บทความ: สื่ออเมริกันผลักดัน “โรคหวาดกลัวอิสลาม” นานกว่าศตวรรษ- ตั้งแต่ปี 1863

724

World’s Fair – งานแสดงสินค้าระดับโลก เมื่อปี 1893 ที่จัดขึ้นในชิคาโก เป็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ ที่ซึ่ง แบรนด์ที่มีชื่อเสียงหลายแบรนด์ในปัจจุบัน อย่างเช่น  Juicy Fruit, Shredded Wheat, และ แพนเค้กผสมของ “Aunt Jemima” ทำการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของตนอย่างเป็นทางการ มันเป็นเทศกาลอีเวนท์ ที่ถูกจัดขึ้นยาวนานถึง 6 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม วันที่ได้รับการจัดให้เป็นงานมหกรรมนิทรรศการ Columbian Centennial แห่งปีที่สี่ ซึ่ง “การค้นพบ” โลกใหม่ของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสในปี 1492 ก็ได้รับการเฉลิมฉลองเช่นเดียวกัน

ชิคาโกกลายเป็น “เมืองสีขาว” ด้วยกับงานหินนีโอคลาสสิกที่ถูกประดับประดาอย่างสวยงามท่วมท้นสวนสาธารณะไฮด์ปาร์ค (Hyde Park) นาย Carter Harrison นายกเทศมนตรีชิคาโก ณ เวลานั้น ถึงขั้นกล่าวว่า แม้แต่กรุงเอเธน ในยุครุ่งเรืองที่สุดของจักรวรรดิ์กรีก ก็ไม่อาจมีความงดงาม เทียบเท่ากับชิคาโกในช่วงงานเทศกาล World’s Fair [1] นอกจากนี้ โฆษก อย่างเช่น นาย Frederick Douglass ยังได้พูดต่อต้านวาระการแบ่งแยกเชื้อชาติของงานเทศกาล รวมถึง การกล่าวประณาม ภาพการเหยียดสีผิวของสินค้าจากแบรนด์ Aunt Jemima ขณะที่ Midway Plaisance หรือ “ตลาดแห่งชาติ” ก็ถูกเติมให้เต็มไปด้วย “อาคารที่แปลกใหม่” ซึ่งแสดงลักษณะสถาปัตยกรรมของดินแดนที่ห่างไกล อาทิ จีน อียิปต์ ตุรกี และอินเดีย

หนึ่งในอาคารเหล่านี้ ประกอบด้วยมัสยิดสไตล์ออตโตมัน ซึ่งประดับประดาด้วยโคมไฟระย้า และพรมเปอร์เซีย การประกาศเรียกร้อง (อาซาน) ให้ทำนมัสการ (ละหมาด) ประจำมัสยิดแห่งนี้ จะดำเนินการทั้งสิ้นเป็นจำนวนห้าครั้งต่อวัน ขณะที่ชาวมุสลิมจากทั่วทุกมุมโลก ที่อาศัยอยู่ในชิคาโกจะรวมตัวกัน เพื่อทำการสวดมนต์ และนมัสการ [2] รอบๆบริเวณมัสยิด จะมี ‘ตลาดโอเรียนเต็ล’ ขนาดใหญ่ โดยมีพ่อค้าจากทั่วโลกมุสลิม รวมตัวกันอยู่ที่นี้ พวกเขาจะขายผ้าคลุม อาหาร และหนังสือ นับได้ว่า วัฒนธรรมอิสลามเป็นจุดศูนย์กลางของเวที สำหรับให้ทั่วโลกสามารถเรียนรู้และเป็นสักขีได้อย่างแท้จริง

