เยเมน: การปฏิวัติอาหรับที่ไม่มีใครคาดคิด

ด้วยตระหนักว่าคำพูดมักคมกว่าดาบ หน่วยรักษาความปลอดภัยเก่าของเยเมนจึงปล่อยกระแสสื่อเข้าใส่อีกกลุ่มหนึ่ง ที่กำลังกระตุ้นการสนับสนุนจากชาวเยเมนที่ทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่และ นักการเมืองเหมือนเช่นที่เคย

1847

(ภาพ) นักรบชีอะฮ์เฮาซีตะโกนคำขวัญหลังยึดกองกำลังหุ้มเกราะที่หนึ่งของกองทัพในกรุงซานาอฺ เยเมน ได้ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2014

เมื่อขบวนการปฏิวัติ เรียกร้องประชาธิปไตยที่มีศูนย์กลางอยู่ในตะวันออกกลางเมื่อปี 2011 โลกไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากจ้องมองด้วยความตะลึง ในขณะที่เผด็จการคนแล้วคนเล่าถูกโค่นล้มลงไปต่อหน้าความปรารถนาของมหาชน โดยไม่สามารถต้านทานเสียงเรียกร้องหาเสรีภาพของประชาชนได้อีกต่อไป เหล่ามหาอำนาจเช่นสหรัฐฯ เคยผูกตัวเองไว้กลับถูกปลดออกในทันใด เหลือไว้เพียงช่องโหว่ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งผลประโยชน์ของตะวันตก

สิ่งที่เริ่มต้น เสมือนหนึ่งเป็นความปรารถนาอันล้นปรี่ต่อความเปลี่ยนแปลง ความโหยหาความยุติธรรมทางสังคมและความมั่นคงของกฎแห่งพลเรือน แต่แล้วกลับถูกปกคลุมด้วยแนวคิดอิสลามหัวรุนแรงไปในไม่ช้า ประเทศต่างๆ เหล่านั้น เช่น อียิปต์ ลิเบีย และตูนีเซีย ซึ่งเปรียบเสมือนเรือนำธงสำหรับขบวนการปฏิวัติอาหรับสปริง กลับตกเป็นเหยื่อของกลุ่มนิยมแนวคิดอิสลามหัวรุนแรงไปอย่างรวดเร็ว ไม่หลงเหลือจิตสำนึกของความเป็นชาติใดๆ เลย

แต่ทว่า เยเมนกลับเปลี่ยนสู่การปฏิวัติที่แตกต่างด้วยประการทั้งปวง ถ้าประเทศที่ยากจนที่สุดในคาบสมุทรอาหรับแห่งนี้ประสบความสำเร็จในการนำ เผด็จการของตน – ประธานาธิบดีอาลี อับดุลลอฮ์ ซอเลห์ – ออกจากตำแหน่ง ภายใต้การสนับสนุนของกลุ่มประเทศสภาความร่วมมือแถบอ่าวเหมือนอียิปต์หรือตู นีเซีย การเดินขบวนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยของมันก็ได้ผลออกมาแตกต่างไปจากประเท ศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้เป็นอย่างยิ่ง

ขณะที่ติดอยู่ในการ เปลี่ยนถ่ายอำนาจอย่างไม่จบสิ้น เยเมนก็ได้เห็นอำนาจทางการเมืองที่ไม่น่าเป็นไปได้ที่สุดเกิดขึ้นมาจาก สุญญากาศทางอำนาจที่ลุ่มลึกลงไป นั่นก็คือ “กลุ่มเฮาซีแห่งเยเมน”

นับตั้งแต่เฮาซี กลุ่มซัยดีที่ไม่มีชื่อเสียงในอดีตจากซาดาทางภาคเหนือที่ตั้งขึ้นภายใต้การนำของ “อับดุลมาลิก อัล-เฮาซี” เริ่มรุกผ่านเข้ามาทางที่ราบสูงของเยเมน โดยขับเคี่ยวกับกลุ่มอิสลาห์ กลุ่มการเมืองที่ทรงอิทธิพลและโดดเด่นที่สุดของประเทศ ประเทศนี้ก็ได้เห็นการพลิกผันในอำนาจที่ไม่มีนักการเมืองคนใดและนัก วิเคราะห์ไม่กี่คนเคยคิดว่าจะเป็นไปได้

