Opinion: ข้อถกเถียงประเด็น สงครามตัวแทนระหว่างอิหร่านและสหรัฐอเมริกาในยุครัฐบาลทรัมป์ ?

407
ณ วันนี้ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกากำลังปรารถนาจะทำสงครามต่างประเทศมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อจะช่วยลดแรงกดดันภายใน จึงมีการหยิบแผนที่โลกขึ้นมาพิจารณา เพื่อหาพื้นที่ให้สามารถหายใจได้บ้าง
จากเอเชียตะวันออกจรดตะวันออกกลาง ไปจนถึงยุโรปตะวันออกและแอฟริกา รวมทั้งในละตินอเมริกาจะพบว่า มีน้อยมากที่ภูมิภาคใดของโลกจะปลอดภัยจากภัยคุกคามของประธานาธิบดีทรัมป์
ถึงแม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะเป็นมหาอำนาจโลก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะมีความสามารถก่อสงครามในหลายๆประเทศพร้อมๆกันได้  เพราะนอกเหนือจากจะมีค่าใช้จ่ายด้านการทหารที่สูงมากแล้ว ยังมีแนวโน้มว่าการที่สหรัฐฯเข้าสู่ความขัดแย้งหลายอย่างพร้อมกันซ จะนำไปสู่การล่มสลายลงของมหาอำนาจนี้
ถ้าหากเราคำนึงถึงกระบวนการล่มสลายของมหาอำนาจหรือจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์  จะเห็นได้ว่า มหาอำนาจจำนวนมากไม่ได้ล่มสลายเนื่องจากความพ่ายแพ้ทางทหาร แต่ล่มสลายลงจากปัจจัยทางเศรษฐกิจของมหาอำนาจเอง
สำหรับสหรัฐฯ นายทรัมป์เองไม่มีพรสวรรค์ในด้านการทหาร ทว่าอาศัยเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาล หรือเหล่าบรรดากุนซือคอยวางแผนยุทธวิธีต่างๆ ซึ่งแน่นอนพวกเขามีองค์ความรู้ในเรื่องนี้อย่างครอบคลุม
ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้ว่าทรัมป์จะมีลักษณะตัวตนที่รุนแรงและสุดโต่ง และดูเหมือนจะมีความสนใจในการสู้รบและก่อสงครามต่างๆในโลกนี้ อย่างไรก็ดี คณะบริหารทรัมป์ก็มีเพียงแค่แคมเปญโฆษณาชวนเชื่อ และการแสดงบทบาททางการเมือง ประกอบกับภาพการซ้อมรบทางทหารเท่านั้นที่สามารถยั่วยุฝ่ายตรงข้ามให้แสดงปฏิกิริยาตอบโต้เท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติ เขาไม่ได้กระทำสิ่งใดโดยตรงเลย
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่า ทรัมป์ ไม่ใช่นักการเมืองและ ไม่มีประสบการณ์ในกิจการต่างประเทศ แต่ในข้อเท็จจริงนั้น ทรัมป์เป็นเจ้าของนโยบายของตัวเองซึ่งเป็นที่ได้รับความสนใจของชาวอเมริกันจำนวนหนึ่ง
ทรัมป์จะเชี่ยวชาญในด้านปัญหาทางธุรกิจ และทุกอย่างสำหรับเขาล้วนแล้วคือผลประโยชน์ทั้งสิ้น  นั่นคือการแสวงหากำไรทุกรูปแบบ
ด้วยเหตุนี้ ทรัมป์จึงพยายามที่จะสร้างความแตกแยกระหว่างกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สถานการณ์ต่างๆนำไปสู่สงคราม  ขณะที่สหรัฐอเมริกาก็จะเป็นผู้สนับสนุนอีกฝ่ายหนึ่งในคู่ความขัดแย้ง ในความต้องการขายอาวุธสงคราม และบางครั้งก็ให้การสนับสนุนทางการเมืองให้กับอีกฝ่าย เหล่านี้ล้วนเป็นไปเพื่อแสวงหาผลกำไรจากสงคราม
นโยบายเช่นนี้ของทรัมป์สามารถประจักษ์ได้จากพฤติกรรมของสหรัฐฯกับรัฐอ่าวอาหรับหรือพันธมิตรของสหรัฐฯในนาโต้ หรือพันธมิตรของสหรัฐฯในเอเชียตะวันออก
ขณะที่ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา สหรัฐฯได้ออกค่าใช้จ่ายเงินทั้งหมดให้นาโต้ แต่ในช่วงยุคทรัมป์ ระบุว่า หากนาโต้ต้องการให้สหรัฐฯสนับสนุนในการเผชิญหน้ากับรัสเซียนาโต้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งหมด  และในเวลาเดียวกัน สหรัฐอเมริกาได้พยายามที่จะเพิ่มความตึงเครียดในอุรุกวัยตะวันออกเพื่อขู่ประเทศในยุโรปตะวันตกให้ขึ้นอยู่กับสหรัฐอเมริกา
