เบื้องหลังความรุนแรงในกรุงเยรูซาเล็ม- เผยเหตุอิสราเอลปิดกั้นมัสยิดอัล-อักซอจากชาวปาเลสไตน์!

938

ตลอดสองปีที่ผ่านมา สมาชิกสภาอิสราเอลได้พยายามทำทุกวิถีทาง เพื่อให้มัสยิดอัลอักซออยู่ในกำมือ และภายใต้การดูแลของรัฐอิสราเอล

ช่วง10 วันที่ผ่านมา อิสราเอลได้พยายามกีดกันไม่ให้ชาวปาเลสไตน์เข้าไปยังมัสยิดอัล-อักซอ  โดยการดำเนินการของอิสราเอลครั้งนี้เกิดขึ้น ภายหลังจากที่ชายหนุ่มชาวปาเลสไตน์สามคน ได้กระทำการพลีชีพ ภายในลานของมัสยิดอัลอักซอ อันส่งผลทำให้เจ้าหน้าที่ทหารของระบอบอิสราเอลต้องเสียชีวิตเป็นจำนวนสามคน  ทั้งนี้ การปิดประตูมัสยิด เพื่อกีดกันไม่ให้ชาวมุสลิมเข้ามาประกอบศาสนกิจ(ละหมาด)นั้นไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นับตั้งแต่ที่มัสยิดถูกอิสราเอลยึดครอง จะมีเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้นนั้นคือ ในปี 1967  และหลังจากนั้นก็ไม่เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก นอกจากนี้ อิสราเอลยังเลือกปฏิบัติกับผู้คน โดยได้อนุญาตให้ชาวยิวผู้ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน สามารถผ่านประตูบาบุล มัฆรีบะฮ์ และเข้าไปยังมัสยิดอัลอักซอได้อย่างง่ายดาย

การกระทำของรัฐบาลอิสราเอลที่มีต่อปาเลสไตน์
หนึ่งวัน หลังจากที่ยิวไซออนิสต์ได้วางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (ประตูอิเล็กทอนิกส์) ในความพยายามควบคุมตรวจสอบชาวปาเลสไตน์ และกีดกันมิให้พวกเขาเข้าไปปฏิบัติธรรมภายในมัสยิดอัลอักซอ อุลามาอ์ปาเลสไตน์ก็ได้ออกมาประกาศว่า การเดินผ่านประตูอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นสิ่งต้องห้าม  ด้วยเหตุนี้เองพวกเขาจึงรวมตัวกันหน้าประตูมัสยิดอัลอักซอเพื่อทำการละหมาดญามาอะฮ์ (ละหมาดรวม) ตามคำสั่งของอุลามาอ์ของพวกเขา

ปฏิกิริยาตอบโต้ของปาเลสไตน์ต่อยิวไซออนิสต์

ยิวไซออนิสต์ได้พยายามใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมของชาวปาเลสไตน์ ด้วยการยิงแก๊สน้ำตา ทุบตี ใช้กระสุนยาง และขว้างระเบิดเสียงใส่บรรดาผู้ทำละหมาดและผู้ชุมนุม ในช่วงต้นของการปะทะกัน สถานการณ์ทำให้อิหม่ามอักรอมะฮ์ ซอบรี อิหม่ามผู้มีชื่อเสียงแห่งมัสยิดอักซอ ได้รับบาดเจ็บสาหัสและถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล  การยืนหยัดต้านทานที่แข็งแกร่งและมั่นคงของชาวปาเลสไตน์ ทำให้ยิวไซออนิสต์ไม่อาจบรรลุซึ่งความต้องการของพวกเขาได้  ขณะที่10 วันของการต่อสู้ที่รุนแรงผ่านพ้นไป  ชาวปาเลสไตน์ก็ได้รวมตัวกันอย่างแน่นหนาจากด้านหลังประตูของมัสยิดอัลอักซอมากขึ้นทุกวัน กระทั่งจำนวนผู้คนล้นไปถึงพื้นที่ใกล้เคียงรอบๆตลาด

ยิวไซออนิสต์กำลังคิดทำอะไรอยู่?