แม้ว่า งานเทศกาลนี้จะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1863 แต่รัฐสภาแห่งแรกของศาสนาต่างๆ จะไม่เริ่มต้นมัน จนกว่าจะถึงวันที่ 10 กันยายน ซึ่งพวกเขาจะเชิญชวนผู้คนจากทุกศาสนาไปยังงาน World’s Fair ในชิคาโก ดังกล่าวด้วย ทั้งนี้มีการโต้เถียงอย่างรุนแรง ก่อนที่รัฐสภาจะเริ่มต้นขึ้น เนื่องจากข้อเท็จจริง ที่ว่า คณะผู้แทนของกคริสต์ศาสนิกชนกลุ่มมอรมอน ถูกแบนไม่ให้เข้าร่วมรัฐสภา เนื่องจากท่าทีที่อื้อฉาวของคณะผู้แทนเกี่ยวกับการสมรสแบบ Polygamy (การมีคู่ครองมากกว่า 1 คน) การมีส่วนร่วมของผู้ที่ไม่ใช่ชาวคริสเตียนในรัฐสภาเป็นเรื่องยาก อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็ไม่ได้ขาดหายไปจากรัฐสภา แม้ว่าคณะกรรมการรัฐสภา จะส่งคำเชิญไปยัง Sayyed Ameer Ali นักกฎหมายและนักเขียนชาวอินเดีย และ Sayyed Ali Belghrami นักแปลและนักภาษาศาสตร์ชาวอินเดีย ซึ่งเป็นชาวมุสลิม ทว่าทั้งคู่ก็ปฏิเสธคำเชิญนั้น

มุสลิมเพียงคนเดียวที่พูดเกี่ยวกับอิสลามในรัฐสภา คือมุสลิมอเมริกัน เขามีชื่อว่า Muhammad Alexander Russell Webb เป็นชาวอเมริกันผิวขาว ที่เปลี่ยนศาสนามานับถืออิสลาม และเป็นอดีตนักการทูต Webb ขึ้นเวทีในวันที่ 20 และ 21 กันยายน สุนทรพจน์แรกของเขา มีชื่อว่า “The Spirit of Islam” (จิตวิญญาณแห่งอิสลาม) เกี่ยวข้อง กับการเรียกร้องให้ชาวตะวันตก เรียนรู้เกี่ยวกับศาสนาอิสลามมากขึ้น เนื่องจากเขาเองก็เคยเป็นคนที่เข้าใจอิสลามอย่างผิดๆ เหมือนกับเพื่อนพ้องชาวอเมริกันที่ไม่ใช่มุสลิมหลายคนๆ เขาเรียกร้อง ความจำเป็นในการมีทัศนะคติที่เปิดกว้างของผู้คนในสังคม  และเสรีภาพในการตรวจสอบความจริงทางศาสนา โดยปราศจากการกลั่นแกล้ง ศาสนาอิสลาม เช่นเดียวกับศาสนาคริสต์ สมควรได้รับการ “การพิจารณาตัดสินที่เป็นธรรม” ในหัวใจ และสำนึกคิดของชาวตะวันตกทั้งหลาย

ในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ “The Spirit of Islam” (จิตวิญญาณแห่งอิสลาม) – Webb ไม่ได้อายที่จะอภิปรายถึงหัวข้อที่นำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงของคณะผู้แทนจากคริสตศาสนิกชนกลุ่มมอรมอน Webb ระบุว่า การมีคู่ครองมากกว่า 1 คน หรือการสมรสแบบ polygamy ไม่ได้เป็น “ส่วนหนึ่งของระบบอิสลาม” [3] ที่ซึ่งชาวอเมริกันส่วนใหญ่ เชื่อว่า polygamy เป็นมาตรฐานของการแต่งงานในสังคมอิสลาม และเป็นข้อผูกมัดหนึ่งสำหรับมุสลิมทุกคน [4] แม้ว่า Webb อ้างว่า polygamy ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาอิสลาม แต่กระนั้น เขาก็ได้ระบุถึงสาเหตุที่มันได้รับการอนุมัติ ไม่ถือเป็นบาปในศาสนา ซึ่งเป็นขอบเขตที่มักถูกเข้าใจผิด

