ตรวจสอบเชิงวิพากษ์ใน ปรัชญาตะวันตก และปรัชญาอิสลาม ความจำกัดของการเสวนาระหว่างอิสลามกับตะวันตก

827

โดย ฮูเซน บาชีริยะฮ์ มหาวิทยาลัยเตหะราน
แปลโดย ไรน่าน อรุณรังษี ที่มา สาส์นอิสลาม

พัฒนาการ ของการเมืองเชิงเหตุผล หรือการเมืองที่สำนึกในเหตุผล เกี่ยวข้องอย่างมากกับปรัชญาการเมืองนับตั้งแต่สมัยเพลโต เป็นต้นมา แต่แนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องระบบเหตุผล และการใช้เหตุผลนั้นได้ ขึ้นอยู่กับการตีความหมายอยู่เสมอ  และได้แสวงหาความหมายที่แตกต่างกันเรื่อยมาในความหมายทั่วไปในปรัชญา การเมืองนั้น เหตุผล ถูกนำมาใช้ในความหมายที่ตรงกันข้ามกับข้อ ก. การรวบอำนาจ ข้อ ข. การใช้อำนาจตาม อำเภอใจ ข้อ ค. วิวรณ์จากพระเป็นเจ้า ได้มีการกล่าวกันอยู่บ่อยๆ ว่า การเมืองระบบเหตุผลนั้นวางอยู่บนพื้นฐานของการชี้แจงแสดงเหตุผล การสนนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การวิสาสะแบบเสวนา การให้เหตุผลแบบสนทนา การสื่อ อัตวิสัยสัมพันธ์ และความยินยอม ในด้านตรงกันข้ามการเมืองระบบที่ไม่ใช้เหตุผลกล่าวกันว่า วางอยู่บนการใช้อำนาจเผด็จการ ใช้เจตนารมณ์ตามอำเภอใจ เป็นการให้ เหตุผลฝ่ายเดียว และใช้เหตุผลนั้นครอบคลุมเหนือความคิดอื่นๆ เหมือนอย่างที่ได้ถูกสำแดงออกโดยเฉพาะในเรื่องวิวรณ์ทางศาสนา

ใน ปรัชญาการเมืองตะวันตก เหตุผล และความ สำนึกในเหตุผลทางด้านการเมืองนั้นมีความหมายใหญ่ๆ สามประการ ซึ่งตรงกับเสี้ยวส่วนแห่งการพัฒนา 3 ขั้นตอน ในแนวความคิดเกี่ยวกับความสำนึกในการใช้เหตุผล หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งปรัชญา ตะวันตกบรรจุไว้ด้วย 3 ความหมายสำหรับการเมืองระบบเหตุผล

•    การให้เหตุผลฝ่ายเดียวแบบอัตวิสัย เหมือนอย่าง ที่ปรากฏรูปแบบในปรัชญาเพลโตที่เกี่ยวกับปัจเจกบุคคลที่สำนึกในเหตุผล
•    รูปแบบของสัญญาประชาคม เป็นการสำแดงออก ขอความสำนึกในเหตุผลเชิงสนทนาในการก่อตั้งรัฐเหมือนอย่างในมติของฮอบส์
•    รูปแบบการใช้เหตุผลแบบอัตวิสัยสัมพันธ์ในความ หมายของ ฮาเบอร์ มาสเซียน

