เปิดยุทธศาสตร์ “Clean Break” to Dirty War (ตอน 1)

1281

ในการทำความเข้าใจวิกฤตในปัจจุบันที่เกิดขึ้นกับ อิรัก ซีเรีย และอิหร่าน เราจำเป็นต้องพิจารณาความเชื่อมโยงจากเลบานอน กรณีที่ทั้งสามประเทศมีอยู่ร่วมกัน สิ่งที่อ้างมานี้อาจฟังดูแปลกๆ..ก็แล้วมันจะมีข้อตกลงที่สำคัญอะไรขนาดนั้นเกี่ยวกับเลบานอน? ประเทศเล็ก ๆแห่งนี้ ไม่มีข่าiวพาดหัวบนหน้าหนังสือพิมพ์ระดับแนวหน้า นับตั้งแต่ที่อิสราเอลทิ้งระเบิด และเข้ามารุกรานในปี 2006

อย่างไรก็ตาม ในขอบเขตระดับกว้างแล้ว ความยุ่งเหยิงที่ชุ่มไปด้วยเลือด ซึ่งบัดนี้แพร่สะพัดอยู่ในตะวันออกกลางนั้น อันที่จริงหยั่งรากของมันอยู่ในเลบานอน หรือ ถ้าจะพูดให้ถูก มันมีที่มาจากนโยบายของอิสราเอลว่าด้วยเรื่องเลบานอน นั่นเอง..

ย้อนกลับไปยังสถานการณ์ก่อนยุคสงครามต่อต้านการก่อการร้าย (War on Terror) ในปี ค.ศ. 1995 นายยิตซัค ราบิน (Yitzhak Rabin) นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ซึ่งมุ่งเน้นการเจรจาสันติภาพ มากกว่าการใช้อาวุธและกองกำลัง ถูกลอบสังหารโดยกลุ่มยิวหัวรุนแรงปีกขวา เหตุการณ์ดังกล่าวเร่งรัดไปสู่การเลือกตั้งครั้งใหม่ ที่ซึ่งพรรคแรงงานของนายยิตซัคพ่ายแพ้ให้แก่พรรคลิคุด ทำให้อิสราเอลได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ “เบนจามิน เนทันยาฮู” ในปี ค.ศ 1996

ภายในปีนั้น กลุ่มงานวิจัยของกลุ่มชนชั้นสูง (elite)- “สถาบันยุทธศาสตร์ชั้นสูงและการเมืองศึกษา” (Institute for Advanced Strategic and Political Studies -IASPS) ได้จัดทำเอกสารนโยบายต่างประเทศ เพื่อเป็น “พิมพ์เขียว” ทางการเมืองให้รัฐบาลอิสราเอลชุดใหม่ ภายใต้การนำของ “นายเบนจามิน เนทันยาฮู” โดยเอกสารดังกล่าวมีชื่อว่า: “A Clean Break: A New Strategy for Securing the Realm.” (ตัดเป็นตัดตาย : ยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อการพิทักษ์ความมั่นคงอาณาจักร) ทั้งนี้ เครือสมาชิกของกลุ่มงานวิจัย Clean Break นับได้ว่า เป็นกลุ่มคนที่ค่อนข้างมีความสำคัญ อยู่ในระดับมันสมองของลัทธิไซออนิสต์นิยม ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มอนุรักษ์นิยมอเมริกัน ที่ภายหลังได้เข้ามาควบคุมกิจการสำคัญ ภายในสำนักงานระดับสูงต่างๆของคณะบริหารประธานาธิบดีบุช และทำหน้าที่ขับเคลื่อนบทบาทที่สำคัญในนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคตะวันออกกลาง

“A Clean Break” ให้คำแนะนำว่า การบริหารใหม่ของพรรคลิคุดจะต้องมีทัศนะคติที่พร้อมสำหรับการ “สลัดทิ้ง” นโยบายแบบเดิมของคณะบริหารพรรคแรงงาน ที่ผู้เขียนเอกสารระบุว่า เป็นสิ่งนำพา “ความเหนื่อยล้า” สู่ชาติอิสราเอล และทำให้อิสราเอลจำต้องตกอยู่ในภาวะ “ตั้งรับ” – นี่เป็นนัยยะแรกของคำว่า “Clean Break”  ซึ่งให้ความหมายถึง การตัดขาดอย่างเด็ดขาดจากอดีต ส่วนนัยยะในทางนโยบายระหว่างประเทศของอิสราเอลก็คือ:

