ราชวงศ์ซาอูดจอมกดขี่สร้างแรงฉุดไปสู่การปฏิวัติซาอุดี้ฯ

แม้ว่า ซาอุดิอารเบียยังไม่ตกเป็นเหยื่อของอาหรับสปริง แต่มันอาจเพียงแค่รอเวลาเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเหมือนกันระหว่างอิหร่านในยุคที่อยู่ใต้การปกครองของชาห์ กับซาอุดิอารเบียปัจจุบันที่ปรากฏชัดมากขึ้นอย่างน่าตกใจ

1777

(ภาพ) กษัตริย์อับดุลลอฮ์แห่งซาอุดี้ฯ กล่าวระหว่างการพบปะกับนายจอห์น เคอร์รี่ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ณ ที่ประทับส่วนพระองค์ในเมืองเจดดาห์ ซาอุดิอารเบีย เมื่อวันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน 2014

 

ด้วยการปกครองแบบเทวาธิปไตยสมบูรณาญาสิทธิราช ซาอุดิอารเบียอยู่ภายใต้อาณัติของสองอำนาจที่ทรงอิทธิพลอย่างยิ่ง นั่นก็คือ “ราชวงศ์ซาอูด” และ “กระบวนทัศน์ทางศาสนาแบบวาฮาบี ฮิญาซ” ซึ่งทอดตัวอยู่ทางภาคตะวันตกของราชอาณาจักรซาอุดี้ฯ ถูกรวมเข้ากับสองแคว้นอิสระที่แต่เดิมปกครองโดยสุลต่าน คือเนจด์ ทางทิศตะวันตก และอาเซอร์ ทางทิศใต้ กลายเป็นราชอาณาจักรวาฮาบี

“ซาอุดิอารเบีย เป็นการปรากฏชัดถึงการเป็นพันธมิตรกันของมุฮัมมัด อับดุลวาฮับ บุคคลสำคัญทางศาสนาในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 กับมุฮัมมัด บิน ซาอูด บรรพบุรุษของตระกูลอัล-ซาอูด” มุฮ์ซิน เคีย นักวิเคราะห์การเมืองชาวอิหร่าน ปริญญาเอกสาขาประวัติศาสตร์อิสลาม บอกกับสำนักข่าวมินต์เพรส

“ซาอุดิอารเบียถูก จัดการขึ้นมาเพื่อสยบคาบสมุทรอารเบียให้อยู่ภายใต้น้ำหนักของทั้งหลักการ ศาสนาและอำนาจเบ็ดเสร็จทางการเมือง” เขากล่าว โดยระบุว่า “โครงสร้างของมันตั้งอยู่บนทรายดูดเมื่อเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศักยภาพของ รัฐในการทำให้ประชาชนตกอยู่ในภาวะจำยอม”

ด้วยการเป็นประเทศที่ปกครองโดยกษัตริย์ที่ค่อนข้างใหม่ตามหลักทางประวัติศาสตร์ ซา อุดิอารเบียเป็นประเทศที่เกิดจากการปะติดปะต่อระหว่างชนเผ่าที่รวมเข้าด้วย กันโดยเผ่าที่ทรงอำนาจเผ่าหนึ่ง นั่นคือ อัล-ซาอูด ภายใต้การอุปถัมภ์ของต่างชาติเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นกันชนกับอาณาจักรออตโต มานและเปอร์เซีย การปรากฏของอัล-ซาอูดแห่งเนจด์ เริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 19 เมื่อมีการทำข้อตกลงกับสหราชอาณาจักรเพื่อสร้างอำนาจทวนกระแสต่ออาณาจักรออต โตมานและเปอร์เซียที่แผ่ขยายและเหิมเกริมในคาบสมุทรอาหรับ ดินแดนที่สหราชอาณาจักรมีความเข้าใจเสมอมาว่ามีความสำคัญทางภูมิยุทธศาสตร์มากเกินกว่าจะปล่อยให้หลุดมือหรือคลาดสายตาไปได้