หนังสือพิมพ์ Chicago Tribune ตีพิมพ์ ภาพการร์ตูน เป็นรูปที่ดูคล้าย Webb ในชุดเสื้อคลุมสไตล์อาหรับ กำลังถูกผู้หญิงสูงวัยเขี่ยนตี โดยมีคำบรรยายว่า “การป้องกัน polygamy ของ Mohammad Webb ไม่ได้รับการตอบรับอย่างดีในที่ประชุมรัฐสภา”  ที่ซึ่งมันเป็นความจริง ฝูงชน ณ ที่นั่น เย้ยหยันเขาจนถึงจุดที่เขาจำเป็นต้องเปลี่ยนหัวข้อในการปราศรัย The Inter Ocean – หนังสือพิมพ์ในชิคาโก อ้างว่า Webb “สมควรได้รับการตำหนิที่เขาได้รับ” จากการพูดเรื่องที่อ่อนไหวเช่นนี้

สุนทรพจน์ที่สองของ Webb ว่าด้วยเรื่อง “อิทธิพลของศาสนาอิสลามต่อสภาพเงื่อนไขทางสังคม” ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีกว่าครั้งแรก แต่มันก็ยังคงถูกบดบัง หนังสือพิมพ์ตีพิมพ์เรื่องราวในทัศนะของพวกเขา – การปฏิเสธระบบ polygamy ของ Webb ที่ซึ่งตามมาตรฐานทางกฎหมายอิสลามนั้น ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ถูกผลักดันออกไป และคำพูดที่เป็นบวกของเขาเกี่ยวกับ polygamy ก็กลายเป็นข่าวพาดหัวแทน ประเด็นสำคัญอื่นๆ เช่น การเรียกร้องให้ผู้คนเปิดทัศนะคติก็ถูกละเลยเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ San Francisco Argonaut เป็นวารสารเดียวที่ไม่ได้โจมตี Webb โดยการรายงานว่า polygamy ในอิสลาม ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่า  “ความสะดวกสบายสำหรับหญิงชราและหญิงหม้าย” [5] นี่จะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย ที่เรื่องราวเกี่ยวกับชาวมุสลิมเข้าไปมีบทบาทในพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์อเมริกัน ในความเป็นจริง เราสามารถแกะรอย ความหลงใหล และความกลัวที่มีต่อศาสนาอิสลามของสื่ออเมริกัน ไปถึงยุคที่ทาสชาวมุสลิมผิวสี ถูกนำลงเรือ ส่งมายังอเมริกา ต่างสินค้า อย่างไรก็ตาม ภายหลังการกล่าวสุนทรพจน์ของ Webb อิสลามไม่ได้เป็นเพียงแค่ศาสนาสำหรับ “คนอื่น ๆ”อีกต่อไป แต่มันได้กลายเป็นศาสนาหนึ่งของชาวอเมริกัน

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ปี 1897 ในหนังสือพิมพ์ The Pacific ของฮาวาย มีเรื่องราวตีพิมพ์ที่เกี่ยวกับการโจรกรรมในโฮโนลูลู พร้อมกับโฆษณายา: “Nature’s Digestive Agent” และ “Hood’s Sarsaparilla” ภายในหน้าเดียวกับข่าวการโจรกรรม และโฆษณายาต่างๆ บทความ “The Bible and Islam” – พระคัมภีร์ไบเบิล และศาสนาอิสลาม ได้รับการตีพิมพ์ –  ผู้ประพันธ์เริ่มการเขียน โดยการยอมรับว่า ผู้อ่าน The Pacific หลายคน ไม่อ่านพระคัมภีร์ไบเบิล และเรียนรู้เกี่ยวกับศาสนาผ่านสื่อมวลชนทางโลก (secular) เท่านั้น The Pacific อ้างว่า “พระศาสดามูฮำหมัด” ได้รับเอาแบบแผน polygamy มาจากศาสดาดาวิดและโซโลมอน เป็นวิธีพฤตินัยที่อ้างว่า polygamy มีรากฐานจากเทววิทยาของ จูเดโอ-คริสเตียน

