ในแต่ละปี ผู้ลี้ภัยหลายพันคนพยายามนำพาตัวเองไปยังประเทศแอฟริกาเหนือ เพื่อเดินทางไปยังประเทศในแถบยุโรป ผ่านการมีส่วนร่วมของนักค้ามนุษย์จากทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่การเดินทางนี้ โดยทั่วไปจะอาศัยเรือที่ไม่ได้มาตรฐานเป็นพาหานะ ซึ่งมีความเสี่ยง ทำให้หลายหมื่นคนต้องสูญเสียชีวิตระหว่างการเดินทางในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ผู้อพยพจำนวนมากเหล่านี้ มีความเสี่ยงต่อการอพยพและหลี้ภัยออกจากบ้านเมืองและประเทศของตน แต่ต้องการอพยพ เนื่องจากปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศรวมถึงสงครามและความอดอยาก ทั้งนี้ยังมีบางส่วนได้รับอิทธิพลและแรงดึงดูดจากสถานที่น่าสนใจ ผ่านการโฆษณาชวนเชื่อ ด้วยความหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถใช้ชีวิตในความมั่งคั่งและความสะดวกสบายในประเทศแถบยุโรป
ลิเบียเป็นจุดที่สำคัญที่สุดของการส่งผู้ลี้ภัยข้ามชาติในแอฟริกาเหนือ
วันนี้ลิเบียกลายเป็นศูนย์กลางของผู้ลี้ภัยชาวแอฟริกันและผู้อพยพจากประเทศในเอเชีย เนื่องจากมีระยะทางกับประเทศในยุโรปที่ไม่ไกลห่างนัก และขาดรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง ซึ่งนอกเหนือจากนั้นแล้วชาวเอเชียมีข้อได้เปรียบในการเข้าพักในยุโรป และเนื่องจากว่าพวกเขาไม่สามารถเดินทางไปยังประเทศในยุโรปได้โดยวิธีการทางกฎหมาย จึงพยายามจ่ายเงินให้กับผู้ค้ามนุษย์ในการเดินทางผ่านทะเล เพื่อให้ตนได้ไปถึงยังยุโรปผ่านน่านน้ำ หรือที่เรียกว่า “สวรรค์บนน้ำ” โดยให้ความสนใจกับข้อเท็จจริงที่ว่า ไม่มีใครที่จะให้ความสุขกับพวกเขาและนอกเหนือจากนั้นแล้ว ท้องทะเลนี้ก็ยังเป็นสถานที่ที่โหดร้ายมากสำหรับพวกเขา
ผู้ลี้ภัยมากกว่า 700,000 คนอาศัยอยู่ในลิเบีย
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการย้ายถิ่นฐาน (IMO) กล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า มีผู้อพยพผิดกฎหมายจำนวน 704,000 คนจาก 40 ประเทศอาศัยอยู่ในลิเบีย ในขณะที่ประชากรลิเบียมีจำนวนน้อยกว่าเจ็ดล้านคน
รายงานระบุว่า 63% ของผู้ลี้ภัยในลิเบียมาจากทะเลทรายซาฮาราแอฟริกา 29% จากแอฟริกาเหนือและ 8% จากตะวันออกกลางและประเทศในเอเชีย
ในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา มีผู้ลี้ภัยราว 33,000 คน จมน้ำในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการย้ายถิ่นฐาน ในปลายปี 2017 รายงานว่า ตั้งแต่ปี 2000 ถึง 2017 ผู้ลี้ภัยกว่า 33,000 คนที่พยายามหลบหนีไปยังยุโรปได้จมน้ำตายในทะเลเมดิเตอเรเนียน ตามสถิติและรายงานระบุว่า ” เมดิเตอร์เรเนียนมีอัตราการเสียชีวิตสูงสุดในโลกในฐานะเขตพื้นที่ชายแดน”
อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตว่า กระบวนการอพยพจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปยังยุโรป นับตั้งแต่ปี 2011 หลังจากการล่มสลายของระบอบการปกครองของมูอัมมาร์ กัดดาฟีได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากพรมแดนทางทะเลอยู่อยู่ภายใต้การควบคุมของอดีตรัฐบาลกลางของประเทศลิเบีย แต่เมื่อรัฐบาล กัดดาฟีล่มสลาย รัฐบาล Muluk al-Tawaiifi ขึ้นมามีอำนาจในลิเบียและแม้แต่กลุ่มติดอาวุธในลิเบียก็ถูกกล่าวหาว่าลักลอบค้ามนุษย์
ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา ผู้ลี้ภัยเกือบ 800 รายเสียชีวิตในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
