วิญญาณคืออะไร??

ว่าด้วยการพิสูจณ์วิญญาณของมนุษย์ อันเป็น อวัตถุ และการคงอยู่ของวิญญาณมนุษย์ภายหลังจากความตาย

1240

 

ผู้ ปฏิเสธความเชื่อในเรื่องของมะอาด (ชีวิตหลังความตาย) บางส่วนได้ให้เหตุผลว่า “มนุษย์มิใช่สิ่งใด นอกเสียจาก การรวมตัวของเซลล์ เลือด เส้นประสาทจำนวนหนึ่ง กระดูก และกล้ามเนื้อ ที่ทำงานกันอย่างเป็นระบบ และเมื่อตายไป จะเปลี่ยนรูปกลายเป็นดิน และจะไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่ในความเป็นมนุษย์ของเขา แล้วจะเป็นไปได้อย่างไรที่ มนุษย์ จะถูกทำให้ฟื้นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ขณะทีที่เขาคือ มนุษย์ผู้ซึ่งเคยอยู่บนโลกนี้ การไม่ลงรอยกันระหว่าง มะอาด และการมีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการตอบแทน หรือลงโทษ เนื่องด้วยความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ก็จะไม่ส่งถึงต่อผู้กระทำดีและชั่ว ในอัลกุรอ่าน ได้กล่าว ถึง แนวคิดของกลุ่มคนเหล่านี้ไว้ดังนี้

และ พวกเขากล่าวกันว่า “เมื่อเราได้สลายตัวลงสู่ใต้ผืนแผ่นดินไปแล้ว เราจะเกิดขึ้นมาใหม่กระนั้นหรือแต่พวกเขาปฏิเสธต่อการพบพระเจ้าของพวกเขา ซูเราะห์ ซัญญะดะฮ/๑๐
เราจะเห็นว่า ปัจจุบัน ก็ยังมีคนนำเสนอ แนวคิดเช่นนี้อยู่ พระองค์ได้ตอบคำถามเชิงปฏิเสธของพวกเขา แก่พวกเขาดังนี้

จง กล่าวเถิดมุฮัมมัด “เทวฑูตผู้ปลิดชีวิต ผู้ได้รับมอบหมายเกี่ยวกับพวกท่าน จะปลิดชีวิตของพวกท่าน แล้วพวกท่านจะถูกนำกลับไปยังพระเจ้าของพวกท่าน  ซัจญะดะฮ/๑๑


หมายถึง ความเป็นตัวของพวกเจ้า มิได้หายไปกับดิน แต่มันถูกรักษาไว้ โดยปราศจากการสูญสลายและการเปลี่ยนแปลง    ความเป็นมนุษย์อันนี้แหละ ที่มั่นคง หนึ่งเดียว และจะถูกเรียกกลับ ในวันอาคิรเราะฮ(วันฟื้นคืนชีพ)


โองการดังกล่าว ได้พิสูจณ์ถึงการคงอยู่ของวิญญาณมนุษย์ ภายหลังจากความตาย และคำตอบจากอัลกุรอ่านนี้ เป็นพื้นฐานที่ นักเทววิทยาอิสลาม มักนำมาใช้ ในการตอบคำถาม แก่ผู้ปฏิเสธมะอาด(ชีวิตหลังความตาย)  ซึ่งเกี่ยวข้องกับ มะอาด (ชีวิตหลังความตาย)เชิงกายภาพ


ประเด็น เกี่ยวกับ ตะญัรรุดของรุฮ(Incorporeality of the Soul/Noncorporeal  อันมิใช้ซึ่งวัตถุ) และ การคงอยู่ ของรุฮนั้น นักวิชาการได้อธิบาย ไว้อย่างซับซ้อน และได้พิสูจณ์ด้วยกระบวนการทาง สติปัญญา เช่นเดียวกับที่อัลกุรอ่าน ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ไว้เช่นเดียวกัน เราจะทำการวิเคราะห์ และพิสูจณ์ เกี่ยวกับรุฮ ด้วยสองหนทาง คือ สติปัญญา ควบคู่กับหลักฐานจากอัลกุรอ่าน


ตรรกะทางสติปัญญา (บุรฮาน อักลีย์)


การพิสูจณ์รุฮด้วยสติปปัญญานั้น มีมิติมุมมองที่กว้างขวาง ซึ่งในที่นี้ เราจะทำการพิสูจณ์ ด้วยสองตรรกะ ด้วยกัน

sufi1_1


ตรรกที่ ๑ ความมั่นคงทางจิตของมนุษย์ ในขณะที่ทางกายภาพมีการเปลี่ยนแปลง


วิทยาศาสตร์ ได้ชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลง และการแปรสภาพ คือคุณสมบัติ ของวัตถุ ดังนั้น เซลล์ต่างๆที่ประกอบตัวขึ้นกลายเป็นร่างของมนุษย์ ไม่อาจหนีพ้นกฎแห่งการเปลี่ยนแปลง และการแปรสภาพอันนี้
นัก วิชาการ ที่มีความเป็นธรรม และอยู่ในระหว่างสายกลาง ได้ ยอมรับในทัศนะดังกล่าว ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันดีว่า ทุกๆสิบปี ร่างกายของมนุษย์จะเปลี่ยนสภาพในรูปแบบหนึ่ง