การเล่าเรื่องเกี่ยวกับ polygamy ในฐานะระบบที่มีไว้สำหรับความต้องการทางเพศของผู้ชาย ไม่ปรากฏอยู่ในบทความนี้ อย่างไรก็ดี ผู้เขียนอ้างว่า ภรรยาของพระศาสดามูฮัมหมัด “พูดจาหยาบคาย” กับเขา เรียกเขาว่า “คนแก่งี่เง่า” เหล่านี้ในขณะที่กำลังขว้างปาเฟอร์นิเจอร์ไปยังพระศาสดาอิสลาม การคลุมผ้าของสตรีมุสลิม จึงเป็นผลมาจากการที่มูฮัมหมัดจับได้ว่า ภรรยาของเขากำลังหยอกล้อกับชายอื่นระหว่างการปิกนิก บทความนี้จบลงด้วยการที่ ผู้เขียนทำให้เชื่อมั่นว่า ศาสนาอิสลามอยู่ห่างไกลจากฮาวาย และชาวบ้านไม่จำเป็นต้องกลัวการบุกรุกของชาวมุสลิม

The Pacific พิจารณาว่า หนังสือพิมพ์ศาสนา เป็นวิธีการที่ด้อยประสิทธิภาพ สำหรับให้ผู้คนเรียนรู้เกี่ยวกับศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนาอิสลาม หนังสือพิมพ์คริสเตียนไม่ได้ให้โอกาสที่ยุติธรรมแก่ศาสนาอิสลาม Presbyterian ของทางภาคใต้ เป็นหนึ่งในหนังสือพิมพ์ที่ Pacific ได้เตือนเกี่ยวกับสิ่งนี้ ในวันที่ 31 มกราคม 1912 บทความ “ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์” ได้รับการตีพิมพ์โดยหนังสือพิมพ์ในแอตแลนตา ผู้ประพันธ์ เขียนถึงศาสนาคริสต์ และอิสลามในมุมมองที่ขัดแย้ง โดยระบุว่า ศาสนาคริสต์กำลังอยู่ในสมรภูมิเพื่อแย่งชิงหัวใจของมนุษย์กับศาสนาอิสลาม [6] เขาอ้างว่า ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาของปีศาจ ผู้เขียนยังระบุด้วยว่า ศาสนาอิสลามถูกสร้างขึ้นด้วย “ความฉลาดที่ชั่วร้าย” และ “ความเจ้าเล่ห์ที่คลั่งไคล้”

สิ่งที่ศาสนาคริสต์ เรียกร้องเป็นไปอย่างเรียบง่าย ในทัศนะของผู้เขียนแล้ว คริสต์ศาสนาต้องการเพียงแค่มนุษย์ที่มี “หัวใจบริสุทธิ์” ในขณะที่ศาสนาอิสลามมี “ความต้องการที่ตรงข้าม” ซึ่งเป็นรูปธรรม และมีกลไก ศาสนาอิสลาม มีการนมัสการวันละ 5 เวลา ทุกวัน มีการถือศีลอด การแสวงบุญไปยังนครเมกกะ และพิธีกรรมทางศาสนาอื่นๆ ที่แสดงถึงความคลั่งไคล้ มีการแบ่งแยก “ทาสและสุลต่าน” ภายในศาสนาอิสลาม การไม่ยอมรับในแสงสว่าง และสัจธรรมของพระเยซูเจ้า ทำให้ชาวมุสลิมมีความเท่าเทียมกับมารร้าย หรือ ปีศาจ และสมควรถูกสาปส่งไปยังนรก