เหตุผล หลักของเราในเอกสารชิ้นนี้นั่นก็คือว่า ในจารีตของตะวันตกที่เกี่ยวกับปรัชญาการเมือง เราอาจที่จะ ทำความเข้าใจ ในเสี้ยวส่วนแห่งพัฒนาการทั้งสามนั้น ดังที่ ได้กล่าวมาแล้วแต่เบื้องต้น ในประวัติศาสตร์ตะวันตกทั้ง หมดแนวความคิดเชิงเหตุผลในความหมายด้านต่างๆนั้นก่อให้เกิดกระแสหลักที่ คัดค้านกับกระแสรองหรือ ช่วงพักของแนวความคิดทางศาสนาในยุคกลาง ตรงกันข้ามกับ ประวัติศาสตร์กับอิสลาม แนวความคิดทางปรัชญาว่าด้วย การใช้เหตุผลนั้นเป็นช่วงพักระหว่าง หรือที่เรียกว่า เป็น กระแสรองที่เกิดขึ้นและคัดค้านกระแสหลักของแนวความคิดทางด้านเทววิทยา (ซึ่งกำหนดแม้กระทั่งโครงสร้างของแนวความคิดด้านเหตุผล)ในช่วงดังกล่าวนั้น ปรัชญาอิสลามได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากปรัชญากรีก แต่ก็ไม่สามารถ ที่จะจับฉวยในด้านแก่นแท้ของปรัชญานั้น เพราะฉะนั้นจึง ไม่มีการ เสวนากันอย่างแท้จริงเกิดขึ้นระหว่าระบบปรัชญา ทั้งสอง แม้ว่าในขั้นแรกเริ่มของการใช้ความคิดด้านเหตุผลของตะวันตก เหมือนอย่างในช่วงพัฒนาการของการใช้เหตุผลนี้ที่ถูกกระทำให้สมบูรณ์ และเข้มข้นด้วยการเขียนอธิบายเหตุผลเหล่านั้นอย่างเป็นคุ้งเป็นแคว ตามเหตุการณ์ที่เป็นมานั้น ความต้องการการเมืองระบบเหตุผลได้ขาดหายไปในหลักการด้านจารีตของอิสลาม และในที่สุดก็ได้ถูกนำเข้ามาจากตะวันตก แม้ว่าจะได้รับการทัดทานต่อต้านไปทั้งหมด ปรัชญาการเมืองอิสลามทั้งหมดนั้นยังคงผูกพันอยู่กับพระบัญญัติอันเป็นวิวรณ์ ทางศาสนา และมิได้ซึมซับแนวความคิดใดๆ ทั้งสามประเภทของการให้เหตุผลที่ได้พัฒนาการมาในแบบจารีตตะวันตก

ใน บทความนี้ ตอนแรกเราจะสรุปรูปแบบสำคัญๆทั้งสามประเภทของการให้เหตุผลในจารีตนิยมตะวัน ตกและติดตามด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาของปรัชญาอิสลามในด้านความสัมพันธ์ ระหว่างวิวรณ์ และเหตุผลในเชิงเปรียบเทียบ
แบบทั้งสามของการเมืองระบบเหตุผลในปรัชญาตะวันตก

ใน ปรัชญาการเมืองตะวันตกนั้น การใช้เหตุผลขึ้นอยู่กับแบบสำคัญในการใช้เหตุผล 3 ประการ ระดับของความยินยอมย่อมเกี่ยวเนื่องในการก่อให้เกิดรัฐ และความสำนึกทางด้านเหตุผลในชีวิตการเมือง

•    ในหลักการใช้เหตุผลทางปรัชญาของแบบเพลโตนั้น ถือว่าจิตใจทางด้านปรัชญาพบอาณาจักแห่งความจริงและเหตุผลในโลกของความคิด ซึ่งเป็นรูปแบบบริสุทธิ์ในด้านความคิด แล้วแสวงหาที่จะนำรูปแบบนั้นมาใช้ในชีวิตการเมือง ในความหมายนี้หลักใช้เหตุผลถูกพิจารณาจากประเด็นแห่งความคิดที่ถือเป็นแก่น แท้ที่จำเป็น นั่นก็คือว่าแก่นแท้ของเหตุผลจะต้องถูกพบได้ในโลกแห่งความคิดอันเป็นโลกแห่ง แบบต่างๆ จิตใจของนักปรัชญาที่จะรู้ถึง แก่นแท้นี้ได้จะต้องเป็นนักคิดที่มีจิตใจเป็นนักปรัชญาโดยแท้ เพลโตเชื่อว่า ชีวิตแห่งการเมืองก็มีรูปแบบในอุดมคติหนึ่ง ซึ่งสามารถที่จะค้นพบได้โดยเหตุผลทางด้านปรัชญารูปแบบแห่งอุดมคติของรัฐก็ คือรูปแบบหนึ่งของมนุษย์ในอุดมคติขนาดใหญ่ขึ้นนั่นเอง แนวความคิดทั้งหมดนั้นเพลโตได้แสดงเหตุผลของเขาเพื่ออธิบายรัฐในอุดมคติ แม้ว่าเขาจะใช้หลักการอุปมาอุปไมยบางอย่างก็ตาม แต่เขาก็มิได้ทำให้เกิดความสับสนงงงวยในเรื่องรัฐอุดมคติ แม้ว่ามาตรการบางอย่างของการรวมศูนย์อำนาจ อาจจะยังจำเป็นสำหรับการสถาปนารูปแบบแห่งเหตุผลขั้นพื้นฐานของการเมืองแบบ นี้ก็ตาม

