10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “การประชุมสุดยอดผู้นำ G20”

855

fa.euronews –  การประชุมสุดยอดผู้นำประเทศเศรษฐกิจใหญ่ G20  จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 7- 8 กรกฎาคม ในฮัมบูร์ก  ซึ่งเป็นการประชุมประจำปีของเหล่า 20 ผู้นำ ผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจโลก โดยการประชุมดังกล่าวจะเป็นการพูดคุยในประเด็นเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลก การค้าระหว่างประเทศและการบริหารจัดการตลาด และการเงิน

การประชุมประจำปีสุดยอดผู้นำประเทศเศรษฐกิจเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2008

G20  มีชาติสมาชิก 20 ประเทศหรือ ?

  1. “G20 ” มี 19 ประเทศ ประกอบด้วยกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 8 ประเทศ (G8) คือ อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เยอรมนี รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศระบบเศรษฐกิจเกิดใหม่ขนาดใหญ่อีก 11 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วย อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ และตุรกี

ประเทศเหล่านี้คือประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกหรือ ?

2.  ประเทศสมาชิกในกลุ่ม G20 มีขนาดเศรษฐกิจรวมกันเท่ากับ 90 เปอร์เซ็นต์ของเศรษฐกิจโลก และมีประชากรรวมกันประมาณ 2 ใน 3 ของโลก    ประเทศทั้ง 19 ประเทศ ประกอบด้วยกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 8 ประเทศ (G-8) และกลุ่มประเทศระบบเศรษฐกิจเกิดใหม่ขนาดใหญ่อีก 11 ประเทศ

และประเทศที่เป็นประธานในการประชุม สามารถเชิญสถาบันระหว่างประเทศเข้าร่วมประชุมได้ กรณีตัวอย่างเช่นสเปน ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกและเป็นแขกถาวรในที่ประชุม   เยอรมนีเป็นประธานของการประชุมสุดยอดในปีนี้ ก็ได้เชิญ นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์และสิงคโปร์ในฐานะประเทศหุ้นส่วนในการประชุม G20  ครั้งนี้ด้วย

ใครคือผู้ตัดสินใจว่าชาติใดที่เป็นสมาชิกและไม่ใช่สมาชิก?

  1. “กลุ่ม G20 ” มี 20 สมาชิก และจำนวนตัวเลข 20 นั้นมีไว้เพียงเพื่อ ศักดิ์ศรีและอำนาจของกลุ่ม แต่ทว่าไม่ได้เป็นกลุ่มขนาดใหญ่เพื่อการตัดสินใจที่เป็นไปไม่ได้ มักจะพบประเทศที่เป็นโจทก์ บารัคโอบามาเคยกล่าวไว้ว่า: “ทุกกลุ่มจะมีประเทศเท่าที่เป็นไปได้จะมีขนาดเล็ก แต่มันจะถูกรวม ดังนั้นถ้ามันเป็นประเทศที่ยี่สิบเอ็ดใหญ่ที่สุดในโลก และคิดว่ามันไม่ยุติธรรมกัน”

การตัดสินใจการประชุมสุดยอดผู้นำมีผลผูกพันตามกฎหมายหรือไม่ ?

  1. G20 เป็นองค์กรที่ไม่เป็นทางการและการประชุมมีไว้สำหรับการอภิปรายและการสนทนา และปฏิญญาสุดท้ายของกลุ่มจะมีการแถลงในช่วงท้ายของการประชุม แต่ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย แต่ในที่ประชุมสามารถนำมาใช้ในการทำสัญญาทางกฎหมายสำหรับการลงนามในที่อื่น ๆ  อันเป็นการสร้างความร่วมมือในการดำเนินการ เพื่อให้การดำเนินการตามสัญญามีความรวดเร็วมากขึ้น

ทำไม “กลุ่ม G20  ” ไม่มีสำนักงานใหญ่ถาวร?

5. กลุ่ม G20  เป็นองค์กรที่ไม่เป็นทางการ และมีความแตกต่างกับองค์กรทางการระหว่างประเทศ  ผู้นำของกลุ่ม G20 เป็นแกนหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ที่เกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจ การเงินและปัญหาที่สำคัญระดับโลก ดังนั้นจึงไม่มีสำนักงานใหญ่ของสำนักเลขาธิการถาวร

ใครเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ ?

6. ทุกปี ประเทศที่เป็นประธานและเจ้าภาพ ในการจัดประชุม(ในปีนั้น) จะเป็นผู้รับผิดชอบ  เป็นสำนักเลขาธิการ ทำหน้าที่รับผิดชอบสำหรับการประชุม การจัดระเบียบและการวางแผนในการประชุม

เจ้าหน้าที่และทีมงานของการประชุม G20  เป็นใคร ?

7.  ก่อนการประชุมแต่ละครั้งเจ้าหน้าที่อาวุโสจะมาประชุมร่วมกัน กำหนดรายละเอียด วิธีที่การที่ดีที่สุดในการบรรลุข้อตกลง ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะถูกเรียกว่า “เชอร์ปา”  ซึ่งคำว่า “เชอร์ปา” หมายถึง บุคคลประเภทหนึ่งที่ได้รับค่าจ้าง ในการช่วยเหลือนักปืนเขาแบกสัมภาระ ในภารกิจในการปีนภูเขา จนไปถึงยอดเขา ดังนั้นบรรดาเจ้าหน้าที่ในการเตรียมการจัดประชุมสุดยอดผู้นำ G20 ก็เหมือนกับเชอร์ปาที่อยู่ในท่ามกลางหุบเขาแห่งการปรากฏตัวของเหล่าผู้นำระดับโลกที่จำเป็นจะต้องหาวิธีที่ดีที่สุดให้กับเหล่าผู้นำได้พิชิตยอดเขาสำเร็จ

ทุกปี เมื่อมีการเปลี่ยนประธานในที่ประชุม นโยบายและประเด็นหัวข้อการประชุมสุดยอดจะเปลี่ยนแปลงตามหรือไม่ ?

8.  เพื่อให้มีการเชื่อมโยงกันมากขึ้น อดีตประธานในที่ประชุมกับประธานครั้งต่อไป จะมีการปรึกษาหารือและร่วมมือกันกับหัวหน้าคนปัจจุบัน(ปีนั้น)ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้เรียกว่า  Troika

การเผชิญหน้าโดยตรงระหว่างเหล่าผู้นำ

9.  หนึ่งในประเด็นที่สำคัญในการประชุมสุดยอดผู้นำ G20  ในฮัมบูร์ก คือ การพบปะระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ  สหรัฐอเมริกาและรัสเซีย โดยในการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่จะมีการพบปะกันระหว่างปูตินและทรัมป์

มีเหตุการณ์ประท้วง ‘ต้อนรับ’ ผู้นำ ผู้เข้าร่วมประชุม G20 เกิดขึ้นในฮัมบูร์กการ

10.  ก่อนถึงวันประชุมสุดยอดปีนี้ มีประชาชนนับพันคนออกมาเดินประท้วงต่อต้านกลุ่ม G20 ในฮัมบูร์ก บรรดานักวิจารณ์กลุ่ม G20 มีความตั้งใจที่จะยังคงเดินหน้าประท้วงต่อไป และคาดว่า ในระหว่างการประชุมสองวันนี้จะเห็นการประท้วงที่รุนแรงมากขึ้น

อนึ่ง…. กลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ G20 (อังกฤษ: Group of Twenty Finance Ministers and Central Bank Governors) ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2542 เป็นกลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้บริหารธนาคารกลางจากประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 19 ประเทศ รวมกับสหภาพยุโรป (อียู)