สหรัฐฯส่งกองกำลังเข้ารบไอซิสในลิเบียเป็นเพียงข้ออ้าง-ผู้เชี่ยวชาญชี้ สถานการณ์เดียวกัน อิรัก-อัฟกานิสถาน!

434

ผู้เชี่ยวชาญเชื่อ การตัดสินใจของอเมริกาและพันธมิตรเพื่อส่งออกกองกำลังทหารไปยังลิเบีย ในการต่อสู้กับการก่อการร้ายเป็นเพียงแค่ข้ออ้างเท่านั้น เพราะแท้จริง พวกเขากำลังแสวงหาวัตถุประสงค์ทางการเมืองและอื่น ๆ ในประเทศนี้ต่างหาก!

หนังสือพิมพ์ Izvestia  มอสโก รายงานว่า  กองกำลังพิเศษของอเมริกาและพันธมิตรกำลังปรากฏตัวอยู่ในดินแดนของสาธารณรัฐอาหรับลิเบีย โดยได้ทำการฝึกอบรบกองกำลังท้องถิ่น เพื่อต่อสู้กับการกลุ่มก่อการร้ายไอซิส

ข้อมูลดังกล่าวได้รับการยืนยันจากผู้บัญชาการกองทัพสหรัฐอเมริกาในทวีปแอฟริกา ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสังเกตว่า การต่อสู้กับการก่อการร้ายเป็นเพียงข้ออ้าง ซึ่งในภาคปฏิบัติแล้ว ความจริงวอชิงตันกำลังพยายามส่งเสริมจุดยืนและท่าที่ของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดระหว่างความขัดแย้งที่มีอยู่ภายในในลิเบีย

ผู้บัญชาการกองทัพสหรัฐฯในทวีปแอฟริกาได้ตอบคำถามสั้น ๆ กับ “Izvestia” ในประเด็นดังกล่าว และเน้นย้ำถึงการปรากฏตัวของกองทัพสหรัฐฯในลิเบีย เพื่อให้การสนับสนุนการต่อสู้กับการก่อการร้าย โดยเขาเผยกับหนังสือพิมพ์ดังกล่าวว่า: “กองกำลังทหารของอเมริกาจำนวนหนึ่งได้ถูกส่งไปยังลิเบีย เพื่อทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกองกำลังท้องถิ่นลิเบีย และการกระทำนี้ เป็นไปเพื่อที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งในการต่อสู้กับไอซิสและกลุ่มก่อการร้ายอื่น ๆ ซึ่งเราพร้อมกับพันธมิตรของเราในประเทศอื่น ๆ ให้การสนับสนุนกองกำลังลิเบียที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลปรองดองแห่งชาติในการต่อสู้กับกองกำลังไอซิส “

ลิเบียได้กลายเป็นเขตอิทธิพลของกองกำลังทางการเมืองต่างๆ

แหล่งข่าวระบุว่า ในลิเบียเองก็ออกมายืนยันถึงความตั้งใจของอเมริกาในการส่งกองกำลังพิเศษเข้าไปประจำการในประเทศ แหล่งข่าวหนึ่งรายงานว่า: “อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศสและอิตาลีตั้งใจส่งกองกำลังพิเศษหลายสิบนายเข้าสู่ลิเบียเพื่อช่วยต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายไอซิส  แต่ปัญหาคือว่า กลุ่มหัวรุนแรงหลายร้อยคน หลังจากความพ่ายแพ้ในอิรักและซีเรียไ ด้หนีเข้ามายังลิเบีย และกำลังเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับพวกเขาในประเทศลิเบีย”

เป็นที่รู้กันดีว่า กลุ่มก่อการร้ายไอซิส ในปี 2015  สามารถยึดเมือง “Sirte” และพื้นที่โดยรอบยังอยู่ภายใต้การควบคุมของพวกเขา  ในฤดูใบไม้ผลิปี 2016  ก็เริ่มมีปฏิบัติการปลดปล่อยเมืองดังกล่าวจากอุ้งมือไอซิส  และในช่วงต้นเดือนสิงหาคม อเมริกาก็ได้ส่งกองกำลังจากกองทัพเรือและกองทัพอากาศเข้าร่วมในปฏิบัติการ และแล้วในที่สุดเมื่อวันที่ 6 ธันวาคมของปีนั้น ผู้ก่อการร้ายไอซิสต้องหนีออกจากเมือง ผู้บัญชาการปลดปล่อยเมือง  Sirte อยู่ภายใต้การดูแลและการรับผิดชอบของฟัยยาฎ ซิรอจ์  หัวหน้ารัฐบาลปรองดองแห่งชาติลิเบียและกองกำลังของ “มิสซูรี่” ที่มีความภักดีต่อเขาก็มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการครั้งนี้

