สหรัฐและซาอุดิอาระเบียใช้สงครามชีวภาพในการแพร่กระจายอหิวาตกโรค เพื่อสังหารประชาชนในเยเมน
Global Research รายงานบทความหนึ่งใประเด็นนี้ว่า เมื่อเดือนมีนาคมปี 2015 อเมริกาได้ให้การสนับสนุนซาอุดิอาระเบียและพันธมิตรทำการก่ออาชญากรรมต่อประชาชนชาวเยเมเน
ในขณะนี้ ประชาชนชาวเยเมนกำลังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคอหิวาตกโรคอย่างร้ายแรง ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ วิบริโอ คอเลอเร (Vibrio Cholerae)
สหรัฐอเมริกาเคยแพร่เชื้อโรคชนิดนี้กับประเทศญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และในแอฟริกาใต้ในช่วงที่มีการเหยียดสีผิว และในอิรัก เมื่อสมัยของซัดดัม และในอีกหลายประเทศ
โรคชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการปนเปื้อนตามแหล่งน้ำ จากวิธีนี้เองที่เยเมนกำลังประสบกับวิกฤติอยู่ในขณะนี้
การโจมตีทางอากาศโดยซาอุดิอาระเบียในเยเมนมากว่าสองปีที่ผ่านมา ได้ทำลายระบบน้ำประปา โรงพยาบาลและคลินิกเป็นจำนวนมาก ส่งผลทำให้ประชาชนราว 25ล้านคน ไม่มีวิธีการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคร้ายนี้
อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของอหิวาตกโรคในเยเมนจะมิใช่สงครามชีวภาพอย่างเต็มรูปแบบ แต่แน่นอนว่ามันเป็นอีกอุบายหนึ่งสำหรับการก่อสงครามชีวภาพ
สงครามทางชีวภาพครั้งนี้เกิดขึ้นในประเทศหนึ่งที่ยากจนที่สุดในโล กโดยได้รับการสนับสนุนจากทั้งสองรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา
ในบทความนี้ยังระบุอีกว่า ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ทหารสหรัฐฯได้สังหารพลเรือนผู้บริสุทธิ์เพิ่มมากขึ้นนอกจากในอัฟกานิสถานแล้ว รวมไปถึง อิรัก(โมซูล)และซีเรีย(รักกาห์)
ในเยเมนก็เช่นเดียวกัน สหรัฐฯได้ให้การสนับสนุนการก่ออาชญากรรมเช่นนี้ต่อไป ถึงแม้จะมีกระแสต่อต้าน (เพียงน้อยนิด) จากสภาคองแครส สื่อ และความคิดเห็นจากประชาชนก็ตาม
ในสถานที่ที่ไม่สามารถรักษาเยียวยาโรคนี้ได้ ทำให้ในระยะเวลาไม่กี่วัน โรคนี้ได้ทวีความรุนแรง และกลายเป็นโรคร้ายแรงที่สามารถคร่าชีวิตผู้คนได้เป็นจำนวนมาก
สำหรับการรักษาโรคนี้นั้นจำเป็นต้องใช้น้ำที่สะอาดในปริมาณที่เพียงพอ ขณะที่ในเยเมนไม่มีระบบน้ำที่สะอาด เพราะว่าได้ถูกทำลายจากการโจมตีทางอากาศ สถานการณ์ต่างๆยิ่งเป็นเครื่องตอกย้ำ ความรุนแรง และส่งกระทบต่อประชาชนเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ มี 124 ประเทศที่เป็นสมาชิกศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ซึ่งศาลนี้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำการพิพากษาคดีระหว่างประเทศ เช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การก่ออาชญากรรมสงครามและการก่ออาชญากรรมด้านสิทธิมนุษย์ชน
ทว่า อเมริกาไม่ได้เป็นสมาชิกศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) แต่ได้เซ็นสัญญาความร่วมมือในช่วงแรก หลังจากนั้นก็ได้ถอนตัวออก
ซูดาน อิสราเอล และรัสเซียตกลงเซ็นสัญญา ทว่าต่อมาหลังจากนั้นก็ประกาศถอนตัวออกเช่นกัน
และในปี 2007 เยเมนก็ถูกโหวตให้เข้าร่วมในศาลอาญาระหว่างประเทศด้วย แต่เวลาผ่านไปไม่นานนักก็ถูกโหวตให้ออก
ในขณะที่ 41ประเทศที่เหลือ เช่น อินเดีย ปากีสถาน ตุรกีและจีน ต่างไม่ยอมเข้าร่วมเป็นสมาชิกในศาลอาญานี้
Source: iuvmpress