จีน-อเมริกา จาก “ความขัดแย้ง” สู่ “การปฏิสัมพันธ์”

1507

Iuvmpress  – แม้จะมีคำพูดต่างๆ ออกมาเกี่ยวกับการบรรลุข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ และจีนเกี่ยวกับประเด็นเกาหลีเหนือ และการแสดงทัศนะต่างๆของเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เกี่ยวกับการเจรจาล่าสุดระหว่างสองประเทศที่ถูกเปิดเผยออกมาโดยอ้างจากคำพูดของทรัมป์ มันเป็นสิ่งที่น่าจับมาคิดวิเคราะห์เป็นอย่างมาก และยังนำมาซึ่งคำถามหลักต่างๆ ต่อการกล่าวอ้างถึงความสำเร็จของการเจรจาระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา

นับจากช่วงเวลาที่ ” เหมา เจ๋อตุง ” สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นในปี 1949 จนถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ได้ผ่านขั้นตอนสำคัญมาหลายขั้นตอนด้วยกัน

ขั้นตอนแรก จากปี 1949 – 1972 และในห้วงเวลาดังกล่าว จีนและสหรัฐอเมริกาอยู่ฝั่งตรงกันข้ามอย่างเห็นได้ชัด และตกอยู่ในช่วงสงครามเย็น

ขั้นตอนที่สอง จากปี 1972 – 1991 ซึ่งจีนมีความกลัวและกังวลเมื่อเห็นอิทธิพลของสหภาพโซเวียต ในขณะที่สหรัฐฯ สาละวนอยู่กับชะตากรรมของสงครามเวียดนาม จากสถานการณ์ดังกล่าวนี้เองทำให้ทั้งสองประเทศเข้าสู่ความสัมพันธ์ด้านความร่วมมือเพื่อจำกัดอิทธิพลของโซเวียต

ในขั้นตอนสุดท้าย เริ่มต้นจากช่วงเวลาการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งในยุคนี้มีสองมิติด้วยกัน มิติแรกเป็นยุคสมัยแห่งการพึ่งพาด้านเศรษฐกิจที่มีต่อกันของทั้งสองประเทศ และมิติที่สองคือการไร้ซึ่งคู่แข่งร่วม และในผลสุดท้ายก่อให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกันระหว่างปักกิ่งและวอชิงตันอีกครั้ง

การเจรจาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาของเจ้าหน้าที่จีนในสหรัฐฯ ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการหารือของสองประเทศเกี่ยวกับสถานการณ์คาบสมุทรเกาหลี โดยตระหนักไปยังความซับซ้อนด้านความสัมพันธ์ทั้งหมดของสองประเทศ  เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน (Rex Tillerson) รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมาได้เผยถึงมาตรการกดดันจีนเกี่ยวกับประเด็นเกาหลีเหนือ โดยชี้ว่าในการประชุมที่มีกับนักการทูตและเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านการป้องกันประเทศของจีน สหรัฐฯ ได้กดดันจีนให้ใช้มาตรการบีบบังคับและกดดันด้านเศรษฐกิจและการเมืองกับเกาหลีเหนือ

ซินหัว สำนักข่าวรัฐบาลของจีน ได้ชี้ถึงการเจรจาหารือระหว่างจีนกับวอชิงตันเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ในวอชิงตันโดยรายงานว่า ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงแล้วว่าจะใช้ความพยายามของตนในการปลดอาวุธเกาหลีเหนืออย่างสมบูรณ์แบบ Yang jishi  หนึ่งในนักการทูตระดับสูงของกระทรวงต่างประเทศจีน และ Fang Fengu ประธานคณะเสนาธิการร่วมกองทัพจีนได้บรรลุข้อตกลงดังกล่าวในการพบปะกับ Tillerson และ Matisse รัฐมนตรีต่างประเทศและกลาโหมของสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกัน Yang ได้หารือกับทรัมป์ ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ เกี่ยวกับประเด็นเกาหลีเหนือในการเดินทางเยือนสหรัฐฯ ที่ผ่านมา

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ปักกิ่งและวอชิงตันได้บรรลุข้อตกลงในการเจรจาหารือดังกล่าวบนบรรทัดฐานจุดยืนถาวรของจีน โดยหนทางการเจรจาเพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้นจะถูกพิจารณาผ่านมติทั้งหลายของสภาความมั่นคง และในการเจรจานี้ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการสร้างเสริมโครงสร้างการแลกเปลี่ยนทางการทหารระหว่างสองประเทศ และสร้างกลไกต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่เป็นไปได้ ที่มาจากการเข้าใจผิดในระดับต่างๆ ในหมู่กองทัพสหรัฐฯ และจีน

สำนักข่าวซินหัว ถือว่าการเจรจาหารือดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกหลังการเข้าทำงานของทรัมป์และในขณะเดียวกันถือเป็นความก้าวหน้าในกลไกการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งได้เกิดขึ้นหลังการพบปะเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาระหว่าง “สี จิ้นผิง” (Xi Jin Ping) ประธานาธิบดีจีนและทรัมป์ในรัฐฟลอริดานั้น ทั้งสองประธานาธิบดีได้ตกลงกันว่าจะพบปะกันอีกครั้งในเดือนหน้าของการประชุมกลุ่ม 20 ในฮัมบูรก์

เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้อ้างหลังการเจรจากับรัฐมนตรีต่างประเทศจีนว่า จีนเข้าใจแล้วว่าสหรัฐฯ มองว่าเกาหลีเหนือคือความคุกคามด้านความมั่นคงที่สุดของตน เราได้เตือนจีนว่าหากปักกิ่งต้องการที่จะขัดขวางการเพิ่มขึ้นของความตึงเครียดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และจีนก็มีหน้าที่ที่จะต้องออกมาตรการเพิ่มความกดดันด้านการทูตและเศรษฐกิจต่อเกาหลีเหนือให้มากกว่าเดิม James Matisse รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐอเมริกา เผยเช่นกันว่า ได้มีการพูดกับจีนอย่างเปิดเผยว่าห้ามหยุดมาตรการดังกล่าวอย่างเด็ดขาด

แม้จะมีคำพูดต่างๆ ออกมาเกี่ยวกับการบรรลุข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ และจีนเกี่ยวกับประเด็นเกาหลีเหนือ และการแสดงทัศนะต่างๆของเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เกี่ยวกับการเจรจาล่าสุดระหว่างสองประเทศที่ถูกเปิดเผยออกมาโดยอ้างจากคำพูดของทรัมป์ มันเป็นสิ่งที่น่าคิดอย่างมากและนำมาซึ่งคำถามหลักต่างๆ ต่อการกล่าวอ้างถึงความสำเร็จของการเจรจาระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา  เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาทรัมป์ได้โพสต์บนหน้าทวิตเตอร์ว่าความพยายามของจีนในการควบคุมเกาหลีเหนือนั้นไร้ประโยชน์ และเมื่อวันพุธที่ผ่านมาเขาได้กล่าวใน ไอโอวาว่า  เรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีน ถึงแม้ว่าเรามีความจำเป็นอย่างมากจากจีนเพื่อแก้ปัญหาประเด็นเกาหลีเหนือ และแม้เราอาจจะคิดว่าความช่วยเหลือต่างๆ เหล่านี้ไม่ค่อยมีประโยชน์สักเท่าไรก็ตาม

เมื่อเราเอาคำพูดนี้ของทรัมป์มาเทียบกับท่าทีล่าสุดของกระทรวงต่างประเทศจีนในวันพฤหัสที่ผ่านมา ผลที่ได้คือสหรัฐฯไม่ประสบความสำเร็จที่จะส่งผลใดๆ ต่อจุดยืนของจีนในประเด็นเกาหลีเหนือ  ซึ่งเป็นตัวเลือกที่ใกล้ที่สุดในเรื่องนี้   ทางด้านโฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนเผยว่า ปักกิ่งจะไม่ใช้มาตรการบีบบังคับหรือกดดันทางเศรษฐกิจและการเมืองต่อประเทศใด เขากล่าวว่าเกี่ยวกับประเด็นเกาหลีเหนือ ปักกิ่งจะยังคงพยายามเพื่อไปให้ถึงบทสรุป แต่ทว่ารากเหง้าของปัญหาเกาหลีเหนือไม่ใช่จีนและกุญแจของการแก้ปัญหานี้ก็ไม่ได้อยู่ในมือของปักกิ่ง เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ฝ่ายต่างๆ จะปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเกี่ยวกับประเด็นนี้ และช่วยเหลือจีนในการแก้ปัญหา

สิ่งที่ชัดเจนที่สุดในกลยุทธ์ของปักกิ่งคือในสถานการณ์ปัจจุบัน จีนมีแนวโน้มที่อยากให้เป็นที่รู้จักในฐานะตัวแสดงที่เป็นผู้สร้างความสมดุลทางอำนาจของเกาหลีเหนือในการเผชิญหน้ากับรัฐบาลที่แค้นเคืองจากการกระทำของเปียงหย่าง แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่มีแนวโน้มที่จะใช้มาตรการบีบบังคับหรือกดดันโดยตรง เช่น การตัดแหล่งเชื้อเพลิงของประเทศนี้แม้ว่าบรรดานักวิเคราะห์ชาวจีนจะรับทราบถึงอันตรายต่างๆ ของเกาหลีเหนือ และบางส่วนก็พูดถึงการลดอิทธิพลของจีนที่มีต่อเกาหลีเหนือ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสาเหตุหลักของสถานการณ์ปัจจุบันของคาบสมุทรเกาหลีคือความเป็นศัตรูของวอชิงตันที่มีต่อเปียงยางนั้นเอง

สามารถกล่าวได้ว่าขอบเขตต่างๆ ที่อยู่เบื้องหน้ารัฐบาลสหรัฐอเมริกา ในเส้นทางการเผชิญหน้ากับเกาหลีเหนือ ทำให้ทรัมป์ต้องยอมล่าถอยจากนโยบายแรกเริ่มของตนที่มีท่าทีต่อต้านผลประโยชน์ของจีนในประเด็นไต้หวันมาสู่หนทางการปฏิสัมพันธ์กับปักกิ่ง  พร้อมยอมรับนโยบายของจีน แม้ว่าชาวอเมริกันทั้งหลายในการเจรจากับเจ้าหน้าที่จีนจะยังคงคัดค้านมาตรการทั้งหลายของประเทศนี้ในทะเลจีนใต้ก็ตาม แต่ดูเหมือนว่านโยบายของวอชิงตันในการเผชิญหน้ากับประเด็นนี้ไม่มีความแตกต่างเท่าไรกับนโยบายทั้งหลายของรัฐบาลโอบามา