ประวัติและการก่อตั้ง “ฮามาส” ขบวนการต่อสู้แห่งปาเลสไตน์

8262

มีหลายเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นในระหว่างการยึดครองปาเลสไตน์ในปี 1948 และโดยเฉพาะหลังจากการพ่ายแพ้ในปี 1967 ขบวนการฮามาสเริ่มก่อตัวขึ้นมาภายใต้ความกดดันที่อิสราเอลได้เหยียบย่ำต่อปาเลสไตน์ สาเหตุที่ทำให้เกิดขบวนการฮามาสขึ้นมาสามารถวิเคราะห์ได้ว่ามาจาก 2 เหตุหลักด้วยกัน   หนึ่งคือสถานการณ์ในเวทีการเมืองของปาเลสไตน์ที่เปลี่ยนไปจนกระทั่งถึงปี 1987 และอีกสาเหตุคือการตื่นตัวของโลกอิสลามและทฤษฏีความยุติธรรมหลังยุค 80

ทั้งนี้โดยธรรมชาติ โดยสามัญสำนึกอันบริสุทธิ์ของมนุษย์ ไม่มีผู้ใดพอใจที่จะให้ผู้อื่นมากดขี่บีฑา ไม่มีใครต้องการให้ผู้ร้ายมายึดบ้าน มาทำร้ายคนในครอบครัว  ดังนั้นเมื่อชนกลุ่มหนึ่งตกเป็นเป้าสังหาร และพวกเขารู้ว่า ผู้ที่แสดงท่าทีว่าเป็นตัวแทนของพวกเขา ไม่สามารถช่วยเหลือพวกเขาให้รอดพ้นจากปลายปืนของไซออนิสต์ได้ พวกเขาจึงต้องดิ้นรนต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่ง “อิสรภาพ”  ฮามาสจึงถือกำเนิดขึ้นมา ภายใต้เจตนารมณ์ที่ต้องการจะปลดปล่อยปาเลสไตน์ให้พ้นจากการกดขี่ เจตนารมณ์แห่งการต่อสู้กับไซออนิสต์ผู้รุกรานดินแดนอันเป็นมาตุภูมิของชาว ปาเลสไตน์

หลังจากผ่านไปหนึ่งเดือนที่อิสราเอลได้โจมตีฉนวนกาซ่าอย่างโหดร้ายทารุณทั้งทางบก อากาศ และทางทะเล ถึงจุดหนึ่งประวัติศาสตร์จะบันทึกเรื่องราวของไซออนิสต์ว่า รัฐบาลอิสราเอลชุดนี้ เป็นรัฐบาลที่ไร้อนาคต และเป็นรัฐบาลเปื้อนเลือด และยังเป็นรัฐบาลที่พ่ายแพ้ต่อฝ่ายตรงข้ามด้วยความอัปยศและถอยทัพอย่างไร้ศักดิ์ศรี  และยอมรับเงื่อนไขบางอย่างในการรบที่ประกาศโดยขบวนการฮามาส

ตามรายงานทางทีวีช่อง 2 ของอิสราเอล ระบุว่า การบาดเจ็บล้มตายของชาวอิสราเอลในการบุกฉนวนกาซ่ามากกว่าการบุกเลบานอนในปี 2006 ถึง 4 เท่า สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า การวางยุทธศาสตร์ในการทำสงครามของอิสราเอล เริ่มใช่ไม่ได้ผลกับฮามาสอีกแล้ว  กระนั้นเจ้าหน้าที่รัฐของอิสราเอลก็พยายามปกปิดรายละเอียดเรื่องนี้เอาไว้  ทว่าสำนักข่าวชัรกุลเอาซัต (Asharq al-awsat) ของตะวันออกกลางได้รายงานข่าวเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาว่า จำนวนทหารที่ถูกฆ่าตายมีถึง 497 คน และเจ้าหน้าที่รัฐของอิสราเอลอีก 11 คน เช่นเดียวกันมีทหารอิสราเอลอีกกว่า 500 นายที่พยายามจะหลบหนีในการต่อสู้กับชาวปาเลสไตน์ โดยพยายามฆ่าตัวตายและทำร้ายร่างกายตนเอง

จุดนี้เป็นสิ่งที่แสดง ให้เห็นว่า ในด้านทำสงครามทางด้านจิตวิทยานั้นอิสราเอลก็พ่ายแพ้อย่างราบคาบ  และเช่นนี้แหละที่กองทัพอิสราเอลจะพ่ายแพ้ต่อขบวนการต่อสู้ฮามาส “ยิบรา อีแลนด์” (Gyvra Ayland)  อดีตที่ปรึกษาของหน่วยความมั่นคงคณะรัฐมนตรีของอิสราเอลได้ให้สัมภาษณ์กับ นสพ อิสราเอล “Yedioth” โดยเขาออกมายอมรับว่า “ฮามาสคือเสียงเรียกร้องของประชาชนในกาซ่าอย่างแท้จริง ฮามาสได้สร้างกองทัพที่เข้มแข็งขึ้นมา และในปฏิบัติการพวกเขาสามารถก่อตั้งรัฐบาลของตนขึ้นมาได้ ในความเป็นจริง หลายปีมาแล้วที่อิสราเอลอนุญาตให้ใช้อาวุธถล่มยิงปาเลสไตน์ แต่ในขณะเดียวกันเราก็อนุญาตให้เขา ได้มีอาหารบริโภค ซึ่งเป็นเรื่องน่าขบขัน เหมือนกับเราให้ยิงเขาวันนี้ และปล่อยให้เขาได้มีกินอิ่ม ในวันนี้ อิสราเอลยังไม่ล่มสลาย แต่อย่างน้อยพวกเขาก็ได้รับบทเรียนราคาแพง ไม่น้อยเลยทีเดียว”