•    แบบของสัญญาประชาคม ในฐานะที่เป็นการ สำแดงออกของเหตุผลในเชิงเสวนาในเชิงเสวนาในการก่อพื้นฐานของรัฐ ซึ่งแนวคิดอันนี้ได้รับการพัฒนาโดย ฮอบส์ และ ร็อค ในรูปแบบนี้คือระบวนการของการเคลื่อนย้ายจากสภาพธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ยังไม่มีระเบียดใดๆ มาจัดการกับความเป็นอยู่ในสังคม จนกระทั่งได้รูปแห่งรัฐด้วยสัญญาประชาคมเข้าสูสภาพชีวิตของกาเป็นพลเมือง ซึ่งสภาพเช่นนี้ไม่ใช่เป็นสภาพที่หลีกเลี่ยงมิได้ แต่มันจะสำเร็จลงได้ก็ด้วย ผ่านการเข้าไปเกี่ยวข้องของ เหตุผล หรือ การพิจารณาไตร่ตรองของมนุษย์

มนุษย์ หลีกหนีจากสภาพที่น่ารังเกียจของธรรมชาติ และโอบกอดสิ่งที่จะก่อให้เกิดเป็นชีวิตขอความเป็นพลเมือง และนอกเหนือจากนั้น การสถาปนารัฐก็เพื่อที่จะจัดสรรชีวิตของความเป็นพลเมืองให้แก่มนุษย์ ฉะนั้นรัฐผลิตผลหนึ่งของสัญญาประชาคมที่เต็มไปด้วยเหตุผล และจิตสำนึกในเรื่องความผิดชั่วดี อีกทั้งความยินยอมพร้อมใจของความในสังคมนั้นและไม่มีคุณสมบัติใดๆ ที่จะเป็นเรื่อง นิทานปกรณัม กระบวนของการสร้างรัฐนั้นในตัวมันเอง  เป็นเรื่องแต่สภาพของชีวิตพลเมืองนั้นเกิดขึ้น จากสัญญาประชาคม ที่จะต้องได้รับการเชิดชูโดยมาตรการบางอย่างของการรวมรวบอำนาจ ( อย่างน้อยก็ตามทัศนะของ ฮอบส์) ในหนังสือลิเวียธาน ของฮอบส์ นั้น เสนอให้ประชาชนในรัฐตกอยู่ในสภาพของความกลัวอย่างถาวร เพราะว่า ประชาชนเหล่านั้นอาจจะถูกยุแหย่ให้ละเมิดฝ่าฝืนข้อตก ลงอันเป็นสัญญาประชาคมได้

ใน ความคิดของสรุปโซด้วยเช่นกันที่ถือว่า รัฐที่เต็มไปด้วยเหตุผล ย่อมวางอยู่บนหลักสัญญาประชาคม และ สำแดงออกโดยตัวแทนในเจตนารมณ์ทั่วไป แต่เจตนารมณ์ ทั่วไปอาจจะแผ่ออกไปในปัจเจกชนคนเดียว ตัวอย่างเช่นผู้ออกกฎหมาย สำหรับเหตุผลข้อนี้ รุสโซ อาจจะดำเนิน ไปตามแนวความคิดของเพลโตด้วยเช่นเดียวกัน ในเรื่องที่ ว่าด้วยรัฐในอุดมคติ

