เรื่องที่คุณต้องรู้ กรณีอิสราเอลรุกรานปาเลสไตน์ !!

1090

รายงานพิเศษ 2014-07-24, 21:07:49
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์โดยอิสราเอล
เขียนโดย ไมเคิล ฮอฟฟ์แมน และ ศาสตราจารย์ โมเช ลีย์เบอร์แมน
ที่มา http://www.rense.com/general31/didyouknow.htm
แปลเรียบเรียง กองบรรณาธิการเอบีนิวส์ทูเดย์

 

 

 

1.    เมื่ออังกฤษก่อปัญหาปาเลสไตน์ขึ้นในปี 1917 (พ.ศ.2460) พลเมืองปาเลสไตน์ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 เป็นชาวอาหรับ ในขณะที่มีชาวยิวอยู่ในปาเลสไตน์ไม่เกิน 56,000 คน

2.    กว่าครึ่งของชาวยิวที่อยู่ในปาเลสไตน์ในเวลานั้น เป็นผู้ที่เพิ่งอพยพหนีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จากยุโรป มาอยู่ก่อนหน้าเพียงไม่กี่สิบปี….และชาวปาเลสไตน์ดั้งเดิมที่เป็นยิวมีไม่ ถึงร้อยละ 5

3.    ในขณะนั้น ชาวอาหรับปาเลสไตน์เป็นเจ้าของที่ดิน 97.5 % ของจำนวนที่ดินทั้งหมด ในขณะที่ชาวยิว (ทั้งที่เป็นคนพื้นเมืองและคนที่อพยพมาใหม่) ถือครองที่ดินเพียงร้อยละ 2.5

4.    ในช่วง 30 ปี ที่อังกฤษยึดครองและปกครองปาเลสไตน์ ไซออนิสต์สามารถซื้อที่ดินในปาเลสไตน์เพิ่มได้เพียง 3.5 % ทั้งๆ ที่รัฐบาลอังกฤษพยายามคะยั้นคะยออย่างมาก…และส่วนใหญ่ของที่ดินที่ถูกโอน ไปให้องค์กรไซออนิสต์ เป็นฝีมือของรัฐบาลอังกฤษที่โอนให้โดยตรง ไม่ใช่เพราะชาวอาหรับเป็นผู้ขายให้

5.    เมื่ออังกฤษส่งผ่านปัญหาปาเลสไตน์ไปยังสหประชาชาติในปี 1947 (พ.ศ.2490) ไซออนิสต์เป็นเจ้าของที่ดินไม่เกิน 6% ของพื้นที่ปาเลสไตน์ทั้งหมด

6.    ทั้งๆ ที่ข้อเท็จเจริงเป็นเช่นที่กล่าวนี้ ที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ยังสนับสนุนให้มีการตั้ง “รัฐอิสราเอล” บนแผ่นดินปาเลสไตน์ และยังหยิบยื่นให้รัฐดังกล่าวได้ครอบครองที่ดิน 54% ของพื้นที่แผ่นดินปาเลสไตน์ทั้งหมด

7.    อิสราเอลเข้ายึดครอง 80.48 % ของแผ่นดินปาเลสไตน์โดยทันที (และยังคงยึดครองอยู่จนถึงปัจจุบัน)

8.    การขยายอาณาเขตส่วนมาก เกิดขึ้นก่อนวันที่ 15 พฤษภาคม 2491 (1948) ซึ่งหมายถึง; ก่อนสิ้นสุดกำหนดการถอนทหารอังกฤษออกจากปาเลสไตน์อย่างเป็นทางการ ก่อนที่ทหารจากประเทศอาหรับจะเข้ามาปกป้องชาวอาหรับปาเลสไตน์ และ ก่อนการเกิดสงครามระหว่างอาหรับ-อิสราเอล

9.    กรณีที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สนับสนุนให้ตั้ง “รัฐยิว” ขึ้นในปี 1947 (2490) เป็นการละเมิดอำนาจของสมัชชา ตามกฎบัตรสหประชาชาติ

10.    ที่ประชุมสมัชชาปฏิเสธ หรือเพิกเฉย ต่อความพยายามทั้งหลายของชาติอาหรับ และประเทศในอาเซียนอื่นๆ ที่ต้องการให้ยื่นคำถามด้านกฎหมาย 3 ข้อ เกี่ยวกับการสนับสนุนให้จัดตั้งรัฐยิว ไปยังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เพื่อขอความเห็นชี้แนะ