“….การตัดขาดอย่างเด็ดขาดจากสโลแกนว่าด้วย ‘สันติภาพที่ครอบคลุม’ สู่คอนเซปต์ดั้งเดิมของยุทธศาสตร์ ที่มีพื้นฐานอยู่บนความสมดุลแห่งอำนาจ” โดยจะเป็นการนำอิสราเอลไปสู่นโยบายที่แข็งกร้าวมากยิ่งขึ้น

ยุทธศาสตร์นี้ จะทำให้การแสวงหาสันติภาพที่ครอบคลุมกับทุกๆประเทศเพื่อนบ้านอิสราเอลถูกละทิ้งไป และแทนที่ด้วยการสร้างสันติภาพเฉพาะกับบางประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น ( ณ ที่นี่ คือ จอร์แดนและตุรกี) โดยที่ในขณะเดียวกัน อิสราเอลก็จะทำการต่อต้านอย่างแข็งขันไปยังประเทศอื่นๆ (ณ ที่นี่ หมายถึง อิรัก ซีเรีย และอิหร่าน)

น้ำหนักของพันธมิตรในทางยุทธศาสตร์ จะเป็นจุดสมดุลของอำนาจ ในความเห็นชอบของอิสราเอล ซึ่งจะทำให้อิสราเอลสามารถใช้อำนาจดังกล่าว ทำการโค่นล้มระบอบการปกครองของฝ่ายตรงข้าม หรือศัตรูในทางยุทธศาสตร์ได้ ด้วยการใช้กองกำลังตัวแทน (proxy forces) และ “หลักการชิงลงมือก่อน” ที่มีการจัดการอย่างลับๆ – โดยผ่าน “การวาดแผนที่ตะวันออกกลางขึ้นมาใหม่” อิสราเอลจะกลายมาเป็น “ผู้กำหนดสภาพแวดล้อมในภูมิภาค” และด้วยประการฉะนี้ อิสราเอลจะไม่เพียงแต่สามารถควบคุมทิศทางของศัตรูของตนได้เท่านั้น แต่ยังสามารถ พิชิตชัยเหนือพวกเขาได้

ยุทธศาสตร์ “Clean Break” สำหรับอิสราเอล (และสหรัฐฯ) คล้ายคลึงกับนโยบาย “เลือดและเหล็ก” (Blood and Iron) ในสุนทรพจน์ของ “ออตโต ฟอน บิสมาร์ค” (Otto von Bismarck) ผู้สถาปนาจักรวรรดิเยอรมนี และนำไปสู่เส้นทางสงคราม ที่ทำให้ยุโรปต้องลุกเป็นไฟ นั่นก็คือนโยบายที่ว่าด้วย “สงครามและการสู้รบ” เท่านั้น ตามที่ บิสมาร์คได้เคยประกาศว่าไว้:

“มิใช่เพราะการปราศรัย และความคิดเห็นของส่วนใหญ่ (การลงคะแนนเสียง) ที่ทำให้ปัญหาที่ยิ่งใหญ่ของวันนี้ มีทางออก – นั่นคือความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ในปี 1848 และ 1849 แต่ต้องใช้เลือดและเหล็กต่างหาก”

ก่อนการนำพาอิสราเอลและสหรัฐฯไปสู่เส้นทางสงคราม ที่จะทำให้โลกตะวันออกกลางลุกเป็นไฟ โดยพื้นฐานแล้ว ผู้เขียน Clean Break ได้ให้คำอธิบายยุทธศาสตร์ใหม่นี้ในลักษณะที่คล้ายกัน คือ:  มิใช่ผ่าน ข้อตกลงสันติภาพ ที่จะทำให้ปัญหาที่ยิ่งใหญ่ของวันนี้ได้รับทางออก – นั่นเป็นความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ของปี 1978 (ที่ค่าย David) และ 1993 (ที่ออสโล) – แต่โดยการ “แบ่งแยกและปกครอง” และการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองต่างหาก กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ โดยผ่านการสงคราม ทั้งในรูปแบบที่ก้าวร้าว (“ชิงลงมือก่อน”) และในรูปแบบที่ “สกปรก” (ซ่อนเร้น และใช้ตัวแทน) เพื่อโค่นล้มระบอบการปกครองทั้งหลายที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อความมั่นคงของตนเท่านั้น ที่จะช่วยนำพาอิสราเอลไปสู่จุดมุ่งหมายสูงสุดได้

