จีนอ้างว่าตนคือ เจ้าแห่งมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาลในทะเลจีนใต้ ขณะที่ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเมื่อปีที่ผ่านมาระบุว่า การแอบอ้างดังกล่าวไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายใดๆเลย
หนึ่งปีหลังจากคำตัดสินของศาลโลกในกรุงเฮก ซึ่งระบุว่า ข้อแอบอ้างทางทะเลของจีนนั้น เป็นเพียงสนามแข่งขันทางการค้ากับประเทศบรูไน มาเลเซีย ไต้หวัน ฟิลิปปินส์และเวียดนามเท่านั้น ทั้งนี้จีนปฏิเสธคำตัดสินของศาล และเพื่อให้มั่นใจว่าประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้ตั้งใจที่จะท้าทายอำนาจของตน จึงดำเนินการเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่น ๆเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
จีนเป็นกองทัพที่ใหญ่ที่สุดอันดับสามของโลก และมี GDP สูงสุดเป็นอันดับสอง ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดความท้าทายและความเข้มงวดสำหรับจีนในการควบคุมชายฝั่งทะเลในประเทศเล็ก ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ดี จีนอ้างว่า มีสี่ประเทศที่มีขีดความสามารถ และมีแนวโน้มจะเป็นอุปสรรคต่อจีน ในเขตพื้นที่ 3.5 ล้านตารางกิโลเมตรของน่านน้ำที่อุดมไปด้วยทรัพยากรสำหรับการจับหาปลา น้ำมันเชื้อเพลิงสำรอง และการขนส่ง
สี่ประเทศดังกล่าวได้แก่:
-
อินเดีย
อินเดียไม่ได้มีการเรียกร้องใด ๆ ในทะเลจีนใต้ แต่หวังว่าจะสามารถสกัดกั้นจีนได้ เพื่อให้สถานภาพของตนเองมีความแข็งแกร่งมากขึ้น อินเดียเป็นพันธมิตรตะวันตกที่อยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับจีน และพวกเขาได้เริ่มดำเนินนโยบาย “การกระทำในภาคตะวันออก” ในปี 2014 เพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเห็นได้ชัดว่านโยบายดังกล่าวจะเน้นหนักไปทางเศรษฐกิจ แต่ก็มีแง่มุมอื่น ๆอีกด้วย
ข้อตกลงการค้าอินเดียกับเวียดนาม สร้างความท้าทายให้กับอำนาจจีนในทะเลจีนใต้ แต่จีนไม่ได้แสดงปฏิกิริยาต่อต้านการเคลื่อนไหวของอินเดียในภูมิภาคนี้แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม มีความเป็นเป็นไปได้ที่วิกฤตดังกล่าวจะทวีความรุนแรงมากขึ้น หากมีการเซ็นสัญญาธุรกิจการซื้อขายน้ำมัน
-
ญี่ปุ่น
เพื่อความสมดุลของอำนาจและอิทธิพลของจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 2014 ญี่ปุ่นได้ส่งเรือ 6 ลำไปยังประเทศเวียดนาม และปีที่ผ่านมา ตามที่ตกลงกันไว้ ญี่ปุ่นได้ให้ฟิลิปปินส์เช่าเครื่องบินทหาร 5 ลำ เหล่านี้เป็นเพียงสองตัวอย่างของวิธีการดำเนินการของญี่ปุ่นในภูมิภาคที่มีความขัดแย้งกับคำแอบอ้างของจีนที่เป็นเจ้าแห่งมหาสมุทรในทะเลจีนใต้ บางฝ่ายเชื่อว่า ญี่ปุ่นเป็นกำลังตัวแทนของตะวันตกในการเผชิญหน้ากับจีน
จีนและญี่ปุ่นมีการแข่งขันในด้านกองทัพเรือ และมีการควบคุมบางส่วนของหมู่เกาะต่างๆที่ติดอยู่ในข้อพิพาทระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งมีมานานแล้ว กองทัพเรือญี่ปุ่นมีอนาคตที่สดใสมาก และมันก็ไม่น่าแปลกใจว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน จะเคยให้สัมภาษณ์อย่างเป็นทางการกับสำนักข่าวซินหัว โดยเตือนญี่ปุ่นว่า อย่าได้สร้างปัญหาในภูมิภาค
-
สหรัฐอเมริกา
โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีความคาดหวังที่จะขยายความร่วมมือในทะเลจีนใต้กับจีนเพื่อที่จะหยุดการพัฒนาจรวดขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ ความร่วมมือดังกล่าวได้เกิดขึ้น จนกระทั่งในปลายเดือนพฤษภาคม กองทัพเรือสหรัฐฯก็ได้ส่งเรือรบสองลำเข้าสู่ทะเลจีนใต้
สหรัฐอเมริกาไม่มีการแอบอ้างและเรียกร้องใดๆในทะเลจีนใต้ แต่ทว่ากองทัพเรือสหรัฐฯที่มีประสิทธิภาพ สามารถสร้างความเดือดร้อนให้กับจีนได้ ด้วยการผูกมิตรกับประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรณีตัวอย่างเช่น การเป็นพันธมิตรกับฟิลิปปินส์ที่เกิดขึ้นในปี 2014
-
เวียดนาม
เวียดนามเป็นประเทศเดียวที่มีการแอบอ้างกำลังแข่งขันกับจีนในทะเลจีนใต้ พวกเขาวางแผนที่จะฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานทางทะเลและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการใช้งานทางทหาร เพื่อให้ไปถึงคุณสมบัติที่ต้องการ แม้นว่าเวียดนามจะเหมือนกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศจีนอย่างกว้างขวาง และมูลค่าการค้ากับประเทศจีนในปี 2015 จะสูงถึง 95.8 พันดอลลาร์ก็ตาม แต่พวกเขาไม่ชอบพฤติกรรมของจีนโดยรวม ทั้งนี้ เนื่องจากพวกเขามีเพียงแค่กองทัพเล็ก ๆ จึงทำให้มีความกลัวและต้องยอมรับความเสี่ยง พวกเขาเคยมีประสบการณ์ในการทำสงครามกับจีนในปี 1974 ในหมู่เกาะพาราเซล ในประวัติศาสตร์ของพวกเขา อย่างไรก็ตามเวียดนามก็ยังคงมองไปที่อินเดียและญี่ปุ่น ยามต้องการขอความช่วยเหลือ
Source: fa.shafaqna.com