การตัดสินตรึงกางเขนฝ่ายขัดแย้งทางการเมือง ก่อปฏิกิริยาที่เป็นภัยต่อราชวงศ์ซาอูด

อัล-ซา อูดอาจไม่เคยตระหนักถึงพายุแห่งการวิพากษ์วิจารณ์และความเกรี้ยวกราดที่ถูก เชื้อเชิญเข้ามา เมื่อนักการศาสนาผู้มีชื่อเสียงของชีอะฮ์ถูกจับกุมด้วยความรุนแรง คุมขัง และถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิต ขณะที่ผู้นำทางการเมืองและศาสนาถูกขังอยู่ในคุก ความแตกร้าวก็กำลังคุกรุ่นจนใกล้เดือดภายในอาณาเขตของซาอุดี้ฯ

623

(ภาพ) ผู้ประท้วงชาวบาห์เรนถือภาพของนิมร์ อัล-นิมร์ ฝ่ายขัดแย้งทางการเมืองชาวซาอุดี้ฯ ที่ถูกจำคุก

 

กอติฟ, ซาอุดิอารเบีย –  ความขัดแย้งของซาอุดิอารเบีย เป็นความลับซึ่งถูกเก็บงำไว้อย่างดีที่สุดของคาบสมุทรอาหรับภายใต้ฝาครอบหนา แน่นของการปกครองแบบนักการศาสนามีอำนาจสูงสุดของราชวงศ์ซาอูด สำหรับสายตาที่ไม่ชำนาญ ราชอาณาจักรแห่งนี้ดูเสมือนหนึ่งเป็นโอเอซิสแห่งความสงบและมั่นคงทางการ เมือง ท่ามกลางกระแสความโกรธเกรี้ยวที่กลายเป็นอาหรับสปริง

ขณะที่ในปี 2011 เราได้เห็นโฉมหน้าที่ถูกปรุงแต่งทางการเมืองและสถาบันทั้งหมดของ ตะวันออกกลางต้องหมุนออกจากแกนของมัน โดยเหวี่ยงระเบียบเก่าของภูมิภาคออกจากความสมดุล แต่ซาอุดิดารเบียได้ว่ายทวนกระแสนั้น ด้วยความมุ่งมั่นที่จะคงอยู่ต่อไป ภายในเงื้อมมือชะตากรรมทางภูมิศาสตร์การเมืองของตะวันออกกลางและแอฟริกา เหนือที่ดื้อด้าน ไม่ว่า อียิปต์, ลิเบีย, อิรัก และแม้แต่ซีเรีย ราชอาณาจักรแห่งนี้ได้มีคำพูดและยื่นมือเข้าไปในทุกการปฏิวัติและทุกความขัด แย้งในภูมิภาคนี้มาตั้งแต่ปี 2011 โดยที่เจ้าหน้าที่ของซาอุดี้ฯ หันไปเล่นเกมการพัฒนาทางการเมืองเพื่อปรับตั้งผลประโยชน์ของตัวเอง  

แต่ขณะที่รัฐบาลซาอุ ดี้ฯ มัวแต่มุ่งความสนใจไปที่การปกป้องผลประโยชน์ภายในภูมิภาคของตนเองนั้น ความแตกร้าวกำลังคุกรุ่นอยู่ภายในอาณาเขตซาอุฯเอง ภายใต้แรงกระตุ้นของชายผู้มีความสามารถเป็นพิเศษคนหนึ่ง นั่นคือ “เชคนิมร์ บากิรฺ อัล-นิมร์”

ถึงแม้ว่านักการศาสนา ชีอะฮ์ชาวซาอุดี้ฯ ผู้นี้จะถูกคุมขังอยู่ในคุกทางการเมืองแห่งหนึ่งของซาอุดี้ฯ มาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว และกำลังรอการประหารชีวิตโดยการตรึงกางเขนด้วยน้ำมือของระบอบปกครองที่ไม่มี ฝ่ายค้าน แต่ชะตากรรมของเชคนิมร์กลับถูกสานร้อยเข้าด้วยกันกับชะตากรรมของรา ชวงศ์อัล-ซาอูด

นิมร์เป็นนักวิชาการ ศาสนา แต่เนื้อหาทางการเมืองของเขาและความเป็นสากลของเรื่องนี้ต่างหากที่ได้สอด สายเส้นอันทรงพลังไปทั่วราชอาณาจักรแห่งนี้ ด้วยการสนับสนุนความยุติธรรม ความเท่าเทียมทางสังคม และการตัดสินใจทางการเมืองด้วยตัวเอง เขาได้ทำให้ชุมชนชาวซุนนีและชีอะฮ์เข้ามาอยู่ด้วยกันภายใต้ร่มเงาเดียวกัน