“A Clean Break” มุ่งเน้นไปที่การขจัด “ซัดดัม ฮุสเซน” ออกจากอิรัก ในฐานะวาระแรกที่จะต้องดำเนินการ สำหรับแผนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ประเด็นนี้มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาจากกรณีที่สมาชิกกลุ่มผู้เขียนนโยบาย “Clean Break” หลายคน มีบทบาทสำคัญในการบีบและล็อบบี้สหรัฐฯ ให้บุกอิรัก และโค่นล้มซัดดัมในอีก 7 ปีต่อมา หลังจากที่มันถูกเขียนขึ้น

Richard Perle

“ริชาร์ด เพิร์ล” (Richard Perle) ประธานกลุ่มงานศึกษาเอกสาร Clean Break  เป็นผู้ริเริ่มเชิญชวนไปสู่แผนการจัดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองอิรัก ซึ่งเริ่มต้นเมื่อช่วงทศวรรษที่ 1990 ในแผนงาน เพื่อศตวรรษใหม่ของอมริกัน และในโครงการวิจัยสำหรับคลังสมอง (Think Tanks) ต่างๆของกลุ่มอนุรักษ์นิยมใหม่ (Neo-con) และในขณะที่ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาระดับสูงของกระทรวงกลาโหม ริชาร์ด เพิร์ล ยังเป็นผู้ช่วยประสานให้แนวคิดอนุรักษ์นิยมใหม่ เข้ามามีบทบาทควบคุมนโยบายต่างประเทศในคณะบริหารรัฐบาลบุช และผลักดันมันไปสู่สงครามในอิรัก

นอกจากนี้ เขายังมีบทบาทสำคัญ เป็นรัฐบุรุษอเมริกัน และอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีกลาโหมด้านยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ ในยุคปธน.โรนัลด์ เรแกน อีกด้วย

Douglas Feith

ผู้เขียนอีกคน คือ Douglas Feith เป็นผู้อยู่ในความคุ้มครองของเพิร์ล และเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ในการทำรัฐประหารของกลุ่มอนุรักษ์นิยมใหม่  หลังจากเหตุการณ์ 9/11 ขณะอยู่ภายใต้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมด้านนโยบาย  Feith ได้สร้างสำนักงานลับเพนตากอนสองแห่ง ซึ่งเป็นสำนักงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนการเตรียมแผนงานต่างๆ รวมถึงการเข้าไปมีบทบาทในการเลือก รับ-ใช้- เชื่อ- ข้อมูลเพียงบางเฉพาะที่สนับสนุนแนวคิดอนุรักษ์นิยม และละทิ้งประเด็นอื่นๆที่เป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม และเสริมสร้างรูปแบบการนำเสนอแบบใหม่ให้แก่หน่วยข่าวกรอง CIA และแพนตากอน เพื่อให้งานของพวกเขา เอื้อต่อการประกาศสงครามกับอิรัก

“สำนักงานว่าด้วยแผนการพิเศษ” ของ Feith มีบทบาทครอบงำหน่วยข่าวกรอง ในการส่งเสริม ความโป้ปดในกรณีอื้อฉาวที่ว่า ซัดดัมครอบครองอาวุธลับ เพื่อใช้สำหรับโปรแกรมการทําลายล้างขั้นสูง ซึ่งแสดงถึงภัยคุกคามทางเคมี ชีวภาพ และนิวเคลียร์ เรื่องโกหกนี้เอง เป็นเหตุผลหลัก ที่รัฐบาลบุชอ้างต่อประชาคมโลกในการทำสงครามกับอิรัก

