การปฏิวัติที่ไม่สะดวกง่ายดายของบาห์เรน : การต่อสู้ระหว่างกษัตริย์กับครอบครัวของนักสู้เพื่อเสรีภาพ

“มีรูปแบบหนึ่งของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ความจงรักภักดีทางการเมือง และตัวแปรทางทหาร ที่เข้ามามีบทบาทเมื่อกล่าวถึงบาห์เรน เรารู้เรื่องนั้น แต่ประชาชนก็ไม่สามารถถูกทำให้มีชีวิตอยู่อย่างทาสได้ เพราะมันเป็นการอำนวยความสะดวกทางการเมืองและทางเศรษฐกิจแก่มหาอำนาจต่างชาติ”

1480

 

ผู้ที่ต่อสู้ในพื้นที่ได้ขนานนามมันว่า “การปฏิวัติที่ไม่สะดวกง่ายดาย” การลุกขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตยของบาห์เรนยังคงเป็นจุดสีดำบนแผนที่อาหรับ สปริง ซึ่งเป็นขบวนการเพื่อการปฏิวัติที่สื่อพากันหลีกเลี่ยงเนื่องจากมันได้ตีแผ่ ถึงผลประโยชน์ทางการเมืองและศีลธรรมที่ซ้ำซ้อนและขัดแย้งกัน

“เรารู้ว่าเสรีภาพของ บาห์เรนเป็นหัวข้อสำหรับโต้เถียงกัน มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่บาห์เรนเป็นศูนย์กลางของบาห์เรนและผลประโยชน์ ทางยุทธศาสตร์ของมหาอำนาจต่างชาติในภูมิภาคนี้” มัรยัม อัล-คอวาญากล่าวในการให้สัมภาษณ์กับมินท์เพรสนิวส์

เกาะที่เป็นมากกว่า ราชอาณาจักรนี้เป็นบ้านของประชาชนมากกว่า 1.3 ล้านคน น้อยกว่าครึ่งของประชากรถือสัญชาติบาห์เรน บาห์เรนเป็นเพชรทางภูมิยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อราชวงศ์ในแถบ อ่าว และต่อมหาอำนาจตะวันตก ทั้งสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรมีความเข้าใจว่าบาห์เรนและผู้ปกครองของมันมีความสำคัญอย่าง ยิ่งในการรักษา ปกป้อง และดำเนินการเพื่อผลประโยชน์ทางทหาร การเมือง เศรษฐกิจ และความเป็นผู้นำของพวกตนในภูมิภาคนี้ บาห์เรนเป็นตัวต่อชิ้นหนึ่งในแถบตะวันออกกลาง จึงไม่สามารถปล่อยให้หลุดออกไปจากเขตการปกครองของตนได้

ขณะที่มหาอำนาจเหล่า นั้นอาจรู้สึกว่าผลประโยชน์ของพวกตนมีความสำคัญเหนือกว่าสิทธิโดยธรรมชาติ ของประชาชนชาวบาห์เรนในการตัดสินใจด้วยตัวเอง ครอบครัวหนึ่งในบาห์เรน ครอบครัวคอวาญา ได้ทำให้มั่นใจว่าเสียงของชาวบาห์เรนยังคงดังกว่าเสียงรบกวนทางการเมือง ครอบครัวนี้เป็นเสมือนสัญญาณไฟและจุดชุมนุมสำหรับบรรดาผู้ที่ความหวังและ เสียงร้องของพวกเขาถูกบดขยี้อยู่ภายใต้ระบอบการปกครองที่กดขี่ของอัล-คอลิฟา พวกเขาลุกขึ้นในฐานะเป็นตัวแทนของการเรียกร้องของชาวบาห์เรนที่ดำเนินต่อไป เรื่อยๆ

 

