ความเชื่อในเรื่องมะอาด (Dooms Day/Eschatology/Resurrection) เป็นส่วนหนึ่งในความเชื่อของทุกศาสนาหลัก ในลักษณะที่ ศาสนาใดก็ตาม หากไร้ซึ่งองค์ประกอบของความเชื่อนี้ นับได้ว่า ศาสนานั้น คือศาสนาวัตถุนิยม และไม่เกี่ยวข้องใดๆกับพระเจ้า
คำภีร์อัลกุรอ่าน ได้นำเสนอบริบทในเรื่องของมะอาด เริ่มตั้งแต่การมีอยู่ของมนุษย์ นั่นคือ อาดัม (อ) ส่งทอดโลกทัศน์นี้ต่อไปยังศาสดาอื่นๆ จนถึงศาสดาองค์สุดท้าย (ซล) และอัลกุรอ่าน ก็ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ ของมะอาด ไว้อย่างยิ่งยวด ส่วนมากของอายะในอัลกุรอ่านนั้น มีความสัมพันธ์และเกี่ยวเนื่องกับมะอาดเป็นหลักๆ นักวิชาการศาสนาบางท่าน ได้ถือว่า กุรอ่าน ได้บรรยายถึงเรื่องราว ที่เกี่ยวข้องกับมะอาด มากถึง 1400 โองการด้วยกัน อัลลามะ ฏอบาฏอบาอีย์ ได้กล่าวว่า “ อัลกุรอ่าน ได้นำเสนอ เรื่องราวเกี่ยวกับมะอาด มากกว่า สองพันโองการ และจำนวนโองการเหล่านี้ ได้บอกแก่เรา ถึงความสำคัญของหลักศรัทธาอันนี้
หากมีคำถามว่า เป็นไปได้ไหม ที่จะมีมะอาดเกิดขึ้น ?
คำ ตอบคือ ไม่มีข้อสงสัยใดๆในเรื่องนี้ มะอาดด้วยอัตตะของมัน(ซาต หรือ Essence) เป็นกิจที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น และการพิสูจณ์ถึง การเกิดขึ้นของปรากฎการณ์นี้ สามารถพิสูจณ์ได้ด้วยสติปัญญา เนื่องด้วย ความจำเป็นต่อการมีอยู่ของโลกหน้า และกุรอ่านเองก็ได้นำทางให้กับเราในประเด็นนี้ด้วยเช่นกัน
หลักฐานที่ ๑. ปกป้องการสร้างจากความไร้สาระ และไร้แก่นสาร
กุรอ่านได้พิสูจณ์ถึงความจำเป็นของ “มะอาด” ในลักษณะนี้ โดยนำเสนอแก่มนุษยชาติว่า ชีวิตสุดท้าย คือ เป้าหมาย ของการสร้างมนุษย์ และหากปราศจากโลกดังกล่าว ชีวิตของมนุษย์จะจบลงแต่เพียงโลกนี้เท่านั้น ในรูปการนี้ การสร้างมนุษย์ขึ้นมา จะให้ความหมาย ถึงความเป็นโมฆะ และความไร้สาระ
และพระผู้เป็นเจ้า บริสุทธ์ห่างไกลจากการกระทำกิจ อันไร้สาระ โดยพระองค์กล่าวว่า
“พวกเจ้าคิดว่า แท้จริงเราได้ให้พวกเจ้าบังเกิดมาโดยไร้ประโยชน์และแท้จริงพวกเจ้าจะไม่กลับไปหาเรากระนั้นหรือ”
(มุอฺมินูน/๑๑๕)
อีกโองการหนึ่งได้อธิบายไว้ว่า
“เรามิได้สร้างทั้งสอง (ดังกล่าวนั้น) เพื่ออื่นใดนอกจากเพื่อความจริง(ฮัก) แต่ว่าส่วนมากของพวกเขาไม่รู้”
“แท้จริงวันแห่งการตัดสิน(จำแนก)นั้นเป็นเวลาที่ถูกกำหนดไว้สำหรับพวกเขาทั้งหมด”
(อัดดุคอน/ ๓๗-๔๐)
ให้เราลองพิจารณาดูว่า หลังจากที่พระองค์ได้ปฏิเสธ การสร้างที่ไร้สาระ และการกล่าวถึงวันแห่งการจำแนก ระหว่างคนดี และคนเลว ระหว่างสัจธรรมและความเท็จ เหล่านี้ได้เป็นตัวพิสูจณ์ให้เห็นว่า การมีอยู่ของโลกหลังความตาย หรือโลกอะคีเราะฮ นั้น คือกระบวนการในการขจัด การสร้างที่ไร้สาระ
นอกจากนี้ ยังมีองค์การที่ให้ความหมายในลักษณะดังกล่าว ซึ่งเป็นองค์การได้อธิบายพระเจ้า ว่าคือ ฮัก หลังจากนั้น ได้นำเสนอถึงอำนาจ ในการทำให้สิ่งที่ตายฟื้นคืนชีพ