เมื่อเผ่าต่างๆ เข้ามาผูกพันกัน เขตแดนถูกหลอมรวมเข้าด้วยกัน และแนวชายแดนของเผ่าได้หายไป โลกจึงได้เข้าใจว่าซาอุดิอารเบียเป็นแผ่นดินเดี่ยว เป็นชาติที่รวมกันเป็นหนึ่งภายใต้ความเป็นประมุขของอัล-ซาอูด

กระนั้น ความเป็นหนึ่งในปัจจุบันมีสภาพเป็นมากกว่าหน้ามุขของอาคารเล็กน้อย

“ราชอาณาจักรแห่งนี้ ไม่มีเสถียรภาพมากเท่ากับที่มหาอำนาจตะวันตกคิด” เคียกล่าว “เสถียรภาพที่ถูกวางโครงการขึ้นมานี้เป็นเพียงแค่การแสดงให้เห็นถึงวิธีการ ควบคุมอย่างมีแบบแผนของอัล-ซาอูด มันเป็นของปลอม”

อาณาจักรที่ทั้ง สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรระบุว่าเป็นพันธมิตรในตะวันออกกลาง มหาอำนาจแห่งภูมิภาค ที่ได้จัดการให้โลกอาหรับดำเนินไปเพื่อผลประโยชน์ของตนโดยผ่านเครือข่ายที่ ซับซ้อนของผู้สนับสนุนทางการเงิน การเมือง และศาสนานั้น อาจตกอยู่ภายใต้น้ำหนักของการควบคุมของตนเองได้ในไม่ช้า

ปัจจุบัน ประชาธิปไตยเป็นหัวใจสำคัญของการเรียกร้องและความปรารถนาของประชาชนทั่วโลก อาหรับ ซาอุดิอารเบียแยกตัวเองออกมาจากความวุ่นวายของอาหรับสปริงอย่างดื้อรั้น มันกำลังดึงเชือกจากด้านหลังม่านเพื่อออกคำสั่งทางการเมืองและสถาบันที่ เหมาะกับระเบียบวาระของตน และที่จะรับรองอำนาจของตนเหนือผู้ท้าทายแห่งภูมิภาคที่อยู่ใกล้ๆ นั่นคือ ตุรกี และอิหร่าน

แค่ไม่กี่สัปดาห์ที่ เกิดการจลาจลขึ้นในตูนีเซียเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2011 ราเชล บรอนสัน รองประธานโครงการและการศึกษาที่สภากิจการโลกแห่งชิคาโก ได้เขียนบทความให้วอชิงตันโพสต์ในหัวข้อ “การจลาจลตะวันออกกลางครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในซาอุดิอารเบียได้หรือไม่?”

ขณะที่บรอนสันระบุว่า “ความคิดเรื่องการปฏิวัติในราชอาณาจักรซาอุดี้ฯ ดูจะเป็นเรื่องที่เกินความคิด” นั้น แนวคิดที่ว่าซาอุดิอารเบียอาจจะได้ประสบกับการตื่นตัวทางประชาธิปไตยของตัว เอง กลับกลายเป็นหัวข้อที่เกิดขึ้นอีกครั้งในแวดวงสื่อและการเมือง

ขณะที่สุลตาน มุบาร้อก นักวิเคราะห์การเมืองชาวอียิปต์ กล่าวกับมินท์เพรสว่า “ถ้า จนถึงขณะนี้ ซาอุดิอารเบียมีภูมิต้านทานอาหรับสปริง มันก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะยังคงเป็นเช่นนั้นอยู่ อัล-ซาอูดมีอำนาจมากในการต้านการปฏิวัติ… การตัดสินใจอย่างเป็นทางการที่จะทำลายล้างประชาธิปไตยด้วยการใช้การแทรกแซง ทางทหารภายใต้การครอบงำของการต่อสู้การก่อการร้าย จะสามารถกลายเป็นตัวกระตุ้นอย่างแท้จริงได้”

เขากล่าวเสริมว่า ซาอุดิอารเบีย “มองไม่เห็น” ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นภายในประเทศ เพราะมัวแต่ “มุ่งมั่นที่จะควบคุมการพัฒนาของต่างชาติ”

“ซาอุดิอารเบียดำรง อยู่ภายใต้การควบคุมเท่านั้น ไม่มีความสามัคคีกันอย่างแท้จริง บ้านไพ่หลังนี้กำลังจะพังลง จะช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับประชาชน”