“กลุ่มการประเมินผลการต่อต้านลัทธิก่อการร้าย” ของ Feith – ได้สืบค้นข้อมูลในถังขยะของ CIA เพื่อปะติดปะต่อทฤษฎีสมคบคิดต่างๆ ซึ่งจะเชื่อมโยงอิรักของซัดดัม ฮุสเซน เข้ากับ ขบวนการอัลกออิดะห์ ของอุซามะห์ บิน ลาดิน – นอกจากนี้ Perle ยังได้จัดวางให้กลุ่มการประเมิน ดังกล่าวนี้ เชื่อมต่อกับนายอะฮ์หมัด ชาลาบี (Ahmed Chalabi)  ผู้ซึ่งต่อต้านการปกครองของซัดดัม และถูกเนรเทศออกจากอิรัก เพื่อให้เข้ามาช่วยผูกเรื่องทฤษฎีสบคบคิดเหล่านี้ให้แนบเนียน และนำมาใช้ได้จริงยิ่งขึ้น

David Wurmser

งานสกปรกโดยส่วนใหญ่ของกลุ่มที่ว่ามานี้ จะดำเนินการโดยมี David Wurmser เป็นผู้รับผิดชอบ เขาเป็นอีกคนหนึ่งที่อยู่ในความคุ้มครองของเพิร์ล และเป็นผู้เขียนหลักอีกคนหนึ่งของเอกสาร “A Clean Break”

Wurmser จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้สนับสนุนหลัก 2 ราย ในการก่อสงครามอิรัก ภายในรัฐบาลบุช คือ: John Bolton ประจำกระทรวงการต่างประเทศ และรองประธานาธิบดี Dick Cheney

สงครามอิรักที่เกิดขึ้นตามมา นับเป็นการนำเอายุทธศาสตร์ Clean Break ไปสู่การปฏิบัติจริง สงครามดังกล่าว ได้ทำให้จุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในอิรักของ Clean Break บรรลุผลสำเร็จ จุดนี้เอง ที่ “การวาดแผนที่ตะวันออกกลางใหม่” เริ่มต้นขึ้น และการเริ่มทำศึกสงครามก่อนของบุช ก็ได้ทำให้ Clean Break บรรลุจุดมุ่งหมายในการ “สถาปนาหลักการชิงลงมือก่อนใหม่” อีกครั้ง

ทำไมผู้เขียนยุทธศาสตร์ Clean Break ให้แก่รัฐบาลบุช และเนทันยาฮู จึงต้องการทำลายอิรักเป็นอันดับแรก?

เอกสารชิ้นนี้ระบุว่า ชัดว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครองในอิรัก ถือเป็น “วิธีการ” หลัก ในการ “สร้างความอ่อนแอ จำกัดวง และบั่นทอนอำนาจของซีเรีย”  กล่าวคือ การโค่นล้มซัดดัมในอิรัก เป็นเพียงการก้าวไปสู่การจัดการและโค่นล้ม “ตระกูลอัล-อัสซาด” ในประเทศเพื่อนบ้านซีเรีย เพราะสำหรับผู้เขียน “Clean Break” แล้ว : “ศัตรูของอิสราเอลยังคงเป็นซีเรีย แต่ทว่าเส้นทางสู่ดามัสกัสต้องวิ่งผ่านแบกแดด”

โดยแผนนี้ได้ยอมรับว่า แม้ว่าทั้งสองจะจัดอยู่ในระบอบสังคมนิยม ทว่าซัดดัมกับอัสซาดก็มีความเป็นศัตรูมากกว่าที่จะเป็นพันธมิตร ยุทธศาสต์ Clean Break มีแผนจะดำเนินการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮาชิไมต์ (Hashemite) ขึ้นมาปกครองอิรักแทน (ราชวงศ์เดียวกับที่ปกครองจอร์แดนขณะนี้ ซึ่งสหรัฐฯให้การสนับสนุน และโปรอิสราเอล) สาเหตุเพราะ ฮาชิไมต์ หรือ “ฮาชีมี” นั้นก็คือผู้ที่อยู่ในสายตระกูลเดียวกับศาสดามูฮัมหมัด คือตระกูลบานีฮาชิม โดยในแผนระบุว่า ชาวมุสลิมชีอะห์นั้นเคารพในสายเลือดของศาสดามูฮัมหมัด ดังนั้นจึงจะใช้ราชวงศ์ฮาชิไมต์ที่มีสายเลือดศาสดาควบคุมความคิดของมุสลิมชีอะห์ที่เป็นประชาชนในอิรัก และหลังจากนั้น จะใช้อิทธิพลของพวกเขาที่ต่อนักการศาสนาอิรัก ทำการแทรกแซงผู้นับถือศาสนาเดียวกันในซีเรียให้ลุกขึ้นล้มระบอบอัสซาด