วิธีเดียวที่จะพิชิตชัยเหนืออิสลามในทัศนะของผู้เขียน คือการเปลี่ยนทวีปแอฟริกา ให้กลายเป็นทวีปคริสเตียน เพราะ “แอฟริกาจะเป็นสมรภูมิสุดท้ายระหว่างผู้เผยพระวจนะเท็จ และพระคริสต์” [7] ชาวคริสต์ ในสายตาของผู้เขียน จำเป็นต้องส่งออกมิชชันนารีที่มากขึ้น เพื่อการเผยแผ่ศาสนา และต่อสู้กับ “ความคลั่งไคล้ที่ไม่หวาดหวั่น” ของชุมชนมุสลิม ที่ได้ส่งนักเผยแพร่พระคัมภีร์ “อัลกุรอาน” ออกไป

หลังจากที่มีการดูหมิ่นศาสนาอิสลามอย่างยาวนาน และในบทความชิ้นอื่นๆ Anton Hulst จากโรงเรียนสอนศาสนา Presbyterian แห่งรัฐเคนทักกี ก็ได้เรียกร้องให้ชาวคริสเตียนบริจาคเงินจำนวนหนึ่งล้านเหรียญดอลลาร์ และแสวงหานักเผยแผ่ (มิชชันนารี) อีกกว่าแปดร้อยคน

บทความดังกล่าว ส่งผลทำให้ชาวคริสเตียนในพื้นที่เกิดความหวาดกลัว พวกเขากังวล จนกระทั่งไม่อาจขอสิ่งใด เว้นแต่เงิน และมิชชันนารี เพื่อส่งเสริมงานด้านการเผยแพร่ศาสนาของคริสตจักร  ในปี 1912 เช่นกัน เราพบเห็น สื่อสิ่งพิมพ์ Southern Herald ของรัฐมิสซิสซิปปี เผยแพร่บทความ “The Amazing Spread of Islamismการแพร่ขยายที่น่าตื่นตาตื่นใจของศาสนาอิสลาม” – ซึ่งอ้างว่า แอฟริกาจะเป็นศึก สำหรับผู้เปลี่ยนศาสนา ระหว่างศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลาม [8] “ผู้คลั่งไคล้ที่ตาบอด” ของศาสนาอิสลาม ผู้ซึ่งไม่มีทางยอมสละทิ้งความเชื่อของตนแม้เพียงเล็กน้อย ได้แพร่ขยายศาสนาของตนไปยังมาเลเซีย และอินเดีย สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับบทความนี้ คือ การที่ผู้เขียนอ้างว่า รัฐบาลอาณานิคมในยุโรป มีแนวโน้มที่จะสนับสนุน “ผู้คลั่งไคล้ที่ตาบอด” เหล่านี้ แทนที่จะขัดขวางพวกเขา

The Southern Herald ดูเหมือนจะเป็นกังวลเกี่ยวกับการหยุดยั้งลัทธิสุดโต่งคลั่งไคล้ มากกว่าการต่อต้านศาสนาอิสลามโดยทั่วไป ขณะที่ Sunday Star ของวอชิงตัน ดีซี กลับพยายามโหมกระพือความหวาดกลัวที่มีต่อลัทธิสุดโต่ง จากข่าวตีพิมพ์ในหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ The Evening Star เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1914 ภายใต้หัวข้อพาดหัว “ยุโรปทั้งหมดหวาดกลัวการคลี่ออก ที่เป็นไปได้ของธงสีเขียวแห่งพระศาสดาผู้ศักดิ์สิทธิ์”  บทความในหนังสือพิมพ์ อ้างถึงเรื่องราวเกี่ยวกับ “ธงสีเขียวของพระศาสดามูฮำหมัด” และชะตากรรมของจักรวรรดิออตโตมัน