เรื่องในลักษณะเดียวกันนี้ได้ถูกอธิบายซ้ำแล้วซ้ำอีกในประเด็นเกี่ยวกับประเทศอาหรับในอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งสหรัฐฯกำลังพยายามทำให้ประเทศอาหรับเผชิญหน้ากับอิหร่าน และเพิ่มความตึงเครียดกับอิหร่าน เพื่อให้เกิดการปะทะกันระหว่างทั้งสองฝ่าย จนกระทั่งสามารถยึดทรัพย์สินของชาวอาหรับได้
ในเอเชียตะวันออก เราเห็นว่า เมื่อความตึงเครียดกับเกาหลีเหนือเพิ่มขึ้น สหรัฐอเมริกาประกาศให้เกาหลีใต้และญี่ปุ่นและพันธมิตรอื่น ๆ ทราบว่า ตนพร้อมแล้วที่จะขายอาวุธที่ทันสมัยที่สุดให้แก่พวกเขา
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบทความของเราเกี่ยวข้องกับอิหร่านและสหรัฐอเมริกา ฉะนั้นเราจึงมุ่งเน้นอภิปรายเฉพาะในประเด็นนี้
วันนี้กลุ่มพันธมิตรของสหรัฐฯหวังจะจัดตั้งกลุ่มขึ้นมา เพื่อต่อกรกับอิหร่าน แต่มันกลับล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ขนาดที่ไม่ควรคาดหวังอันใดจากการจัดตั้งกลุ่มดังกล่าว แม้จะมีข้อเท็จจริงว่าทรัมป์ได้มีการติดต่อกับผู้นำรัฐอาหรับในครั้งล่าสุด โดยได้มีการเรียกร้องให้มีการจัดตั้งกลุ่มพันธมิตร แต่กระแสลมกลับไม่พัดไปในทิศทางตามความต้องการของทรัมป์แต่อย่างใด
ในซีเรีย สหรัฐอเมริกาพยายามทำให้พันธมิตรของอิหร่านพ่ายแพ้ในดินแดนที่เกิดการปะทะ  แต่ก็ล้มเหลว และวันนี้อเมริกาก็กลัวว่า ความต่อเนื่องของความล้มเหลวทางการเมืองของสหรัฐฯอาจจะนำไปสู่การขจัดบทบาทและอิทธิพลของตนในภูมิภาคอย่างสมบูรณ์
วันนี้การรุกคืบของกองทัพซีเรียและพันธมิตรของตนไปยังจังหวัด Deir Ezzur ทำให้พันธมิตรของสหรัฐฯมีการเผชิญกับพันธมิตรของอิหร่าน และมีความเป็นไปได้ว่าทั้งสองจะเกิดการการเผชิญหน้ากัน
เห็นได้ชัดว่ารัฐบาล และกองทัพซีเรียพยายามที่จะยึดครองดินแดนทั้งหมดของตน และไม่ช้าก็เร็วพวกเขาก็จะเผชิญกับความเป็นจริงที่ว่า กองกำลังที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกามีอยู่จริง
ที่นี้ ประเด็นมีอยู่ว่า กองกำลังที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา จะได้รับคำสั่งให้ร่นถอยหรือลุยต่อข้างหน้าในการเผชิญหน้ากันหรือไม่ อย่างไร
เนื่องจากกลุ่มเหล่านี้ บางกลุ่ม นำโดยอิสราเอล ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ที่อิสราเอลต้องการเผชิญหน้าโดยตรงกับกองทัพและพันธมิตรของซีเรีย แต่สหรัฐฯจะตัดสินใจในการเลือกอยู่อีกฝ่ายหนึ่งนั้นก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง เพราะมันชัดเจนว่ากำลังเหล่านี้จะไม่สามารถเผชิญหน้ากับกองทัพซีเรียได้ หากปราศจากการสนับสนุนโดยตรงจากอเมริกา  และภายในเวลาอันสั้นก็จะถูกทำลาย
หลังจากความพ่ายแพ้ต่อเนื่องของพันธมิตรอาหรับในภูมิภาคและความขัดแย้งล่าสุดระหว่างพวกเขา  สหรัฐอเมริกาจึงไม่สามารถมั่นใจได้ว่า พวกเขาพร้อมที่จะปะทะกัน
สหรัฐอเมริกาตระหนักดีว่า ในสงครามตัวแทนต่อต้านอเมริกากับผู้สนับสนุนอิหร่านในซีเรียหรืออิรัก … ผู้สนับสนุนสหรัฐจะไม่มีโอกาสชนะได้เลย….
คำถามคือว่า ทรัมป์พร้อมที่จะเปลี่ยนนโยบายและส่งกองกำลังทหารสหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามโดยตรงหรือไม่  ?
Source: https://ir.sputniknews.com/opinion/201709102834985/