ด้วยความเลวร้ายของ นโยบายทางการเมืองของเยเมน กลุ่มเฮาซีต้องทนกับการลบหลู่และการทำลายล้างด้วยน้ำมือของระบอบการปกครอง ของอดีตประธานาธิบดีซาเลห์ ที่ใช้อำนาจเพื่อปราบปรามด้วยเหตุผลทางนิกาย และเพื่อโดดเดี่ยวทางการเมืองด้วยข้อกล่าวหาว่าพวกเขา “เป็นมิตร” กับอิหร่าน แต่ในความเป็นจริง มันเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อการกดขี่เช่นนั้น ที่กลุ่มชนเผ่ากลุ่มนี้ได้จัดตั้งตัวเองขึ้นเป็นกองทหารอาสาเพื่อปฏิบัติการ ตอบโต้ภายใต้การผลักดันของเชคฮุเซน บัดริดดีน อัล-เฮาซี

ถึงแม้ว่ากลุ่มเฮาซี จะประสบความสำเร็จในการกระตุ้นการสนับสนุนจากประชาชนได้ โดยใช้ประโยชน์จากความท้อแท้ของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่รัฐ แล้วจึงวางตำแหน่งตัวเองเป็นทางเลือกที่ถูกต้องและมีศักยภาพต่อหน่วยรักษา ความปลอดภัยเก่าของเยเมน ความสำเร็จของพวกเขากระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรงจากสื่อและฝ่าย การเมือง

เหมือนเป็นเหยื่อของ ความสำเร็จของตนเอง ตอนนี้กลุ่มเฮาซีพบว่าตัวเองอยู่ในสายตาของการโหมกระหน่ำโฆษณาชวนเชื่อ พวกเขาต้องเผชิญกับข้อกล่าวหาว่าใช้อำนาจในทางที่ผิด ใช้ความรุนแรงเกินไป บิดเบือนศาสนา และทุจริต อำนาจทางทหารและการเมืองของกลุ่มอิสลาห์ลดน้อยลง พวกเขาจึงเลือกที่จะโจมตีกลับไปยังปรปักษ์ทางการเมืองและศาสนาของตน ไม่ใช่ในสมรภูมิรบ แต่เป็นในหน้าหนังสือพิมพ์ ด้วยตระหนักดีว่าคำพูดมักจะคมกว่าดาบเสมอ

เส้นทางสู่อำนาจ

AP71181462416
(ภาพ) นักรบชีอะฮ์เฮาซีถืออาวุธขณะยืนรักษาความปลอดภัยอยู่ใกล้สถานที่ประท้วงในเมืองซานา เยเมน 19 กันยายน 2014

 

กลุ่มซัยดี – สาขาหนึ่งของศาสนาอิสลามนิกายชีอะฮ์ – เริ่มถือกำเนิดขึ้นจากปฏิกิริยาที่มีต่อการมีอคติต่อนิกายชีอะฮ์ในเมืองซานา เมื่อปี 1994 ในครั้งนั้น ประธานาธิดีซอเลห์ได้เรียกร้องการสนับสนุนทางทหารและการเงินจากซาอุดิอา รเบียเพื่อบดขยี้กลุ่มที่เชิญชวนให้แยกตัวทางตอนใต้ของเยเมน กลุ่มนี้จึงรีบขึ้นประจำตำแหน่งเดิมของตนบนหลังของขบวนการปฏิวัติอาหรับ สปริงปี 2011 โดยได้ชัยชนะทางการเมืองมาด้วยการสนับสนุนการเรียกร้องประชาธิปไตยของเยเมน

แกะดำที่สุดจากแกะดำ ทุกตัวประสบความสำเร็จในการผันเข้าสู่การเมืองกระแสหลักอย่างราบรื่นด้วยการ ปลดการยึดโยงกับชนเผ่าและถ่ายทอดสารของตัวเองออกไปภายใต้ชื่อใหม่ทางการ เมือง นั่นคือ “อันซอรอลลอฮ์”

ทันทีที่ฐานอำนาจของ ซอเลห์พังทลายลงกับพื้น กลุ่มเฮาซีก็ได้ถือกำเนิดขึ้นอีกครั้งในฐานะผู้กำหนดตัวประมุขของรัฐคนใหม่ ของเยเมนโดยได้ประโยชน์จากสูญญากาศทางอำนาจที่เกิดขึ้นด้วยแรงเสียดสีของการ ปฏิวัติ