“นั่นก็ เพราะว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นพระองค์คือผู้ทรงสัจจะ และแท้จริงพระองค์ทรงให้ผู้ตายมีชีวิตขึ้น และแท้จริงพระองค์ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง
(ฮัจญ์/๖)
และยังมีองการอื่นๆอีกมากมายที่ได้นำเสนอเนื้อหาในลักษณะนี้
หลักฐานที่ ๒ มะอาด คือ คำตอบในความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ( Divine Justice/God’s Justice/Theodicy)
บ่าว หรือมนุษย์ มีสองประเภท นั่นคือผู้ที่เชื่อฟัง และผู้อหังการ์ ผู้กระทำความดี และผู้กระทำความชั่ว การตอบสนอง บุคคลทั้งสองประเภท อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าด้วยรูปใด (ตอบแทน หรือลงโทษ) ย่อมขัดแย้งกับความยุติธรรม ซึ่งแม้แต่มนุษย์เอง ก็ยอมรับในสิ่งนี้
สติปัญญาของเรา บอกอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง ?
สติปัญญาได้ บอกแก่เราว่า “ จำเป็นที่จะต้องวางทั้งสองประเภทด้วยความแตกต่างกัน ทางด้าน การตอบแทน และการลงโทษ
เราต่างก็รู้ดีว่า การกระทำของมนุษย์จะต้องได้รับผลตอบแทนที่แตกต่างกัน แต่คำถามคือ โลกนี้ ไม่ใช่ สถานที่ที่สามารถมอบความยุติธรรมอย่างสมบูรณ์ให้กับมนุษย์กระนั้นหรือ ?
คำ ตอบ โลกนี้ ไม่ใช่สถานที่ ที่สามารถมอบความยุติธรรมให้กับมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ เพราะจากหลักฐานในหลายๆรูปแบบ ทำให้เราเข้าใจถึงความจริงแท้ของโลกใบนี้ คนชั่วบางคน มีอำนาจ มีความร่ำรวย เขาสามารถสร้างกฎหมายที่ ตอบสนองความต้องการของตัวเองได้ คนดีบางคน กระทำความดี กระทำการอันยิ่งใหญ่ ช่วยเหลือเสียสละต่อเพื่อนมนุษย์ ได้เขาไม่อาจได้รับผลตอบแทน ตามสิทธิที่เขาควรได้ ฆ่าตกรเป็นอิสระลอยนวล คนดีถูกโยนความผิดเป็นแพะรับบาป คนผิดถูกตัดสิน ไม่เท่าความผิดที่ก่อ คนถูก โดนตัดสินอย่างไม่เป็นธรรม สิ่งต่างๆเหล่านี้ ย่อมเป็นคำกล่าวที่ดีในการพิสูจณ์ให้เห็นว่า โลกนี้ ไม่อาจมอบความยุติธรรมให้กับมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์
ทั้งหมดคือสิ่งที่ สติปัญญา บอกแก่เรา
ดังนั้น จึงต้องมีอีกโลกหนึ่ง ที่แบ่งแยกระหว่าง คนสองกลุ่มนี้ ได้อย่างหมดจด และสมบูรณ์แบบ
ใน อีกด้านหนึ่ง หากคนดีและคนเลว ได้ตายจากไปพร้อมกัน แต่ไม่ได้รับผลตอบแทน และการลงโทษ ตามทสิทธิที่พวกเขาควรจะได้รับ ทุกอย่างสิ้นสุดลงที่ความตาย เช่นนี้ ก็เท่ากับ เป็นความอยุติธรรม
กุรอ่าน กล่าวว่า
“จะ ให้เราปฏิบัติต่อบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย เช่นบรรดาผู้บ่อนทำลายในแผ่นดินกระนั้นหรือ?หรือว่าจะให้เราปฏิบัติต่อบรรดา ผู้ยำเกรง เช่นบรรดาคนชั่วกระนั้นหรือ?
(ซอด/๒๘)
“ดังนั้นจะให้เราปฏิบัติแก่บรรดาผู้นอบน้อมเสมือนกับเราปฏิบัติแก่บรรดาผู้กระทำผิดกระนั้นหรือ ?”