คำถามที่เกิดขึ้นในที่นี่คือ ยิวไซออนิสต์มีเป้าหมายอะไรในการวางระเบียบ และกระทำสิ่งเหล่านี้ต่อชาวมุสลิมปาเลสไตน์? ทั้งนี้ หากเหลียวมองดูปฏิบัติการต่างๆในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เราสามารถตระหนักถึงเป้าหมายของพวกเขาในการควบคุมทางเข้าของมัสยิดอักซอได้อย่างชัดเจน

ความพยายามที่จะถอดถอนจอร์แดนที่เป็นผู้ดูแลมัสยิดอัลอักซอ

หากมองประวัติศาสตร์มัสยิดอัลอักซอช่วง 100 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า กษัตริย์อับดุลลาห์แห่งจอร์แดนมีความพยายามจะรักษาไว้ซึ่งมัสยิดอัลอักซอให้คงอยู่ในการดูแลของพวกเขา อีกด้านหนึ่ง ในปี 1967 เมื่ออิสราเอลยึดกรุงเยรูซาเล็มตะวันออกสำเร็จ พวกเขาก็ได้เข้ามายังมัสยิดอัลอักซอและทำการปิดประตูมัสยิด เพื่อไม่ให้มุสลิมเข้าไปประกอบศาสนกิจได้เป็นครั้งแรก ทว่า หลังจากนั้น ผ่านไปสองวัน พวกเขาก็ได้ยุติการกระทำดังกล่าว พร้อมกับมอบกุญแจมัสยิดอัลอักซอให้กับจอร์แดน ยกเว้นกุุญแจจากฝั่งประตูทางเข้า บาบุลอัลมัฆรีบียะห์  เนื่องจาก พวกเขาไม่ต้องการยอมรับถึงสถานภาพการมีอยู่ของชาวปาเลสไตน์  นั่นเป็นเหตุผลที่มีการผนวกเวสต์แบงก์เข้ากับจอร์แดน ณ เวลานั้น อันเป็นเหตุการณ์ที่ซึ่งทำให้ประชาชนชาวปาเลสไตน์ได้รับบัตรพลเมืองและหนังสือเดินทางของประเทศจอร์แดนไว้ในครอบครอง

ความพยายามในการแบ่งแยกพื้นที่และเวลาของมัสยิดอัลอักซอ

ในปี 2012 สภานิติบัญญัติแห่งอิสราเอล (Knesset) ได้ผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าว ระบุว่า รัฐบาลอิสราเอลสามารถดำเนินการแบ่งมัสยิดอัลอักซอให้แก่ชาวมุสลิมและชาวยิวได้ ซึ่งตามโครงการที่วางไว้ มัสยิดอัลอักซอจะถูกแบ่งออกจากในแง่ของเวลาและสถานที่

ในแง่ของเวลาละหมาด มัสยิดจะเป็นของชาวมุสลิม และช่วงเวลาระหว่างที่ว่างเว้นจากการละหมาด จะเป็นเวลาสำหรับชาวยิว  ส่วนในแง่ของสถานที่ตั้ง  สถานที่รอบบริเวณมัสกัตของมัสยิดอักซอและสถานที่ในร่มอื่น ๆ ถูกมอบให้กับชาวมุสลิม ขณะที่สถานที่กลางแจ้งจะเป็นของชาวยิว  ขณะที่กฎดังกล่าวยังระบุอีกว่าในช่วงเทศกาลวันหยุดของชาวยิว มัสยิดอัลอักซอจะถูกมอบให้กับชาวยิวอย่างสมบูรณ์เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ และเมื่อเป็นช่วงเทศกาลของอิสลาม มัสยิดอัลอักซอก็จะถูกมอบให้กับชาวมุสลิม   ทั้งนี้ หมายความว่า กลุ่มตรงกันข้ามจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในมัสยิดอัลอักซอได้  อย่างไรก็ตาม การแบ่งแยกสัดส่วนในลักษณะเช่นนี้กลับเป็นไปอย่างไม่ชอบธรรม เพราะหากลองพิจารณาเงื่อนไขตามข้อเท็จจริงต่างๆ เราจะพบว่า มัสยิดจะอยู่ในกรรมสิทธิ์ของชาวยิวมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ มัสยิดจะอยู่ในความครอบครองของชาวยิวเป็นระยะเวลา 200 วันต่อปี