11.    เมื่อการประชุมเริ่มประสบกับความลังเลในเรื่องดังกล่าว UN เรียกร้องให้มีการประชุมเป็นครั้งที่สองในปี 1948 (2491) นั่นไม่สามารถยืนยันการยื่นข้อเสนอในปี 1947 (2490) ให้มีการแบ่งแยกปาเลสไตน์ ซึ่งล้มล้างความถูกต้องอันน่าสงสัยใดๆ ก็ตามในการเสนอแนะให้มีการก่อตั้ง “รัฐยิว” ขึ้นมา

12.     ข้อเสนอแนะในปี 1947 (2490) เพื่อตั้ง “รัฐยิว” ในปาเลสไตน์ ได้รับการอนุมัติในการโหวดครั้งแรก โดยมีเพียงชาติยุโรป อเมริกา และออสเตรเลียเท่านั้นที่โหวตเห็นด้วย แต่สำหรับชาติในเอเชียและรัฐในแอฟริกา (ยกเว้นสหภาพแอฟริกา) นั้นโหวดคัดค้าน และเมื่อมีการโหวดในที่ประชุมใหญ่ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ปี 1947 มีการกดดันอย่างเร่งด่วนจากอเมริกา (ซึ่งหนึ่งในคณะรัฐมนตรีสมัยประธานาธิบดีทรูแมนบรรยายว่า “เป็นสิ่งที่เข้าใกล้เรื่องอื้อฉาว”) ซึ่งการกดดันส่งอิทธิพลสำเร็จเหนือประเทศหนึ่งในแอฟริกา (ไลบีเรีย) ซึ่งทั้งเอเชียและแอฟริกาก็มีจุดอ่อนต่อการกดดันของอเมริกา ซึ่งอาจทำให้ละทิ้งการคัดค้านที่เคยประกาศไว้…และนั่นสามารถกล่าวได้อีก อย่างหนึ่งว่า “รัฐยิว” ถูกวางไว้เพื่อเป็นจุดตัดระหว่างประเทศในเอเชียและแอฟริกา โดยไม่คำนึงถึงการเห็นชอบอย่างเสรีของชาติใดในตะวันออกกลาง เอเชีย หรือแอฟริกา ยกเว้น สหภาพแอฟริกาใต้ ซึ่งถูกควบคุมโดยคนอพยพกลุ่มน้อย

13.     นับตั้งแต่เริ่มมีการครอบงำ อิสราเอลยังคงเป็นชาติแปลกหน้าในโลกแอฟริกัน-เอเชีย และอิสราเอลยังถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าร่วมการประชุมนานาชาติใดๆ ที่เคยจัดขึ้น ระหว่าง เอเชีย แอฟริกา แอฟริกัน-เอเชีย หรือกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

10424331_10152563534391649_9018477764940640647_n_1

14.     นับตั้งแต่มีการลงนามข้อตกลงหยุดยิงในปี 1949 (2492) อิสราเอลยังคงรักษานโยบายอันรุนแรงโดยใช้กำลังทหารเข้าโจมตีข้ามเขตแดนหยุด ยิง และรุกล้ำเข้าไปในเขตแดนของรัฐอาหรับข้างเคียงอย่างต่อเนื่อง และนั่นทำให้อิสราเอลถูกประณาม ตำหนิ และวิพากย์วิจารณ์จากการโจมตีด้วยกำลังทหาร โดยคณะมนตรีความมั่นคง ในที่ประชุมแห่งสหประชาชาติจำนวน 11 ครั้ง 5 ครั้งโดยคณะมนตรี และ 6 ครั้งโดยที่ประชุม

15.     ไม่เคยมีชาติอื่นใดในโลก ทั้งที่เป็นหรือไม่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ เคยถูกประณามโดยสหประชาชาติบ่อยครั้งเช่นนี้

16.    ไม่มีชาติอาหรับเคยถูกประณามโดยส่วนใดของสหประชาชาติในการใช้กำลังทหารต่ออิสราเอล

17.     นอกจากการขับไล่ผู้ลี้ภัยอาหรับปาเลสไตน์จำนวนมาก และนอกจากการโจมตีชาติอาหรับข้างเคียงอย่างต่อเนื่อง อิสราเอลยังไม่หยุดคุกคามผู้สังเกตการณ์จากสหประชาชาติ และบุคลากรอื่นๆ ซึ่งประจำอยู่ตามเส้นแบ่งเขตหยุดยิง อิสราเอลยังสังหารผู้ไกล่เกลี่ยจากสหประชาชาติคนแรกและกองกำลังสนับสนุนของ เขา อิสราเอลยังกักกันผู้สังเกตการณ์สงบศึกชั่วคราว ยังใช้ทหารเข้ายึด และตรวจค้นเจ้าหน้าที่ศูนย์บัญชาการสหประชาชาติอย่างผิดกฎหมาย และยังคว่ำบาตรการประชุมกับคณะกรรมการร่วมข้อตกลงหยุดยิงอีกด้วย