•    ในแบบของเหตุผลเชิงอตวิสัยสัมพันธ์ เหตุผลเชิงสนทนา และการปฏิบัติเชิงสื่อสาร ในภาคส่วนของสาธารณ ได้รับการพิจารณาว่าเป็นสภาพที่จำเป็นสำหรับการเมืองในระบบเหตุผล นโยบายต่างๆ เป็นสิ่งที่มีเหตุผล ก็ต่อเมื่อนโยบายเหล่านั้นสามารถที่จะปกป้องหลักการของมัน อย่างมีเหตุผล ต่อการซักถามของประชาชน การทำให้มี เหตุผลจำเป็นต้องเกิดมาจากภาคสาธารณชน ในฐานะที่ เป็นอตวิสัยสัมพันธ์ และบางครั้งอาจจะเป็นการปฏิบัติที่ สับสนวุ่นวายอุปมาเหมือนน้ำท่วมทุ่ง อันเนื่องจากประชาชนส่วนมาก ที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการวางนโยบายของรัฐ นโยบายต่างๆและเป้าหมายที่มีเหตุผล สามารถ ที่จะถูกกำหนดได้ก็แต่เพียงในภาคส่วน ของสาธารณชนเท่านั้น และรัฐ และระบบเหตุผลนั้น ก็คือ นโยบายต่างๆของมันต้องได้รับการยอมรับในภาคส่วนของสาธารณชน ฉะนั้นภาคส่วนของสาธารณทั้งหมดจึงเป็นขอบเขตของอัตวิสัยสัมพันธ์ และยิ่งเพิ่มจำนวนของภาคส่วนสาธารณให้ใหญ่ขึ้นเท่าใด เรื่องงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณชน ก็ยิ่งเป็นไปได้ที่จะเป็นการเมืองที่มีเหตุผลมากยิ่งขึ้นนั่นคือความยินยอม ของมหาชนที่จะนำไปสู่การวางนโยบายของรัฐ

โดย สรุปแล้วรูปแบบความคิดที่เกี่ยวกับรัฐแห่ง เหตุผลได้ผ่านเสี้ยวส่วนแห่งการพัฒนามาแล้วสามขั้นตอนในประวัติศาสตร์ที่ เกี่ยวกับปรัชญาตะวันตก จากมุมมองนี้ เราอาจจะวิเคราะห์ปรัชญาอิสลามได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ เกี่ยวกับรูปแบบความคิดของการเมืองด้านเหตุผล