อิสราเอลขุดเจาะอุโมงค์ใต้มัสยิดอัลอักซอ

ยิวไซออนิสต์ ได้ริเริ่มการขุดเจาะอุโมงค์ในปาเลสไตน์ โดยเฉพาะภายใต้มัสยิดอัลอักซอมานานกว่าหนึ่งศตวรรษ ซึ่งในวันนี้การขุดเจาะดังกล่าวได้ขยายตัวไปในวงกว้างเป็นอย่างมาก พวกเขาได้สร้างห้องโถงหรูหรา ธรรมศาลาที่มีเพดานยาวและพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ภายในอุโมงค์เหล่านั้น ตามแผนการ พวกเขายังมีโครงการสร้างเส้นทางรถไฟใต้ดินอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ชาวยิวสามารถเดินผ่านอุโมงค์และเข้าไปในมัสยิดอัลอักซอได้อย่างสะดวกและง่ายดาย  อุโมงค์เหล่านี้มีจำนวนมากและมีขนาดใหญ่ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญยังได้ชี้ถึงความเสี่ยงของมันว่า หากเกิดแผ่นดินไหวปานกลาง การสร้างอุโมงค์นี้สามารถทำลายเสากลางของมัสยิดอัลอักซอ และอาจทำให้มัสยิดและสิ่งก่อสร้างรอบๆพังทลายลงมาได้

พยายามที่จะขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากกรุงเยรูซาเล็ม

ยิวไซออนิสต์พยายามใช้วิธีการที่หลากหลาย เพื่อกดดันชาวปาเลสไตน์ให้เดินทางออกไปจากกรุงเยรูซาเล็ม เช่นไม่ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร และ บัตรผ่านชั่วคราวให้แก่พวกเขา และยังได้พยายามกำหนดหลักสูตรของยิวในโรงเรียนต่างๆภายในกรุงเยรูซาเล็ม เพื่อบีบคั้นชาวปาเลสไตน์ไม่ให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นปกติสุข และในขณะที่ มัสยิด และประตูมัสยิดมีบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่อยู่อาศัยของครอบครัวปาเลสไตน์ดั้งเดิมมากว่าหลายร้อยปี ซึ่งประตูบางบานยังปรากฎเป็นชื่อของพวกเขาอีกด้วย ทางระบอบอิสราเอลก็ได้วางประตูอิเล็กทรอนิกส์ขวางไว้ เพื่อสร้างอุปสรรคในการเข้าออกบ้านของครอบครัวปาเลสไตน์ ในความพยายามกดดันพวกเขา ให้เคลื่อนย้ายออกไปจากพื้นที่ดังกล่าว

บทสรุป

ทุกความพยายามของอิสราเอล เป็นไปเพื่อยึดครองมัสยิดอัลอักซอ และควบคุมความเคลื่อนไหวของชาวปาเลสไตน์ และเมื่อวันเวลาผ่านพ้นไประยะหนึ่ง แน่นอนพวกเขาจะไม่อนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์เข้าไปยังมัสยิดได้ อันเป็นการเปิดโอกาสให้พวกเขาสามารถทำในสิ่งที่ต้องการกับมัสยิดอัลอักซอ และสร้างพระวิหารตามความเชื่อของพวกเขาจนสำเร็จ

ความต้องการของยิวไซออนิสต์ในทิศทางที่ว่ามานี้ สามารถเป็นที่รับรู้ได้จากสื่อของพวกเขาเอง  โดยหนังสือพิมพ์ Maariv  อิสราเอล ฉบับวันจันทร์ ได้ระบุผ่านรายงานโดยนักเขียนภายใต้ชื่อ “เบนดาร์”  ว่า ความต้องการสูงสุดของเนทันยาฮู และบุคคลที่สำคัญอื่นๆเช่น เบนเน็ตต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และยิสราเอล แคทส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการบริหารการขนส่งอิสราเอล คือ การยึดครองมัสยิดอัลอักซออย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์  

อย่างไรก็ตาม ได้มีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความล้มเหลวจากความพยายามของยิวไซออนิสต์ อยู่ในส่วนท้ายของบทความนี้ ซึ่งเขาได้เขียนว่า เนทันยาฮูได้เข้าสู่กับดักของชาวปาเลสไตน์ 

รายงานชี้ให้เห็นถึงความขัดแย้งอย่างรุนแรงในคณะรัฐมนตรีของระบอบปกครองยิวไซออนิสต์ โดยฝ่ายต่อต้านได้เรียกร้องให้มีการยกเลิกประตูอิเล็คทรอนิสก์  และสิ่งนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงชัยชนะของกลุ่มมุกอวิมัตในปาเลสไตน์ที่ได้ยืนหยัดต่อสู้กับการถูกรุกรานของอิสราเอล

Source: tasnimnews.com