ถ้าหากเรามองไปยัง สภาพต่างๆที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับสงครามระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์และ การถอนกำลัง อย่างไร้ศักดิ์ศรีของกองทัพอิสราเอลจากฉนวนกาซ่า  ก็คงต้องวิเคราะห์ถึงวิธีการที่ฮามาสใช้ในการต่อสู้กับอิสราเอล แต่ในวันนี้ เราจะมาทำความรู้จัก ฮามาส ให้มากยิ่งขึ้น

“ฮามาส” คือชื่อย่อของขบวนการต่อสู้อิสลามในปาเลสไตน์ เป็นขบวนการของประชาชน ซึ่งถือกำเนิดขึ้นมาบนเป้าหมายอันหนึ่ง คือการปลดปล่อยประเทศของตนให้เป็นอิสรภาพจากการกดขี่และการรุกรานของไซออนิสต์และผู้สนับสนุนพวกมัน ขบวนการปฏิวัติอันนี้ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน

d (1)
นี่คือภาพเหล่าผู้นำฮามาสนับจากขวาไปซ้าย คนที่ 2 คือ มัชอัล,อิสมาอีล ฮานียะฮ์, อิซซัต  รุชก์, ดอกเตอร์ มูซา อบูมัรซุค

สโลแกนของขบวนการ :

สโลแกนของขบวนการฮามาสจะถูกวาด ไว้ในโลโก้ของขบวนการ ซึ่งสื่อความหมายว่า มัสยิดอัลอักซอ คือ ส่วนหนึ่งของประเทศปาเลสไตน์ โดยมัสยิดอัลอักซอ ถูกปกป้องด้วยธงที่เป็นรูปส่วนโค้งทั้งสองข้างของมัสยิด

d (2)

ความหมายของ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์(ซบ)และท่านมู ฮัมมัด คือศาสนทูตของพระองค์ ที่เขียนในธงทั้งสองข้างของรูป  เป็นการแสดงถึงอุดมการณ์ ความเชื่อ ศรัทธา แห่งอิสลาม และดาบทั้งสอ งเล่มเป็นสื่อที่ชี้ถึงความแข็งแกร่ง ความมั่นคงและความมีเกียรติในปกป้องเพื่อความสงบสุขของชาวปาเลสไตน์

การก่อตั้งและความเป็นมา

ขบวนการฮามาสได้ประกาศก่อตั้งขึ้นมาในวันที่ 15 ธันวาคม ปี 1987 แต่จริงๆแล้วการก่อตัวขึ้นมาครั้งแรกๆ จะต้องกลับไปปี 40 ของศตวรรษนั้น ขบวนการฮามาสถูกก่อตั้งขึ้นมาพร้อมๆ กับขบวนการอิควาน และก่อนการประกาศก่อตั้งขบวนการฮามาสนั้น กลุ่มอิควานได้ประกาศเรียกกลุ่มต่างๆ ที่ต่อสู้ในดินแดนปาเลสไตน์ด้วยชื่อว่า “ขบวนการต่อสู้อิสลาม” “กองกำลังสนับสนุนดินแดนอัสรอ”

แรงบันดาลใจในการจัดตั้งกลุ่ม

มีหลายๆเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นในระหว่างการยึดครองปาเลสไตน์ในปี 1948 และโดยเฉพาะหลังจากการพ่ายแพ้ในปี 1967 ขบวนการฮามาสก็เริ่มก่อตัวขึ้นมา แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดขบวนการฮามาสขึ้นมามี 2 สาเหตุหลักด้วยกัน  หนึ่งคือสถานการณ์ในเวทีการเมืองของปาเลสไตน์ที่เปลี่ยนไปจนกระทั่งถึงปี 1987 และอีกสาเหตุคือการตื่นตัวของโลกอิสลามและทฤษฏีความยุติธรรมหลังยุค 80

1.การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 
d (3)
บิล คลินตันได้เชิญ ยัซเซอร์ อาราฟัต และ เอฮุด บารัค เข้าพูดคุยหาข้อสรุปในสนธิสัญญาแคมป์เดวิดในสหรัฐ

ปาเลสไตน์ค่อยๆ ตระหนักถึงปัญหาที่จะต้องเผชิญคือการใช้ชีวิตและความตาย เนื่องจากความขัดแย้งที่รุนแรงของอาหรับกับไซออนิสต์ และเรื่องราวอื่นๆ เช่น ปัญหาของผู้ลี้ภัย การรุกรานของไซออนิสต์ในพื้นที่ซากปรักหักพังแล้วเข้ามาฟื้นฟูอย่างไม่รู้ ไม่ชี้โดยเอาแผ่นดินปาเลสไตน์ไปสองในสาม และความพ่ายแพ้ในปี 1967 เป็นสาเหตุทำให้ชาวปาเลสไตน์รับรู้ถึงอันตรายของไซออนิสต์ และถึงเวลาแล้วที่พวกเขาจะต้องคิดและสร้างขบวนการต่อต้านขึ้นมา ในขณะที่องค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ในปี 80 เริ่มจะถดถอยกลับมานั่งดูผลงานของขบวนการใหม่ เนื่องจากการเคลื่อนไหวเชิงปฏิวัติที่อ่อนแอของพวกเขาทั้งในเวทีต่างประเทศ และในประเทศ และในทางตรงกันข้ามยังเป็นสาเหตุของการสูญเสียบทบัญญัติและสิทธิของประชาชน ชาวปาเลสไตน์ และหลังจากการลงนามข้อตกลงในสนธิสัญญาแคมป์เดวิดและการรุกรานของไซออนิสต์ และการบุกเลบานอน  การปิดล้อมกรุงเบรุต ทำให้ความเกลียดชังและความเป็นศัตรูกับไซออนิสต์ได้แพร่ขยาย ปกคลุมสู่จิตใจของมนุษย์ผู้รักความเป็นธรรมเพิ่มขึ้นเป็นทวี