การขึ้นสู่อำนาจของ กลุ่มเฮาซีมาถึงจุดสูงสุดในเดือนกันยายน เมื่อกลุ่มนี้เข้าควบคุมกรุงซานา เมืองหลวงไว้ได้สำเร็จ หลังจากที่เหมือนไม่ต้องใช้กำลังอาวุธใดๆ เลย

ก่อนที่กลุ่มเฮาซีจะมาถึงซานา พวกเขากราดมาทั่วภาคเหนือของเยเมน โดยขับไล่และท้าทายขุมอำนาจหลักของเยเมนคือ “กลุ่มอิสลาห์” กลุ่มที่กระทำตัวเป็นร่มเงาทางการเมืองให้แก่กลุ่มต่างๆ รวมทั้งกลุ่มภราดรภาพมุสลิมและกลุ่มซาลาฟี อดีตผู้ไม่เป็นที่ปรารถนาของเยเมนกลับทำสำเร็จในสิ่งที่ไม่มีใครเคยคิดว่าจะ เป็นไปได้เมื่อพวกเขาเอาชนะ “ตระกูลอะห์มาร” ผู้ก่อตั้งอิสลาห์ ในเมืองอัมรานถิ่นบรรพบุรุษของพวกเขา แล้วจึงเหวี่ยงดุลอำนาจของประเทศออกจากแกนของมัน

ด้วยความรู้สึกถึง อำนาจใหม่ อับดุลมาลิก อัล-เฮาซี แสดงตนเป็นสื่อสะท้อนความไม่พอใจของชาวเยเมน เป็นโฆษกของคนอ่อนแอและคนยากจน เป็นผู้กู้อิสรภาพของเยเมน

ด้วยการตำหนิ ประธานาธิบดีอับดู รอบบู มันซูรฺ ฮาดี สำหรับปัญหาความยุ่งยากหลายอย่างของเยเมน และการเสื่อมถอยของคุณภาพชีวิต กลุ่มเฮาซีได้ทำการชักชวนให้เกิดรัฐบาลผสม โดยเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีในทันที และปฏิรูปทางการเงินโดยไม่มีการเจรจา รวมถึงการกลับมาใช้การอุดหนุนราคาน้ำมัน

การจัดการทางการเมือง

ความสัมพันธ์ระหว่าง ชนชั้นการเมืองของเยเมนและกลุ่มเฮาซีมีความซับซ้อนมาตั้งแต่แรกเริ่มของ กลุ่ม ติดหล่มอยู่ในความสงสัยเป็นปริศนาด้วยการกล่าวหาต่างๆ  ความเชื่อทางศาสนาของกลุ่มเฮาซี เช่น ความผูกพันกับนิกายชีอะฮ์ ทำให้เกิดการทึกทักเอาว่าพวกเขาเป็นเพียงหุ่นเชิดทางการเมืองและทางแนวคิด ของอิหร่าน เป็นอีกภาคหนึ่งของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์แห่งเลบานอน ในการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์อัล-ฮายาตเมื่อต้นปีนี้ ประธานาธิบดีฮาดีได้กล่าวหาเตหะรานอย่างเปิดเผยว่าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ กิจการภายในของเยเมนผ่านทางฮิซบุลลอฮ์ด้วยการสนับสนุนกลุ่มเฮาซี ฮาดี ทั้งกล่าวหาเตหะรานว่าพยายามสร้างตัวแทนทางการเมืองและสร้างอิทธิพลต่ออนาคต ของเยเมนด้วยการเล่นบทเป็นนายใหญ่ทางแนวความคิด เขายังกล่าวหาอิหร่านด้วยว่าสนับสนุนให้มีการเชื่อมไมตรีทางการเมืองกันระ หว่างกลุ่มอัล-ฮารัก ขบวนการแบ่งแยกดินแดนทางภาคใต้ และกลุ่มเฮาซีเพื่อให้กรุงซานาอยู่ในอำนาจของตน

ในขณะที่กระทรวงต่าง ประเทศของอิหร่านออกมาปฏิเสธบ่อยครั้งว่าไม่ได้มีบทบาทใดๆ ในกิจการภายในของเยเมน นักการเมืองของเยเมนและสื่อก็ยังคงไม่ประทับใจต่อการประกาศว่าไม่มีการแทรก แซงใดๆ อยู่ดี