ผลประโยชน์ซ้ำซ้อนของต่างชาติและภูมิภาค

อัลเบอร์โต ครูซ นักข่าวสายสืบสวนได้เขียนบทความเกี่ยวกับขบวนการปฏิวัติเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2011 ว่า “เหตุการณ์ในประเทศเล็กๆ แห่งนี้มีความสำคัญทางภูมิยุทธศาสตร์อย่างยิ่งยวด จนถ้าหากว่าการจลาจลในปัจจุบันมีชัยชนะขึ้นมา มันจะส่งผลกระทบต่อคูเวตและซาอุดิอารเบีย”

ด้วยการเป็นพันธมิตร ต่างชาติ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในซาอุดิอารเบีย มันจะส่งเสียงสะท้อนไปทั่วเมืองหลวงของโลก อย่างเช่น ลอนดอน วอชิงตัน มอสโคว์ และเตหะราน และมันจะเปลี่ยนสมดุลอำนาจของโลกไปในทันที

ด้านผลประโยชน์ของ ตะวันตกในบาห์เรน ครูซได้อธิบายในบทวิเคราะห์ของเขาว่า ผลประโยชน์ด้านน้ำมัน การทหาร และความกดดันทางการเมือง จะสั่งให้ประเทศฝ่ายตรงข้ามเช่นอิหร่านลุกขึ้นเพื่อปลดปล่อยชาวบาห์เรนให้ เป็นอิสระ

การปฏิวัติของบาห์เรนต้องเผชิญกับความจริง กำแพง และมหาอำนาจเหล่านี้มาตั้งแต่ปี 2011 การ เดินขบวนเรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตยของบาห์เรนนั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่อ หลายทศวรรษก่อน แต่เหตุการณ์ในปี 2011 เป็นเครื่องหมายของความต้องการการเปลี่ยนแปลงในทันที หลังจากต้องใช้ชีวิตอยู่ใต้อำนาจมืดของเผด็จการมาหลายทศวรรษ ชาวบาห์เรนได้ตัดสินใจที่จะทวงคืนพื้นที่อันชอบธรรมภายใต้ดวงอาทิตย์ของพวก เขา ด้วยความหวังที่จะกำหนดชะตากรรมทางการเมืองและศาสนาของพวกเขาด้วยตัวของพวก เขาเอง ครอบครัวคอวาญายืนอยู่แถวหน้าของขบวนการนี้ โดยที่สมาชิกแต่ละคนไม่เพียงแต่กำหนดขบวนการเคลื่อนไหวเท่านั้น แต่ยังกำหนดวิถีความเป็นอยู่ด้วย

 

“แม่ของฉันพาฉันมายังโลกนี้อย่างมีอิสระ”
AP316911677561_0
(ภาพ 1) ซัยนับ อัล-คอวาญา (ซ้าย) ชูสัญลักษณ์ขณะตะโกนว่า “พระเจ้าทรงยิ่งใหญ่กว่าผู้กดขี่คนใด” ขณะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมในเมืองเอเคอร์ บาห์เรน เมื่อปี 2012

 

ในการพูดต่อหน้าศาลใน บาห์เรนเมื่อต้นเดือนนี้ ด้วยข้อหา “ทำลายทรัพย์สินของรัฐบาล” (ในกรณีนี้คือการฉีกพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ฮามาด บิน อิสซา อัล-คอลิฟา) ซัยนับ อัล-คอวาญา ซึ่งกำลังท้องแก่ประกาศว่า “ฉันเป็นลูกสาวของชายผู้ทระนงและมีอิสระ แม่ของฉันพาฉันมายังโลกนี้อย่างมีอิสระ และฉันจะให้กำเนิดลูกชายที่มีอิสระ แม้ว่าจะอยู่ในคุกก็ตาม มันเป็นสิทธิ์ของฉัน และเป็นความรับผิดชอบของฉันในฐานะอิสระชน ที่จะทำการประท้วงต่อการกดขี่และผู้กดขี่”