เหตุผลที่สีเขียวเป็นสีที่สำคัญในศาสนาอิสลาม และสีของ “ธงชัยในศาสนาอิสลาม” ตามที่มีระบุในบทความนี้ เป็นเพราะ พระศาสดามูฮำหมัดสวมผ้าโพกหัวสีเขียว และเพื่อการอธิบายเพิ่มเติม ผู้เขียนกล่าวว่า พระศาสดาได้เลือกสีเขียว เพราะมันเป็น “สีสากลทางธรรมชาติ” [9] ส่วนต่อไปจากบทความ เป็นการแจ้งให้ผู้อ่านทราบเกี่ยวกับ เมืองศักดิ์สิทธิ์แห่งมหานครเมกกะ และมะดีนะ และวิธีการที่ “ธงเขียวลึกลับ” ถูกซ่อนจากสายตาของชาวมุสลิมที่เข้ามายังเมืองศักดิสิทธิ์ เพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ และกลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียวที่จะสามารถมองเห็นธงนี้ ก็คือบรรดาอิหม่ามสูงสุด(ผู้นำศาสนา) แห่งเมกกะ

ผู้เขียนบทความของหนังสือพิมพ์ Sunday Star ตั้งคำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอิมามผู้ศักดิ์สิทธิ์แห่งมะดีนะ และเมกกะ กับสุลต่านออตโตมัน โดยเชื่อว่าสุลต่าน Mehmed V จะขอร้องให้อิหม่ามจากทั้งสองเมืองศักดิ์สิทธิ์ผ่านกฎหมายเรียกร้องให้มุสลิมทั่วโลกปกป้องจักรวรรดิออตโตมัน ในช่วงสงคราม แม้มันจะมีความเป็นไปได้ ทว่าผู้เขียนกลับบกพร่อง กรณีที่ไม่ได้เข้าใจถึงขีดจำกัดของอำนาจที่มีอยู่ในประชาชาติอิสลาม โดยการเทียบเท่าอิหม่ามเมกกะและเมดินากับสมเด็จพระสันตะปาปาของคริสเตียน

“พวกทรราช คนเถื่อน ชาวมุสลิมแห่งเอเชีย, แอฟริกา” ไม่ได้ขึ้นกับคำร้องขอของสุลต่านแห่งออตโตมัน หรือ อิหม่ามแห่งนครเมกกะ ในความเป็นจริง หนึ่งในผลที่ตามมาจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งในบทความนี้ถูกตีพิมพ์ล่วงหน้าหลายเดือนก่อนการเกิดสงคราม คือ การล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมัน

เหตุใดบทความหนังสือพิมพ์ เกี่ยวกับอิสลามในช่วงต้นทศวรรษ 1900 และช่วงปลายทศวรรษที่ 1800 จึงเป็นเรื่องสำคัญ?

แน่นอนมันมีเหตุผลที่หลากหลาย ประการแรก เราได้เรียนรู้ว่า การตีความข้อมูลเกี่ยวกับศาสนาอิสลามที่ผิดพลาด ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่แต่อย่างใด ข่าวเท็จ หรือความคิดเห็นเชิงลบเกี่ยวกับมุสลิมและอิสลามที่ออกนอกหน้า ไม่ได้เริ่มต้นเผยแพร่หลังจากเหตุการณ์ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ตามที่หลายๆคนเข้าใจ หนังสือพิมพ์ ซึ่งไม่เพียงแต่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคในอเมริกาเท่านั้น ทว่าทั่วโลก ได้ถูกทำให้ท่วมท้นไปด้วยข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม และกลยุทธ์ หรือ ชั้นเชิงทางการเมืองที่ใช้ความกลัว เป็นเครื่องมือควบคุมผู้คน สอดแทรกอยู่ตั้งแต่ในอดีต เช่นเดียวกับในยุคปัจจุบัน

หนังสือพิมพ์ในวันก่อนๆ ทำให้เราได้เห็นความเป็นจริงทางการเมืองในอดีตที่ผ่านมา เมื่อเราขุดเอกสารเหล่านี้ขึ้นมา เราพบว่า มันไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ซึ่งเป็นเหตุผลที่สองว่า ทำไมหนังสือพิมพ์เหล่านี้จึงมีความสำคัญ ไม่มีงานเขียนเชิงลบใด ที่ทำให้เราแปลกประหลาดใจ ตัวอย่างเช่น การที่บาทหลวง จะนิยามว่า ศาสนาอิสลาม คือ ศาสนาของปีศาจ ยังคงเป็นหัวข้อในการพูดและอภิปราย สำหรับนักเทศน์ที่เกลียดชังชาวมุสลิมอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้

