islamtimes – แน่นอนว่าความต่อเนื่องของวิกฤต จะทำให้ความพยายามของอังการา ในการขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับชาติอ่าวเปอร์เซียนั้นตกอยู่ในภาวะเสี่ยง และอาจทำให้บริษัทตุรกีต้องหลุดพ้นจาก Active marketในประเทศต่างๆเหล่านี้ได้
สัปดาห์ที่ผ่านมา ซาอุดีอาระเบีย บาห์เรน สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ อียิปต์ ลิเบีย เยเมนและรัฐบาลอื่น ๆแห่งชาติอาหรับ ได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์ภายใต้ข้ออ้าง ให้การสนับสนุนการก่อการร้ายและขับไล่ชาวกาตาร์ออกจากประเทศ นอกจากนั้นยังได้ปิดเส้นทางภาคพื้นดินและทางอากาศที่เชื่อมต่อยังกาตาร์จนทำให้ตกอยู่ในวงแหวนแห่งการถูกปิดล้อม ในขณะเดียวกันตุรกีเป็นหนึ่งในประเทศที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ชาติอาหรับ โดยเฉพาะซาอุดิอาระเบียที่แสดงจุดยืนอันก้าวร้าวต่อกาตาร์ พร้อมกับประกาศแสดงจุดยืนคัดค้านการกระทำดังกล่าว เออร์โดกาน ได้ออกมากล่าว เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน โดยในคำพูดของเขาได้ชี้ให้เห็นว่า บางรัฐบาลในภูมิภาคที่มีความสุขต่อการทำรัฐประหารล้มเหลวในตุกรีเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พร้อมกับเรียกร้องให้ยุติการคว่ำบาตรกาตาร์โดยเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ จากข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลของชาติสมาชิกอาหรับ GCC และตุรกีเองก่อนหน้าที่จะเกิดภาวะวิกฤติและประเด็นระดับภูมิภาคก็ได้ให้ความร่วมมือมาแล้ว ในตอนนี้ปัญหาคือ การให้การสนับสนุนกาตาร์ในการเผชิญหน้ากับติ่งรัฐอาหรับและตะวันตกนั้น อังการาจะมีโอกาสและความท้าทายอะไรบ้างในเรื่องนี้ ?
สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ
หลังจากที่ซาอุดิอาระเบียได้ทำการปิดชายแดน Almsvrh กาตาร์จะเหลือแค่ชายแดนภาคพื้นดินเท่านั้นใช้ในการ ขนส่ง ซึ่งชายแดนดังกล่าวจะมีรถบรรทุกเข้าออกมากกว่า 600-800 คัน ต่อวัน ในการจัดหาสินค้าที่จำเป็นสำหรับกาตาร์ หนึ่งในวิธีการที่โดฮาใช้ในการจัดหาวัสดุและสินค้าที่ต้องการคือ การนำเข้าสินค้าทางอากาศจากตุรกี ตุรกีในยุคสมัยของรัฐบาล Adalet ve Kalkınma Partisi (AKP )มีขั้นตอนของการพัฒนาทางเศรษฐกิจแบบอย่างยั่งยืนเรื่อยมา และการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องขึ้นอยู่กับการหาตลาดใหม่ ซึ่งเป็นไปได้ว่าเป็นการแข่งขันที่ยากลำบากกับประเทศอื่นๆที่มีการพัฒนาแล้ว ดังนั้นการเปิดช่องทางให้กับบริษัทของตุรกีไปยังตลาดทุนและสินค้าโภคภัณฑ์ในกาตาร์ เป็นผลสำเร็จที่น่าทึ่งพอสมควร เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ของความตึงเครียดและวิกฤติที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์กับประเทศอาหรับในอ่าวเปอร์เซีย
การสร้างฐานทหารถาวรในอ่าวเปอร์เซีย
ตุรกีเป็นหนึ่งในประเทศที่จะดำเนินการโครงการพัฒนาเศรษฐกิจให้สูงขึ้น แต่ต้องอาศัยปัจจัยพลังงานจากต่างประเทศและโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศแถบอ่าวเปอร์เซีย ความผันผวนในการขนส่งวัตถุดิบพลังงานจากอ่าวเปอร์เซียไปยังตลาดโลกนั้น ไม่เป็นที่พอใจมากเท่าหรับสำหรับตุรกี ด้วยเหตุนี้เติร์กได้แรงบันดาลใจเสมอมาว่า จะต้องสร้างฐานทัพทหารในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียให้ได้ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนในภูมิภาค ในขณะที่ตุรกีในปีที่ผ่านมา โดยอาศัยยุทธ์วิธีเชิงกลยุทธ์ที่ลุ่มลึกในความพยายามที่จะให้อังการากลายเป็นมหาอำนาจเบอร์หนึ่งในภูมิภาค และเหนือภูมิภาค ด้วยการส่งทหารของตุรกีไปปรากฏตัวในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคที่สำคัญทางภูมิศาสตร์เช่นอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งความต้องการเช่นนี้กำลังใกล้สู่ความสำเร็จมากขึ้น