มนุษย์ทุกคนเมื่อสัมพันธ์ยังตัวของเขาเอง จะพบหนทางในการรับความรู้สองประเภท คือ
อิลม ฮูซูรีย( Knowledge by presence) (ความรู้ที่ปรากฎ ณ ผู้รู้นั้น โดยไม่ผ่านกระบวนการคิด )
และ อิลม ฮูซูลีย์ (Conceptual Knowledge)( การปรากฎของรูปหนึ่ง  ณ สติปัญญา )


และมนุษย์ทุกคน พบร่างกายของตนเอง ด้วยอิลมุ ฮูซูลีย์ และเก็บรูปลักษณะของร่างกาย ไว้ในสติปัญญา ทว่า ไม่มีรูปใดในสติปัญญาของมนุษย์ ที่ ชี้ถึง “ความเป็นฉัน” เพราะ ในความจริง ความรู้ว่ามี “ฉัน” พบได้โดยผ่านกระบวนการ อิลมุฮูซูรีย์ เท่านั้น ซึ่ง “ฉัน” อันนี้ ไม่ใช่ร่างกายของมนุษย์ เพราะ มันไม่มีคุณสมบัติของสิ่งที่ร่างกายมนุษย์มี เช่นร่างกายของมนุษย์ สามารถ แบ่งส่วน และจำแนกได้ ทว่า “ฉัน” ไม่อาจแบ่งส่วนและจำแนกได้


อิ ลมุลฮูซูลีย์ ได้บอกแก่มนุษย์ ถึงสภาพของร่างกายที่แตกต่างกัน และเปลี่ยนแปลง ไปตามกาลเวลา  ทว่า “ฉัน” ไม่มีการเปลี่ยนแปลง  และยังคงมั่นคง อยู่ตลอดชั่วอายุขัยของมนุษย์ ดังนั้น เราจึงพูดว่า วัยเด็กของ”ฉัน” ในวัยหนุ่มของ”ฉัน” ในวัยแก่ชราของ”ฉัน”   หรือเมื่อสัมพันธ์กับรร่างกายเขาจะพูดว่า มือของฉัน เท้าของฉัน ตาของฉัน
เมื่อ ทำการพิจารณาทางด้านแก่นแท้ ระหว่างร่างกายของมนุษย์ และ “การเป็นฉัน”  จะพบถึงความแตกต่าง ดังนั้น ทุกๆคน ยอมรับสิ่งหนึ่งที่ไม่ใช่ร่างกาย โดยเรียกสิ่งจริงแท้อันนั้น ว่า “ฉัน” และความหมายฉันอันนี้ คือ วิญญาณของมนุษย์ อัตตะของมนุษย์ นั้นเอง


ตรรกที่ ๒ การไม่ยอมรับในการแบ่งส่วน ชี้ให้เห็นถึง ความเป็น มุญัรรอด (สิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ)


การยอมรับการแบ่งชิ้น หรือ การแยกส่วน  คือคุณสมบัติของวัตถุ ทว่า เมื่อเราทุกคน ได้กลับไปพิจารณา ถึง อัตตะภายในของตัวเราเอง จะทำให้เราพบว่า สิ่งที่ ให้ความหมายว่า “ฉัน”  มันคือ สิ่งที่มีเพียงหนึ่ง และไม่อาจแยกชิ้นส่วนใดๆได้  และออกจากกฎเกณฑ์ของวัตถุ ซึ่งการออกจากกฎของวัตถุนี้ คือ หลักฐานที่บ่งชี้ ว่า สิ่งๆนั้น ไม่ใช่ วัตถุ นั่นเอง

นอกจาก การไม่ยอมรับการจำแนกของอัตตะมนุษย์นั้น  คุณลักษณะทางอัตตะของมนุษย์ ก็เป็นตัวอย่างในการพิสูจณ์ด้วยเช่นเดียวกัน  เช่น ความรัก ความโกรธ ความเกลียดชัง ความรักของบุพการี ที่สัมพันธ์ไปยัง บุตร และความเกลียด ที่สัมพันธ์ยัง ศัตรู  ให้เราสังเกตในสิ่งเหล่านี้


ความรัก ความเกลียด คือสิ่งที่ถูกประกอบขึ้นมากระนั้นหรือ มันเป็นสิ่งที่สามารถแยกจำนวน ขนาด และน้ำหนัก ออกมาได้กระนั้นหรือ  มันสารมารถระบุปริมาณ ความกว้าง ความสูง ความยาว ความลึก ความโค้ง ได้กระนั้นหรือ ?
แน่นอน ว่า ไม่ ..  ดังนั้น จึงชัดเจนแล้วว่า รุฮ และผลของมัน นัฟซ อัตตะ และ กิจกรรมของมัน ทั้งหมดเหล่านี้ คือ สิ่งที่ อยู่เหนือจากวงแหวนของวัตถุ