“ท่านเป็นเสมือนเรือ นำธงแห่งความปรารถนาระบอบประชาธิปไตยของซาอุดิอารเบีย เชคอัล-นิมร์ได้ทำให้ความใฝ่ฝันถึงความเปลี่ยนแปลงของประชาชนทั้งหมดเป็นรูป เป็นร่างขึ้นมา” อับดุลลอฮ์ อัล-ชามิ นักวิจารณ์การเมืองชาวบาห์เรน บอก

“ความกล้าหาญและการ ไม่ยอมก้มหัวให้กับอัล-ซาอูดของเขาท่ามกลางความกดดันและความรุนแรงอย่าง เหลือเชื่อ ได้ทำให้ประชาชนชาวซาอุดี้ฯ มีพลังขึ้นจนถึงขนาดที่ตอนนี้พวกเขาเชื่อแล้วว่า ระบอบการปกครองนี้สามารถถูกโค่นล้มลงได้” เขากล่าวและเสริมต่อไปว่า “สิ่งที่เริ่มต้นเสมือนการทำสงครามครูเสดกับการปราบปรามทางศาสนาของชาวชี อะฮ์ซาอุดี้ฯ ได้ขยับมาเป็นขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยด้วยเสียงอันแผ่วเบาของการ ปฏิวัติ”

วาอิล อะห์มัด ผู้เชี่ยวชาญทางการเมืองในดูไบ ได้สะท้อนความรู้สึกของอัล-ชามี โดยการเน้นว่า การเรียกร้องความสามัคคีของคนในชาติของนิมร์ การเรียกร้องอันเป็นสากลในวาทศิลป์ของเขา และการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปประชาธิปไตยและความยุติธรรมทางสังคม เป็นสาเหตุทำให้เกิดความกังวลขึ้นในฝ่ายผู้ปกครอง

แต่ทว่าความกังวลของ ซาอุดิอารเบียที่มีต่อเชคผู้นี้ลึกซึ้งไปกว่าเรื่องของศาสนาหรือการเมือง อันที่จริงแล้ว มันเป็นความกังวลเกี่ยวกับการเข้าถึงทรัพยากรทางธรรมชาติของราชอาณาจักรแห่ง นี้และการควบคุมอ่าวเปอร์เซีย กอติฟ จังหวัดทางตะวันออกซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำมันมูลค่าหลายพันล้านดอลล่าร์ เป็นผลประโยชน์ทางภูมิยุทธศาสตร์แห่งหนึ่งที่อัล-ซาอูดไม่เคยคิดที่จะเสีย การควบคุมมันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะไม่ยอมเสียมันไปให้กับอิหร่าน ปรปักษ์ประจำภูมิภาค

 

เมล็ดพันธุ์ของความเปลี่ยนแปลงและเรื่องราวที่ “ไม่สมเหตุสมผล”

Archive-6(ภาพ) เชคนิมร์ อัล-นิมร์

 

นิมร์ ผู้เป็นนักการศาสนา, นักวิชาการ, นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน และนักการเมือง เป็นกระบอกเสียงวิพากษ์วิจารณ์ระบอบราชาธิปไตยเบ็ดเสร็จและหลักคำสอนแนววาฮา บีของซาอุดิอารเบียมานานกว่าทศวรรษ โดยไม่มีความหวาดกลัวในการท้าทายอาจรัฐหรือการเรียกร้องระบบสังคมการเมือง ที่กว้างยิ่งขึ้น ซึ่งชาวซาอุดี้ฯ ทุกศาสนาทุกนิกายจะได้มีสิทธิและภาระหน้าที่อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ต้องกลัวการปราบปรามทางศาสนา ด้วยการที่ท่านเป็นที่รู้จักในหมู่นักสิทธิมนุษยชนทั่วโลกในฐานะที่เป็นแรง บวกสำหรับการเปลี่ยนแปลงในสังคมที่ถูกปกครองด้วยการปราบปรามและล้อมกรอบด้วย อำนาจเบ็ดเสร็จ ชะตากรรมของนิมร์จึงเป็นหัวข้อที่มีการพูดถึงกันมากในหมู่ผู้ที่กำลังมอง มายังตะวันออกกลาง