หลังจากเหตุการณ์ความตึงเครียดในความสัมพันธ์ระหว่างชาติอาหรับในอ่าวเปอร์เซีย ในบริบทนี้ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน รัฐสภาตุรกีอนุมัติร่างกฎหมายให้ส่งกองกำลังทหารเข้าไปประจำการที่ฐานทัพตุรกี ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศกาตาร์ ร่างกฎหมายฉบับนี้ ผ่านความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 240 ร่างกฎหมายดังกล่าวประกอบด้วยข้อกำหนดสองส่วน โดยส่วนที่หนึ่งคือการอนุญาตให้กองกำลังทหารของตุรกีสามารถเข้าไปประจำการที่กาตาร์ได้ และส่วนที่สองคือการอนุมัติให้ทั้งตุรกีและกาตาร์สามารถร่วมกันฝึกซ้อมรบได้ ข้อตกลงในการปรับใช้กองกำลังในดินแดนกาตาร์ มีขึ้นเพื่อปรับปรุงกองทัพของประเทศ และเพิ่มความร่วมมือทางทหารซึ่งได้ลงนามในเดือน เมษายน ปี 2016 ในกรุงโดฮา เมืองหลวงของกาตาร์ ภายใต้การเรียกเก็บเงิน กองทัพของทั้งสองประเทศจะสามารถฝึกซ้อมทางทหารร่วมกันได้ โดยความเคลื่อนไหวครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนสันติภาพของภูมิภาคและโลก นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ทหารตุรกีสามารถฝึกกองกำลังทหารกาตาร์ ภายใต้ข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยของทั้งสองประเทศ ที่ได้ลงนามในเดือนธันวาคมปี 2015
สร้างความเข้มแข็งของฝ่ายต่อต้านอังการา
แม้ว่าการสนับสนุนของอังการาที่มีต่อโดฮา ในแง่มุมที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ทำให้เออร์โดกานประสบความสำเร็จก็ตาม แต่ไม่ต้องสงสัยว่าถ้าวิกฤติที่เกิดขึ้นนี้ยืดเยื้ออย่างต่อเนื่อง กระบวนการนี้ ตุรกีต้องสูญเสียค่าใช้อย่างแน่นอน เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน เลขานุการของกาตาร์เปิดเผยข้อมูลในความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำ PKK กับหัวหน้าข่าวกรองสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์เมื่อเดือนก่อน ซึ่งการเปิดเผยข้อมูลของการพบปะครั้งนี้ บ่งชี้ถึงกลยุทธ์ของชาติอาหรับในอ่าวเปอร์เซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง UAE และซาอุดิอาระเบียเพื่อกดดันอังการาให้ยุติการสนับสนุนปกป้องโดฮา อังการาหลังจากความล้มเหลวของกระบวนการสันติภาพกับ PKK ถือว่าเป็นแผนสมรู้ร่วมคิดของบรรดาศัตรูตุรกีและรัฐบาลต่างประเทศ เพื่อที่จะสร้างความไม่มั่นคงในประเทศ และสกัดตุรกีไม่ให้มีอำนาจในภูมิภาค ดังนั้นการเปิดเผยกรณีที่เจ้าหน้าที่ข่าวกรองและหน่วยรักษาความปลอดภัย UAE พบปะกับผู้นำของ PKK นั้นถือว่าเป็นระฆังเตือนสำหรับตุรกีในด้านการสร้างความเข้มแข็งและขยายการปราบปรามที่มีต่อฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอังการากับกลุ่มนี้ในอนาคตอย่างแน่นอน
ความอ่อนแอในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับ GCC
ตุรกีและชาติอ่าวเปอร์เซียได้มีการขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น ในวันนี้ปริมานความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของตุรกีกับประเทศเหล่านี้มีจำนวนกว่า 17 พันล้านดอลลาร์ ก่อนหน้านี้เออร์โดกาน ประธานาธิบดีตุรกีได้เยือนบาห์เรนในเดือนกุมภาพันธ์ ซาอุดีอาระเบียและคูเวต (ในเดือนพฤษภาคม)เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบรรลุข้อตกลงที่จะสร้างสหภาพศุลกากรภูมิภาค แน่นอนว่าความต่อเนื่องของวิกฤต จะทำให้ความพยายามของอังการาที่จะขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับชาติอ่าวเปอร์เซียนั้นตกอยู่ในภาวะเสี่ยงและอันตราย และอาจทำให้บริษัทตุรกีต้องหลุดออก Active market ในประเทศต่างๆเหล่านี้ได้