กลุ่มก่อการร้ายได้เปิดฉากการโจมตีมัสยิดในจังหวัดไซนายเหนือของอียิปต์ ด้วยระเบิดและปืน ความรุนแรงได้สังหารประชาชน (จำนวนล่าสุด) รวม 235 คน – สื่อของรัฐบาลระบุ ตามที่มีรายงานใน BBC
มัสยิด al-Rawda ในเมือง Bir al-Abed ถูกกำหนดเป้าหมายสำหรับการโจมตี ในช่วงพิธีละหมาดวันศุกร์ ที่ผ่านมา
เหตุการณ์ดังกล่าว นับเป็นการโจมตีที่ร้ายแรงที่สุดของการก่อการร้ายประเภทนี้ นับตั้งแต่มีการก่อกบฏอิสลาม ในคาบสมุทร เมื่อปี 2013
ประธานาธิบดีอียิปต์ Abdul Fattah al-Sisi สาบานที่จะตอบโต้กลับด้วย “กำลังอย่างโหดเหี้ยม” หลังจากพูดคุยกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
ขณะนี้ ยังไม่มีกลุ่มใดอ้างความรับผิดชอบต่อการโจมตี อย่างไรก็ดีกลุ่มก่อการร้ายในเครือ ISIS ภายใต้ชื่อ Wilayat al-Sinai (อำนาจรัฐแห่งไซนาย) คือ กลุ่มปฏิบัติการที่มีส่วนรับผิดชอบต่อหลายเหตุโจมร้ายแรงต่างๆที่ผ่านมาในจังหวัดดังกล่าว
พวกเขามักมุ่งเป้าการโจมตีไปที่กองกำลังรักษาความปลอดภัย และโบสถ์คริสเตียน ขณะที่การโจมตีโชกเลือดยังมัสยิดที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับมุสลิมในสำนักคิดซูฟีย์ ได้สร้างความตระหนกตกใจให้แก่ประเทศอียิปต์
เกิดอะไรขึ้น?
พยานเหตุการณ์กล่าวว่า มือปืนหลายสิบคน มาถึงสถานที่เกิดเหตุด้วยยานพาหนะออฟโรด และทิ้งระเบิด ในมัสยิดที่เต็มไปด้วยผู้คน ก่อนที่จะเปิดฉากยิงผู้ที่มาละหมาด ขณะพวกเขาพยายามหลบหนี
มีรายงานว่า ผู้ร้ายได้จุดไฟเผายานพาหนะที่จอดอยู่รอบบริเวณใกล้เคียง เพื่อกีดกันทางเข้าถึงมัสยิด
ภาพจากสถานที่เกิดเหตุ แสดงให้เห็น แถวของเหยื่อจากเหตุความรุนแรง ภายในมัสยิด อย่างน้อยที่สุดมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 100 คน
“พวกเขายิงผู้คน ขณะที่กำลังหลบหนีออกจากมัสยิด” ชาวท้องถิ่นที่มีญาติพี่น้องอยู่ที่นั่น บอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์ “พวกเขายิงรถพยาบาลด้วย” เขากล่าวเสริม
เหตุการณ์ดังกล่าว เป็นการโจมตีก่อการร้ายที่ร้ายแรงที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์อียิปต์สมัยใหม่ ทั้งนี้ เมืองBir al-Abed ตั้งอยู่ห่างจากกรุงไคโร ประมาณ 130 ไมล์ (211 กิโลเมตร)
ใครคือกลุ่มเป้าหมาย?
ชาวอียิปต์ชี้ว่า ประชาชนผู้เลื่อมใสในสำนักคิด ซูฟีย์ คือ กลุ่มที่มักจะมารวมตัวกันสักการบูชาพระเจ้าอย่างสม่ำเสมอในมัสยิดแห่งนี้
อนึ่ง ซูฟีย์ เป็นอีกหนึ่งสำนักคิดในศาสนาอิสลาม และเป็นอีกหนึ่งนิกายที่แตกออกมาจากนิกายซุนนี่อิสลาม โดยทั่วไปชาวซูฟีย์ จะถูกรู้จักในฐานะผู้นับถือศาสนาที่มีความลึกลับ ถือสันโดษ และมีความสมถะเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับผู้คนจากสำนักคิดอื่นๆ
แม้ว่าสำนักคิดซูฟีย์ จะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในหลายประเทศมุสลิม แต่กลุ่มหัวรุนแรงสุดโต่ง บางราย รวมทั้ง IS กลับไม่ยอมรับ และถือว่าพวกเขาจัดอยู่ในกลุ่ม “พวกนอกรีต”
กลุ่มก่อการร้ายของอียิปต์คือใคร?