18.    อิสราเอลยังกำหนดระบบเพื่อแบ่งแยกชาวอาหรับดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในดินแดน บ้านเกิด มากกว่า 90% ของชาวอาหรับอาศัยใน “เขตคุ้มกัน” พวกเขาต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวใต้กฎอัยการศึก ถูกจำกัดเสรีภาพที่จะไปมาหาสู่ระหว่างหมู่บ้านหรือเมือง ลูกหลานของพวกเขาถูกปฏิเสธโอกาสอันเท่าเทียมในการได้รับการศึกษา และถูกปฏิเสธโอกาสที่ดีในการทำงาน และสิทธิในการรับ “ค่าจ้างที่เท่าเทียม”

19.     ทั้งๆ ที่มีข้อเท็จจริงอีกมากมายที่กล่าวก่อนหน้านี้ สื่อตะวันตกยังคงสร้างภาพให้อิสราเอลเป็น “ปราการแห่งประชาธิปไตย” และ “ผู้นำแห่งเสรีภาพ” ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

20.     มหาอำนาจตะวันตกยังยืนกรานประกาศความมุ่งมั่นที่จะรับประกันสิ่งที่เรียก ว่า “ความสมดุลระหว่างสองด้าน” ในเขตดังกล่าว โดยที่อิสราเอลอยู่บนแขนข้างหนึ่ง และพลเมือง 100 ล้านชีวิตใน 13 ชาติอาหรับ อยู่บนแขนอีกข้างหนึ่ง และทฤษฎีที่ตะวันตกอวดอ้างอยู่ฝ่ายเดียวที่เรียกว่า “ความสมดุลระหว่างสองด้าน” นั้นล้วนไร้ซึ่งเหตุผลมากพอๆ กับการเสนอว่า ในกรณีขัดแย้งระหว่างคิวบา-สหรัฐฯ นั้นควรมีการนำทฤษฎีนี้มาใช้ด้วย หรือการเสนอว่า ทั้งทวีปแอฟริกาไม่ควรได้รับอนุญาตให้มีอาวุธมากกว่าประเทศแอฟริกาใต้ประเทศ เดียว…หรือการเสนอว่า จีนแผ่นดินใหญ่ไม่ควรได้รับอนุญาตให้มีอาวุธมากกว่าประเทศใต้หวัน…หรือ ทหารควรได้รับอนุญาตให้มีอาวุธมากกว่าแอฟริกาใต้ เพื่อความสันติจะได้รับความคุ้มครองในส่วนซีกโลกตะวันตก ในแอฟริกา ในเอเชียหรือในยุโรป…

21.     อิสราเอลจัดสรรทรัพยากรน้ำ 85% ให้แก่ชาวยิวในเขตปกครอง และในส่วน 15% ที่เหลือต้องไปแบ่งกันเองในหมู่ชาวปาเลสไตน์ทั้งหมดในเขตปกครอง เช่น ในเมืองเฮบรอน 85% ของทรัพยากรน้ำ ได้ถูกแจกจ่ายให้ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิว 500 คน ส่วน 15% ที่เหลือคือสัดส่วนที่ต้องแบ่งกันระหว่างชาวปาเลสไตน์ในเมืองเฮบรอนจำนวน 120,000 คน

22.    สหรัฐอเมริกาได้ให้เงินจำนวน 3 พันล้านดอลลาร์ ในการช่วยเหลืออิสราเอลทุกปี มากกว่าที่ให้ประเทศใดในโลก จำนวนเงินช่วยเหลือที่สหรัฐฯ ให้แก่อิสราเอลนั้น พุ่งทะลุแซงหน้าจำนวนเงินช่วยเหลือจากสหรัฐ ฯ ที่ส่งไปยังประเทศทางใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า ในแอฟริกา ทั้งหมดรวมกันเสียอีก

23.    ดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวและการบริโภคต่อหัวในเขตยึดครอง ได้ลดลงกว่า 15% ในเขตเวสต์แบงค์และฉนวนกาซ่าตั้งแต่ปี 1993 (2536) แม้ในขณะที่ยังมีเงินช่วยเหลือจากต่างชาติ ซึ่งส่วนมากจากประเทศในยุโรป หลั่งไหลเข้ามาช่วย

24.    ก่อนหน้านั้น จนถึงปี 1993 (2536) สหรัฐฯและอิสราเอลอนุญาตให้กลุ่มช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเข้ามาในเขตเวสต์ แบงค์ และฉนวนกาซ่าได้ แต่ในปี 1993 นั้นเอง กลุ่มช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากสหประชาชาติกลับถูกยับยั้งไว้