ครอบครัวคอวาญาเป็น ใคร? เช่นเดียวกับครอบครัวแมนเดลาแห่งแอฟริกาใต้ ครอบครัวคอวาญาเกี่ยวข้องอยู่ในเรื่องของอิสรภาพ เมื่อมีการพูดถึงเสรีภาพพลเรือนและสิทธิมนุษยชนของประชาชน ครอบครัวคอวาญาจะยืนอยู่แถวหน้า ไม่ผ่อนปรนและไม่หวาดกลัวแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นอับดุลฮาดี อัล-คอวาญา หนึ่งในบุคคลที่มีชื่อเสียงที่สุดของบาห์เรน และเป็นนักเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิ์ที่รู้จักกันดี และเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์เพื่อสิทธิมนุษยชนบาห์เรน (Bahrain Center for Human Rights) ภรรยาของเขา คอดิญะฮ์ อัล-มูซาวี หรือลูกสาวของเขา มัรยัม และซัยนับ อัล-คอวาญา จนราวกับว่าการต่อสู้ไหลเวียนอยู่ในดีเอ็นเอของครอบครัวนี้

มัรยัม เข้าสู่โลกของการต่อสู้ตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น ปัจจุบันอายุ 27 ปี เป็นผู้สืบทอดมรดกของครอบครัว เมื่อทั้งบิดาและพี่สาวของเธอตกเป็นเหยื่อความโกรธของตระกูลอัล-คอลิฟา ต้องเป็นนักโทษทางความคิดในรัฐที่หลายข้อกล่าวหาไม่ได้มีพื้นฐานทางศีลธรรม ใดๆ เลย อับดุลฮาดี อัล-คอวาญาถูกคุมขังมาตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2011 เมื่อเขาถูกจับกุมเนื่องจากการมีบทบาทในการจลาจลเรียกร้องประชาธิปไตยปี 2011 ซัยนับถูกจับกุมหลายครั้ง และได้รายงานต่อองค์การนิรโทษกรรมสากลว่าถูกทำร้ายร่างกายระหว่างอยู่ในความ ควบคุมของตำรวจ

ในการให้สัมภาษณ์ พิเศษกับมินท์เพรส มัรยัมอธิบายว่าเธอเข้ามาเป็นเครื่องมือในการปฏิวัติบาห์เรนอย่างไร และสิ่งที่เธอหวังคือการขับตระกูลอัล-คอลิฟาออกจากราชบัลลังก์

“การเคลื่อนไหวต่อสู้ เป็นสิ่งที่เราเติบโตมาพร้อมกับมันตั้งแต่เด็ก เราเติบโตมากับพ่อแม่ที่เป็นนักเคลื่อนไหวมาตลอดชีวิตของพวกท่าน ไม่ใช่แค่พ่อของฉัน แต่แม่ของฉันด้วย จริงๆ แล้วแม่ของฉันเป็นแรงขับเคลื่อนในครอบครัวของฉัน เป็นเครื่องยนต์เบื้องหลังการอุทิศตนของเรา ไม่ใช่เพื่อบาห์เรนเท่านั้น แต่เพื่อสิทธิมนุษยชนโดยทั่วไปด้วย แม่ของฉันเป็นคนเข้มแข็งมากและพูดตรงมากเสมอ ท่านได้หล่อหลอมเราให้เป็นอย่างที่เราเป็น และทำให้เราตระหนักถึงความรับผิดชอบที่เราทุกคน ในฐานะประชาชน ต้องแบกรับเพื่อตัวเราเอง เพื่อครอบครัวของเรา และเพื่อประชาคมของเรา” เธอบอกกับมินท์เพรสจากสำนักงานใหญ่ศูนย์เพื่อสิทธิมนุษยชนบาห์เรนในเดนมาร์ก

เธอบอกว่าเธอเข้าใจ ว่างานของเธอเป็นเสมือนผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน เป็นการเรียกร้องมากกว่าการเป็นการแสดงตัว เป็นการแสดงความรับผิดชอบมากกว่าเป็นการสนองความมักใหญ่ใฝ่สูงส่วนตัว

