ทำไม Facebook สั่งระงับบัญชี ผู้แฉ “องค์กรยิวก้าวก่ายการเลือกตั้งในอเมริกา” ??

611

สหรัฐฯกล่าวหา รัสเซียอย่างโจ่งแจ้งเป็นระยะเวลากว่าหลายเดือน ว่าก้าวก่ายการเลือกตั้งในอเมริกา ถึงแม้ว่าประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน จะออกมาปฏิเสธว่า รัสเซียไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตั้งข้อหาดังกล่าว โดยแม้แต่ โดนัลด์ ทรัมป์ ก็ออกมาแจงว่า ตนไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่ารัสเซียเกี่ยวข้อง และ FBI เองก็ไม่อาจหาหลักฐานเชื่อมโยงกรณีดังกล่าวได้ เพราะคอมพิวเตอร์ประมวลการเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้ง ไม่ได้ออนไลน์กับอินเตอร์เน็ต จึงไม่สามารถจะถูกใครแฮ็คข้อมูลได้เลย

อย่างไรก็ดี ในครั้งหนึ่ง ปูตินได้เคยกล่าวตอบโต้ โดยตั้งเป็นคำถามกลับไปยังสหรัฐฯว่า ‘ทำไมไม่สงสัยบ้างว่าพวกยิวอาจจะทำ?’ จนกระทั่งมีผู้ออกมาเปิดโปง ได้ข้อเท็จจริงเชื่อมโยงไปยังองค์กร Cambridge Analytica  ซึ่งมีส่วนก้าวก่ายการเลือกตั้งสหรัฐฯ และช่วยให้ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งที่ผ่านมา

Cambridge Analytica  คือ บริษัทอังกฤษฝ่ายขวา ที่มีกลุ่มยิวสนับสนุน และมีสำนักงานในกรุงลอนดอน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยให้ท้ายสตีฟ แบนนอน ขึ้นแท่นเป็นรองประธานาธิบดี บริษัทนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยให้พรรคการเมืองต่างๆ เจาะกลุ่มเป้าหมาย ผู้มีสิทธิ์โหวต ด้วยกับเนื้อหาข้อความที่ถูกออกแบบมาอย่างเฉพาะ ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนข้อมูลที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย

อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าล่าสุด เปิดเผยว่า บัญชี Facebook ของกลุ่มคนที่ออกมาแฉว่า ยิวอยู่เบื้องหลังการเลือกตั้งในอเมริกาให้สาธารณชนรับทราบ ในขณะนี้ถูกสั่งปิด โดยบริษัทผู้ให้บริการ

Facebook ระงับบัญชีของ Christopher Wylie ผู้ที่ออกมาเปิดโปง วิธีการซึ่ง Cambridge Analytica ครอบครอง และใช้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เฟสบุ๊กกว่าหลายสิบล้านราย ในทางที่มิชอบ ตามที่เฟสบุ๊กเปิดเผยในรายงานล่าสุดเมื่อวันพุธที่มาผ่าน

สองแหล่งข่าวดัง the Observer และ the New York Times เปิดเผยสิ่งนี้ในบทความที่ได้รับการเผยแพร่ ซึ่งกล่าวว่า Cambridge Analytica แอบครอบครอง และใช้ข้อมูลของผู้ใช้เฟสบุ๊กกว่า 50 ล้านราย (ล่าสุดเฟสบุ๊กเปิดเผยในรายงานจาก CNN ว่าบริษัทดังกล่าวครอบครองข้อมูลผู้ใช้จำนวนมากถึง 87 ล้านราย) ในทางที่มิชอบ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าว ได้ถูกรวบรวมผ่านทางแอปพลิเคชั่นเฟสบุ๊ก สำหรับใช้ทดสอบลักษณะนิสัย คิดค้นโดยนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ชื่อว่า Aleksadr Kogan ด้วยความช่วยเหลือของ Wylie

The Observer เขียนอธิบายว่า Wylie คือ พนักงานของบริษัท Cambridge Analytica ในช่วงเวลาที่ข้อมูลถูกนำออกมา ในปี 2014 แม้ว่าทางบริษัทจะออกมายืนยันว่า เขาเป็นเพียงผู้รับเหมา อย่างไรก็ตาม ตัวเขาเองระบุว่า เขาได้ช่วยพัฒนา เครื่องมือ “สงครามจิตวิทยา” ให้แก่ Cambridge Analytica