ฮานี อะห์มัด อัล-ซูฟี นักวิเคราะห์การเมืองกล่าวอธิบายกับสำนักข่าวมินท์เพรสว่า การอุปถัมภ์ของต่างชาติเป็นน้ำหนักที่หนักอึ้งอยู่บนนโยบายทางการเมืองของ เยเมนมาตลอด ซึ่งมักจะทำให้ฝ่ายต่อต้านต่างๆ กล่าวหากันและกันว่ากำลังเล่นเกมกับผลประโยชน์ของชาติ

“ความคิดที่ว่าเฮาซี เป็นตัวแทนของอิหร่านไม่ใช่เรื่องใหม่ มันเป็นเพราะเฮาซีขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองอย่างไม่มีใครเสมอเหมือน ที่ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องกลับไปใช้การพูดให้ร้ายทางการเมือง” ซูฟีกล่าว

“ก็เหมือนกับที่กลุ่ม อัล-อิสลาห์ถูกเข้าใจและอธิบายว่าเป็นตัวแทนที่ได้รับการอุดหนุนจากซาอุดี้ฯ กลุ่มเฮาซี และแม้แต่กลุ่มอัล-ฮารัก ก็ถูกมองว่าเป็นเบี้ยของอิหร่าน ส่วนประธานาธิบดีฮาดี เขาถูกอธิบายว่าเป็นคนของวอชิงตัน เป็นผู้คอยไกล่เกลี่ยท่ามกลางความวุ่นวายของอิทธิพลจากต่างชาติ”

สงครามคำพูด

ถ้ากลุ่มอิสลาห์ถูก ถอนออกไปจากฐานของมันด้วยใครก็ตามที่มันคิดว่ามีอำนาจควบคุมทางการเมือง ทางศาสนา และทางทหาร การเป็นผู้นำของมันจะได้กลับคืนมาจากกลุ่มเฮาซีก็ด้วยการต่อสู้ทางสื่อ โดยการกล่าวหาว่ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มกองโจร ใช้อำนาจในทางที่ผิด ฉ้อโกงและยักยอกที่ดิน ตามที่ฮัยธัม อุษมาน นักวิจัยและนักประวัติศาสจตร์การเมืองจากเลบานอน ได้ระบุไว้ว่า “ในสงครามคำพูดกับเฮาซีครั้งนี้ เจ้าหน้าที่หลายคนได้เข้าร่วมด้วย ส่วนใหญ่เพราะพวกเขากลัวความเสี่ยงที่จะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมือง”

เขาแสดงความคิดเห็น กับมินท์เพรสว่า “มันน่าสนใจมากที่ได้เห็นว่า การกระทำความผิดและอาชญากรรมที่อดีตผู้ปกครองกระทำต่อประชาชนและศัตรูทางการ เมืองถูกนำไปปักไว้บนกลุ่มเฮาซี”

อุษมานอธิบายทฤษฎีของ เขาด้วยการระบุถึงข้อกล่าวหาฉ้อโกงและยักยอกในซานาของสมาชิกตระกูลอะห์มารฺ และนายพลอาลี มุฮ์ซิน อัล-อะห์มารฺ อดีตนายทหารระดับสูงของเยเมน

“เมื่อกลุ่มเฮาซี เริ่มรณรงค์กวาดล้างกลุ่มอัล-อิสลาห์ พวกเขามุ่งเป้าไปที่ธุกิจและผลประโยชน์ส่วนตัวของกลุ่มนี้ ด้วยการเข้าควบคุมที่ดิน ที่พักอาศัย และวิสาหกิจการค้า ส่วนใหญ่จะเป็นการเข้ายึดบ้านของฮามิด อัล-อะห์มารฺ (หัวหน้าพรรคพันธมิตรเพื่อการปฏิรูปเยเมน [Yemeni Alliance for Reform party]) และนายพลมุฮ์ซิน”

เขาเสริมว่า “ขณะที่อัล-อิสลาห์และคนอื่นๆ เริ่มประณามการกระทำแบบโจรกรรม เพื่อทวนคำพูดของเจ้าหน้าที่ที่นิยมอิสลาห์บางคน หลายคนทำท่าว่าจะลืมเมื่อปี 1994 อัล-อะห์มารฺและผู้สนับสนุนเคยเข้าปล้นเอเดน โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินของคนทางภาคใต้ของพวกเขาเองและเป็นที่ดินของรัฐ แต่ถึงกระนั้นพวกเขาก็ยังหากำไรเกินควรทางการเมืองและใช้อำนาจในทางที่ผิดมา สามทศวรรษ”

