จดหมายเปิดผนึกจาก 4 นักการเมืองชั้นนำระดับโลกถึง “ปูติน” และ “ทรัมป์”

278

4 นักการเมืองชื่อดังชาว รัสเซีย  อเมริกัน  เยอรมันและอังกฤษ ได้เขียนจดหมายถึงประธานาธิบดีของรัสเซียและอเมริกาโดยเรียกร้องให้ทั้งสองร่วมมือกันเพื่อประโยชน์ของนิติบุคคลทั่วไป   

mehrnews –  4 นักการเมืองชื่อดังชาว รัสเซีย  อเมริกัน  เยอรมันและอังกฤษ  ได้เขียนจดหมายโดยที่สำเนาฉบับหนึ่งมอบให้กับสำนักข่าว Mehr  ซึ่งในเนื้อหาของจดหมายดังกล่าวได้เรียกร้องให้ประธานาธิบดีของรัสเซียและอเมริการ่วมมือกันเพื่อประโยชน์ของนิติบุคคลทั่วไป

จดหมายดังกล่าวเขียนโดย “อิกอร์ อีวานอฟ” (Igor Ivanov)  อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของรัสเซีย   “Des Bruons” อดีตรัฐมนตรีกลาโหมของสหราชอาณาจักร(อังกฤษ)  “Wolfgang Ishinger”   หัวหน้าคณะกรรมการแห่งชาติเยอรมันของการประชุมการรักษาความปลอดภัยมิวนิค และ “Sam Nun” วุฒิสมาชิกและอดีตประธานวุฒิสภาคณะกรรมการด้านกองกำลังติดอาวุธของสภาคองแกรสอเมริกา

ในจดหมายฉบับนี้ได้ชี้ไปที่ความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นระหว่างรัสเซียและอเมริกา ซึ่งนับเป็นครั้งประวัติการณ์นับตั้งแต่สงครามเย็น และนำมาซึ่งความคลางแคลงใจและความไม่ไว้วางใจที่เพิ่มขึ้นระหว่างรัฐบาลทั้งสอง  และเน้นย้ำถึงก้าวแห่งความจำเป็นของทั้งสองฝ่ายในการรักษาความปลอดภัยสำหรับบุรุษที่ใช้ชีวิตที่อยู่ตรงกันข้ามทั้งสองด้านของมหาสมุทรแอตแลนติก

เนื้อหาแรกในจดหมายที่ได้ชี้ให้เห็นคือการพบปะครั้งแรกที่จะเกิดขึ้นระหว่าง “โดนัลด์ ทรัมป์” และ “วลาดีมีร์ปูติน” ในฮัมบูร์ก ซึ่งถูกเรียกว่าเป็นโอกาสที่หาได้ยากมาก  พวกเขา(นักการเมืองชั้นนำระดับโลกทั้งสี่คน)ได้เน้นย้ำว่าอเมริกา ยุโรปและรัสเซีย แม้จะมีความขัดแย้งกัน แต่ในประเด็นผลประโยชน์ทางนิติบุคคลทั่วไป การลดลงอาวุธนิวเคลียร์และภัยคุกคามทางทหารอื่น ๆในการต่อต้านการก่อการร้ายซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่พวกเขาสามารถให้ความร่วมมือกัน

บุคคลเหล่านี้ ในขั้นตอนแรกได้เรียกร้องให้มีการแถลงการณ์ร่วมโดยประธานาธิบดีของอเมริกาและรัสเซีย โดยในนั้นให้เน้นย้ำว่าในสงครามนิวเคลียร์จะไม่มีผู้ชนะและมันไม่ควรที่จะเกิดขึ้นเป็นอันขาด

ในขั้นตอนที่สอง ได้เรียกร้องให้ปูตินและทรัมป์ ให้เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างทหารรัสเซียและนาโต้ภายใต้กรอบ  “กลุ่มบริหารจัดการวิกฤตรัสเซียและนาโต้” เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดแห่งภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นและสร้างความเชื่อมั่นระหว่างกัน

ในขั้นตอนที่สามในจดหมายดังกล่าวยังได้เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายให้มีดำเนินนวัตกรรมร่วมกันเพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มก่อการร้ายและกลุ่มหัวรุนแรงได้ครอบครองวัตถุนิวเคลียร์และสารกัมมันตรังสี

ในขั้นตอนที่สี่ ได้เน้นยำถึงความจำเป็นสำหรับการเจรจาที่จะไปถึงความเข้าใจในลักษณะอย่างไม่เป็นทางการ ในประเด็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ในบริบทของระบบการเตือนภัยเชิงกลยุทธ์ และการควบคุมการบริหารจัดการนิวเคลียร์

ในช่วงท้ายของจดหมายฉบับนี้ได้เขียนว่า ในขณะนี้อเมริกา รัสเซียและยุโรปมีการปะทะในจุดยืนต่างๆอย่างมากมาย  แต่เรื่องนี้ไม่ควรที่จะเป็นเหตุในการขวางกั้นความร่วมมือในประเด็นต่างๆเพื่อลดภัยคุกคาม และนี้เป็นขั้นตอนที่เราได้นำมาอันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ซึ่งเราหวังว่าจะได้เห็นความคาดหวังดังกล่าวในการประชุมครั้งสำคัญในฮัมบูร์ก