ปรัชญาการเมืองอิสลาม

เกี่ยว กับปรัชญาอิสลามทั้งหมดในยุคกลาง แม้ว่าจะมีการเกี่ยวข้องกันบ้างกับจารีตในแนวปรัชญากรีก ก็ยังคงผูกพันกันอยู่บ้างในเรื่องการอธิบายที่ค่อนข้างสับสน แต่ในด้านทัศนะคติ ของมันดูไปแล้วค่อนข้างชัดเจนเป็นพิเศษ ที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผล และรัฐแบบมีความสำนึกในด้านเหตุผล ตามข้อเท็จจริงบรรดานักปรัชญาการเมืองอิสลาม บางคนพึ่งพาอาศัยปรัชญาแนวเหตุผลของกรีก และนำแนวความคิดใหญ่ๆ ของกรีกมาใช้ เช่นเกี่ยวเรื่อง Logos และ Nomos ซึ่งเป็นความต้องการที่จะรวมเหตุผลตามปรัชญาให้เข้ากับหลักวิวรณ์กับพระผู้ เป็นเจ้า ไม่เหมือนกับบรรดานักเทววิทยาทางการเมือง ผู้ซึ่งได้ประกาศว่ารัฐวางอยู่บน บนบัญญัติของกฎหมายศาสนาในด้านหนึ่ง อีกทั้งบรรดา นักเขียนแนวสัตย์นิยมที่เขียนเรื่อง คันฉ่องของเจ้าชายทั้งหลาย ซึ่งได้ประกาศว่ารัฐวางอยู่บน วิทยปัญญาของผู้ปกครองเองในอีกด้านหนึ่ง ส่วนบรรดานักปรัชญาทางการเมือง ตามที่ปรากฏนิยมชมชอบไปในคติที่ว่า รัฐที่สำนึกด้านเหตุผลนั้น วางอยู่บนความยินยอมของประชาชน แต่บุคคลเหล่านั้นไม่อาจจะพบลัทธิกลไกในการสถาปนารัฐในระบบเหตุผล ทั้งนี้อันเนื่องจากว่าบุคคลเหล่านั้นยังคงผูกติด อยู่กับคติในด้านศาสนศาสตร์ และในฐานะที่เป็นผลของการใช้เหตุผลจึงยังไม่อิสระ และเป็นแรงที่ขึ้นอยู่กับตัวเอง แต่นำไปรับใช้หลักการแห่งวิวรณ์ของพระผู้เป็นเจ้า ฉะนั้นปรัชญาอิสลามทั้งหมดก่อให้เกิดหลักการแห่งเหตุผลที่นำไปอธิบายหลัก แห่งวิวรณ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง แก่นแกนของมันยังเป็นเรื่องของศาสนา นั่นก็คือด้านเหตุผลทางปรัชญาให้เป็นเรื่องของเทววิทยา แทนที่จะนำวิวรณ์ของพระผู้เป็นเจ้ามาทำความเข้าใจ ในเชิงเหตุผล

ใน ฐานะที่นักปรัชญาการเมืองที่ดีเด่นที่สุดของโลกอิสลาม “ฟารอบี” แสวงหาทางที่จะรวมเหตุผลทางด้านปรัชญากรีก เข้ากับหลักวิวรณ์ในอิสลาม แต่ในที่สุดแล้วเขาก็ได้ทำให้เหตุผลมารับใช้หลักแห่งวิวรณ์ เหตุผลของเขาได้ถูกสำแดงออกไม่ใช่ในเรื่องของแบบและความคิดตามอุดมคติของเพล โต แต่สำแดงออกในด้านเหตุผลบริสุทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า (Divine Logos) ตามความจริงแล้ว ฟารอบี ได้ แสวงหาทางที่จะนำเอาพระบัญญัติ (ชะรีอัต) ที่ได้รับบัญชามาจากพระผู้เป็นเจ้า ให้ประสานสอดคล้องกับความช่วยเหลือทางด้านเหตุผลของปรัชญา ในปรัชญาของฟารอบี อิมาม หรือ ผู้นำศาสนาแทนนักปรัชญาราชะ Philo sopher king)และมีความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ของชะรีอัต แทนโลกแห่งแบบในอุดมคติของเพลโต ส่วนเรื่อง ปัญญากิจกรรม (Actve Intelligence) อย่างเช่น วิญญาณบริสุทธิ์ที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ และเกิดสติปัญญาภาคปฏิบัติในมนุษย์ ซึ่งเป็นปัจเจก บุคคลเมื่อปัญญากิจการ ผลักดันให้เกิดหลักสติปัญญาที่ พิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ของผู้ปกครอง ผู้ปกครองคนนั้น ก็จะกลายเป็นนักปรัชญา   และเมื่อวิญญาณบริสุทธิ์ เคลื่อน กระตุ้นให้เกิดปัญญาภาคปฏิบัติในตัวบุคคลนั้นบุคคลนั้นก็กลายเป็นศาสดา ในทัศนะนี้พระผู้เป็นเจ้าในความคิดของฟารอบี ก็อยู่ในฐานะเดียวกันกับ เหตุแรกเริ่ม (First Cause)ในมติของ อริสโตเติล ตามทัศนะของฟารอบีนั้นถือว่า การอรรถาธิบายตีความหมายของคัมภีร์อัลกรุอาน โดยอิมามนั้นย่อมเข้ากับความรู้แห่งสากลภาพในปรัชญาของเพลโต เกี่ยวกับทั้งหมดของปัญญากิจการนั้นในที่สุดแล้ว ก็เหมือนอย่างกับการวิวรณ์ของพระผู้เป็นเจ้าที่ดลบรรดลใจประทานพระบัญญัติ โดยผ่านศาสดา

