Alalam – “วอชิงตันโพสต์” ได้เขียนในรายงานชิ้นหนึ่งถึงกลยุทธ์ของอเมริกาในการเผชิญหน้าจัดการกับกลุ่มก่อการร้ายไอซิส ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความหลากหลายของพันธมิตรในระดับภูมิภาค และกลุ่มติดอาวุธในท้องถิ่นส่วนใหญ่ที่มีการสู้รบอยู่ในขณะนี้ และวิเคราะห์ว่าหากอำนาจของ “ไอซิส” ถูกกำราบลงแล้ว พันธมิตรอเมริกาก็จะพยายามที่จะเข้าไปยึดพื้นที่มาครอบครองให้มากที่สุด
“วอชิงตันโพสต์” ได้เขียนถึงความเป็นไปได้ในสงครามครั้งนี้ไว้ดังนี้
- สงครามและความขัดแย้งระหว่างกองกำลังติดอาวุธฝ่ายค้านซีเรียที่ได้รับการสนับสนุนจากอเมริกา กับกองกำลังติดอาวุธชาวเคิร์ดที่ได้รับการสนับสนุนจากตุรกี
ซึ่งเป้าหมายของตุรกีและฝ่ายต่อต้านซีเรียเพื่อป้องกันการแบ่งแยกดินแดนและสถาปนาการปกครองตนเองของชาวเคิร์ดในภาคเหนือของซีเรีย
- สงครามระหว่างกองทัพตุรกีกับกองกำลังติดอาวุธชาวเคิร์ด
ซึ่งสงครามในครั้งนี้หากมีการเปรียบเทียบกับสงครามที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้วมันจะขยายวงกว้างขึ้นและหนักขึ้น และจะทำให้กองกำลังตุรกีเข้าสู่ดินแดนซีเรียมากขึ้น
- สงครามระหว่างชาวเคิร์ดกับรัฐบาลซีเรีย
รัฐบาลซีเรียโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการมีอำนาจที่เพิ่มขึ้นหลังจากห้าปีของสงครามการก่อการร้าย ได้ออกมาปฏิเสธความโลภและความคาดหวังในการแบ่งแยกดินแดนชาวเคิร์ด
- สงครามระหว่างอเมริกากับซีเรีย
สงครามครั้งนี้อาจจะอาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ถึงอย่างไรก็ตามกลุ่มติดอาวุธที่ได้รับการสนับสนุนจากอเมริกา หลังจากที่สามารถขับไล่ “ไอซิส” ออกจาก เมือง Raqqa แล้ว พวกเขาก็หันมาเผชิญหน้าโดยตรงกับรัฐบาลซีเรีย
- สงครามตุรกีกับซีเรีย
แม้นว่าตุรกีมีการดำเนินงานลักษณะมีขอบเขตจำกัดตามบริเวณชายแดนติดกับซีเรียด้วยการประสานงานกับรัสเซียอเมริกาและอิหร่าน แต่ทันทีที่พวกเขายังคงรุกคืบลึกภายในประเทศซีเรียแล้วย่อมมีแนวโน้มที่จะปะทะและต่อสู้กับกองทัพของซีเรีย
- สงครามชาวเคิร์ดในอิรักกับรัฐบาล
หลังจากการปลดปล่อยโมซูลซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของอิรัก ซึ่งรัฐบาลอิรักกำลังเผชิญกับความโลภของชาวเคิร์ดเหมือนกับที่รัฐบาลของซีเรียกำลังเผชิญ
- สงครามชาวเคิร์ดกับชีอะฮ์
สงครามครั้งนี้เช่นสงครามอื่น ๆ ที่ได้กล่าวถึง แต่จะมีความแตกต่างคือว่าชาวเคิร์ดและกองกำลังติดอาวุธที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านที่จะมีการเผชิญหน้าโดยตรง
- สงครามกลางเมืองของชาเคริด์
สงครามที่ซับซ้อนมากที่สุดก็คือสงครามนี้ ซึ่งในขณะนี้มีการขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างกลุ่มการก่อการร้ายชาวเคิร์ด และก่อนหน้านี้ในปี 1990 ก็เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นมาแล้วระหว่างชาวเคิร์ดด้วยกัน
- สงครามชีอะห์กับสุนนีในอิรัก
ซึ่งในวันนี้แม้นว่าจะเกิดพันธมิตรขึ้นระหว่างชาวซุนนีกับชีอะฮ์ แต่อาจจะเป็นแค่ชั่วคราวและ และจบลงอย่างรวดเร็วด้วยการล่มสลายของกลุ่มก่อการร้ายไอซิส และจากนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดสงครามระหว่างชีอะฮ์และซุนนีในอิรัก
- การเหลืออยู่ของกลุ่มก่อการร้ายไอซิส
ซึ่งหากการปลดปล่อยจังหวัด Raqqa และโมซูลล้มเหลว (จะมีการเริ่มปฏิบัติการในเร็วๆนี้) ก็จะเข้าสู่สงครามและการเผชิญหน้าที่รุนแรงขึ้นกับทุกกลุ่มที่ขว้างหน้า