 

ซาอุดิอารเบียที่ไม่เคลื่อนไหว

AP912640260665
(ภาพ) มุฟตีใหญ่แห่งซาอุดิอารเบีย และหัวหน้าสภานักวิชาการศาสนาอาวุโส เชคอับดุลอาซิซ อัล-เชค ละหมาดที่มัสยิดอิหม่ามตุรกี บิน อับดุลลอฮ์ ระหว่างการละหมาดเช้าวันอีดฟิตรี ในริยาด ซาอุดิอารเบีย

 

โจซ นัฟฟาห์ ผู้อำนวยการบริษัทบายบลอส คอนซัลติ้ง วิเคราะห์ภูมิยุทธศาสตร์ในคาราซัส  กล่าวถึงการแสดงท่าทีไม่เคลื่อนไหวของซาอุดิอารเบีย โดยบอกกับมินท์เพรสว่า “ราชอาณาจักรแห่งนี้ได้ฉายความรู้สึกมั่นใจทางการเมืองและการควบคุมกิจการใน ภูมิภาคนี้ออกมาเพื่อให้เป็นกลไกการป้องกันตัว อาหรับสปริงได้ระเบิดตะวันออกกลางและเริ่มเคลื่อนไหวเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ ซึ่งอัล-ซาอูดกำลังสูญเสียการควบคุมอย่างรวดเร็ว เพราะสิ่งเดียวที่มันรู้จักคือการควบคุม”

“ครั้งหลังสุดที่ราช อาณาจักรแห่งนี้เผชิญกับการคุกคามต่อกระบวนทัศน์การปกครองของมันเช่นนี้คือ สมัยอยู่ภายใต้อิทธิพลของประธานาธิบดีกามาล อับดุลนัสเซอร์แห่งอียิปต์ผู้ล่วงลับ” เขากล่าว “ขบวนการอาหรับสปริงเป็นการแผ่ขยายปรัชญาชาตินิยมของนัสเซอร์ ตอนนี้ซาอุดิอารเบียอาจยังคงอยู่บนโอเอซิสแห่งความสงบนิ่งนี้อยู่ แต่สิ่งที่ต้องดูกันต่อไปก็คือมันจะยืนอยู่ในมุมท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วได้อย่างไร โดยที่เยเมนอยู่ทางใต้ อิรักทางเหนือ บาห์เรนทางตะวันออก อียิปต์ทางตะวันตก”  

ฮุซเซน ฮารีชี นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนในกอติฟ ซาอุดิอารเบียกล่าวว่า “การเข้าไปยุ่ง และท่าทีไม่ไหวติงอย่างเป็นระบบของอัล-ซาอูดเป็นสิ่งที่จะกัดเซาะแหล่ง กำเนิดพลังงานของมัน คุณไม่สามารถทำให้ประชาชนรวมอยู่ด้วยกันโดยไม่มีความจริงใจได้”

“ซาอุดิอารเบียไม่ใช่ ประเทศของเรา นี่คือสิ่งที่อัล-ซาอูดสร้างขึ้น ภายใต้การปกครองของอัล-ซาอูด เราทุกคน ทั้งชีอะฮ์และซุนนี ล้วนได้รู้จักกับการปราบปราม การกดขี่ ความโหดร้ายทารุณ และความไม่ยุติธรรม” ฮารีชีกล่าวต่ออีกว่า “การปฏิวัติซาอุดิอารเบียเป็นเหมือนสิ่งที่ไม่อาจเลี่ยงได้ เพราะความปรารถนาในอิสรภาพของประชาชนเป็นสิ่งที่ฝังติดอยู่ในธรรมชาติของพวก เขา”

โดยการที่ ตะวันออกกลางกำลังถูกกวาดไปในกระแสของการปฏิวัติ ถูกกลืนด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและความไร้เสถียรภาพในรูปแบบต่างๆ ของลัทธินิยมความรุนแรงและความหวาดกลัว ซาอุดิอารเบียได้ประสบกับการต่อสู้กับความเปลี่ยนแปลงภายในของมันเอง เป็นการต่อสู้ที่เกิดขึ้นต่อสายตาของสื่อ