การปิดล้อมที่เกิดขึ้น ยาวนานกว่า 3 เดือน  ซึ่งไม่มีปฏิกิริยาใดๆเกิดขึ้นเลยจากเหล่าประเทศอาหรับ องค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ก็ได้ออกจากเลบานอน ซึ่งในหมู่ผู้ร่วมขบวนการจำนวนหนึ่งได้เสนอให้มีการประนีประนอมกัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การมีอยู่ของไซออนิสต์ในแผ่นดินปาเลสไตน์ถูกยอมรับ และชาวไซออนิสต์ถือว่าดินแดนส่วนใหญ่ที่ยึดครองมาจากชาวปาเลสไตน์ คือ ส่วนหนึ่งของแผ่นดินพวกเขา

ในขณะที่เกิดสงครามระหว่างอิรัก-อิหร่าน ปัญหาปาเลสไตน์ก็ค่อยๆ เจือจางลงไปเรื่อยๆ บวกกับรัฐบาลไซออนิสต์ได้ลงนามสนธิสัญญาสงบศึกไว้จึงทำให้ตกอยู่ในสภาวะ กดดันและหนักหน่วงยิ่งขึ้น

ในสภาวะดังกล่าว เหล่าผู้นำอาหรับฝักใฝ่สหรัฐ และ รัฐบาลไซออนิสต์ มีความฮึกเหิมเพียงพอที่จะบุกโจมตีศูนย์กลางสำนักงานใหญ่ขององค์กรปลดปล่อย ปาเลสไตน์ในตูนิเซีย ในปี 1985 โดยมีการสนับสนุน จากประเทศต่างๆ เป็นแบ็คคอยหนุนหลังให้

2 การตื่นตัวของโลกอิสลาม

ประเทศปาเลสไตน์เป็นประเทศที่ได้รับแรงกระตุ้นกับการเผชิญอยู่กับการตื่นตัว ของโลกอิสลามมากกว่าประเทศอาหรับอื่นๆ นี้จึงเป็นอีกสาเหตุที่นำสู่ความคิดในการสร้างกลุ่มนักเคลื่อนไหวในหมู่ มุสลิมปาเลสไตน์

d (4)
การลงนามสนธิสัญญาออสโล 2 ระหว่างรัฐบาลไซออนิสต์กับองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ในสหรัฐ(28 กันยายน 1995)

ด้วยสาเหตุของการเมินเฉยของประเทศอาหรับต่อปัญหาปาเลสไตน์ และการสร้างขบวนการปรองดองขึ้นมานั้นไม่มีผลดีอะไรตามมา จึงทำให้การปฏิวัติทางความรู้และการออกมาแสดงการต่อต้านของประชาชนทั้งในและ นอกประเทศและการก่อตั้งขบวนการญิฮาดในวิถีทางอิสลามจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับพวกเขา และด้วยการเกิดขึ้นของกลุ่มขบวนการของเชคอะหมัด ยาซีนในปี 1983 จึงได้มีกลุ่มญิฮาดอื่นๆเริ่มแสดงตนออกมาเรื่อยๆ

อีกสาเหตุที่ทำให้เกิดการลุกขึ้นมาต่อต้านนโยบายทางการเมืองที่กดขี่ของ ศัตรูอย่างไซออนิสต์ คือ มาตการปราบปรามของพวกเขาที่ได้กระทำกับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย อันนะญาฮ์ และในมหาลัยต่างๆที่อยู่ในกาซ่าและเขตเวสต์แบงค์ซึ่งมีเจ้าหน้าที่รัฐบาลไซ ออนิสต์อยู่

การเปลี่ยนแปลง

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 1987 คนขับรถบรรทุกชาวไซออนิสต์ได้เหยียบรถตู้ขนคนงานชาวปาเลสไตน์ หลังจากนั้นก็มีชาวปาเลสไตน์ถูกฆ่าตาย 4 คนในค่ายผู้ลี้ภัยญาบาลิยา เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้ขบวนการญิฮาดอิสลามในปาเลสไตน์เริ่มเคลื่อนไหวด้วยการตีแผ่การปราศรัยของตน ในวันที่ 15 ธันวาคม 1987 และได้ประกาศกับประชาชนให้มีมาตรการต่อต้านที่รุนแรงขึ้นต่อไซออนิสต์ การก่อตัวขึ้นของขบวนการนี้ ทำให้รัฐบาลไซออนิสต์กังวลใจอย่างมาก พวกเขาพยายามที่จะเปิดใช้ระบบสารสนเทศของตนอย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อติดตาม การเคลื่อนไหวต่างๆของผู้นำขบวนการ และเพื่อหวังที่จะจับและควบคุมตัวพวกเขา

d (5)
จากการก่อตัวของกองกำลังชุดใหม่ โดย เชค อิสสุดดีน กัซซาม หนึ่งในแกนนำหลักของ พรรคฮามาส ยุทธวิธีการต่อสู้จึงเปลี่ยนแปลง

การจับกุมครั้งใหญ่และการกักกันควบคุมตัวสมาชิกของขบวนการเกิดขึ้นในปี 1989 ซึ่งเชคอะหมัด ยาซีน ก็เป็นหนึ่งในผู้ถูกจับกุมเช่นกัน

ในปี 1992 ในช่วงเริ่มแรก อิสราเอล ได้จับเหล่านักสู้ของฮามาส ไปเป็นเชลย ช่วงเวลานี้อยู่ในยุคสมัยของ ไอแซค รอบเบน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล โดยทางฝ่ายไซออนิสต์ ได้ตอบโต้ฝ่ายปาเลสไตน์ โดยเริ่มจากการเนรเทศนักต่อสู้ปาเลสไตน์ เป็นจำนวน 415 คน  ถึงกระนั้นเหล่านักสู้ของฝ่าย ฮามาส และญิฮาดอิสลามีย์ ก็ได้เขาลี้ภัยในค่ายชั่วคราว มัรญุซูฮูร ทางใต้ของเลบานอน และต่อสู้กับอิสราเอล ต่อไป ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ รอบเบน ต้องยอมเห็นชอบ ให้พวกเขาสามารถกลับสู่มาตรภูมิได้อีกครั้งหนึ่ง