แกนนำของกลุ่มIS ในจังหวัดไซนาย กล่าวเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้วว่า ผู้นับถือซูฟีย์ ที่ไม่ยอม “กลับตัวสำนึกผิด” จะถูกฆ่า หลังจากที่ทางกลุ่ม ได้ตัดศีรษะชายสูงอายุสองคน ที่มีรายงานกล่าวว่า ทั้งสองเป็นนักการศาสนาจากสำนักคิดซูฟีย์
นอกจากนี้ เหยื่อของการโจมตีมัสยิดดังกล่าว ยังรวมถึงทหารเกณฑ์ด้วย
ใครอาจเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการโจมตี?
กลุ่มกองกำลังอิสลามิสต์ในเครือ ISIS ภายใต้ชื่อ Wilayat al-Sinai (อำนาจรัฐแห่งไซนาย) ได้ก่อการจลาจลขึ้น ณ คาบสมุทรไซนายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การโจมตีโผล่ขึ้นมา หลังจากที่กองทัพอียิปต์ล้มล้างประธานาธิบดี โมฮัมเหม็ด มอร์ชิ ภายหลังจากการประท้วงต่อต้านรัฐบาลในเดือนกรกฎาคม 2013
ตำรวจ ทหาร และพลเรือนหลายร้อยคน เสียชีวิตตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยส่วนใหญ่ เป็นการโจมตีโดยกลุ่มปฏิบัติการในเครือ IS ที่ประจำการอยู่ในจังหวัดไซนาย
ในเดือนกันยายน มีตำรวจอย่างน้อย 18 นาย ถูกสังหาร ขณะที่ทางกลุ่มได้โจมตีขบวนรถใกล้อัลอาริช
นอกจากนี้ กลุ่มประจำจังหวัดไซนายยังได้โจมตีอย่างร้ายแรงไปยังชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาคริสต์ ของภาคส่วนอื่นๆในประเทศอียิปต์อย่างต่อเนื่องด้วย นอกจากนี้ พวกเขายังอ้างว่า ตนเป็นผู้ระเบิด เครื่องบินขนส่งนักท่องเที่ยวของรัสเซียในไซนาย เมื่อปี 2015 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิต 224 ราย
พวกเขาดำเนินปฏิบัติการอยู่ในไซนายเหนือ ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ ภายใต้การประกาศภาวะฉุกเฉิน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2014 เมื่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 33 คน ถูกสังหารในการโจมตีโดยกลุ่มดังกล่าว
กลุ่มปฏิบัติการในจังหวัดไซนาย คิดว่าต้องการควบคุมคาบสมุทรไซนาย เพื่อเปลี่ยนให้มันกลายเป็น “รัฐอิสลาม” ปกครองโดย IS
ไซนายทางตอนเหนือ ยังไม่ได้รับการนำเสนอข้อมูลผ่านทางสื่อมวลชนใดๆในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ไม่มีองค์กรสื่อใดได้รับอนุญาตให้ไปที่นั่น แม้แต่สื่อมวลชนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ
ความถี่ของการโจมตี ทำให้เกิดคำถามไปยังประสิทธิภาพของปฏิบัติการทางทหาร ขณะที่กองทัพออกแถลงการณ์ทุกครั้งคราว โดยอ้างถึงชัยชนะของตน เหนือเขตพื้นที่บางส่วนของไซนาย ทั้งนี้ดูเหมือนว่าการสู้รบระหว่างกองทัพกับกลุ่มก่อการร้ายจะไม่มีทีท่าสิ้นสุดลง
จุดยุทธศาสตร์ไซนาย
เป็นที่น่าสังเกตว่า คาบสมุทรไซนาย คือ จุดยุทธศาสตร์ที่เป็นที่ต้องการของรัฐอิสราเอล เพื่อขยายดินแดนของตนอีกด้วย
ตามที่ระบุโดย บิดาแห่งการก่อตั้งลัทธิไซออนิสต์(อิสราเอล) Theodore Herzl กล่าวในบันทึกประจำวันฉบับสมบูรณ์ของเขา ฉบับที่ II, หน้า 711 ว่า “เขตของรัฐยิว กินพื้นที่ตั้งแต่:” ลำธารแห่งอียิปต์ไปยังยูเฟรติสต์ ” และตามที่กล่าวโดย Rabbi Fischmann” สมาชิกของหน่วยงานชาวยิวเพื่อปาเลสไตน์ประกาศในคำให้การกับคณะกรรมการพิเศษของสหประชาชาติ ในการสืบสวนเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 1947 กล่าวว่า- “ดินแดนที่ถูกสัญญา กินพื้นที่จากแม่น้ำ(ไนล์)ในอียิปต์ จรดยูเฟรติสต์ ซึ่งมันยังประกอบไปด้วย บางส่วนของซีเรีย และเลบานอน ”