 

เรายืนหยัดต่อต้านการควบคุม

AP833556428606(ภาพ) ซาอูด อัล-ไฟซาล รัฐมนตรีต่างประเทศซาอุดิอารเบีย แถลงข่าวกับนายแฟรงค์ วอลเตอร์ สเตนเมเจอร์ รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนี ในญิดดะฮ์ ซาอุดิอารเบีย

 

ผู้เชี่ยวชาญหลายคน คิดว่า ความมั่งคั่งของซาอุดิอารเบียเป็นสิ่งที่ปกป้องระบอบการปกครองของมันไม่ให้ ตกเป็นเหยื่อของอาหรับสปริง ลอร์เรน สจวทซ์ นักวิจัยอิสระและนักวิเคราะห์การเมืองในลอนดอน คือหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้

“ในขณะที่ซาอุดิอา รเบียเป็นจอมกดขี่ปราบปราม แม้จะไม่มากไปกว่าอดีตผู้มีอำนาจในภูมิภาคนี้” สจวทซ์ระบุชื่อไซน์ อัลอาบิดีน บินอาลี ในตูนีเซีย, นายพลมุอัมมาร์ กัดดาฟีในลิเบีย และอาลี อับดุลลอฮ์ ซอเลห์ ในเยเมน “มันยังมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากกว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ขัดขวางไม่ให้ประชาชนลุกขึ้นก่อจลาจลต่อผู้ ปกครองมาจนถึงตอนนี้ พวกเขายังไม่ถูกผลักพ้นไปจากความพอทนได้”

เธออธิบายต่อไปว่า “มันมีปัจจัยสำคัญทางจิตวิทยาและทางสังคมต่อการปฏิวัติอยู่อย่างหนึ่ง เมื่อประชาชนไม่มีอะไรเหลือให้สูญเสียแล้ว การก่อจลาจลก็จะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ แต่ผู้ปกครองซาอุดี้ฯ เข้าถึงปราการของ ‘ความพอทน’ ที่มองไม่เห็นนี้ได้อย่างรวดเร็ว การควบคุมปราบปรามที่มากยิ่งขึ้นได้เพิ่มความโกรธของประชาชนต่อผู้มีอำนาจ ปกครอง ความยากจนและการว่างงานกำลังเพิ่มขึ้น และการรณรงค์แบ่งแยกทางลัทธิความเชื่อของรัฐที่มีต่อชนกลุ่มน้อยชาวชีอะฮ์ใน กอติฟ ทำให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักรในแนวศาสนา”

ในส่วนของความมีเสถียรภาพนั้น เธอระบุว่า “มันดูไม่ค่อยดีนัก”

ซาอูด เคเบลลี ได้เขียนในหนังสือพิมพ์อัล-ฮายาต ในเดือนมกราคมว่า ความแตกร้าวระหว่างระเบียบเก่าของตะวันออกกลาง และประชาชน ได้ทำให้เกิดขบวนการปฏิวัติแห่งภูมิภาค ซึ่งถูกหล่อเลี้ยงด้วยการควบคุมปราบปราม เขาให้ความเห็นว่า โครงสร้างของระบอบราชาธิปไตยในแถบอ่าวเป็นสิ่งที่ทำให้ขบวนการปฏิวัติเกิด ขึ้นช้าลง และทำให้ผู้มีอำนาจปกครองมีภูมิคุ้นกันจากความแตกร้าว ในที่นี้คือเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและโอกาสในการมีงานทำ

เคเบลลีชี้ว่า ภัยคุกคามตัวจริงที่ซาอุดิอารเบียและระบอบราชาธิปไตยในแถบอ่าวเผชิญอยู่ใน ปัจจุบันคือจากภายในล้วนๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยทางเศรษฐกิจที่กำลังถดถอยและความไม่ยุติธรรมทาง สังคม ไม่เกี่ยวกับอาหรับสปริง แม้มันจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดก็ตาม เขาได้เขียนว่า “ภัยคุกคามตัวจริงไม่ได้อยู่ที่แรงกระทบของการปฏิวัติอาหรับสปริงบนพื้นที่ ภายในของซาอุดิอารเบีย”