25.    อิสราเอลเป็นชาติเดียวในตะวันออกกลางที่มีอาวุธนิวเคลียร์

26.    อิสราเอลเป็นชาติเดียวในตะวันออกกลาง ที่ไม่ยอมลงนามข้อตกลงการยับยั้งการเพิ่มจำนวนอาวุธนิวเคลียร์ และไม่ยอมให้นานาชาติเข้ามาตรวจสอบโรงผลิต

27.     อิสราเอลยังยึดครองดินแดนบางส่วนของประเทศที่มีอธิปไตยสองแห่ง (เลบานอนและซีเรีย) โดยต่อต้านมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

28.    เหล่านายทหารระดับสูงในหน่วยกำลังทหารป้องกันของอิสราเอล (ไอดีเอฟ) ยอมรับต่อสาธารณชนว่า นักโทษสงครามซึ่งปราศจากอาวุธนั้นถูกประหารโดยไอดีเอฟเอง

29.     อิสราเอลปฏิเสธการดำเนินคดีกับทหารที่มีส่วนรู้เห็นกับการประหารนักโทษสงครามเหล่านั้น

30.    อิสราเอลทำการยึดบัญชีธนาคาร ธุรกิจ และที่ดินจากชาวปาเลสไตน์เป็นกิจวัตร และปฏิเสธที่จะจ่ายค่าชดเชยให้แก่คนที่ต้องเดือดร้อนจากการถูกยึดทรัพย์

31.     อิสราเอลต่อต้านมติจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทั้งสิ้นจำนวน 69 มติ

32.    ศาลอิสราเอลได้ตัดสินว่า อดีตนายกรัฐมนตรี เอเรียล ชารอน เป็น “ผู้รับผิดชอบทั้งหมด” ในเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ค่ายผู้ลี้ภัยซาบราและชาทิลล่าในเลบานอน ในปี 1982 (2525) ซึ่งชาวปาเลสไตน์ไร้อาวุธหลายพันคนตกเป็นเหยื่อ

33.     อิสราเอลในวันนี้นั้น ตั้งอยู่บนที่ๆ เคยเป็นหมู่บ้านกว่า 400 แห่งของชาวปาเลสไตน์ที่ถูกทำลายลง และชาวอิสราเอลยังตั้งชื่อให้ที่เหล่านั้นใหม่ทั้งหมดเพื่อกลบเกลื่อนร่อง รอย

34.     ในอดีต รัฐบาลผสมอิสราเอลที่นำโดยเอเรียล ชารอน นั้น มีพรรคโมโลเดท (Molodet) ร่วมอยู่ด้วย ซึ่งพรรคนี้สนับสนุนการขับไล่ชาวปาเลสไตน์ทั้งหมด (กว่า 2 ล้านคน) ออกจาก (บ้านของพวกเขาที่อยู่ใน) เขตยึดครอง

35.     อาคารในนิคมผู้อพยพชาวยิวที่สร้างขึ้นอย่างผิดกฎหมายในเขตยึดครองนั้น เพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวใน 8 ปีหลังการทำสนธิสัญญาออสโล

36.     อาคารในนิคมผู้อพยพชาวยิวที่สร้างขึ้นอย่างผิดกฎหมายในสมัยนายกรัฐมนตรีเอ ฮุด บารัคนั้น มีจำนวนมากเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับในสมัยของนายกรัฐมนตรีเนทันยาฮู

37.     นิคมผิดกฎหมายในเขตยึดครองชาวปาเลสไตน์เหล่านี้ ถูกสร้างในสมัยนายกรัฐมนตรีบารัค มากกว่าในสมัยใดๆ ในประวัติศาสตร์การยึดครองดินแดนปาเลสไตน์โดยอิสราเอล

38.     แม้ว่าจะมีการสั่งห้ามการทรมานโดยศาลสูงของอิสราเอล การทรมานนักโทษชาวปาเลสไตน์ก็ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องโดยนักสอบสวนจา กชินเบท (องค์การความมั่นคงภายในของอิสราเอล)

39.     ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์เป็นกลุ่มผู้ลี้ภัยที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก

40.     จุดตรวจทางทหารของอิสราเอลที่ปิดล้อมทุกๆ ชุมชนชาวปาเลสไตน์นั้น เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อตกลงออสโล

41.    มนุษย์ทุกคนได้รับการรับรองให้มีสิทธิ์ในการตัดสินใจโดยอิสระ ภายใต้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ธันวาคม ปี 1948) ถึงกระนั้น ชาวปาเลสไตน์ยังถูกคาดหวังว่าต้องต่อรองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ์นั้นภายใต้ ข้อตกลงออสโล

42.    ชาวปาเลสไตน์มีอัตราการสำเร็จปริญญาเอกโดยเฉลี่ยมากที่สุดในโลก