้ายต่างๆ ทำให้ย้อนนึกถึงคำพูดของ แมเดลีน อัลไบรท์ อดีตทูตสหรัฐประจำการอยู่ที่สหประชาชาติ เมื่อครั้งที่เธอถูกถาม เกี่ยวกับ การตายของเด็กๆประเทศอิรักกว่าครึ่งล้าน เนื่องจากการคว่ำบาตรของสหรัฐ เขาตอบว่า : เราคิดว่ามันก็คุ้มค่า !!!    วิกฤตในอิหร่านก็เช่นกันนอกจากปัญหาการขาดแคลน ยังมีปัญหายาเสพติดที่ถูกนำเข้ามาทำให้เด็กหลายคนเสียชีวิต

สหรัฐและประเทศพันธมิตรได้รับบทเรียนและประสบการณ์มามากมายจากการต่อสู้และ ความอดทนของประชาชนคนธรรมดาชาวอิหร่าน พวกเขาเคยอดทนและผ่านการปกครองของกษัตริย์ผู้เป็นเผด็จการอันเหี้ยมโหดมา แล้ว และสหรัฐ คือ ผู้ให้ที่พักพิงแก่กษัตริย์ชาฮ์และบริวาร หลังจากถูกล้มจากการปฏิวัติประชาชน (การกระทำนี้นำไปสู่การรื้อถอนสถานทูตสหรัฐในเตหะราน)และถูกชาวอิหร่านยึด ทรัพย์สินไป

วอชิงตัน ในปี 1980 ได้ให้การสนับสนุนการจู่โจมอันโหดร้ายของซัดดาม ฮุสเซน ผู้นำเผด็จการของอิรัก ต่ออิหร่าน สหรัฐไม่ใช่เฉพาะแต่ส่งอาวุธเคมีให้แก่ซัดดาม แต่ยังส่งดาวเทียมให้อิรักใช้สอดแนมอย่างอิสระอีกด้วย เพื่อให้ทหารอิรักมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการยิงอาวุธเคมีแก่ชาวอิหร่าน แต่คณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ดำเนินการห้ามและทำการประณามการ ก่ออาชญากรรมต่อเพื่อนมนุษย์ครั้งนี้  การฆ่าหมู่ประชาชนกว่า 5000 คนในหมู่บ้าน ฮะลับชา ในอิรัก ด้วยมือของซัดดาม ซึ่งแม้ว่าสหรัฐเองจะรู้ความจริงว่าเกิดอะไรขึ้น แต่พยายามที่จะใส่ร้ายเรื่องนี้ ว่าเป็นฝีมือของอิหร่าน ปัจจุบันประชาชนชาวอิหร่านนับพันคนยังต้องประสบกับฝันร้าย แต่ถึงแม้พวกเขาจะเจอกับสิ่งเหล่านี้  แต่สาธารณรัฐอิสลามอิหร่านก็ยังคงปฏิเสธที่จะใช้อาวุธเคมีหรือชีวภาพ และปฏิเสธแม้กระทั่งจะสร้างมันขึ้นมา
ในระยะเวลาหลายปีมานี้ การกระทำที่ไม่เป็นมิตรโดยเฉพาะของยุโรบที่มีต่อชาวอิหร่านนับวันยิ่งรุนแรง ขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น การยิงเครื่องบินโดยสารจนมีผู้เสียชิวิตทั้งลำ หรือ ทำลายกองทัพเรือ  ทำลายอุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับน้ำมัน หรือกระทั่งการให้การสนับสนุนและจัดตั้งองค์กรลับในอิหร่าน เพื่อเคลื่อนไหวในรูปแบบขบวนการก่อการร้าย และการโจมตีทางโลกไซเบอร์  แม้จะมีการเคลื่อนไหวอันฉ้อฉลเหล่านี้ แต่รัฐบาลอิหร่านเองยังคงเน้นย้ำหลายครั้ง ว่าถ้าหากสหรัฐยอมรับประเทศอิหร่านเป็นประเทศเอกราชมีอธิปไตย ทางอิหร่านก็จะให้เกียรติแก่พวกเขา และยังมีความเป็นไปได้ที่จะทอดไมตรีที่ดีต่อกัน

ผู้สื่อข่าวตะวันตกในสมัย มะห์มูด อามาดิเนจาด มีความพยายามที่จะสร้างภาพพจน์ว่าเขาคือ สัญลักษณ์ของภัยคุกคามต่อพื้นที่สงบสุขในทุกๆภูมิภาคของโลกแต่ก็ล้มเหลว ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่าน ในปี 1988 ผู้เชี่ยวชาญการเมืองตะวันตกอ้างความไม่สงบที่เกิดในเตหะราน โดยมีสำนักข่าวตะวันตกประโคมข่าวพยายามที่จะล้มกระดานเลือกตั้งครั้งนั้น ด้วยการทำลายความชอบธรรมต่างๆของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน แต่มะห์มูดกลับได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง

การเลือกตั้งครั้งล่าสุด ดร.ฮาซัน รูฮานี ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี ถูกโฆษณาว่าเป็นการล๊อบบี้ของกลุ่มต่อต้านอิหร่านแต่ในความเป็นจริงตะวันตก ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากขึ้นอีก ประธานาธิบดีคนใหม่ก็ผ่านการเลือกตั้งเหมือนครั้งก่อนๆแถมถูกเลือกโดยผ่าน คะแนนเสียงของประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิอย่างท่วมท้น ซึ่งแสดงให้เห็นชัดว่า ประชาชชาวอิหร่านยังคงเชื่อมั่นในกระบวนการเลือกตั้งของตน และเป็นการทำลายคำกล่าวอ้างเรื่องการฉ้อฉลที่ถูกกล่าวหาเช่นกัน