ถ้าความมั่งคั่งของซา อุดิอารเบียเป็นตัวยับยั้งกระแสการปฏิวัติอย่างแท้จริง การกดขี่ที่รัฐสนับสนุนก็สามารถปลุก “ยักษ์แห่งการปฏิวัติที่กำลังหลับใหล” ให้ตื่นขึ้นมาได้ โดยเปรียบเทียบการต่อสู้กับความแตกร้าวทางการเมืองและศาสนาของอัล-ซาอูด กับชาห์แห่งอิหร่านและการปฏิวัติอิสลามปี 1979

 

ชาห์, กษัตริย์ และการปฏิวัติ

เคีย นักวิเคราะห์การเมืองชาวอิหร่านกล่าวว่า ไม่ว่าอัล-ซาอูดจะสนใจที่จะยอมรับมันหรือไม่ ความเสมอเหมือนกันระหว่างการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านเมื่อปี 1979 และการจลาจลที่กำลังก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ ในซาอุดิอารเบีย เป็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนเกินกว่าจะเพิกเฉยได้

“ขณะที่ชาวซาอุดี้ฯ และชาวอิหร่านมีความแตกต่างกันมากในด้านมุมมองทางศาสนาและการเมือง แต่แก่นแท้ของประชาชนทั้งสองต่างปรารถนาเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ความยุติธรรมทางสังคม และการตัดสินใจทางการเมืองด้วยตัวเอง ถ้าชาวอิหร่านไม่เคยตั้งคำถามเกี่ยวกับความเป็นชาติของพวกเขาเหมือนที่ชาวซา อุดี้ฯ กำลังทำกัน แต่พวกเขาก็เพิ่มความเฝ้าระวังการโอ้อวดความมั่งคั่งของชาห์ ท่าทีการควบคุมปราบปรามและการเห็นแก่ประโยชน์ของต่างชาติมากกว่าผลประโยชน์ ของประชาชนของตนเช่นกัน”

“ชาห์ ก็เป็นพันธมิตรและสินทรัพย์ของอเมริกาเหมือนกัน ชาห์ปฏิบัติศาสนาตามแนวคิดของตัวเองเหมือนอัล-ซาอูด เขาแค่คิดที่จะเปลี่ยนอิหร่านให้เป็นอาณาจักรฆราวาส ในขณะที่อัล-ซาอูดต้องการเปลี่ยนประชาชนของตนให้มีแนวคิดรุนแรงภายใต้สำนัก คิดวาฮาบี ชาห์ไม่ให้ความสนใจกับการเรียกร้องการปฏิรูปของประชาชน และชาห์ก็เคยใช้ดาบในการฟาดฟันนักเคลื่อนไหวเช่นกัน” เขาอธิบาย และเสริมว่า “เราทุกคนก็รู้ว่ามันจบลงอย่างไร”

ด้วยความแตกร้าวที่ เกิดขึ้นในเมืองฮิญาซและกอติฟของซาอุดี้ฯ แคว้นที่ไม่เคยรวมเข้ากับเนจด์อย่างแท้จริงเนื่องจากความเข้ากันไม่ได้ทาง สังคมและศาสนา ซาอุดิอารเบียอาจจะต้องเผชิญหน้ากับปฏิกิริยาตามแนวชายแดนกับเยเมนเพื่อน บ้านในไม่ช้า เพราะเฮาธีได้เรียกร้องขอคืนอาเซอร์ จังหวัดหนึ่งของซาอุดี้ฯ ที่เคยเป็นของเยเมนมาก่อน

ด้วยการที่ ระเบียบตะวันออกกลางเก่ากำลังพลิกผันอย่างเต็มที่ และเสียงร้องสู่การปฏิวัติที่ดังกว่าในบาห์เรนกำลังมีผู้ได้ยิน ปัญหาที่แท้จริงของซาอุดิอารเบียอาจจะเพิ่งได้เริ่มต้นขึ้นเท่านั้น

 

เขียนโดย
ที่มา http://www.mintpressnews.com
แปล/เรียบเรียง กองบรรณาธิการเอบีนิวส์ทูเดย์