ข้างต้นนี่ คือสิ่งที่แผนการควรจะเป็นไป อย่างไรก็ดี พวกเขาได้ดำเนินการในอีกรูปแบบหนึ่ง กลุ่มอนุรักษ์นิยมใหม่ได้ทำตามฝัน ที่ซึ่งนักโทษหลบหนี ชาลาบี (Chalabi) ได้ขายให้แก่พวกเขา -โดยการสร้างท่อเชื่อมระหว่างโมซุล สู่ฮัยฟา

แม้ว่ามันจะไม่ต่อเนื่องกัน ทว่าการเข้าไปในซีเรียผ่านอิรัก ก็เป็นสิ่งที่กลุ่มอนุรักษ์นิยมใหม่ต้องการ และจุดนี่ก็เป็นประเด็นที่สำคัญมาก สำหรับพวกเราในบริบทของวันนี้ เพราะตอนนี้ สหรัฐฯได้เริ่มต้น แผนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของซีเรียอย่างเต็มกำลังแล้ว แม้กระทั่งในรัฐบาลโอบามา (จนต่อเนื่องมาถึงรัฐบาลทรัมป์) ที่เข้ามาแทนที่รัฐบาลของจอร์จ ดับเบิยู บุช

วอชิงตันกำลังดำเนินการตามเป้าหมายดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยความร่วมมือกับตุรกี จอร์แดน และรัฐอ่าว ในการสนับสนุนการประท้วงต่อต้านอัสซาด อันนำไปสู่สงครามกลางเมืองที่กระหายเลือดภายในซีเรีย และด้วยเหตุนี้เอง ที่ผู้สนับสนุนบินลาเดนส่วนใหญ่ (ขบวนการอัลกออิดะห์ในซีเรีย และ ISIS) ได้เริ่มต้นก่อเหตุรุนแรงต่างๆ

โอบามา จึงขึ้นแท่นกลายเป็นผู้ดำเนินตามแผน Clean Break ชั้นกิตติมศักดิ์ เพราะเขาได้ทำให้จุดมุ่งหมายว่าด้วยการ “บั่นทอนอำนาจของซีเรีย” ด้วยการใช้ยุทธศาสตร์ Clean Break ที่เกี่ยวกับ “ความสมดุลย์แห่งอำนาจ” (โดยการเลือกเป็นพันธมิตรร่วมกับบางรัฐมุสลิมเท่านั้น และปรับใช้กลยุทธ์สงครามพร็อกซี และซ่อนเร้น ด้วยวิธีที่สกปรก) ทั้งนี้แน่นอนว่า กลุ่มอนุรักษ์นิยมใหม่ คือ กลุ่มอิทธิพลที่คอยผลักดันให้นโยบายนี้ ดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและกว้างขวางเพิ่มขึ้น

และแม้แต่อิสราเอลเอง ยังนำตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรงกับสงครามนี้ โดยการส่งมอบ ความช่วยเหลือทางการแพทย์ให้แก่บรรดากบฎซีเรีย รวมถึงนักรบอัลกออิดะฮ์

อีกหนึ่งเป้าหมายที่ได้ถูกจำแนกไว้โดย แผน Clean Break คือ อิหร่าน – ประเด็นนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะในขณะที่กลุ่มอนุรักษ์นิยมใหม่กำลังกุมบังเหียนเหนือคณะบริหารบุช พวกเขาก็เกือบจะนำสหรัฐฯไปสู่การประกาศสงครามกับอิหร่าน ในวิกฤตเกี่ยวกับการครอบครองและผลิตอาวุธทำลายล้างสูง (WMD)