ดังนั้น เมื่อพิจารณาในบริบทปัจจุบัน สงครามกับเลบานอนในปี 2006 และสงครามกับประเทศลิเบียในปี 2011 ไปจนถึงสงครามที่ยังคงดำเนินอยู่ในซีเรียและอิรัก และสงครามเยเมน รวมไปถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในอียิปต์ จึงจำเป็นต้องถูกทำความเข้าใจ โดยการเชื่อมโยงมันเข้ากับแผนการและเป้าหมายของอิสราเอลสำหรับตะวันออกกลาง
ส่วนหนึ่งของกลวิธีเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายการขยายดินแดนนั้น อิสราเอลมีความตั้งใจจะทำให้ประเทศอาหรับอ่อนแอลง และท้ายที่สุด ต้องถูกแบ่งแยกออกเป็นรัฐเล็กๆ และแน่นอนจะไปถึงจุดนั้นได้ อิสราเอลจำเป็นต้องอาศัย “ตัวแทน” และพันธมิตรเพื่อเดินเกมนี้ให้แก่ตน
โปรดจำไว้ว่า กลวิธีนี้เป็นส่วนสำคัญของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ นั่นคือเจตนาของวอชิงตันในการแบ่งแยก และครอบงำตะวันออกกลาง
เราเห็นได้ว่า จากพัฒนาการล่าสุด ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ยืนยัน การสนับสนุนการตั้งถิ่นฐานที่ผิดกฎหมายของอิสราเอล และการคัดค้านของเขาต่อมติ 2334 ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งการกระทำดั่งกล่าว ถือเป็นการยืนกรานปล่อยให้อิสราเอลกระทำผิดกฎหมายในการตั้งถิ่นฐานและยึดครองเขต West Bank
แทบไม่ต้องพูดถึง “สงครามต่อต้าน การก่อการร้าย” ที่ได้อนุมัติให้สหรัฐฯ สามารถยกทัพไปประจำการอยู่ทั่วภูมิภาคตะวันออกกลางในการต่อกรกับกลุ่มผู้ก่อการ้าย ซึ่งมีหลักฐานมากมายยืนยันว่า เป็นกลุ่มที่สหรัฐฯ และพันธมิตร สร้างขึ้น และให้การสนับสนุนอย่างแข็งขัน ทั้งทางด้านอาวุธ และการเงิน เพื่อให้เราสามารถเห็นภาพสถานการณ์ในตะวันออกกลางโดยรวมได้ เมื่อพิจารณาถึงผลประโยชน์ที่อิสราเอลจะได้รับจากความอ่อนแอของภูมิภาคอาหรับ
จากประเด็นนี้ เราได้ข้อสรุปประการหนึ่งโดยการศึกษาข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่ว่า กลุ่มก่อการร้าย ที่ปรากฏตนอยู่ในตะวันออกกลาง คือ หมาก ตัวหนึ่งของอิสราเอล และสหรัฐฯ ทั้งนี้ ISIS เองก็เป็นขบวนการก่อการร้าย ที่ไม่เคยโจมตีอิสราเอล และยังได้รับทุนมากมายจากซาอุดิอาระเบียที่เป็นพันธมิตรกับอิสราเอลอีกด้วย
มุมมองดังกล่าว ยังสอดคล้องกับทัศนะคติของกองกำลังฮิซบุลลอฮ์ของเลบานอน ที่มีต่อเหตุการณ์ความไม่สงบต่างๆที่เกิดขึ้นในภูมิภาค โดยฝีมือของกลุ่มก่อการร้าย ISIS และพันธมิตร โดยฮิซบุลลอฮ์ได้ออกมาประณามเหตุระเบิดก่อการร้ายครั้งนี้ในอียิปต์ พร้อมกับระบุว่า เหตุการณ์ก่อการร้ายในอียิปต์เป็นผลมาจากแนวคิดตักฟีรีย์และวะฮาบี (ที่เติบโตมาจากซาอุดิอาระเบีย)
แถลงการณ์ฮิซบุลลอฮ์ กล่าวว่า “อาชญากรรมนี้สอดคล้องกับอาชญากรรมที่กำหนดเป้าหมายโดยศัตรูของเรา (อิสราเอลและพันธมิตร)ในภูมิภาคของเรา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความวุ่นวายและหวาดผวา และเป้าหมายของการก่ออาชญากรรมดังกล่าวคือทำให้ประเทศอาหรับและประเทศอิสลามไม่มั่นคง“