ความ รู้ที่เกี่ยวกับ ปัญญากิจการ หรือ ปัญญากัมตะ ซึ่งได้รับในสภาพที่กำลังหลับนำไปสู่การอุบัติของศาสนา ความรู้ประเภทเดียวกันนี้ ที่ได้รับในสภาพที่ตื่นนำ ไปสู่การอุบัติของปรัชญา ฟารอบี ได้พิจารณาอัลกุรอาน และปรัชญาให้อยู่ในฐานะภาคเดียวกัน แตกต่างก็แต่เพียงว่า ปรัชญาแสวงหาสัจธรรม โดยการใช้เหตุผลในขณะที่ศาสนากระทำเช่นเดียวกันนั้น โดยทางแห่งการเปรียบเทียบ อุปมาอุมัยต่างๆ  นอกเหนือจากนั้นไม่มีความแตกต่างกันในด้านสารัตถะที่แท้จริง ระหว่างนักปรัชญาทั้งหลายและบรรดาศาสดา บรรดานักปรัชญาก็ได้รับการดลบันดาลใจ  จากปัญญากิจการของพระเป็นเจ้าด้วย เพราะว่าเหตุผล และความสำนึกในเรื่องเหตุผลนั้นก็เป็นคุณานุภาพที่สำคัญ ประการหนึ่งขอพระผู้เป็น ผู้ซึ่งทรงวิทยปัญญาโดยรอบคอบใน “ซาต” ของพระองค์เอง และโลกจักรวาลก็ได้แผ่นออกมาจากปรีชญาณอันไตร่รองแล้วนี้ การรวมปรัชญากรีกเข้ากับศาสนาอิสลามทำให้ฟารอบบี ได้เสนอภาพลักษณ์ของปัญญาสิบประการ หรือ สิบภาค ซึ่งมีอยู่ในนิทานปกรณัมของกรีก ที่อยู่ในฐานะภาวะทิพย์ ปัญญากิจการเป็นดุจนายผู้จัดการ และผู้ก่อเกิดโลกแห่งรูปแบบ ซึ่งมนุษย์เพียงน้อยคนเท่านั้นอย่างเช่นบรรดาศาสดา บรรดาอิมาม และบรรดานักปรัชญาที่จะได้สัมผัสกับปัญญากิจการนั้น ส่วน มนุษย์ทั่วไปขาดความสามารถดังกล่าวนี้ ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการชี้นำจากบุคคลดังกล่าวนั้น

อะ วีซีนา ไปไกลยิ่งกว่า ฟารอบี และได้บรรลุถึงสิ่งที่ เรียกว่า เอกภาพของปรัชญา อะวิซีนา ถือว่ารัฐในอุดมคติในอิสลามนั้นคล้ายกันมากทีเดียว กับรัฐในอุดมคติของเพลโต อะวิซีนาได้พูดถึงปัญญากิจการมากด้วยเหมือนกันเช่นเดียวกันกับ ฟารอบี ปัญญากิจการ ก่อให้เกิดผลต่อจิตใจของบรรดาศาสดา และบรรดานักปรัชญา และประทับไว้ซึ่งรูปแบบต่างๆ แห่งเนื้อแท้งหมดขอความจริงเหล่านั้นในจิตวิญญาณบุคคลดังกล่าว ฉะนั้นพระบัญญัติของพระผู้เป็นที่เรียกว่า ชะรีอัตนั้นก็คือการเปิดเผยที่สำคัญยิ่งของปรัชญาณด้านเหตุผลอันเป็นทิพย์ ของพระเป็นเจ้ามนุษย์เพียงน้อยนิดเท่านั้นที่สามารถจะเข้าใจ หลักเหตุ ผล ฉะนั้นมนุษย์ส่วนมากจึงต้องได้รับการชี้นำโดยบุคคลดังกล่าวนั้น