 


ข.หลักฐานจากอัลกุรอ่าน


โองการอัลกุรอ่าน จำนวนมากได้พิสูจณ์ เกี่ยวกับ การคงอยู่ของวิญญาณมนุษย์  ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งเราจะนำตัวอย่างบางส่วน มานำเสนอดังนี้

ซูเราะห์อัซซุมัร/๔๒  คำ ว่า ตุวัฟฟา ให้ความหมายว่า การดึง หรือหยิบ การปลิด ในภาษาไทย ซึ่งไม่ได้ให้ความหมายว่าการทำให้ตาย จากความหมายอันนี้ ชี้ให้เห็นว่า นอกจากมนุษย์ จะมีร่างกายแล้ว เขายังมีสิ่งอื่นอยู่ด้วย ซึ่งเมือความตายมาเยือนเขา สิ่งนั้น จะถูกหยิบแหรือดึงออกมา หรือปลิดออกมา

และ เจ้าจงอย่าได้คิด เป็นอันขาดว่า บรรดาผู้ที่ถูกฆ่าในทางของอัลลอฮ์นั้นตาย มิได้ พวกเขายังมีชีวิตอยู่ ณ พระเจ้าของพวกเขาในสภาพที่ได้รับปัจจัยยังชีพ

พวก เขาปลาบปลื้มต่อสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประทานให้แก่พวกเขา จากความกรุณาของพระองค์ และปิติยินดีต่อบรรดาผู้ที่ยังมาไม่ทันพวกเขาซึ่งอยู่เบื้องหลังพวกเขาว่า ไม่มีความกลัวใด ๆ แก่พวกเขาและทั้งพวกเขาจะไม่เสียใจ

อาลีอิมรอน /๑๖๙-๑๗๐

ความชัดเจนของโองการนี้ คือตัวของโองการได้พิสูจณถึงการมีชีวิตของชะฮีด ที่มิอาจปฏิเสธได้ เพราะ ตามที่พระองค์ได้กล่าวไว้


ประการแรก บรรดาชะฮีด ผู้พลีชีวิตในหนทางของพระเจ้า ยังคงมีชีวิต อยู่
ประการที่สอง คือ พวกเขากำลังได้รับริซกี และปัจจัยยังชีพ
ประการที่สาม คือ พวกเขา มีสภาวะทางอัตตะ เช่น ปิติยินดี มีความสุข รื่นเริง
หาก ตีความความหมายของโองการนี้ ว่า หมายถึง การมีชีวิต อยู่ในความทรงจำ อุดมการณ์ หรือ การรำลึก ของมนุษย์ตามวาระต่างๆ นั้น การอธิบายลักษณะนี้ เป็นการตีความในเชิงวัตถุ และขัดแย้ง กับคุณลักษณะของความเป็นจริงของมนุษย์

อัลลอฮฺได้ทรงคุ้มครองเขาให้พ้นจากความชั่วทั้งหลายที่พวกเขาวางแผนไว้ และการลงโทษที่ชั่วช้าก็จะห้อมล้อมบริวารของฟิรเอานฺ

ไฟ นรกนั้นพวกเขาจะถูก นำมาให้เห็นทั้งในยามเช้า และยามเย็น และวันกิยามะฮฺนั้น จะมีเสียงกล่าวว่า จะให้บริวารของฟิรเอานฺเข้าไปรับการลงโทษอันสาหัสยิ่ง
ฆอฟิร ๔๕-๔๖

เขากล่าวว่า “โอ้ มาตรว่าหมู่ชนของฉันได้รู้ (สภาพของฉัน)

ถึงการที่พระเจ้าของฉันทรงอภัยให้แก่ฉัน และทรงทำให้ฉันอยู่ในหมู่ผู้มีเกียรติ”
ยาซีน ๒๖-๒๗

การ สนทนา ในประโยคที่ว่า อุดคุลิลญันนะต์ และผู้สนทนาบุรุษที่ ๑ หลังจากคำว่า “ยาลัยตาเกามีย์” คือ มุอมิน คนหนึ่งที่ถูกกล่าวไว้ในซูเราะยาซีน ซึ่ง ในรีวายัต ได้รายงานว่า เขาคือ ฮาบีบ นัญญาร เรื่องราวของเขา เป็นที่รู้จักกันแล้ว โดยตัวโองการ ได้พิสูจณ์ว่า ภายหลังจากที่เขาจากโลกนี้ไป เขาคงอยู่มีตัวตนอยู่ และได้รับปัจจัย จากพระองค์ ในสรวงสวรรค์ ซึ่ง ประชาชาติของเขา ก็ได้ทราบถึงเกียรติอันนี้ ของเขาเช่นกัน …..