ในการให้สัมภาษณ์กับ มินท์เพรสเมื่อต้นเดือนนี้ มัรยัม อัล-คอวาญา นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้มีชื่อเสียง อธิบายถึงการจับกุม คุมขัง และตัดสินประหารชีวิตเชคนิมร์ ว่า “เป็นการเปิดเปลือกทุกสิ่งทุกอย่างที่ผิดพลาดเกี่ยวกับฝ่ายปกครองของซาอุ ดี้ฯ”

เธอ กล่าวว่า เมล็ดพันธุ์แห่งความเปลี่ยนแปลงที่นิมร์ได้เพาะปลูกไว้ในซาอุดิอารเบีย จะเบ่งบานไปทั่วทั้งดินแดนแห่งนี้ “การต่อสู้ของเชคอัล-นิมร์ไม่ได้เป็นเพียงการต่อสู้ของซาอุดิอารเบีย เท่านั้น แต่มันเป็นการต่อสู้ของเราทุกคน” เธอกล่าวเสริมว่า “เงาของอัล-ซาอูดได้ทำให้คาบสมุทรอาหรับอยู่ในรัฐแห่งความหวาดกลัวและปราบ ปรามอย่างไม่ลดละมานานมากเกินกว่าที่ประชาชนจะทนทานกับมันได้ต่อไปได้อีก”

การต่อสู้อันยาวนาน กับระบอบการปกครองซาอุดิอารเบียของนิมร์ ได้มาถึงจุดสูงสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2012 เมื่อเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงของซาอุดี้ฯ ได้ยิงและเข้าจับกุมตัวเขาต่อหน้าสายตาของผู้สนับสนุนเขาที่กลางเมืองกอติฟ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชาวชีอะฮ์ในซาอุดิอารเบีย

ขณะชาวซาอุดี้ฯ ตื่นขึ้นมาพบกับภาพของชายเคราขาวปกคลุมด้วยเลือดถูกลากตัวออกมาจากรถโดย กลุ่มเจ้าหน้าที่ที่มีท่าทีคุกคาม ความโกรธแค้นและความไม่เชื่อฟังก็ได้เริ่มเติบโตขึ้น ถ้าอัล-ซาอูดไม่ค่อยมีชื่อเสียงในการควบคุมปราบปรามสิ่งที่ฝ่ายปกครองเข้าใจ ว่าเป็นฝ่ายขัดแย้ง ก็คงไม่เคยมีนักการศาสนาคนสำคัญเคยถูกกระทำทารุณอย่างโหดร้ายเช่นนี้ต่อหน้า สาธารณชนมาก่อน

เจ้าหน้าที่ของซาอุ ดี้ฯ ควบคุมตัวนักการศาสนาท่านนี้เป็นเวลาแปดเดือนก่อนที่จะตั้งข้อหาเขา ถึงแม้ว่ากระทรวงมหาดไทยจะเคยกล่าวหาว่าเขาเป็น “ผู้ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความแตกแยกและก่อจลาจล” ในการจับกุมตัวเขา

ด้วยความพยายามที่จะ สร้างความชอบธรรมให้แก่การกระทำของพวกเขา เจ้าหน้าที่ได้อ้างว่าในขณะนั้น นิมร์ได้ขัดขืนการจับกุมโดยพุ่งเข้ามาหารถของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ต้องตอบโต้ด้วยกำลัง รายงานข่าวยังอ้างด้วยว่ามีผู้เห็นเชคโบกอาวุธปืนมาทางตำรวจ แต่น้องชายของเขา บากิร อัล-นิมร์ ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้อย่างหนักแน่น

ในการตั้งข้อสังเกตที่รายงานโดย อัล-มอนิเตอร์ ในปี 2013 บากิร อัล-นิมร์ ได้กล่าวว่า

“กระทรวงมหาดไทยไม่ ควรจะเผยแพร่เรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาเช่นนั้น สถานะและหน้าที่ของกระทรวงจำเป็นจะต้องมีความเป็นกลางและยุติธรรม เชคนิมร์อยู่เพียงลำพังในรถของเขา และทุกคนรู้ว่าเขาไม่พกพาหรือใช้อาวุธ เขาเรียกร้องสันติภาพและไม่ใช้ความรุนแรงมาตลอด ด้วยเหตุผลเหล่านี้ คำอธิบายของกระทรวงจึงไม่สมเหตุสมผล”

ด้วยข้อหา “รบกวนความมั่นคงของประเทศ” เชคนิมร์ถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิตด้วยการตรึงกางเขน คำตัดสินนี้ได้รับการยืนยันโดยคณะตุลาการเมื่อต้นเดือนนี้หลังจากมีการยื่น อุทธรณ์เพื่อเพิกถอนคำตัดสินของศาล

 

การทำปฏิกิริยานี้หมายถึงการสิ้นสุดของอัล-ซาอูดได้หรือไม่?