ในปี 1994 บาโรค กุลเดชทาอิน ได้เข้าโจมตี ผู้ทำการนมาซ ในมัสยิด อิบรอฮีม อัลคอลีล โดยสังหาร ผู้ทำพิธีกรรมทางศาสนาไป 30 คน  และอีก 100 คน ได้รับบาดเจ็บจากการโจมตี ปฏิบัติการครั้งนี้ ทำให้ ฮามาส ประกาศตัว ในการทำสงครามกับไซออนิสต์ อย่างเป็นทางการ ขณะเดียวกัน ไซออนิสต์ ก็ไม่ได้หยุดยั้งการโจมตีแต่อย่างใด พวกเขายังคง เล็งเป้าไปที่ชาวปาเลสไตน์

แนวคิดในการต่อสู้ของฮามาส

ฮามาส ไม่ได้มองว่า พวกเขากำลังต่อสู้ทำสงครามกับไซออนิสตต์ แต่เพียงอย่างเดียว ทว่าการทำสงครามในครั้งนี้นั้น ความเป็นจริงแล้ว คือ การทำสงครามกับลัทธิล่าอาณานิคมยุคใหม่ ที่พยายามยึดครองผลประโยชน์ความร่ำรวยจากโลกอาหรับและโลกอิสลาม และการทำสงครามกับกลุ่มที่พยายามควบคุมเศรษกิจ การเมือง การทหาร ความคิด ให้อยู่ในกำมือของพวกเขา

ฮามาสเชื่อว่า วิธีในการต่อสู้กับไซออนิสต์ที่ดีที่สุด คือ การ การจัดกองกำลังในทุกสภาวะที่ปาเลสไตน์สามารถรองรับได้ ,การปกป้องอุดมการณ์แห่งการญิฮาด และการยืนหยัด ซึ่งจากการยึดมั่นในอุดมการณ์ แห่งการญิฮาด และการยืนหยัด จะทำให้ ปาเลสไตน์ สามารถปกป้องบ้านเมือง ไม่ให้ถูกยึดครอง และสามารถขับไล่ไซออนิสต์ให้ออกไปจาก มาตรภูมิของพวกเขาได้

ฮามาสรู้ดีว่า อิสราเอล พยายามจะที่พัฒนาสร้างผลกำไรทางเศรษฐกิจมาโดยตลอด โดยการเหยียบเศรษฐกิจของโลกอิสลาม และปาเลสไตน์ ให้จมดิน  และการวางหมากหลอกล่อให้เหล่าผู้นำฝ่ายปาเลสไตน์ยอมรับข้อเสนอของพวกเขา วิธีการเช่นนี้ จะทำให้ อิสราเอล สามารถยืนอยู่บนแผ่นดินปาเลสไตน์ ได้ในท้ายที่สุด  นอกจากฝ่ายฮามาสจะไม่ยอมรับในข้อเสนอแล้ว พวกเขายังได้เน้นย้ำอีกว่า พวกเขาจะทำสงครามกับไซออนิสต์ แต่จะไม่กำหนดให้ประชาชนเป็นเป้าหมายในสงคราม ยกเว้นกรณีที่ประชาชนฝ่ายอิสราเอลก่ออาชญากรรมก่อน  อย่างเช่นกรณี การสังหารหมู่มัสยิด อิบรอฮีมีย์  และถ้าหากเกิดสถานการณ์เช่นนี้ ก็จะมีการตอบโต้ที่เท่าเทียมกับที่ถูกโจมตี

สถานะทางการเมือง

ฮามาสได้ประกาศที่จะสนับสนุนในการแสวงหาสันติและการสงบศึกเสมอ แต่ทุกครั้งที่มีการเจรา เหล่าผู้เจรจา มักจะมองไม่เห็นถึงสิทธิมนุษยชนของปาเลสไตน์อยู่เสมอ หรือบางครั้งก็ปฏิเสธสิทธิต่างๆ ที่ชาวปาเลสไตน์ควรได้รับ ราวกับว่า ชาวปาเลสไตน์ มีสิทธิของการเป็นคน ไม่เท่ากับที่ชาวอิสราเอลมี ดังนั้นไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทุกครั้งที่มีการเจรจาอิสราเอล และชาติมหาอำนาจที่ค้ำหลังให้ประเทศนี้ จะทำเป็นไม่ได้ยิน เรื่องสิทธิมนุษยชนของชาวปาเลสไตน์

d (6)
ภาพ การท้วงติงของ ยัซเซอร์ อารอฟัต เนื่องจาก ความไม่ชัดเจนในการตีเส้นแบ่งเขตบริเวณเจริโค

ฮามาส ถือว่า ข้อเสนอ ที่อันตรายที่สุด ในการลงนามสนธิสัญญา กาซ่า  คือการร่วมลงนามสนธิสัญญา ในวันที่ 13 December 1993 ระหว่าง รัฐเถื่อนไซออนิสต์ กับ เหล่าผู้นำขบวนการปลดปล่อยปาเลสไตน์

สนธิสัญญาฉบับนี้ ไม่มีความชอบธรรมใดๆ ให้กับชาวปาเลสไตน์ เลยแม้แต่น้อย เพราะ ทางด้านหนึ่ง คือ คนกลุ่มหนึ่งที่ยอมรับ อิสราเอล อย่างเป็นทางการ และเคยชิน กับการสร้างความสัมพันธ์กับพวกเขา ส่วนอีกด้านหนึ่งคือ ผู้ที่ปรากฎตัวในการเจรจา ซึ่ง ไม่มีใคร เหมาะสมพอที่จะเป็นตัวแทน ให้กับ ประชาติปาเลสไตน์  เรียกได้ว่า กลุ่มทีเป็นพรรคพวกของอิสราเอล กับกลุ่มที่ ไม่เหมาะสมจะมาเป็นปากเสียงให้ชาวปาเลสไตน์ มาคุยกัน เรื่อง แผ่นดินปาเลสไตน์

