8 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมกุฎราชกุมาร วัย 31 ปี องค์ใหม่แห่งซาอุดิอาระเบีย!

2073

iuvmpress  –บรรดานักวิเคราะห์ถือว่า มุฮัมมัด บิน ซัลมาน ( Mohammed bin Salman ) คือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค(technocrats)ที่กำลังพัฒนาให้เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียไม่ต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมน้ำมัน  มูฮัมหมัด บินซัลมาน เป็นที่รู้จักในนามผู้ที่มีวิญญาณแห่งความก้าวร้าวและความทะเยอทะยาน  นักวิเคราะห์คนหนึ่งของซาอุดิอาระเบียกล่าวว่า เด็กหนุ่มคนนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์  มีความทะเยอทะยานและบ้าอำนาจ และกำลังมองหาแนวทางที่จะกำหนดแนวทางและนโยบายของตะวันตกในซาอุดิอาระเบีย

ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียกำลังจะได้กษัตริย์วัย 31 ปี และกำลังรอที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้

“กษัตริย์ซาอุดิอาระเบียกำลังทำลายกระบวนขึ้นครองอำนาจในประเทศนี้ ที่มีความยาวนานมาเกือบ 85 ปี และได้วางตัวให้ลูกชายเป็นรัชทายาทพระองค์ใหม่แห่งราชบัลลังก์ซาอุดีอาระเบีย บุคคลที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงจากสองปีที่ผ่านมา ซึ่งในวันนี้กลายเป็นคนที่เป็นที่รู้จักกันในซาอุดิอาระเบียและต่างประเทศ

ในชั่วโมงแรกของวันพุธ ในที่ประชุมคณะกรรมการการสืบทอดราชบัลลังก์แห่งราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย ณ วัง ซาฟา ในนครเมกกะ สมาชิกของคณะกรรมการได้ลงมติด้วยคะแนนเสียง 31 / 43 เสียง ทำให้มุฮัมมัด บิน ซัลมานเป็นมกุฎราชกุมาร  เด็กหนุ่มที่มีอายุ 31 ปี กำลังเตรียมพร้อมในการขึ้นมาเป็นกษัตริย์แห่งซาอุดิอาระเบียแทนพ่อวัย 81 ปี

นี่คือรายละเอียดเกี่ยวกับองค์รัชทายาทองค์ใหม่ที่ควรทราบ

  1. ด้วยการตัดสินใจครั้งนี้ ทำให้มุฮัมมัด บิน ซัลมาน วัย 31 ปี เป็นมกุฎราชกุมารองค์ใหม่ ส่วนผลที่ตามมาคือ เจ้าชาย มุฮัมมัด บิน นาเยฟ  ( Mohammed bin Nayef) ถูกปลดออกจากมกุฎราชกุมารและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  ซึ่งมันขัดแย้งกับพินัยกรรมและคำสั่งเสียของกษัตริย์ อับดุลอาซิสบิน อับดุลรอฮ์มาน บิน ไฟซอล  ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ซาอูดที่ได้สั่งเสียไว้
  2. มุฮัมมัด บินซัลมาน จบการศึกษาด้านกฎหมายและรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย King Saud ในริยาด กล่าวกันว่าเขาเป็นหนึ่งใน 10 คนของนักเรียนดีเด่นระดับชาติในซาอุดิอาระเบีย เขาแต่งงานมีครอบครัวแล้วและมีลูก 4 คน
  3. มุฮัมมัด บิน ซัลมาน ( Mohammed bin Salman ) เป็นรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมที่มีอายุน้อยที่สุดของโลกและถ้าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเขาได้เป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย จะถือว่าเป็นกษัตริย์ที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ
  4. บรรดานักวิเคราะห์ถือว่า มุฮัมมัด บิน ซัลมาน ( Mohammed bin Salman ) คือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค(technocrats)ที่กำลังพัฒนาให้เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียไม่ต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมน้ำมัน มูฮัมหมัด บันซัลมาน เป็นที่รู้จักในนามผู้ที่มีจิตวิญญาณของความก้าวร้าวและความทะเยอทะยาน นักวิเคราะห์คนหนึ่งของซาอุดิอาระเบียกล่าวว่า เด็กหนุ่มคนนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์  มีความทะเยอทะยานและบ้าอำนาจ และกำลังมองหาแนวทางที่จะกำหนดความคิดตะวันตกในซาอุดิอาระเบีย
  5. มุฮัมมัด บิน ซัลมาน (Mohammed bin Salman) ก่อนที่พ่อของเขาจะเป็นกษัตริย์ เป็นบุคคลที่ไม่ถูกรู้จัก แต่หลังจากการตายของกษัตริย์อับดุลลาห์ และซัลมานผู้เป็นพ่อของเขาขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งซาอุดิอาระเบีย ก็ได้มีตำแหน่งสำคัญในระดับประเทศเคียงข้างพ่อของเขา นอกจากเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแล้ว ยังดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ เช่นเป็นที่ปรึกษาพิเศษของ ซัลมาน บิน อับดุลอาซิซ  ที่ปรึกษาและผู้สังเกตการณ์ของสำนักงานมกุฎราชกุมาร  ที่ปรึกษาพิเศษศาลของพระมหากษัตริย์และเจ้าชาย ที่ปรึกษาให้กับประมุขของริยาด ประธานสภาเศรษฐกิจและการพัฒนา
  6. มุฮัมมัด บิน ซัลมาน แม้ว่าได้เข้ามาในเวทีการเมืองซาอุดิอาระเบียอย่างจริงจังเพียงแค่ 2 ปี แต่ในช่วง 2 ปีนี้แสดงให้เห็นว่าการขาดประสบการณ์และการตัดสินใจที่ปราศจากการสนับสนุนทางการเมือง และใจร้อนซึ่งถือเป็นคุณลักษณะพิเศษของบุคลิกภาพของเขา การตัดสินใจที่จะบุกเยเมนและการปิดล้อมกาตาร์ ก็เป็นหนึ่งในการตัดสินใจจากบุคคลที่มีชื่อว่า มูฮัมหมัด บิน ซัลมาน
  7. ซาอุดีอาระเบียในช่วงของมุฮัมมัด บิน ซัลมาน ( Mohammed bin Salman) และพ่อของเขา ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางวาจาที่มีต่ออิหร่านริยาดก่อนหน้านี้ยึดนโยบายอนุรักษ์นิยมและวางอยู่บนพื้นฐานความเป็นมิตรกับประเทศเพื่อนบ้านที่ดีและความเป็นพี่น้องที่มีต่ออิหร่านและประเทศอื่น ๆในภูมิภาคหลังจากกษัตริย์องค์ใหม่(ซัลมาน)วาจาและนโยบายของเขาที่มีต่ออิหร่านก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญและหันมาใช้นโยบายเชิงรุกแทน
  8. มุฮัมมัด บิน ซัลมาน จนถึงบัดนี้ ได้เดินทางไปยังอเมริกามาแล้ว 2 ครั้ง และได้พบปะและพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของประเทศ ในช่วงสองปีที่ผ่านมาเขาได้เดินทางไปยังหลายประเทศและได้พบกับนักการเมืองและนักธุรกิจ ในเดือนมิถุนายนปี 2016 มุฮัมมัด บิน ซัลมาน ได้พลกับ มาร์กซักเคอร์เบิร์ก  ผู้ก่อตั้ง Facebook