AP492128200441

(ภาพ) กษัตริย์อับดุลลอฮ์ บิน อับดุลอาซิซ อัล-ซาอูด, ซ้าย, สนทนากับนายจอห์น แคร์รี่ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ก่อนการประชุมที่ที่ประทับส่วนพระองค์ของกษัตริย์เมื่อวันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน 2014 ในเมืองเจดดาห์ ซาอุดิอารเบีย


การเสียชีวิตของ เจ้าชายนาเจฟ บิน อับดุลอาซิซ อัล-ซาอูด เมื่อเดือนมิถุนายน 2012 ที่เป็นเสมือนการเหน็บแนมในตอนต้น ได้เปลี่ยนแปลงมาสู่การเรียกร้องให้กษัตริย์อับดุลลอฮ์สละราชบัลลังก์ และการโค่นล้มระบอบราชาธิปไตย เนื่องจากการแบ่งแยกทางลัทธิความเชื่ออย่างเป็นระบบและการมุ่งเป้าไปยัง ชุมชนชาวชีอะฮ์ของอัล-ซาอูด

“น่าสนใจมาก การจับกุมเชคนิมร์ที่เป็นเสมือนความสัมพันธ์ระหว่างอัล-ซาอูดและชีอะฮ์ที่กอ ติฟ ได้ทำให้บางอย่างพัฒนาขึ้น” มัรวาน อับดุลลอฮ์ นักสิทธิมนุษยชนในเจดดาห์ กล่าว

อับดุลลอฮ์กล่าวเสริม ว่า การชักพาของนิมร์ภายในซาอุดิอารเบีย และการวิพากษ์วิจารณ์ฝ่ายปกครองของเขา ทำให้ราชวงศ์อัล-ซาอูดประสาทเสีย และถึงขนาดกระตุ้นความโกรธของพวกเขา

“อัล-ซาอูดเข้าใจว่า เชคท่านนี้เป็นภัยคุกคามที่ต้องถูกกำจัดไป เขามีความผิดที่ชดใช้มากเกินไป” อับดุลลอฮ์กล่าว “เรื่องของเรื่องก็คือ ผมไม่คิดว่าจะมีใครสักคนในรัฐบาลที่คาดคิดถึงกระแสความโกรธที่จะถูกปล่อยออก มาจากการจับกุมและตัดสินลงโทษชายผู้นี้”

แนวความคิดที่ว่าซา อุดิอารเบียจะเป็นโดมิโน่ตัวต่อไปที่จะล้มลงสู่อาหรับสปริงนั้นถูกแสดงไว้ อย่างชัดเจนมากในอัล-มอนิเตอร์ ตั้งแต่เมื่อเดือนกรกฎาคม 2012 ในรายงานหัวข้อ “ในที่สุด ‘อาหรับสปริง’ ได้มาถึงซาอุดิอารเบียแล้วหรือ?” ได้ระบุไว้ว่า “ด้วยการระเบิดตัวขึ้นอีกครั้งและการขยายตัวของผู้ประท้วงในเมืองกอติฟ ทางตะวันออกของซาอุดิอารเบีย ชาวซาอุดี้ฯ ยืนยันว่า ‘อาหรับสปริง’ มาถึงแล้ว”

ในขณะที่ความคิดนี้ พิสูจน์แล้วว่าเป็นเรื่องที่ถูกให้ความสำคัญมากเหลือเกิน ราชอาณาจักรนี้ไม่เคยได้ฟื้นตัวจากการโจมตีของสื่อที่ถูกจุดประกายขึ้นด้วย การจับกุมและพิจารณาคดีของนิมร์เลย

หากราชวงศ์อัล-ซาอูด พบว่าตัวเองถูกโจมตีโดยนักสิทธิมนุษยชนด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และถูกทำให้อับอายโดยองค์การสิทธิมนุษยชนที่สำคัญที่สุดของโลก ในรายงานที่เปิดเผยออกมาเมื่อต้นเดือนนี้ นายซาอิด บูเมดูฮา รองผู้อำนวยการโครงการตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือขององค์การนิรโทษกรรมสากล เน้นย้ำว่า

