เปรียบเทียบระบบการเลือกตั้งและการปกครองของอิหร่านและเจ็ดชาติอ่าวอาหรับเปอร์เซีย(ฉบับย่อ)

904

เพรสทีวี-   แปดประเทศในอ่าวเปอร์เซียรวมทั้งอิหร่านและเจ็ดประเทศอาหรับในอ่าวเปอร์เซียนั้นมีระบอบการปกครองและการเลือกตั้งที่แตกต่างกัน  ซึ่งในที่นี่เป็นการเปรียบเทียบระบบการเลือกตั้งของสาธารณรัฐอิสลามและประเทศอื่น ๆ ในอ่าวเปอร์เซีย

อิหร่าน

ในสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน  ผู้นำสูงสุดอยู่ในฐานะผู้นำระดับสูงในระบบการเมืองของประเทศ โดยมีสภาผู้เชี่ยวชาญ (มีจำนวน 88 สมาชิก) เป็นผู้แต่งตั้ง และสมาชิกสภาผู้เชี่ยวชาญได้รับการเลือกตั้งโดยประชาชน โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในด้านต่างๆรวมทั้งตรวจสอบคุณสมบัติของผู้นำสูงสุดด้วย

นอกจากนี้นอกเหนือจากประธานาธิบดีแล้ว สมาชิกรัฐสภาและสภาท้องถิ่นก็ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน

ซาอุดีอาระเบีย

ระบอบการปกครองของซาอุดิอาระเบียเป็นระบบการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบสมบูรณ์แบบ  โดยที่กษัตริย์มีอำนาจเบ็ดเสร็จและมีอำนาจไร้ขีดจำกัด  กษัตริย์ผู้ทรงอำนาจในประเทศเป็นการขึ้นครองอำนาจแบบสืบทอดรัชทายาท  กษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐและสมาชิกของคณะรัฐมนตรีล้วนแล้วเป็นสมาชิกของราชวงศ์ซาอุฯทั้งหมด และคณะ สมาชิกสภาชูรา (รัฐสภา) ของซาอุดิอาระเบียก็ได้รับการแต่งตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาจากกษัตริย์

มีการเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว นั้นคือการเลือกตั้งสมาชิกเทศบาลในปี 2015 แต่ผู้หญิงมีไม่สิทธิในการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง

โอมาน

ในก็เช่นกัน เป็นระบอบรัฐสุลต่านแบบเบ็ดเสร็จ  ซึ่งกษัตริย์โอมานจะได้รับการสืบทอดแบบรัชทายาท อีกทั้งกษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในคณะรัฐบาลและเป็นผู้เลือกสมาชิกคณะรัฐมนตรี

บาห์เรน

ระบอบการปกครองในประเทศเกาะบาห์เรน เป็นระบอบกษัตริย์กึ่งเบ็ดเสร็จ โดยที่กษัตริย์มีอำนาจที่จำกัดตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้

ในการเลือกตั้งปี 1970 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่จัดขึ้นในประเทศบาห์เรน โดยพวกเขามีหน้าที่เพื่อเขียนร่างรัฐธรรมนูญ

ภายใต้รัฐธรรมนูญบาห์เรน กษัตริย์จะต้องมาจากครอบครัวของอัลคาลิฟา และเป็นการสืบทอดราชทายาท เพียงครึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา (ส.ส. ) ได้รับการเลือกตั้งโดยประชาชน และอีกครึ่งหนึ่งจะถูกเลือกและได้รับการแต่งตั้งโดยกษัตริย์ตามความเสน่ห์หาของเขาเอง

อัลวิฟาคเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุดของบาห์เรน ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ถูกสั่งปิดและสมาชิกถูกจับกุมและถูกห้ามในการเคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมือง

อิรัก

สมาชิกรัฐสภาในอิรักได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน นอกเหนือไปจากการปฏิบัติหน้าที่ในรัฐสภาที่จะผ่านกฎหมายแล้ว ยังมีหน้าที่ในการเลือกประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีอิรักอีกด้วย รวมทั้งฟอรม์คณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี

คูเวต

อำนาจการปกครองในคูเวตอยู่ในมือครอบครัวอัลซาบาห์  ประมุขคูเวตเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี เพื่อจัดตั้งคณะ รัฐมนตรี

อย่างไรก็ตามแม้นว่าสมาชิกรัฐสภาในคูเวตได้มาจากการเลือกตั้งแต่ประมุขยังมีอำนาจในการสั่งปลดคณะรัฐมนตรีได้

สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์

ระบอบการปกครองในเอมิเรสต์ก็เป็นระบบการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยที่ประมุขแห่งอบูดาบีเป็นประธานาธิบดี และหัวหน้าคณะรัฐบาล และประมุขดูไบเป็นนายกรัฐมนตรี  ประชาชนเอมิเรสต์สามารถเลือกหาสมาชิกสภารัฐบาลกลางแห่งชาติเลือกเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น

กาตาร์

ระบอบการเมืองของกาตาร์คือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งระบอบการปกครองก็จะมีความคล้ายกับระบอบการปกครองในซาอุดิอาระเบีย

ตามกำหนดการนั้นจะมีการเลือกตั้งรัฐสภาในปี 2013 แต่ด้วยเหตุผลบางอย่างทำให้การเลือกตั้งล่าช้าไปจนถึงปี  2019

http://217.218.67.231/DetailFa/2017/05/19/522493/A-look-at-elections-in-Iran-versus-other-Persian-Gulf-states/