จุดยืนของฮามาส เกี่ยวกับ ขบวนการปลดปล่อยปาเลสไตน์

ฮามาสเชื่อว่า  การจัดตั้งกลุ่มปลดปล่อยปาเลสไตน์ เป็นผลที่กำเนิดมาจาก การลงนามสนธิสัญญา กับอิสราเอล และการตรวจสอบถึงความจริงในเรื่องนี้ นับเป็นเป้าหมายอันนี้หนึ่ง ในหน้ากระดานที่พวกเขาได้บันทึกไว้

โดยกลุ่มปลดแอก ได้ทำสัญญา กับไซออนิสต์ ไว้หลายกรณีด้วยกัน โดยสัญญาที่สำคัญที่สุดซึ่งเป็นผลเสียกับปาเลสไตน์  ก็คือ , การทำลายเสถียรภาพความมั่นคงของฮามาส  และการอำนวยความสะดวก สร้างความพร้อม สำหรับ การก่อสร้าง โดยร่วมกับ ศัตรูคือ ไซออนิสต์

d (7)
ภาพ การร่วมลงนามสนธีสัญญา ในการสนับสนุน กลุ่ม ปลดแอก วอชิงตัน 1995 โดยมี มุบารอก อารอฟัต คลินตัน ไอแซค รอบเบน มุลก ฮูเซน

ฮามาส เชื่อว่า กลุ่มปลดแอก ถูกปกคลุม ด้วย กฎข้อบังคับบางอย่าง ที่จะช่วยเปิดไฟเขียวให้ไซออนิสต์สามารถปฏิบัติการตามความต้องการของตนได้  การปะทะกับกลุ่มปลดปล่อย คือ ความปรารถนาของไซออนิสต์ตรงนี้เอง เพราะแทนที่ ปาเลสไตน์จะทำสงครามกับอิสราเอล กับต้องมาหมกมุ่นกับการแก้ปัญหาภายใน และทำสงครามกับคนชาติเดียวกันเสีย เอง นี่คือเหตุผลว่า ทำไมถึงได้มีการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนในปาเลสไตน์ จากฝ่ายปลดปล่อย หรือจะเป็นการจับกุม การทรมาน  การลอบสังหารเหล่าผู้นำของฝ่ายฮามาส  ฮามาสได้พยายามที่จะยับยั้ง ไม่ให้เกิดการต่อสู้โดยใช้อาวุธ หรือการต่อสู้ที่สูญเปล่า และไร้ค่า และพยายามที่จะตีแผ่ข้อเท็จจริงอันนี้ ให้ประชาชนรับทราบถึงความอันตรายมาโดยตลอด

แนวคิดทางด้านความสัมพันธ์ทางการทูต และต่างประเทศ

1. ความขัดแย้ง ภายในประเทศ จะเป็นตัวยับยั้ง ในการสร้างความสัมพันธ์กับฝ่ายต่างๆ ในสหประชาชาติ

2. ฮามาส จะไม่เข้าแทรกแซงกิจการภายในและการเมืองของประเทศ หรือรัฐบาลอื่นๆ

3. สนับสนุนให้เกิดความสามัคคีและเอกภาพ ในประชาชาติอาหรับและอิสลาม

4. ให้ความสำคัญกับอุดมการณ์ และแนวคิดของกลุ่มต่างๆ ในระดับนานาชาติ ที่มีความเชื่อ แนวคิดทางการเมือง  เพื่อเรียกร้อง สิทธิอันชอบธรรม และการต่อต้าน การกระทำที่ไร้มนุษย์ธรรมโดยไซออนิสต์

5. การจำกัดการทำสงครามกับไซออนิสต์ในแผ่นดินปาเลสไตน์ และทำสงคราม หรือเคลื่อนย้ายกำลังทหาร ออกนอกจากเขตชายแดน ฮามาสจะไม่ทำสงครามนอกไปจากเขตปาเลสไตน์ หรือเขตที่ถูกยึดครองโดยอิสราเอล

บุคคลสำคัญ 

ชัยค์ อะฮหมัด อิสมาอีล  ยาซีน

 

d (8)
ภาพ เชค อะฮหมัด ยาซีน ครูสอน ภาษา อาหรับ และ ครูอบรบวิชาอิสลาม และนักปาฎคาภกแ ประจำ มัสยิดฆอซซะฮ

เชค อะฮหมัด เกิดในเมืองอัลเญาซะ ในฉนวนกาซ่า ปี 1938  เชค อะฮหมัด เป็นประธานสมาพันธ์อิสลามกาซ่า ในปี 1983 เนื่องด้วยการโจมตีและการทำลายของกลุ่มไซออนิสต์ เชค ถูกจับกุมตัว และถูกตัดสินจำคุกโดยศาลอิสราเอลเป็นเวลา 13 ปี   11 เดือนต่อมา เชค อะฮหมัด  ถูกปล่อยตัวเป็นอิสระโดยข้อเสนอในการแลกเปลี่ยนตัวเชลยศึกระหว่าง เจ้าหน้าที่ของอิสราเอลกับกลุ่มประชาชนชาวปาเลสไตน์

ผู้นำนักต่อสู้ผู้นี้ และนักเคลื่อนไหวท่านอื่นๆ ได้ร่วมกัน ก่อตั้ง พรรคฮามาส ขึ้นในปี 1987

ใน คืนวันที่ 18/5/1989 เชค ถูกจับตัว พร้อมกับ สมาชิก และผู้ติดตามนับร้อยคน และในวันที่ 16/10/1991 เชค อะฮหมัด ถูกศาลไซออนิสต์ ตั้งข้อหา ลักพาตัว ,ฆ่าสังหารชาวยิว , ร่วมกันก่อตั้งพรรคฮามาส และสมาชิก โดย คำตัดสิน คือ จำคุกตลอดชีวิต