“เกิดอะไรขึ้นแด่พวกเจ้า ? ทำไมพวกเจ้าจึงตัดสินเช่นนั้น”
“แท้จริงวันอวสานของโลกนั้นกำลังมาถึงข้าปกปิดมันไว้เพื่อทุกชีวิตจะถูกตอบแทนตามี่มันได้แสวงหาไว้”
(ฏอฮา/๑๕)
ความ หมายของคำว่า ลีตุจซียา” การสร้างกิยามัต มีจุดประสงค์เพื่อ ให้สิทธิในการตอบแทน และการลงโทษ ซึ่งเป็นการตอบโทย์ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า นั่นเอง
หลักฐานที่ ๓ มะอาด คือสถานที่ แห่งการมอบสัญญาแห่งพระเจ้า
พระผู้เป็นเจ้า ได้กล่าวถึงการรักษาพันธะสัญญาระหว่างบ่าวและพระองค์ ไว้ในองค์การที่หลากหลาย ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การกระทำให้สิ่งที่สัญญาไว้ คือ ฮุสนุน (Rational the Beautiful) ความดี และการไม่รักษาสัญญา นั้น คือ กุบฮ ( Rational the Ugly)
ดังนั้น การรักษาสัญญา จึงเป็นความเหมาะสม ต่อการมีอยู่ของระบบมะอาด มุฮักกิก ฏูซีย์ ได้กล่าวว่า “ความจำเป็นต่อการรักษาสัญญา และฮิกมัต คือบทพิสูจณ์ ถึงความจำเป็นต่อการมีมะอาด”
โองการนี้ ก็ยังได้ชี้ให้เห็นถึง หลักฐานสำคัญ เกี่ยวกับมะอาดด้วยเช่นกัน
“โอ้ พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา! แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ชุมนุมมนุษย์ทั้งหลาย ในวันหนึ่งซึ่งไม่มีการสงสัยใดๆ ในวันนั้นแท้จริงอัลลอฮ์นั้นจะไม่ทรงผิดสัญญา
อาลีอิมรอน/๙
ข้อควรจำ
อัลกุรอ่าน ได้ตอบคำถามเชิงปฏิเสธ แก่เหล่าบรรดา ผู้ที่ปฏิเสธในเรื่องของมะอาด ในรูปแบบที่ ชัดเจน และง่ายต่อความเข้าใจ โดยการพิสูจณ์ด้วยอำนาจสัมบูรณ์ ของผู้สร้าง เหตุที่มีการสร้างคำถามเหล่านี้ ขึ้นมา เพราะความ เขลา ในการไตร่ตรอง ยังอำนาจ และความรู้ของพระองค์
เพราะ การทำให้สิ่งที่ตายแล้วนั้น ไม่ใช่ สิ่งที่โดยตัวของมันแล้ว เป็นไปไม่ได้ และหากผู้ใดปฏิเสธ สิ่งนี้ หรือนับว่า เป็นสิ่งที่ห่างไกลจากความเป็นจริง
ตัวอย่างจากอัลกุรอ่าน
“และ พระองค์คือผู้ทรงเริ่มแรกในการสร้าง แล้วทรงให้มันกลับขึ้นมาอีก และมันเป็นการง่ายยิ่งแก่พระองค์ และคุณลักษณะอันสูงส่งในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินเป็นกรรมสิทธิ์ของ พระองค์ และพระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงปรีชาญาณ”
โรม/๒๗
“และ เขาได้ยกอุทาหรณ์ เปรียบเทียบแก่เรา และเขาได้ลืมต้นกำเนิดของเขา เขากล่าวว่า “ใครเล่าจะให้กระดูกมีชีวิตขึ้นมาอีกในเมื่อมันเป็นผุยผงไปแล้ว”
“จงกล่าวเถิด “พระผู้ทรงให้กำเนิดมันครั้งแรกนั้น ย่อมจะทรงให้มันมีชีวิตขึ้นมาอีก และพระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้การบังเกิดทุกสิ่ง”
ยาซีน /๗๘-๗๙
“เมื่อเราตายและกลายเป็นฝุ่นดินไปแล้ว จะกลับมีชีวิตอีกกระนั้นหรือ? นั่นเป็นการกลับที่ไกลเหลือเกิน
แน่นอนเรารู้ดีว่า กี่มากน้อยแล้วที่แผ่นดินทำให้พวกเขามีจำนวนลดน้อยลง และ ณ ที่เรานั้นมีบันทึกรักษาไว้ “!!!
กอฟ/๓-๔
แหล่งอ้างอิง
– มุฮาฎิรอฏ ฟิล อิลาฮิยาต
-A Glossary of the Islamic Terms . Philosophy Theology and Logic