ในขณะนี้ Facebook ได้ระงับบัญชีของ Wylie บนเครือข่ายโซเชียล และในอินสตาแกรม ซึ่งเฟสบุ๊กเป็นเจ้าของ ขณะที่ Carole Cadwalladr นักข่าวชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นหัวหอกในการเสาะหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเปิดโปง Cambridge Analytica ให้แก่ the Observer และ NYT โพสต์ข้อความทวิตเตอร์ กล่าวว่า Wylie ยังถูกแบนจาก WhatsApp ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชั่นที่ Facebook เป็นเจ้าของอีกด้วย แต่ทว่า WhatsApp ได้ติดต่อมาทางสำนักข่าว Fortune ภายหลังจากนั้น พร้อมระบุว่า เหตุของการแบน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกรณีนี้

ในข้อความทวิตเตอร์ของ Wylie เขาระบุเป็นนัยว่า Facebook มีส่วนต้องรับผิดชอบ เพราะรับรู้มาโดยตลอดระยะเวลา 2 ปี ว่า Cambridge Analytica ได้ละเมิดกฎของ Facebook และกฎหมายจำนวนหนึ่ง แต่กลับไม่แจ้งให้ผู้ใช้ของตนทราบว่า ข้อมูลส่วนตัวของพวกเขาได้ถูกนำมาใช้อย่างมิชอบ

Facebook บอกกับ CBS News ว่า “นาย Wylie ปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือกับเรา จนกระทั่งเราจะยกเลิกคำสั่งระงับบัญชีของเขา”

“เมื่อพิจารณาจากที่เขากล่าวว่า เขาได้ ‘ใช้ Facebook เพื่อรวบรวมรายละเอียดของผู้คนนับล้าน’ เราจึงมิอาจทำสิ่งนี้(ยกเลิกการปิดบัญชีของเขา)ได้ในเวลานี้” บริษัทกล่าว

ไม่ว่า Facebook จะสามารถหาเหตุผลชอบธรรมให้แก่ตนสำหรับการระงับบัญชีของ Wylie ได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม การกระทำเช่นนั้น ก็ไม่อาจให้ผลที่เป็นบวกกับภาพลักษณ์ของทางบริษัทในขณะนี้ นักข่าว Cadwalladr กล่าวในทวิตเตอร์ของเธอว่า การแบน ผู้เปิดโปงความจริง ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน ในลักษณะเช่นนี้ ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่ “ไร้สามัญสำนึก” ของ Facebook

ขณะที่หลายฝ่าย รวมถึงนักวิชาการของไทย ตั้งข้อสังเกตว่า เหตุผลที่ทำให้ Facebook จำเป็นต้องสั่งระงับบัญชีของ Wylie เป็นเพราะ เจ้าของ Facebook หรือ นายมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เป็นยิว และรับนโยบายจากรัฐบาลยิวอิสราเอลมาบริหาร

“ใครก็ตามที่แฉเรื่องไม่ดีไม่งามของอิสราเอลจะถูกปิดหมด เห็นหรือยังครับ? นโยบายต่างประเทศของอิสราเอลกลายมาเป็น Community Standards ของโซเชียลมิเดียยี่ห้อ Facebook เพื่อปิดปากข่าวไปเรียบร้อยแล้ว อเมริกา อิสราเอลและ FB ไม่ได้ส่งเสริมเสรีภาพทางสื่อ (Free Press) อย่างที่เข้าใจกันผิดๆ โดยมาก” – อาจารย์ ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ นักวิชาการทางบูรพคดีศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล แสดงความเห็นบนโพสต์เฟสบุ๊กเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว

ย้อนไปในปี 2014- มันเป็นไปได้ที่ผู้ผลิตแอปพลิเคชั่นบน Facebook ในฐานะบุคคลที่สาม จะสามารถเข้าถึงรายละเอียดข้อมูล ของเพื่อนๆ ของบุคคลที่เข้าใช้แอปฯนั้นๆโดยสมัครใจ ดังที่เกิดขึ้นกับ แอปพลิเคชั่นแบบทดสอบลักษณะนิสัยของ Kogan ซึ่งมีผู้เข้าใช้งานแอปดังกล่าว เพียง 320,000 คนเท่านั้น อย่างไรก็ตามทาง Facebook ได้เพิกถอนความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลของแอปต่างๆไม่นานภายหลังจากนั้น ตามที่ Wylie ระบุ Facebook ได้อนุมัติให้ Kogan นำเอาข้อมูลทั้งหมดในช่วงเวลานั้นมาใช้ เพราะเขาอ้างว่า มันเป็นไปเพื่อการศึกษา

Kogan เป็นสมาชิกประจำคณะศึกษา จากทั้งในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ขณะที่ Cambridge Analytica ปฏิเสธว่า ยังคงครอบครองข้อมูลที่เขาเคยรวมรวมได้ และยังปฏิเสธอีกว่า ข้อมูลดังกล่าวถูกนำมาใช้ในการทำงานของบริษัท เพื่อช่วย Donald Trump ในแคมเปญหาเสียงก่อนการเลือกตั้งปี 2016

Source: fortune.com