farsnews – เนื่องจากฝรั่งเศสถูกขนามว่า “แหล่งกำเนิดของสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย” จึงตกเป็นเป้าหมายการโจมตีของกลุ่มก่อการร้าย
ในรายงานของนักข่าวชาวอเมริกันคนหนึ่งได้เขียนบทวิเคราะห์องค์ประกอบและปัจจัยที่ทำให้ประเทศฝรั่งเศสกลายเป็นเป้าหมายโจมตีที่สำคับอันแรกของกลุ่มก่อการร้ายไอซิส
สำนักข่าวเอพี ชี้ถึงเรื่องนี้ว่า เมื่อสมาชิกกลุ่มก่อการร้ายไอซิสจะทำการโจมตียุโรป พวกเขาได้จัดให้ฝรั่งเศสอยู่ในลำดับความสำคัญอันดับแรกของการโจมตี
ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมปี 2015 ไอซิสได้สังหารชิตผู้บริสุทธิ์ในฝรั่งเศสแล้ว อย่างน้อย 235 คน ซึ่งอัตราการเสียชีวิตดังกล่าวถือว่าเป็นอัตราที่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
ฟร็องซัว ออล็องด์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสแสดงความคิดเห็นก่อนหน้านี้และกล่าวว่า เนื่องจากฝรั่งเศสถูกขนามว่า “แหล่งกำเนิดของสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย” จึงตกเป็นเป้าหมายการโจมตีของกลุ่มก่อการร้าย
เขาได้หลังจากการโจมตีในเมือง “นิยซ์” ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 84 คน ว่า “หากกลุ่มก่อการร้ายได้สังหารพวกเราชาวฝรั่งเศส เพราะพวกเขารู้ว่าฝรั่งเศสมันเป็นสัญลักษณ์อะไร ”
สำนักข่าวเอพี เขียนว่า ถึงแม้นว่านักวิเคราะห์จะเห็นด้วยกับการวิเคราะห์เช่นนี้ของ ฟร็องซัว ออล็องด์ แต่ทว่ายังมีองค์ประกอบและปัจจัยอื่นๆอีกมากมายที่ก่อให้เกิดการก่อการร้ายในฝรั่งเศส อาทิเช่น ประวัติศาสตร์ยุคการล่าอาณานิคม ความตึงเครียดทางด้านประชากรศาสตร์ และนโยบายการแทรกแซงของฝรั่งเศส คือเหตุผลลึกสำหรับการอธิบายเหตุผลสำหรับพฤติกรรมของผู้ก่อการร้ายในฝรั่งเศส
มรดกการปกครองที่หลงเหลืออยู่ของฝรั่งเศสในทวีปแอฟริกา ในภูมิภาคตะวันออกกลาง กาพำนักอาศัยของผู้คนจำนวนมากในประเทศนี้ที่พูดทั้งภาษาฝรั่งเศสและภาษาอาหรับ และส่วนใหญ่ของกลุ่มชนเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในย่านที่ยากจนที่สุดของประเทศ
นอกจากนี้แล้วในฝรั่งเศสมีประชากรมุสลิมในประเทศมากกว่าห้าล้านคน ซึ่งมุ่งเน้นที่จะสร้างสังคมแบบบูรณาการที่ยึดค่านิยมแบบเซคคิวลาร์ ทำให้เป็นปมปัญหาที่ก่อให้เกิดความตึงเครียดในชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมของประเทศ ตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดในนโยบายของฝรั่งเศสคือการจำกัดขอบเขตการสวมผ้าคลุม (สวมฮิญาบ)ในโรงเรียนทั่วประเทศ
“Farhad Khosrokhavar” นักสังคมวิทยาผู้เชี่ยวชาญในประสบการณ์ชีวิตของชาวมุสลิมในฝรั่งเศสในนิวยอร์กไทม์ส เขียนว่า “โมเดลการบูรณาการของฝรั่งเศสในแง่ของหลักการพื้นฐานนั้น วางอยู่บนความประมาท แต่ในทางปฏิบัติกลับมีความเข้มงวดมาก ”
ในบันทึกของ “Farhad Khosrokhavar” กล่าวว่า “แม้นว่าฝรั่งเศสจะสามารถรวมบรรดาผู้อพยพและบรรพบุรุษของพวกเขา(ภายในฝรั่งเศส)ได้เป็นอย่างดี แต่เนื่องจากที่พวกเขาถูกผลักให้ตกชายขอบ ทำให้ ฝรั่งเศสต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ขมขื่นมากกว่าชาติพันธมิตรของพวกเขาทั้งอังกฤษและเยอรมนีและมีบุคคลจำนวนมากที่รู้สึกว่าพวกเขาถูกดูหมิ่นอัตลักษณ์และตัวตนในความเป็นมุสลิมอาหรับ ”
นักสังคมวิทยายังเน้นย้ำว่าชาวมุสลิมในฝรั่งเศสรู้สึกโดดเดี่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านมุสลิมของฝรั่งเศส เช่น โมร็อกโก แอลจีเรียและตูนิเซียและประเทศอื่น ๆ