“เหตุผล ที่เรามาอยู่แนวหน้าในการปฏิวัติบาห์เรนนั้นก็เพราะเราได้รับเครื่องมือและ ความรู้ พ่อแม่ของเราช่วยสร้างและบ่มเพาะเราให้มีความยึดมั่นต่อความบริสุทธิ์และ ยุติธรรม เรามีความเข้าใจว่าการปกป้องสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของประชาชนคืออะไร และเรียกร้องว่าทุกคนต้องได้รับสิ่งนั้นอย่างเท่าเทียมกัน” เธอกล่าว

แม้บางคนจะเข้าใจ ว่าการเคลื่อนไหวต่อสู้เป็นช่องทางหนึ่งสำหรับบางคนที่จะส่งเสริมความ ทะเยอทะยานและตำแหน่งทางการเมือง แต่เธอได้เน้นว่าสำหรับครอบครัวของเธอและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหลายร้อนคน ทั่วภูมิภาคและทั่วโลก มีจุดศูนย์รวมอยู่ที่การเปล่งเสียงออกมาแทนบรรดาผู้ที่ถูกทำให้เงียบ

 

ความเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นภายใน ไม่ใช่ภายนอก

เมื่อพูดถึงจังหวะ ย่างก้าวของบิดา มัรยัมกล่าวว่า หลังจากที่บิดาของเธอได้รับการปล่อยตัวจากคุกในปี 2005 ประชาชนหันมาหาเขาเพื่อนำและริเริ่มการเปลี่ยนแปลง แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่เขาจินตนาการไว้เลย

“พ่อของฉันไม่ต้องการ จะบอกประชาชนว่าต้องทำอะไร ย้อนกลับไปในปี 2005 ท่านได้กล่าวปราศรัยและอธิบายว่า สิ่งที่ง่ายที่สุดสำหรับประชาชนคือการตามผู้นำ ทั้งที่จริงๆ แล้วพวกเขาควรจะมองเข้าไปภายในเพื่อเปลี่ยนแปลงการจัดการและทำให้เกิดสังคม ที่พวกเขาใฝ่ฝัน …มันเป็นการเสริมอำนาจให้กับตัวเองและการปลดปล่อยทางการเมือง และนั่นเหมือนกับเป็นการพูดกับฉันจริงๆ ฉันคิดว่านี่คือสิ่งที่พ่อของฉันยืนหยัดขึ้นเพื่อมัน และนี่คือสิ่งที่ฉันต่อสู้เพื่อให้ได้มาเพื่อประเทศของฉัน” เธออธิบาย

เธอเน้นย้ำว่าเธอและครอบครัวต้องการที่จะรับใช้ประชาชน ไม่ใช่เพื่อบอกพวกเขาว่าต้องทำอะไร

“ในฐานะนักปกป้อง สิทธิมนุษยชนชาวบาห์เรน งานของฉันไม่ใช่การพูดเพื่อประชาชน แต่เป็นการขยายเสียงพูดของประชาชน และเป็นเรือที่นำพาเสียงร่ำร้อง ความปรารถนา และความหวังของพวกเขา… ฉันต้องการทำให้แน่ใจว่าการพูดไม่ออกนั้นไม่ใช่ไม่มีเสียงพูด” เธอกล่าว

“ฉันพูดแทนประชาชน นี่คือสิ่งที่ฉันเห็นมัน”

จากข้อมูลของศูนย์ เพื่อสิทธิมนุษยชนบาห์เรนระบุว่า มีผู้ชายและผู้หญิงที่ยังอยู่ในคุกของบาห์เรนมากกว่า 3,000 คน แต่มีน้อยคนที่จะได้พบกับอารมณ์ร้ายกาจของตระกูลอัล-คอลิฟาในแบบเดียวกับที่ ครอบครัวคอวาญาได้พบเจอ ทั้งตามรังควาน กดขี่ ติดตาม กระทำทารุณ ขู่เข็ญ ทรมาน และจับกุมคุมขัง ทั้งพ่อ แม่ และลูกสาวต้องชดใช้ในราคาแพงสำหรับการทำให้สำนึกและการที่พวกเขาปฏิเสธไม่ ยอมก้มหัวให้กับระบบที่พวกเขารู้สึกว่าทั้งขาดศีลธรรมและไม่ยุติธรรม

 