ในวันที่ 13/12/1992 กลุ่มผู้เสียสละ อิซซุดดีน กัซซาม ได้จับกุมทหาร ไซออนิสต์ คนหนึ่ง และประกาศให้แลกตัวทหาร คนนี้ กับ เชคอะฮหมัด ยาซีน และ เชลยศึก และคนป่วย ที่ถูกจับตัวไป  แต่ ไซออนิสต์ ไม่ได้รับข้อเสนอดังกล่าว พวกเขาทำตรงข้าม คือ การถล่มสถานที่ที่เชลยผู้นี้ถูกจับกุม

ในวันที่ 1/10/1997 เชคอะฮหมัด ถูกปล่อยตัวเป็นอิสระจากการแลกตัวเชลย

อับดุล อะซิซ เซนตีซีย์

อับ ดุล อะซิซ เกิดในวันที่ 23/10/1947 ในเมือง บัยนา ภายหลังจากที่ เขาลืมตาดูโลก ไม่ถึง 6 เดือน ครอบครัว ก็ต้องย้ายไปอยู่ค่ายลี้ภัย

d (9)

เมื่ออายุ ได้ 6 ปี เขาได้รับการศึกษา ใน โรงเรียน สำหรับ ชาวปาเลสไตน์ที่ไร้บ้าน ไร้ที่อยู่ ในปี1065 เขาจบการศึกษา ระดับ กลาง และในปี 1972 เขาได้เรียนจบหลักสูตร ในมหาวิทยาลัย อิสกันดาริยะฮ ในปี 1976 เขาเป็นแพทย์ ใน โรงพยาบาล นาซีร ( ศูนยกลางการแพทย์ ใน คอนียูนิส) และเริ่มเคลื่อนไหว จากช่วงเวลานี้)

เขาถูกจับกุม โดย ทหารไซออนิสต์ ในวันที่ 4/2/1988 และถูกจับเป็นเฉลย เป็นเวลา 2 ปีครึ่ง โดยข้อหา ร่วมกันก่อตั้ง พรรคฮามาส  ภายหลัง ถูกปล่อยตัว ในวันที่ 4/2/1990  8 เดือน ต่อมา อับดุลอะซิซ ถูกจับอีกครั้งหนึ่ง และถูกขัง เป็นเวลาหนึ่งปี เต็ม ต่อมา ในวัน ที่ 7/12/1992 เขาถูกเนรเทศ พร้อมกับสมาชิก ฮามาส อีก400 คน  สู่เลบานอน

ในปี 2003 บุคคลสำคัญ ท่านนี้ ได้รับบาดเจ็บสาหัส  จากการโจมตี ของไซออนิสต์  และในปี 2004 ภายหลังจากที่ เชค อะฮหมัด ยาซีน ถูกลอบสังหาร เขาได้ ถูกเลือกให้เป็นผู้นำฮามาสคนต่อไป และในปีเดียวกัน เขาเสียชีวิต เนื่องจาก การบุกถล่มของอิสราเอล ในท้ายที่สุด

อามาด ฮะซัน อิบรอฮีม อักล

d (10)

อามาด เกิดในวันปี 10/7/91 ในค่าย ญะบาลิยา หลังจาก สงคราม ปี 1948 เขาได้ อพยพจากจังหวัด บัรอีร และเริ่มศึกษา ในโรงเรียน ในค่าย ญะบาลียา และเข้ารับการศึกษา ในระดับที่สูงขึ้น จนกระทั้ง เขาสามารถสอบเข้า สามา เภสัช ได้ และยังไม่ทันที่ชื่อจะถูกเขียน กลุ่ม ไซออนิสต์ ก็ได้ จับกุมตัวเขา โดยข้อกล่าว เคลื่อนไหวให้การสนับสนุนฮามาส เขาถูกจับกุมตัวเป็นเวลา 18 เดือน และถูกปล่อยตัวเป็นอิสระในภายหลัง

ในวันที่ 22/5/1992 เขาได้มุ่งสู่ เขตเวสแบงค์ และได้ก่อตั้งกลุ่มญิฮาด ที่นั่น ในวัที่ 24/11/1993 เขาถูกปิดล้อมโดยอิสราเอล พร้อมบรรดามิตรสหายจำนวนหนึ่ง ซึ่งหลังจากที่ได้สังหาร ทหารฝ่ายข้าศึก เขาก็เสียชีวิตเป็นชะฮีด ในเวลาต่อมา

ศอลาฮุดดีน มุสตอฟา อาลี ชะฮาดะฮ

บุคคลสำคัญ ท่านนี้ เป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นนักวิเคราะห์กิจการสังคม ในเมืองอะริช  และได้เคลื่อนไหว ที่นั้น หลังจากที่ เมืองนี้ ถูกยึดโดยไซออนิสต์  เขาได้ย้ายไป บัยตุนฮานูน  และได้ เคลื่อนไหวในกาซ่า ในเวลาต่อมา

d (11)

ในปี 1948 ไซออนิสต์ ได้กล่าวหา ซอลาฮุดดีน ว่า ได้ทำการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้าน อิสราเอล โดยไม่มีหลักฐาน หรือ คำให้การยอมรับใดๆ  เขาถูกตัดสินจำคุก เป็นเวลา 2 ปี ภายหลังถูกปล่อยตัวเป็นอิสระ ในปี 1948 เขาได้รับตำแหน่ง บริหารกิจการมหาวิทยาลัยอิสลาม กาซ่า และได้เคลื่อนไหวต่อไป แต่เนื่องจากการปราบปราม การประท้วง ไซออนิสต์ อิสราเอล จึงได้ตัดสินใจสั่งปิด มหาวิทยาลัยในปี 1987 ถึงกระนั้น ซอลาฮุดดีน ก็ยั่งมุ่งหน้าทำงานของเขาต่อไปจนกระทั่ง ถูกจับกุมอีกครั้งในปี 1988 ในปี 1989 ซอลาฮุดดีน ถูกสอบสวนเป็นเวลาหลายครั้ง แต่เขาก็ไม่เคยปริปาก ยอมรับสารภารพ หรือให้การใดๆ  ในปี 2003 อิสราเอล ได้ส่งเครื่องบินรบ F16 ทิ้งระเบิด ในสถานที่ ที่มีผู้คนแออัดชื่อว่า อัดดัรญ ในกาซ่า ทำให้เขาเสียชีวิต และเป็นชะฮีดในที่สุด