สมมติฐานที่ว่า ชาวมุสลิมเป็นพวกสุดโต่ง คลั่งไคล้ คือ เรื่องเล่าที่แพร่หลาย และถูกปลูกฝังไว้ในทัศนะคติของชาวคริสเตียน ทั้งในยุโรป และอเมริกา มานานหลายศตวรรษ ความกลัวของสังคม ที่มีที่มาจากอัตลักษณ์ของ “คนอื่น ๆ ” ขับเคลื่อนผู้คนไปสู่ความกลัวและความเกลียดชัง ซึ่งถูกแสดงออกมาในทางการเมือง และบทความที่ได้รับการตีพิมพ์

ชาวมุสลิมจะสามารถทำอะไรได้ นอกเหนือจากการดำเนินชีวิตต่อไปตามที่เราได้ทำมา เช่นที่มุสลิมได้กระทำมานับร้อยปี นับจากที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นอาชญากรรมในจินตนาการ? คำแนะนำที่ดีที่สุดมาจากพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน “สำหรับเจ้า เป็นศาสนาของเจ้า และสำหรับฉัน ก็เป็นศาสนาของฉัน” การเข้าใจถึงความแตกต่างทางศาสนาและทางการเมืองจะกลายเป็นเรื่องปกติ เช่นเดียวกับที่มันเกิดขึ้นในสมัยของพระเยซูและพระศาสดามูฮัมหมัด จิตวิญญาณเดียวกันที่นำพาชาวมุสลิม ชาวคริสเตียน ชาวพุทธ และประเพณีทางศาสนาอื่น ๆ เข้าด้วยกันในงาน World’s Fair เมื่อปี1893  ในชิคาโก เป็นความพยายามอย่างจริงใจในการส่งเสริมความเข้าใจและการคบหาสมาคมระหว่างผู้คนจากหลากหลายศาสนาและสำนักคิด

หากเราลองศึกษาประเพณีต่างๆทางศาสนา ด้วยเจตนาไม่เพียงแต่เพื่อค้นพบสัจธรรมแห่งชีวิต ทว่ายังเพื่อแสวงหาจุดร่วม กับผู้คนอื่นๆที่แตกต่าง ความเข้าใจ และการคบหาสมาคมระหว่างกันนี้ ก็จะเข้มแข็งขึ้น ไม่ว่าสื่อสิ่งพิมพ์จะตัดสินใจ ตีพิมพ์บทความที่เป็นลบ หรือสร้างความเกลียดชังระหว่างกันและกันมากเพียงใด  ความรักระหว่างมนุษย์จะได้รับการส่งเสริม และคงอยู่ต่อไป

………………………..

[1] Umar F. Abd-Allah, A Muslim in Victorian America: The Life and Times of Alexander Russell Webb, (New York, Oxford University Press, 2006), 214.

[2] Abd-Allah, The Life and Times of Alexander Russell Webb, 216.

[3] Abd-Allah, The Life and Times of Alexander Russell Webb, 239.

[4] Abd-Allah, The Life and Times of Alexander Russell Webb, 239.

[5] Abd-Allah, The Life and Times of Alexander Russell Webb, 241.

[6] The Presbyterian of the South, January 31st 1921.  

[7] The Presbyterian of the South, January 31st 1912.  

[8] The Southern Herald, February 16th 1912.

[9] The Sunday Star, November 13th 1914.

Source: Amir Webb 

Former Human Service professional in the Washington D.C. Area. Currently a researcher and essayist on history of religion and politics. Contributor to publications such as The Muslim Vibe and My Trending Stories.