การสนับสนุนของอเมริกาต่อฝ่ายหนึ่งของคู่ขัดแย้งในลิเบีย

ประเด็นนี้มีการตีความที่น่าสนใจมาก จากผู้บัญชาการทหารอเมริกาในแอฟริกา ที่อ้างว่าอเมริกามีความพยายามที่จะสนับสนุนรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติลิเบีย แม้ว่าในความเป็นจริงนั้นวอชิงตันมองข้ามศูนย์อำนาจอื่น ๆในลิเบีย : รัฐสภาลิเบียและกองทัพที่จงรักภักดีต่อประธานาธิบดีมาร์แชลล์ “Khalifa Khalifa”   ซึ่งควรตั้งข้อสังเกตว่ารัฐสภาลิเบียมีการประชุมในภาคตะวันออกของประเทศและไม่ยอมรับรัฐบาลการปรองดองแห่งชาติ  ผู้บัญชาการกองทัพลิเบียได้กล่าวซ้ำๆว่า เรามุ่งมั่นที่จะทำให้ดินแดนของเราปลอดจากผู้ก่อการร้ายไอซิสและสมาชิกของ “ภราดรภาพมุสลิม” และกลุ่มก่อการร้ายอื่น ๆ

ลิเบียเป็นอีกกรณีตัวอย่างของการแทรกแซงทางทหารของอเมริกา

ตามความเชื่อของ “Vychslav Matvzvf” ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกกลางและอดีตนักการทูตรัสเซีย ถือว่า การต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายเป็นเพียงข้อแก้ตัวสำหรับสหรัฐฯที่จะบรรลุเป้าหมายด้านนโยบายการเมืองของตนในลิเบีย

ผู้เชี่ยวชาญได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ Izvestia ว่า  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  กรณีที่ฟัยยาฎ ซิรอจ์  หัวหน้ารัฐบาลปรองดองแห่งชาติลิเบียได้รับการสนับสนุนเต็มรูปแบบจากสหรัฐอเมริกาในการเสริมสร้างจุดยืนและตำแหน่งของพวกเขาในลิเบีย ประเด็นที่สำคัญคือ ความสามารถในการปรองดองของรัฐแห่งชาติสำหรับการปฏิสัมพันธ์กับนายกรัฐมนตรีและฝ่ายตรงกันข้ามของเขาในเขตพื้นที่ทางทิศตะวันออก ซึ่งมันไม่เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างประเทศและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ได้ยืนยันในเรื่องนี้  แต่มันเป็นประเด็นที่สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนฝ่ายหนึ่งที่เป็นคู่พิพาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายที่จงรักภักดีต่อรัฐบาลอเมริกาและไม่ยอมรับกองกำลังทางการเมืองอื่น ๆ ในลิเบีย

ผู้เชี่ยวชาญคนดังกล่าวยังระบุอีกว่า “เซอร์ เกลาฟรอฟ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศรัสเซียได้เคยกล่าวก่อนหน้านี้ว่า คณะรัฐมนตรีมีการจัดประชุมในฐานทหารใกล้เมืองตริโปลี และแม้กระทั่งในเมืองหลวงของลิเบียเองก็ยังไม่สามารถควบคุมได้อย่างเบ็ดเสร็จ

ตามคำกล่าวของ Matvzvf  การต่อสู้กับการก่อการร้ายเป็นเพียงข้ออ้างสำหรับการกระทำของอเมริกาในประเทศต่างๆ ในอิรักและอัฟกานิสถาน คือกรณีตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดในเรื่องนี้ แต่การปรากฏตัวของทหารในประเทศเหล่านี้ไม่เพียงแต่ไม่ได้แก้ปัญหาของการก่อการร้ายแล้ว หากแต่ยังนำปัญหาใหม่มาส่งมอบให้แก่พวกเขาอีกด้วย และลิเบียเองก็ยังไม่อาจพิชิตชัยเหนือปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศทั้งหมดที่เป็นผลมาจากการโจมตีของนาโต้ได้ ทำให้การเข้ามาแทรกแซงของสหรัฐฯในสถานการณ์เช่นเดียวกับอิรัก และอัฟกานิสถานจึงอาจเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ สำหรับลีเบีย

Source: islamtimes