ดอกเตอร์ อิบรอฮีม มุกอดดีมะฮ

ดอกเตอร์อิบรอฮีม มุกอดดีมะฮ นับเป็น มันสมอง ของพรรคฮามาส เขาถือกำเนิด ในปี 1950 ใน บัยตุน ดิรอส และได้อพยพพร้อมครอบครัว สู่ ค่ายลี้ภัย อัลบะรีญ ในเวลาต่อมา เขาจบการศึกษา เป็นทันตแพทย์ ในเวลาต่อมา

d (12)

มุกอดดิมะฮ เริ่มต้นวัยหนุ่มด้วยการเข้าร่วมกับ กลุ่มอิควานุลมุสลิมีน และในช่วงสิ้นสุดการศึกษา เขาได้เดินทางกลับ ยังกาซ่า และเป็นหนึ่งในผู้นำของ ฮามาส และคนสนิท ของเชคอะฮหมัด ยาซีน ในเวลาต่อมา ในปี 1984 เขาถูกตั้งข้อมา พกพาอาวุธ และสร้างสมาชิก พรรคอิควาน ในกาซ่า และถูกตัดสินให้จำคุก เป็นเวลา 8 ปี

มุกอดดิมะฮ นับเป็นบุคคลหนึ่งที่ต่อต้าน สนธิสัญญาออสโล่ เขาได้ต่อต้าน ประเด็นนี้ โดยการเขียนหนังสือ เล่มหนึ่ง ชื่อ ว่า สัญลักษณ์ต่างๆ แห่งการปลดปล่อยปาเลสไตน์  และ สงครามการอยู่ในปาเลสไตน์  ในช่วงท้ายของชีวิต เขาได้เข้าร่วม ในการวิจัย ความมั่นคง และความปลอดภัย ในกลุ่มเยาวชน ฮามาส และ นักศึกษามหาวิทยาลัย และได้กล่าวปราศัย ถึง ประเด็นทางด้านศาสนา การเมือง และการต่อสู้ ในเวลารุ่งเช้าของวันที่ 8/3/2003 เขาถูกไซออนิสต์โจมตี พร้อมกับคนอีกสามคน และเสียชีวิต เป็นชะฮีดในเวลาต่อมา

ซะอีด ซัยยาม

ซะอีด เป็นหนึ่งในสมาชิก  สมาคม นักศึกษามหาวิทยาลัย ดารุล มุอัลลิมีน สาชา ตัรบียัตอิสลามีย์ และได้จบการศึกษา จากมหาวิทยาลัย กุดซ์ ในเวลาต่อมา ซึ่งนับแต่ปี 1980 จนถึง ปี 2003 เขารับตำแหน่งเป็น ครู ในโรงเรียน ที่ ขึ้นกับ หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ กับผู้พลัดถิ่นชาวปาเสลไตน์ และเคลื่อนไหว

d (13)

ซัยยาม เป็นที่รู้จัก จาก เหตุการณ์ประท้วงมัสลิม และการประท้วงเด็กๆที่ถือก้อนหิน และได้เข้าร่วม ในการแก้ไขปัญหาประชาชน โดยการจัดตั้งของเชค อะฮหมัด ยาซีน

บุคคลสำคัญท่านนี้ ถูกเลือกให้เป็น รัฐมนตรี ของรัฐบาล ปาเลสไตน์ ในปี 2008นอกจากนี้ เขาเคยถูกจับกุม โดยไซออนิสต์ ถึง 4 ครั้ง และถูกเนรเทศ ไปอยู่เลบานอน เป็นเวลาหนึ่งปี ในปี 1995 มอสสาด ได้จับกุมตัวเขาอีกครั้งหนึ่ง  ในปี 2006 หลังจาก การจับกุมทหารไซออนิสต์นายหนึ่ง โดย กลุ่ม อิซซุดดีน กัซซาม สำนักงาน ของ ซัยยาม ถูกโจมตี โดยเครื่องบินทิ้งระเบิดของไซออนิสต์ ซึ่งจากการโจมตี ครั้งนี้ ทำให้เขาได้รับ บาดเจ็บสาหัส เขาเสียชีวิต จากการ ทิ้งระเบิด ของเครื่องบิน F16 ในปี 2009 ในกาซ่า และเป็นชะฮีดในที่สุด

ปีกทางการเมือง ของสมาชิกพรรคฮามาส

คอลิด อับดุลเราะฮีม มัชอัล

d (14)

ครูสอนฟิสิกต์ และสนับสนุนผู้พลัดถิ่นชาว ปาเลสไตน์ สมาชิก สำนักงานทางการเมือง ของฮามาส ,และถูกเลือกเป็นประธานในปี 1996 และได้รับเลือกอีกครั้ง ในปี 2006 คอลิด เคยถูกลอบสังหาร ในวันนี้ 25/9/1997 ในโอมาน จอร์แดน และมิตรสหายของเขา ได้ช่วยชีวิตเขาได้ทันเวลา และได้จับกุมตัว มือปืนของมอสสาด ไว้ได้สำเร็จ เหตุการณ์ครั้งนี้ เป็น พื้นฐานสำคัญ ในการปล่อยตัวเชค อะฮหมัด ยาซีน ในเวลาต่อมา ในปี 1999 เขาถูกจับที่จอร์แดน และถูกเนรเทศ สู่โดฮา ในเวลาต่อมา

มูซา อบู มัรซูค

d (15)