อาลี อัสซาดี นักข่าวอิสระ กล่าวว่า ถ้ากลุ่มเฮาซีเข้ายึดทรัพย์ที่เคยเป็นของเจ้าหน้าที่ระดับสูงและทรงอำนาจของ อิสลาห์จริง ทางกลุ่มก็ทำไปด้วยเจตนาที่จะคืนมันกลับไปให้กับเจ้าของที่ถูกต้องของมัน

“กลุ่มเฮาซีได้มอบคืน บ้านให้กับอดีตประธานาธิบดีอาลี ซาลิม อัล-บัยด์ ของเยเมนใต้ ซึ่งบ้านของเขาถูกขโมยไปเมื่อหลายสิบปีก่อน (ปี 1994) เมื่อกองกำลังของประธานาธิบดีซอเลห์เข้าบดขยี้กลุ่มกบฏทางภาคใต้ ตั้งแต่นั้นมา ตระกูลอัล-อะห์มารฺได้อ้างความเป็นเจ้าของที่พักอาศัยและที่ดินหลายแห่ง ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกยักยอกไป ประเด็นนี้ทำให้เกิดเรื่องราวของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนอัล-ฮารัก และทำให้เกิดความปรารถนาเอกราชของเยเมนใต้ สำนวนการยักยอกที่ดินเป็นหนามทิ่มแทงฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีฮาดีมา ตั้งแต่ปี 2012” อัสซาดีอธิบาย

เขาเสริมว่า “กลุ่มเฮาซีได้แสดงให้เห็นถึงการจำกัดตัวเองอย่างมากนับตั้งแต่พวกเขาเข้า ควบคุมซานา เป็นคุณลักษณะที่อัล-อิสลาห์และซอเลห์ไม่เคยแสดงออก ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาการทรงตัวและเป็นผู้ถูกเพ่ง เล็งเมื่อมีการตำหนิและกล่าวหา… กลุ่มเฮาซีไม่ได้เลวถึงครึ่งของที่หนังสือพิมพ์กำลังทำให้พวกเขาเป็น ทั้งหมดมันเป็นการจัดการและการโฆษณาชวนเชื่อจริงๆ”

ขณะเดียวกัน แอนทอยน์ แฟรกซัส ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์การเมือง ได้ชี้ให้เห็นถึงความคิดที่ว่าสงครามคำพูดของเยเมนถูกขับเคลื่อนโดยการ ควบคุมอำนาจและความปรารถนาที่จะลบล้างความชอบธรรมและลดความสำคัญของฝ่ายตรง ข้ามทางการเมืองของตนมากกว่าจะเป็นการปะทะทางแนวความคิด

“ความตึงเครียดและ ความแตกแยกทางการเมืองและศาสนาของเยเมนไม่ได้มีความลึกล้ำเหมือนอย่างที่ นักการเมืองอยากจะให้ประชาชนเชื่อ การเมืองของเยเมนถูกขับเคลื่อนโดยตัวบุคคล ประชาชนต้องให้การสนับสนุนปัจเจกบุคคลและกลุ่มอำนาจ ไม่ใช่โครงการหรือแนวคิด นี่คือสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งเกี่ยวกับเยเมน… ความแตกแยกเกิดจากความต้องการเข้าควบคุมทรัพยากรในประเทศของฝ่ายต่างๆ ศาสนา การหนุนหลังของต่างชาติ และแม้แต่พันธมิตรทางการเมือง ถูกนำมาใช้เป็นอาวุธและเครื่องมือในการเรียกร้องการสนับสนุนจากประชาชน”

เขายังระบุด้วยว่า ไม่มีนักการเมืองคนใด “สามารถแสร้งทำว่าปราศจากความผิดได้” เขายังบอกด้วยว่า ไม่ว่าจะด้วยน้ำมือของกลุ่มเฮาซีหรือรัฐบาลผสม การกระทำผิดก็ได้เกิดขึ้นแล้ว

“คำถามก็คือ ประชาชนจะได้รับโอกาสที่แท้จริงในการตัดสินอนาคตทางการเมืองของพวกเขาไหม?” เขาสรุป

แปล/เรียบเรียง กองบรรณาธิการเอบีนิวส์ทูเดย์
เขียนโดย
ที่มา http://www.mintpressnews.com