5 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ “ฮิญาบ” ผ่านมุมมองนิตยสารชื่อดังของอเมริกา

1282

iqna – นิตยสารรายสัปดาห์  “Newsweek” รายงานเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่าสังคมต้องการจะตัดสินกรณีผู้หญิงที่สวมใส่ฮิญาบ  

ริโอโอลิมปิก 2016 พิสูจน์ให้เห็นว่าการแข่งขันครั้งนี้ไม่ได้เป็นเพียงเวทีสำหรับการเป็นฮีโร่ของการแข่งขัน ทว่ายังเป็นสถานที่ที่จะมีการพลิกความเข้าใจผิดแบบดั้งเดิมเกี่ยวกับวัฒนธรรม

โลกตะวันตก การสวมเครื่องแต่งกายแบบดั้งเดิมของอิสลามโดยเฉพาะการคลุมฮิญาบ เป็นสัญลักษณ์ของการถูกปราบปรามและการกดขี่และคิดว่าผู้หญิงถูกบังคับจากผู้ชายให้สวมใส่ฮิญาบ

ทว่าเรื่องราวไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะผู้หญิงจำนวนมากเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา อำนาจหรือเพียงเพื่อความรักได้สวมฮิญาบเพื่อความสุขใจ

การแข่งขันวอลเลย์บอลล่าสุดในโอลิมปิกเกมส์ ที่สาววัย 19 ปีชาว อียิปต์  ได้สวมฮิญาบเข้าร่วมแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดกับทีมสาวเยอรมนี ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากเนื่องจากการสวมฮิญาบของเธอ

ความมุ่งมั่น และความกล้าหาญของเธอแสดงให้เห็นว่า เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสมมติฐานที่ว่าผู้หญิงมุสลิมนั้นถูกกดขี่

วันนี้สตรีมุสลิมที่สวมฮิญาบได้สร้างความท้าทายต่อความคิดที่มีอยู่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแต่งกายของอิสลามที่สังคมควรรู้ว่าซึ่งมีดังนี้ :

1 ฮิญาบแสดงให้เห็นถึงพลัง

ผู้หญิงบางคนที่สวมใส่ฮิญาบเพราะประเพณีของชาติในประเทศของพวกเขา  และเป็นบรรทัดฐานในภูมิภาคเมืองหรือและประเทศของพวกเขา  บางคนแต่งตัวสุภาพเรียบร้อยและผ้าคลุมฮิญาบเพราะพวกเขาแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของพวกเขาเนื่องจากเหตุผลทางศาสนา

บางครั้งชนกลุ่มน้อยอาจจะพูดว่า พวกเขาจะถูกบังคับให้สวมฮิญาบ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสตรีมุสลิมที่ได้สวมฮิญาบนั้นถือว่าเป็นวิธีที่จะแสดงความยับยั้งชั่งใจและพลังจากด้านในของตนในการสวมฮิญาบ

2 ผู้หญิงมุสลิมจะไม่ยอมรับการถูกกดขี่

สำหรับผู้หญิงหลายคนถือว่าการสวมใส่ฮิญาบเป็นการควบคุมทางกายภาพ และห่างไกลจากความท้าทายที่จะนำไปสู่เรื่องชายขอบของผู้หญิง ดังนั้นในความเป็นจริงบางอย่างหญิงสาวที่สวมผ้าคลุมหรือสวมฮิญาบเพื่อจะได้มีโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมสังคมได้มากขึ้น

3 ฮิญาบไม่ได้เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย

ตั้งแต่เหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน สื่อได้นำเสนอภาพเชิงลบของชาวมุสลิม  นอกเหนือจากนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายของประเทศตะวันตกก็ได้ทำให้ภาพพจน์ของชาวมุสลิมตั้งมัวหมอง ผลการวิจัยในอังกฤษแสดงให้เห็นว่านโยบายของรัฐบาลนำไปสู่การพุ่งเป้าและมุ่งเน้นอย่างไม่เป็นธรรมในการควบคุมชาวมุสลิมในสถานที่สาธารณะต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสนามบิน

ผู้หญิงมุสลิมบางคนมุสลิมต้องถอดผ้าคลุมฮิญาบเพราะทนแรงกดดันทางสังคมไม่ไหว  แต่ในทางตรงกันข้ามมีบางคนกลับเริ่มสวมฮิญาบอย่างเคร่งครัดเพื่อแสดงความมุ่งมั่นของพวกเขาที่มีต่อหลักธรรมคำสอนของศาสนา  ซึ่งจะอย่างไรก็ตามฮิญาบหาใช่สัญลักษณ์ของความคิดที่คงที่ แต่ก็ไม่เป็นสัญลักษณ์ของการก่อการร้าย

4  ฮิญาบไม่ได้หมายถึงร้อยราวแห่งความแตกแยกระหว่างตะวันตกและชาวมุสลิม

ฮิญาบมีรูปแบบต่างๆ  มีสีสันและรูปแบบที่แตกต่างกันอีกทั้งมีวิธีการสวมใส่ที่แตกต่างกันด้วย  นอกจากนี้แฟชั่นอิสลามและอุตสาหกรรมเสื้อผ้ายังมุ่งเน้นเจาะตลาดไปที่หญิงสาวซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างสูง

ในหลาย ๆมิติฮิญาบเหมือนกับรายการอื่น ๆของเสื้อผ้าซึ่งจะวางตลาดในรูปแบบต่างๆเพื่อเพิ่มยอดขาย  และการค้าโลกแฟชั่นอิสลามนี้มันเหนือขอบเขตของชาติและระดับภูมิภาคและเพื่อเพิ่มยอดขายในตลาดซึ่งไม่ได้เกิดรอยร้าวและช่องว่างระหว่างตะวันตกและชาวมุสลิมแต่อย่างใด

5  ฮิญาบไม่ได้เป็นสิ่งที่น่ากลัวอย่างที่คิด

เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการรายงานเกี่ยวกับเรื่องของความอคติต่อต้านมุสลิมในอังกฤษ  ซึ่งเปิดเผยว่า  มากกว่าร้อยละ 60 ที่ตกเป็นเหยื่อของความอคติคือผู้หญิงมุสลิม และส่วนใหญ่ของพวกเขานั้นเนื่องจากการสวมใส่ฮิญาบ  บรรดาผู้อพยพส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายซึ่งเป็นแบบแผนแรงบันดาลใจเกี่ยวกับชาวมุสลิม ดังนั้นแทนที่พวกคุณจะกลัวฮิญาบ  กลับกลายเป็นว่าสตรีที่สวมฮิญาบต้องกลัวพวกคุณเสียมากกว่า

สตรีมุสลิมที่จะสวมใส่ฮิญาบเนื่องจากมีหลากหลายเหตุผล ซึ่งสตรีที่สวมฮิญาบบางครั้งอาจจะเป็นแชมป์โอลิมปิก เป็นนักศึกษาปริญญาเอก เป็นแม่หรือเป็นทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับพวกเขา ดังนั้นภาพใด ๆ ที่เชื่อมโยงกับฮิญาบในเชิงลบมันไม่เป็นความจริง และนั่นคือเหตุผลที่เราต้องเริ่มเปลี่ยนมุมมองใหม่ที่มีต่อพวกคุณ