alalam – เมื่อเร็ว ๆ นี้องค์กรระหว่างประเทศได้ทำการตีพิมพ์รายงานเกี่ยวกับรายละเอียดของการเจรจาลับระหว่างอิหร่านและตุรกีในปี 2013 เกี่ยวกับความสันติภาพในซีเรีย
สำนักข่าวระหว่างโบห์รอน ได้นำเสนอรายละเอียดเมื่อวันจันทร์ที่13 เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านและตุรกีโดยอ้างอิงการสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่อาวุโสของบางประเทศ
รายงานระบุว่าในเดือนกันยายนปี 2013 นั่นคือสามเดือนหลังจากที่ฮัสซัน โรฮานี ได้เป็นประธานาธิบดีอิหร่าน เตหะรานได้ยื่นเสนอแผนสันติภาพในซีเรียให้กับตุรกี ซึ่งแผนดังกล่าวถูกร่างขึ้นหลังจากที่ได้ปรึกษาหารือกับนายพล Qasem Soleimani ผู้บัญชาการแห่งกองทัพอัลกุดส์ของอิหร่าน
แผนสันติภาพของอิหร่านได้นำเสนอเกี่ยวกับขั้นตอนในการหยุดยิงในซีเรีย รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อจำกัดอำนาจของประธานาธิบดีของประเทศ
สิ่งสำคัญที่สุดในแผนการที่นำเสนอของอิหร่านคือ การเลือกตั้งประธานาธิบดีในซีเรียต้องอยู่ภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ
แผนดังกล่าวได้มีการถกอภิปรายมาหลายเดือนระหว่างโมฮัมมัด ญะวาด ชารีฟ รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่านกับ Ahmet Davutoglu รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศตุรกี แต่ในท้ายที่สุดเนื่องจากบทบาทในอนาคตของบาชาร์อัลอัสซาดประธานาธิบดีซีเรียทำให้แผนดังกล่าวล้มเหลว
ได้รับรายงานในประเด็นนี้จากโมฮัมมัด ญะวาด ชารีฟ ว่า เราตกลงกันในรายละเอียดทั้งหมดยกเว้นขั้นตอนสุดท้ายของการเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ
รัฐมนตรีต่างประเทศของอิหร่าน เผยว่า ผู้นำตุรกี ต้องการแบนอัสซาดไม่ให้เข้ารับการเลือกตั้ง ผมก็ได้ยกประเด็นที่ว่าในการเลือกตั้งที่อยู่ภายใต้การตรวจสอบในระดับสากลนั้นไม่ต้องกังวลเลย โดยเฉพาะถ้าตุรกีได้มีความเชื่อมั่นเช่นนั้นว่า อัสซาดมีความน่ากลัวและมีผู้สนับสนุนจำนวนน้อย แต่ Davutoglu ปฏิเสธและความพยายามของเราก็ไร้ผล
อับดุลลาห์กุล อดีตประธานาธิบดีของตุรกีกล่าวกับสำนักข่าวระหว่างประเทศโบห์รอน ว่า รัฐบาลของเราไม่ได้มีแผนที่จะร่วมมือกับอิหร่านเพราะเราคิดว่าอัสซาดจะถูกโค่นล้มภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า
รายงานระบุว่า จากมุมมองของอังการา ความล้มเหลวของอัสซาดในสนามรบไม่ต้องใช้หลักประนีประนอมหรืออย่างน้อยปรับปรุงแง่มุมของการขจัดข้อตกลงดังกล่าว
สำนักข่าวระหว่างประเทศ รายงานเสริมว่า ช่วงที่สองในความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเตหะรานและอังการาหลังจากที่ทหารทำรัฐประหารล้มเหลวในตุรกี ในห้วงเวลาดังกล่าวอิหร่านให้การสนับสนุนเออร์โดกานผู้นำตุรกี ทันที และนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างทั้งสองประเทศ
ในขณะเดียวกันกองกำลัง YPG ในภาคเหนือของซีเรียอันนำมาซึ่งความร้าวฉานระหว่างอังการาและมอสโก
ในการเจรจาที่เกิดขึ้นหลังสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้ โดยที่อิหร่านและตุรกียังคงมีความเห็นต่างเกี่ยวกับชะตากรรมของบาชาร์อัลอัสซาด ก็ได้มีการเจรจาพูดคุยในอีกประเด็นหนึ่ง รวมถึงระบบการปกครองซีเรียควรจะเป็นระบบประธานาธิบดีหรือรัฐสภาและวิธีการใช้อำนาจว่าควรจะมีการแบ่งอย่างไร
รายงานระบุว่า หลังจากสองวันของการเจรจาระดับสูง ในที่สุดการเจรจาต้องล้มเหลวเนื่องจากตุรกีตัดสินใจที่จะเข้าไปการแทรกแซงทางทหารโดยตรงในซีเรีย ภายใต้การปฏิบัติการที่เรียกว่า “โล่ยูเฟรติส”
รายงานระบุอีกว่า หนึ่งวันก่อนจะเริ่มปฏิบัติการ อิหร่านมีความแปลกใจอย่างมากที่ตุรกีไม่มีการแจ้งข่าวที่จะเริ่มปฏิบัติการ “โล่ยูเฟรติส” ให้กับเจ้าหน้าที่ของอิหร่านที่อยู่ในอังการาแต่อย่างใด