โดย สรุป เหมือนอย่างที่เราได้เห็นมาแล้วว่า ในปรัชญาอิสลามนั้น เหตุผลก็เหมือนอย่างกับวิวรณ์(Revela tion) แต่อยู่ในเสื้อคลุมที่แตกต่างกัน มันเป็นเหตุผลหนึ่งเดียวที่ปรากฏแก่บุคคลนั้นและเป็นทิพย์ สิ่งนี้เป็นผลให้ ความพยายามใดๆ ที่จะทำการพัฒนารัฐแห่งเหตุผลเข้าไปสู่การสถาปนาของระบบการปกครองแบบเทว สิทธิ์ด้วยเหตุนี้รัฐแห่งเหตุผล จึงมิใช่อื่นใดนอกจากเป็นรัฐที่เกิดขึ้นตาม หลักแห้งพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น

สรุป 

เรา ได้ใช้กรณีพิเศษเกี่ยวกับรัฐแห่งเหตุผลในปรัชญาอามนำมาสนับสนุนการอ้าง ทั่วไปมากขึ้น ข้อเสนอของเราในกรณีพิเศษนั้นก็คือ ปรัชญาอิสลามมิได้กลายเป็นปรัชญาแห่งเหตุผล และมิได้เป็นเหมือนอย่างในความหมายแต่แรกเริ่มของระบบเหตุผลที่ปรากฏใน ปรัชญาตะวันตก แต่ในด้านตรงกันข้าม มันได้ทำให้เหตุผลทางด้านปรัชญากลายมาเป็นเทววิทยาไป และฉะนั้นมิได้พัฒนาไปตามแนวจารีตของนักเหตุผลนิยม การอ้างทั่วไปยิ่งกว่านี้ ของเรา ก็คือว่า ไม่มีการเสวนาขั้นพื้นฐานได้เคยเกิดขึ้นระหว่างปรัชญาอิสลามกับปรัชญาตะวัน ตก แม้แต่ในยุคก่อนวิทยาศาสตร์ของปรัชญาก็ตาม ความจำกัดของการเสวนาได้ถึงขั้นนั้นในการยอมรับนิทานปกรณัมของเหตุผลแบบเพล โตของฟาราบี หากปรัชญาอิสลามซึ่งได้ผูกติดอยู่กับวิวรณ์ของพระผู้เป็นเจ้าไม่อาจที่จะมา สู่หลักการข้อตกลงเดียวกันกับเหตุผลของเพลโตแล้วมันจะสามารถข้ากันกับหลัก สัญญาประชาคมหรือ หลักเหตุผลในภาคสวนของสาธารณชนได้อย่าง?ตามข้อเท็จจริงแล้วมันไม่เคยพยายาม เช่นนั้น ด้วยเหตุนี้แหละที่ว่าทำไมจึงไม่มีนักปรัชญาสมัยใหม่ในโลกอิสลาม

ปัจเจกบุคคล ที่เต็มไปด้วยเหตุผลแบบเพลโต  สัญญาประชาคม และหลักเหตุผลในภาคส่วนสาธารณสิ่งเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดธรรมชาติของอารยธรรม ตะวันตก แต่ในด้านตรงข้าม ธรรมชาติแห่งแนวความคิด แบบอิสลามก็ยังคงเป็นแนวเทววิทยาอยู่ ดังนั้นจึงไม่มีการสนทนาทั่วไประหว่างบุคคลเหล่านั้น เพราะการสนทนาที่แท้จริงนั้นเราต้องการการสนทนาวิสาสะหรือ จำเพาะเจาะจงไปยิ่งกว่านั้นก็คือการถกเถียงอภิปรายกันในเชิงเหตุผลแบบตะวัน ตกแต่ปัญหาก็คือว่า ด้วยการมีมาของมนตราอาถรรพณ์ลึกกลับแห่งการสนทนาและการใช้ภาษาทางด้านเหตุผล ดังกล่าวนั้นก็จะทำให้แนวความคิดและปรัชญาแบบอิสลามที่สถิตอยู่ทั้งหมดถูก ขับไล่ออกไป