ในขณะที่รัฐบาลโอบามากำลังจะสรุปข้อตกลงสันติภาพกับรัฐบาลอิหร่านในกรุงเตหะราน กลุ่มอนุรักษ์นิยมใหม่ และนายเนทันยาฮู (นายกรัฐมนตรีในขณะนี้อีกครั้ง) ก็ดึงเอาข้อเสนอทั้งหมดมาสู่จุดจบ โดยการยุติข้อตกลงทั้งหมด และนำสหรัฐฯและอิหร่านกลับเข้าสู่สภาวะตึงเครียดที่อาจนำไปสู่การปะทะกันอีกเช่นเดิม

นอกจากนี้ กลุ่มอนุรักษ์นิยมใหม่ ยังคอยให้ท้ายการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯที่มีต่อซาอุดิอาระเบีย ในสงครามเยเมนที่โหดร้ายและทารุณ ในความต้องการฟื้นฟูอดีตเผด็จการในประเทศดังกล่าว ที่สหรัฐฯให้การสนับสนุน ด้วยเหตุผลเพียงเพราะ กลุ่มกบฎ “Houthi” ที่โค่นล้มเขา และยึดครองเมืองหลวงซานาเอาไว้ได้ เป็นมุสลิมนิกายชีอะฮ์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ถูกสันนิษฐานว่าเป็น ตัวแทน (พร็อกซี) ของชีอะฮ์อิหร่าน ดังนี้ จากมุมมองที่เหมือนกันของกลุ่มอนุรักษ์นิยมใหม่ และซาอุดิอาระเบีย สงครามเยเมนจึงได้รับการพิจารณา ในฐานะ สงครามเพื่อต่อต้านอิทธิพลและการขยายตัวของอิหร่าน

แบกแดด เป็นจุดจอดเพื่อเติมเชื้อเพลิง บนถนนสู่ดามัสกัส และซานาเป็นจุดจอดเพื่อเติมเชื้อเพลิงบนถนนสู่กรุงเตหะราน อย่างไรก็ตาม สำหรับ บรรดาผู้สนับสนุนและเห็นด้วยกับเอกสาร Clean Break แล้ว ทั้งดามัสกัสและเตหะราน เป็นเพียงจุดจอดเพื่อเติมเชื้อเพลิงบนถนนสู่เบรุต

อ้างอิงจาก “A Clean Break” – ความไม่พอใจหลักของอิสราเอลที่มีต่ออัสซาด เกิดจากการที่

“ซีเรียท้าทายอิสราเอลบนดินแดนเลบานอน”

และความระทมทุกข์ของมันที่มีต่อการกระทำของผู้นำสูงสุด (Ayatollah) คือ การที่อิหร่าน เช่นเดียวกับซีเรีย เป็นหนึ่งใน:

“… ตัวการหลักที่มีบทบาทสำคัญในการรุกรานเลบานอน … “

ประหนึ่งว่าทุกๆการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจะนำไปสู่เลบานอน สิ่งนี้จึงนำพาเรากลับไปสู่คำถามแรก ในตอนเริ่มต้นของบทความชิ้นนี้ “มันมีข้อตกลงอะไรกันแน่เกี่ยวกับเลบานอน” ?!?….

(อ่านต่อ ตอนจบ คลิก: เปิดยุทธศาสตร์ “Clean Break to Dirty Wars” ในอิรักและซีเรีย (ตอนจบ))

_________________________________________

บทความชิ้นนี้เรียบเรียงจากงานเขียนโดย 

Also published at DanSanchez.methe Ron Paul InstituteLewRockwell.comZero HedgeDavid Stockman’s Contra CornerVoices of Liberty, and Medium.com.

This essay was discussed on the Ron Paul Liberty Report:

Thank you for reading. I work at the Mises Institute where I run the Mises Academy, an e-learning program for Austrian economics and libertarian political philosophy. I am a columnist for Antiwar.com and my essays have appeared atMises.orgLewRockwell.comThe Ron Paul Institute, and David Stockman’s Contra Corner. I have given lectures and conducted interviews for the Mises Institute and appeared on The Scott Horton Show and The Tom Woods Show. You can find all of my essays, lectures, and interviews at DanSanchez.me, you can follow me viaTwitterFacebookTinyLetter, and Medium, and you can email me at dan-at-mises.org.