นอกจากนี้ คาบสมุทรไซนาย ยังเป็นจุดยุทธศาสตร์สำหรับความกังวลด้านความมั่นคงของอียิปต์ บนพรมแดนด้านตะวันออกซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 6% ของดินแดนภายในประเทศ และมีพรมแดนยาวติดกับประเทศอิสราเอลกว่า 200 กิโลเมตร ความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของไซนาย วางอยู่บนการเฝ้าดูสถานการณ์เหนือคลองสุเอซ ซึ่งถือได้ว่า เป็นเส้นทางการเดินเรือที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของการค้าระหว่างประเทศ
ขณะที่คาบสมุทรไซนายเคยถูกอิสราเอลยึดครองไว้สิบปี สมัยสงคราม 6 วัน ยิว-อาหรับ ทั้งนี้อิสราเอลตกลงที่จะถอนตัวออกจากพื้นที่ดังกล่าว หลังจากที่ได้รักษาวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงทางยุทธศาสตร์ไว้เรียบร้อยแล้ว โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง Camp David เมื่อปี 1979
การรับประกันความมั่นคงกลางของสนธิสัญญาสันติภาพ คือการทำให้ไซนายเป็นอิสระ เป็นเขตพื้นที่แนวกันชนระหว่างกระทรวงมหาดไทยของอียิปต์และอิสราเอล ข้อตกลงระบุ ข้อจำกัดของการปรากฏตัวของทหารอียิปต์ในคาบสมุทร
อย่างไรก็ตาม ในการตอบสนองไปยังปฏิบัติการของกลุ่มผู้ก่อการร้ายอิสลามในเมืองไซนาย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อิสราเอลได้ให้ความยินยอมหลายต่อหลายครั้ง ในการเพิ่มจำนวนทหารของอียิปต์ ในช่วงยุค ของMubarak และ Morsi และให้มีความเข้มงวดมากขึ้น นับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2013 ของอียิปต์
ถึงกระนั้น อิสราเอลก็คัดค้านการปรากฏตัวทางทหารอย่างถาวรในคาบสมุทร ซึ่งอาจเปลี่ยนความสมดุลเชิงยุทธศาสตร์ ณ ที่นั่นได้ ดังนั้นการพลิกผันของกองกำลังอียิปต์ อุปกรณ์ทางทหารที่หนักหน่วง และตารางเวลาสำหรับการยกทัพ และการถอนกำลัง จึงต้องมีการประสานงานกับอิสราเอลอยู่เสมอ
การเปลี่ยนแปลงความกังวลด้านยุทธศาสตร์ ขณะที่อิสราเอลเข้าใจพัฒนาการด้านการเมืองของอียิปต์ ได้นำพาอิสราเอลและระบอบการปกครองทางทหารของอียิปต์ในปัจจุบันเข้าใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น เมื่อพิจารณาถึงเป้าหมายและสิ่งที่พวกเขาต้องการ
ทั้งนี้มีรายงานกล่าวว่า อิสราเอลยังเคยให้การสนับสนุนรัฐประหารในอียิปต์ ร่วมกับซาอุดิอาระเบีย โดยได้ให้เงินหลายพันล้านดอลลาร์แก่รัฐบาลของพลเอก เอล ซีซี (el-Sisi) ขณะที่การรัฐประหารเป็นเรื่องหายนะสำหรับชาวปาเลสไตน์ เพราะพลเอกเอลซีซี ได้ปิดกั้นพรมแดนอียิปต์ / กาซ่า ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่ชาวปาเลสไตน์ส่วนใหญ่ใช้ทำการขนส่ง เพื่อสนองไปยังคำยืนกรานของอิสราเอล
นโยบายของทั้งสองฝ่ายที่มีต่อเมืองไซนาย อย่างไรก็ตาม เป็นไปเพื่อสร้างความเสียหายในหมู่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรซินาย ประชากรชาวกาซ่า และในท้ายที่สุด อาจส่งผลลัพธ์ ที่เป็นอันตรายมากกว่าการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้แก่ความมั่นคงของอิสราเอลและอียิปต์ในระยะยาว