การปราบปรามอย่างเป็นระบบและสิ่งที่มีในอนาคต

Riyad al-Maliki, Khalid bin Ahmad Al Khalifa, Sameera Rajab

(ภาพ 2) ริยาด อัล-มาลิกี รัฐมนตรีต่างประเทศปาเลสไตน์, จากซ้าย, คอลิด บิน อะห์มัด อัล-คอลิฟา รัฐมนตรีต่างประเทศบาห์เรน และซามีรา ราญับ รัฐมนตรีข้อมูลข่าสาร รับฟังการปราศรัยระหว่างการประชุมเอกอัครราชทูตปาเลสไตน์ประจำประเทศอาหรับ ในกรุงมานามา บาห์เรน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม 2014

 

เมื่อถามว่าทำไมเธอ จึงรู้สึกว่าราชวงศ์อัล-คอลิฟาทำการรุกรานในการปราบปรามอย่างเป็นระบบต่อ ครอบครัวของเธอ มัรยัมอธิบายว่า ความโกรธของราชวงศ์นี้เป็นเสมือนอาการทางจิตประจำตระกูลของอัล-คอลิฟา และสะท้อนให้เห็นถึงความไม่รู้จักพอทางการเมืองของราชวงศ์นี้ และการไร้ความสามารถในเรื่องเกี่ยวกับความต้องการของประชาชนของตน

“ผู้มีอำนาจปกครอง ตระกูลนี้รู้สึกอยู่เสมอว่าต้องกดขี่และปราบปราม ครอบครัวของเรามักจะพูดจาตรงไปตรงมาเสมอ และอัล-คอลิฟาก็เฝ้าระวังพ่อและแม่ของฉันและงานของพวกท่านเสมอ พ่อของฉันตัดสินใจว่าท่านต้องการจะเป็นคนที่ทำให้ตระกูลนี้รับผิดชอบสำหรับ การกระทำของตน แม้ว่ามันจะทำให้ท่านตกอยู่ในกับดักทางการเมืองอย่างง่ายดาย”

“เนื่องจากพวกเขาไม่ สามารถซื้อเราได้ พวกเขาจึงเลือกที่จะกดขี่เรา พ่อของฉันกลายเป็นตัวปัญหาเพราะท่านเป็นคนเดียวที่พูดออกมา ผู้ปกครองที่กดขี่จะกลัวสิทธิมนุษยชน เพราะมันจะไม่หันเหออกไปจากความจริงเลย …ไม่มีพื้นที่สีเทา คุณจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่อาชญากรก็เป็นคนดี นี่คือสิ่งที่น่ากลัวสำหรับผู้มีอำนาจปกครอง และด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องถูกทำให้เงียบ”

มัรยัมและครอบครัวมี ความมุ่งมั่นที่จะทำภารกิจของพวกเขาต่อไป แต่เธอแนะนำว่าจำเป็นต้องรักษาความคาดหวังที่เป็นจริงสำหรับงานในภายหน้าเอา ไว้

“มีกิ่งก้านสาขาทาง ภูมิศาสตร์การเมืองมายังบาห์เรน และฉันรู้ว่ามหาอำนาจ โดยเฉพาะอังกฤษ จะล้มได้ยาก… มีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ระหว่างบาห์เรนและสหราชอาณาจักรที่ย้อนกลับ ไปหลายศตวรรษ…มีรูปแบบหนึ่งของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ความจงรักภักดีทางการเมือง และตัวแปรทางทหาร ที่เข้ามามีบทบาทเมื่อกล่าวถึงบาห์เรน เรารู้เรื่องนั้น แต่ประชาชนก็ไม่สามารถถูกทำให้มีชีวิตอยู่อย่างทาสได้ เพราะมันเป็นการอำนวยความสะดวกทางการเมืองและทางเศรษฐกิจแก่มหาอำนาจต่าง ชาติ” เธอกล่าว

 

เขียนโดย

แปล/เรียบเรียง กองบรรณาธิการเอบีนิวส์ทูเดย์
ที่มา http://www.mintpressnews.com