ดร มูซา อบู มัรซูค ถือกำเนิดในค่ายลี้ภัย ริฟาฮ จบการศึกษา สายวิศวกร เครื่องจักร เคลื่อนไหวทางด้านอิสลาม ในปาเลสไตน์ ปี 1968และยังเป็นผู้บริหารโรงงานอลูมิเนียม และเป็นหนึ่งใน วิศวกร ที่ทำงานทางด้านน้ำมัน ตั้งแต่ ปี 1976 -1981 นอกจากนี้ เขายังร่วมจัดตั้ง พรรค ฮามาส ในช่วงที่ สมาชิก จำนวนมากถูกจับกุม และประธานสำนักงานทางการเมืองคนแรก ของพรรคฮามาสเข้าร่วม ในการจัดตั้ง สถาบัน นานาชาติกุดส์ และเป็นประธานบริหารในสมัยแรก

3.ซามี คอฏิร

d (16)

ซามี คอเฏร จบการศึกษา สาขาเศรษฐศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ในมหาวิทยาลัย บัคดา ปี 1972 ผลงานด้านการเคลื่อนไหว ได้แกการวิจัยสถาบันด้านสื่อและการสื่อสาร ,ผู้ดูแลฝ่ายการเมือง ทางด้านนิตยาสารและหนังสือพิมพ์ หลายฉบับ ,ผู้ตวรจทานบทความและวิจัยการเมือง,วิจารณ์ทัศนะเกี่ยวกับการเมืองในประเด็น เรื่องปาเลสไตน์ และระดับนานาชาติสากล และวิจารณ์การเมือง อิสราเอล ด้วยเช่นเดียวกัน , จัดโปรแกรม ทางการเมือง และสื่้อ , สังเกตการณ์ และพิจารณา แนวทางทางด้านการเมืองของพรรคฮามาส ,เป็นสมาชิกสภาประชาชาติอิสลาม

มะฮมูด อัซซิฮาร

d (17)

ดร.มะฮมูด จบการศึกษา แพทย์ ด้านการศัลยกรรมทั่วไป ผลงานการเคลื่อนไหวได้แก่  เป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลในกาซ่า และ คานยูนูส จนกระทั่ง อิสราเอล สั่งห้าม ไม่ให้ ดร เข้าทำงาน โดยอ้างว่า เขาได้เคลื่อนไหวทางการเมือง ,ประธานสมาคิมแพทย์และพยาบาล มหาวิทยาลัย อิสลาม กาซ่า ประธาน สมาคมแพทย์ฉนวนกาซ่า 1981-1985 ประธานองค์กรบริหารศูนย์ข้อมูลสื่อสารอัลนูร ในฉนวนกาซ่า ดร.มะฮูมูด เคยถูก ไซออนิสต์ จับกุมตัวหลายครั้ง และเคยถูกเนรเทศ ในปี 1992

อิสมาอีล คอลีล ฮัยยาฮ

d (18)

ดร. อิสมาอีล ฮัยยาฮ จบการศึกษา ศาสนวิทยา จากมหาวิทยาลัยอิสลาม กาซ่า ในปี 1986  เป็นสมาชิก สมาคมนักศึกษาศาสนาปาเลสไตน์ สมาชิกสภาการร่างนิติบัญญัติปาเลสไตน์ ผู้ช่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามกาซ่า ปี 2001 -2005

อิซซัด มูฮัมมัด ริชก

d (19)

อิซซัต ได้เคลื่อนไหวทางด้านสื่อ  โดยเริ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง นับตั้งแต่ปี 1987 เป็นหนึ่งในสมาชิก องค์กร อะซาบอาหรับ และยังเป็นสมาชิก องค์กร นานาชาติกุดส์ สมาชิกองค์ประชาชาติอิสลาม เข้าร่วมคอนเฟรนซ และเวทีปราศัยต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้สนับสนุนปาเลสไตน์มากยิ่งขึ้น เขาเคยถูกจับ สองครั้ง พร้อมเหล่าผู้นำของฮามาส ในปี 1996 และ 1999

อามาด คอลิก อัลอะลามีย์

d (20)

อามาด คอลิด อัลอะลามีย์ จบการศึกษา วิศกรก่อสร้าง สถาปนิก จาก มหาวิทยาลัย อิสกันดารียะฮ อิยิปต์  อามาด เป็นตัวแทน ของฮามาส ในเตหะราน และดามัสกัส และในช่วงการประท้วงรอบแรก ในปี 1988-1990 ถูกจับกุมตัว ในปี 1991 อิสราเอล ได้เนรเทศเขาออกจาก กาซ่า

มูฮัมมัด นิซาล

d (21)

มูฮัมมัด นิซาล จบการศึกษาสายวิทยาศาสตร์เคมี จากมหาวิทยาลัยการาจี เขาได้เคลื่อนไหวโดยการก่อตั้งองค์กรต่างของนักศึกษาปากีสถาน เป็นเลขาธิการ สมาคมเอกภาพนักศึกษาปาเลสไตน์  เริ่มต้นเคลื่อนไหว ในขบวนการฮามาส เมื่อ ปี 1989 เป็นตัวแทนของฮามาส ในจอร์แดน ปี 1992 และยังเป็นสมาชิก องค์กรประชาชาติอิสลาม นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในสมาชิก กลุ่มผู้เคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการรุกรานและการละเมิด และเป็นนักเขียนและนักวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองให้กับหนังสือพิมพ์ หลายสำนัก และยังเป็นนักวิจารณ์ ทัศนะต่างๆเกี่ยวกับปาเลสไตน์ ต่างวาระ และเข้าร่วม การประชุม หลายๆครั้ง ในการหารือ เพื่อ ส่งเสริมให้เกิดการสนับสนุนต่อ ชาวปาเลสไตน์

 

แปล/เรียบเรียงโดย ยูซุฟ ญาวาดี
ที่มา http://islamtimes.org/vdcevx8evjh87ei.b9bj.html