“การพิพากษาประหาร ชีวิตที่น่าตกตะลึงต่อเชคอัล-นิมร์ ตามมาด้วยการจับกุมน้องชายของเขาในศาลวันนี้ แสดงให้เห็นว่าซาอุดิอารเบียยังจะไปอีกยาวไกลในความพยายามที่จะหยุดนัก เคลื่อนไหวชีอะฮ์จากการปกป้องสิทธิ์ของตัวเอง เชคอัล-นิมร์ต้องได้รับการปล่อยตัว และซาอุดิอารเบียต้องยุติการเลือกปฏิบัติและการคุกคามชุมชนชาวชีอะฮ์”

 

วาทกรรมแบ่งแยกทางนิกายและแนวรอยเลื่อนระดับภูมิภาค

เมื่อพูดถึงความ รู้สึกที่ไม่ดีของซาอุดิอารเบียต่อมุสลิมชีอะฮ์ มัรยัม อัล-คอวาญา ได้ตั้งข้อสังเกตว่า มันเป็นวาทกรรมแบ่งแยกทางนิกายของอัล-ซาอูด ที่ได้ขับเคลื่อนภูมิภาคนี้ไปสู่การทำลายล้างตนเองจนถึงขนาดที่ชุมชนต่างๆ มีความชอบธรรมในการฆ่าและทรมาน โดยห่อหุ้มเรื่องราวไว้ภายใต้เสื้อคลุมของศาสนา โดยไม่สนใจวัฒนธรรมและเชื้อชาติของตนเอง

ลัทธิเคร่งจัดของรัฐ อิสลามแห่งอิรักและซีเรีย ที่มีรากมาจากกระบวนทัศน์แบบวาฮาบีในซาอุดิอารเบีย ได้ดึงเอาความเกลียดชังทางศาสนาที่มีต่อมุสลิมชีอะฮ์ของราชอาณาจักรแห่งนี้ ไปสู่การขับเคลื่อนการรณรงค์กวาดล้างไปทั่วซีเรียและอิรัก

ถ้าเจ้าหน้าที่ของซา อุดี้ฯ ไม่เคยคิดที่จะควบคุมความเป็นปรปักษ์ทางศาสนาของตน ความมุ่งมั่นของพวกเขาที่จะแก้แค้นกับนิมร์ก็สามารถทำให้ราชอาณาจักรแห่งนี้ ตกอยู่ในสายน้ำทางการเมืองที่มืดดำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของความตึงเครียดและความเป็นปรปักษ์กับอิหร่านที่ กำลังเพิ่มมากขึ้น

ในการประกาศต่อ หน้าที่ชุมนุมเดือนนี้ อายาตุลลอฮ์ มุฮัมมัด อาลี มุวาฮิดี เคอร์มานี นักการศาสนาชาวอิหร่านคนสำคัญ ได้กล่าวว่า “เราขอเตือนซาอุดิอารเบีย… ว่ารัฐบาลนี้จะต้องชดใช้อย่างหนักต่อการประหารชีวิตนักการศาสนาชีอะฮ์”

เจ้าหน้าที่ในอิรัก บาห์เรน เยเมน และอิหร่านก็ได้สะท้อนคำขู่ถึงการแก้แค้นเช่นเดียวกันนี้

นัสเซอร์ โนบารี อดีตเอกอัครราชทูตอิหร่านประจำสาธารณรัฐสังคมนิยมสหภาพโซเวียต บอกกับสำนักข่าวตัสนีมของรัฐบาลอิหร่านว่า “การตัดสินของอัล-ซาอูดเกี่ยวกับเชคอัล-นิมร์ จะเป็นการกำหนดชะตาของพวกเขาเอง ถ้าพวกเขาทำการตัดสินอย่างถูกต้อง ฉลาด และสันติ พวกเขาก็จะอยู่ต่อไปได้อีก แต่ถ้าพวกเขาทำการตัดสินใจอย่างไม่ฉลาด ผมคิดว่าพวกเขาจะอยู่รอดไปได้เพียงเวลาสั้นๆ อาจจะสักสองปี”

ไม่ว่าการ ตัดสินใจขั้นสุดท้ายของซาอุดิอารเบียจะออกมาอย่างไร ดูเหมือนว่าชื่อของนิมร์จะยังคงหนักอึ้งอยู่บนราชอาณาจักรแห่งนี้ต่อไป เป็นสัญลักษณ์ที่ราชวงศ์นี้อาจจะไม่สามารถลบออกไปได้เลย

แปล/เรียบเรียง กองบรรณาธิการเอบีนิวส์ทูเดย์
เขียนโดย
ที่มา http://www.mintpressnews.com