ความพยายามทำลายภาพพจน์ของประธานาธิบดีอิหร่านก็เช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากภาพพจน์และวิธีการพูดของประธานาธิบดีรูฮานี มีความแตกต่างจากประธานาธิบดีคนก่อน คือ มะห์มูด จึงทำให้การทำลายภาพพจน์ยากขึ้นกว่าเดิม  ประธานาธิบดีคนใหม่เป็นคนระมัดระวังอยู่เสมอ เขาจะไม่พูดในสิ่งที่สื่อตะวันตกสามารถนำไปสื่อขยายความไปในทางลบได้ ซึ่งความจริงก่อนที่เขาจะมารับตำแหน่งประธานาธิบดี ถือว่าเป็นบุคคลที่พูดได้ดีเยี่ยมคนหนึ่งในแวดวงการเมืองอิหร่าน

 

นโยบายอ่อนโยนอย่างห้าวหาญ

ประธานาธิบดี รูฮานี  จะมีทัศนคติของการเสนอให้ประนีประนอมกับตะวันตกอยู่ เพื่อจะเปิดโอกาสให้กับรัฐบาลสหรัฐได้พิจารณาความรู้สึกและการไม่ลงรอยกัน ที่พวกเขามีต่ออิหร่านอย่างรุนแรงตลอดมา ด้วยจุดประสงค์นี้ รัฐบาลชุดใหม่ได้เอาวิธีการ ที่ผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน คือ อยาตุลลอฮ์ ซัยยิดอาลี คาเมเนอี ได้ตั้งชื่อกลยุทธนี้ว่า “อ่อนโยนอย่างห้าวหาญ”

เป้าหมายของยุทธศาสตร์นี้ คือ กลุ่มสมาชิก P5+1(สหรัฐ-จีน-รัสเซีย-อังกฤษ-ฝรั่งเศสและเยอรมัน) จะสามารถตกลงหาหนทางการแก้ปัญหาของฝ่ายตรงข้ามหรือเป็นผู้ยอมรับข้อตกลง อย่างจริงจังหรือไม่  ซึ่งผลสำเร็จเบื้องต้นของแนวทางนี้ คือ “ข้อตกลงชั่วคราว” เกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์ ที่ตกลงกันในเดือนพฤษจิกายนปีที่ผ่านมา

ทางด้านหน่วยงานของสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ(IAEA) ได้เข้าไปตรวจสอบโครงการนิวเคลียร์อิหร่านแล้ว และไม่ได้พบสิ่งใดเลยนอกจากโครงการพลังงานเพื่อสันติ และรัฐบาลอิหร่านยังตกลงที่จะชี้แจงมากกว่าข้อตกลงด้วยซ้ำไป ซึ่งความตั้งใจของ ฮาซัน รูฮานี ครั้งนี้เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดคำถามและประเด็นในการถกเถียงขึ้นตามมาจากชาวอิหร่าน เกี่ยวกับยุทธศาสตร์นี้

ด้วยเหตุนี้ บารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐและเจ้าหน้าที่อื่นๆที่ยังคงขู่ว่าจะโจมตีทางทหารต่อ อิหร่านแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับสิทธิที่อิหร่านได้รับ เรื่องนี้เป็นสาเหตุทำให้ชาวอิหร่านคาดคะเนว่า สหรัฐยังคงยืนกรานในวิธีการทำลายของตนที่เรียกว่า “ผลลัพธ์ศูนย์”  สิ่งนี้มาจากความเข้าใจผิดของพวกเขาจากความเป็นจริงของประธานาธิบดีของ อิหร่าน ซึ่งการผิดพลาดครั้งนี้เป็นตัวเปิดเผยให้เห็นถึงการผิดพลาดในการประเมินขั้น ต้นของพวกเขา

นักการเมืองตะวันตกในช่วงหลายๆปีที่ผ่านมา ได้รับประสบการณ์จากประเทศต่างๆมาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น อิรัก อัฟกานิสถาน ลิเบีย อียิปต์ บาห์เรน ซีเรีย ซึ่งการเข้าใจแนวความคิดทางศีลธรรมมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความเป็นจริงของ ยุทธศาสตร์สหรัฐที่มีต่อโลก ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า อิหร่านและยูเครนเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของความเป็นจริงในเรื่องนี้ ซึ่งสหรัฐและพันธมิตรยังคงนโยบายที่ไม่เป็นมิตร แม้มันจะส่งผลกระทบต่อสถานะและอิทธิพลในโลกนี้ของพวกเขามากขึ้นเรื่อยๆ

เหล่าประเทศตะวันตกกำลังพยายามจะทำให้อิหร่านคุกเข่าคลานเข้าหาตนอย่างผู้ ต่ำต้อย หมายความว่า พวกเขาได้ร่วมมือกันสร้างตลาดใหญ่ในยุโรบ หวังจะกลบคำล่ำลือที่ว่า อิหร่าน คือ ผู้ครอบครองก๊าซธรรมชาติอันดับ 2 ของโลก ด้วยเหตุนี้ พวกเขาได้เข้ากดดันรัสเซียอย่างหนัก และตอนนี้พวกเขาได้หลงระเริงกับความฝันที่ตนสร้างขึ้นมาเอง คือ การสร้างเงื่อนไขรัฐประหารในภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศยูเครน เพราะตะวันตกแทบจะไม่มีตัวเลือกอื่นๆเลย แต่ที่น่าแปลกใจ คือ ไม่ว่าจะเป็นการแซงชั่นในวิธีใด การไม่สมาคม หรือ การลงโทษใดที่เกิดขึ้นต่อประเทศต่างๆที่ตะวันตกกระทำ วันนี้ มันกำลังคืนสนองกับพวกเขาเอง