องค์การสหประชาชาติกล่าวว่า ผู้อพยพผิดกฎหมายจำนวน 785 ราย เสียชีวิตตั้งแต่ต้นปี แต่จำนวนผู้เสียชีวิตดูเหมือนจะสูงขึ้นมาก ในขณะที่คณะกรรมาธิการผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ประกาศในวันที่ 1 กรกฎาคม ว่า ผู้อพยพที่ได้รับการช่วยเหลือในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในช่วงสองสามวันที่ผ่านมา โดยอ้างจากผู้อพยพดังกล่าวระบุว่า มีผู้อพยพจำนวน 220 รายที่ต้องการเดินทางไปยังประเทศยุโรป จมน้ำตายในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและใกล้กับชายฝั่งทะเลของประเทศลิเบีย
ไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาเรืออพยพอับปางและ มีผู้ลี้ภัยจมน้ำตายใกล้กับชายฝั่งตูนิเซีย กว่า 70 คน
ในทางตรงกันข้าม หน่วยรักษาความปลอดภัยฝั่งลิเบียได้ประกาศเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ว่า สามารถให้การช่วยเหลือชาวแอฟริกันจำนวน 301 คนที่กำลังขี่เรือสองลำ แต่เครื่องยนต์เกิดอาการขัดข้องได้อย่างปลอดภัย อัยยูบ กอซิม โฆษกยามชายฝั่งของประเทศลิเบียกล่าวว่า ในจำนวนดังกล่าวมีผู้อพยพหญิงสามคน เด็ก 46 คนและผู้อพยพมาจาก 12 ประเทศในแอฟริกา สถิติแสดงให้เห็นว่าจำนวนผู้ที่ตกเป็นเหยื่อในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีจำนวนสูงกว่าตัวเลขและผู้ลี้ภัยหลายสิบคนในทะเลเมดิเตอเรเนียนตายทุกปี โดยไม่มีใครค้นพบศพของพวกเขาและคิดว่าพวกเขาหายสาบสูญไป
แขกที่ไม่ได้รับเชิญและพยายามส่งตัวกลับ
สำนักข่าวเอเอพพีเพิ่งรายงานเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนว่า เรือกู้ภัยส่วนตัวสามารถช่วยเหลือผู้ลี้ภัย 629 ราย จากทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และพวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ลงจอดบนดินแดนอิตาลี จึงมุ่งหน้าไปยังเกาะมอลตา ซึ่งรายงานว่า ในมอลตาเองก็ทำการต่อต้านการเทียบจอดเรือผู้อพยพลำดังกล่าว
กลุ่มผู้ช่วยเหลือในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนยังประกาศด้วยว่า เรือลำหนึ่งของกลุ่มนี้มีประมาณ 400 คน ได้ขึ้นเรือลาดตระเวนชายฝั่งอิตาลี ลูกเรือยังได้ช่วยเหลือผู้อพยพผิดกฎหมายจำนวน 229 คนที่พยายามเข้าฝั่งอิตาลี รวมทั้งมีเด็ก 123 คนและหญิงตั้งครรภ์ 7 ราย
ตอนนี้กลุ่มดังกล่าวกำลังตกอยู่ภายใต้ความกดดันเพราะรัฐบาลอิตาลีสัญญาว่าจะหยุดกระบวนการรับเข้าพักในค่ายผู้ลี้ภัยซึ่งเป็นเหตุให้เรือไม่สามารถขึ้นเรือได้
อิตาลีเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับผู้อพยพไปยังยุโรป
สำนักข่าว อัลญาซีร่า รายงาน ตามที่ฟิลิปป์ ฟอร์ก นักรายงานขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการย้ายถิ่น กล่าวในปี 2017 ผู้ลี้ภัยและอพยพเกือบ 161,000 คนเดินทางมายังยุโรปทางทะเล ซึ่ง 75% เดินทางมายังอิตาลี ส่วนที่เหลือไปที่กรีซ ไซปรัสและสเปน และประมาณสามพันคนที่พยายามเดินทางมาถึงอิตาลีได้จมน้ำตายในทะเล
การล่วงละเมิดผู้ลี้ภัย
หลายคนในประเทศแอฟริกาเหนือ เช่นลิเบียและในประเทศยุโรปมองผู้ลี้ภัยเหล่านี้ว่าเป็นแขกที่ไม่ได้รับเชิญ และสำหรับบางคน มองว่าการปรากฏตัวของคนเหล่านี้ถือเป็นภัยคุกคามต่อชุมชน และสังคมของพวกเขา และโดยทั่วไปไม่มีทัศนคติในเชิงบวกต่อพวกเขา
ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา สื่อในแอฟริกาเหนือได้รายงานเรื่องการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมในหลายประเทศ รวมทั้งสเปน
นอกจากนี้ยังกล่าวว่า มีบางกลุ่มในลิเบียได้พยายามใช้ประโยชน์จากสภาวะที่ไม่มั่นคงของประเทศ นี้เช่นเดียวกับเงื่อนไขที่เลวร้ายของผู้ลี้ภัย พวกเขาจะถูกทำร้ายและทรมาน ไม่กี่เดือนที่ผ่านมามีรายงานระบุว่า มีความพยายามจะนำเอาผู้อพยพเหล่านี้เป็นทรส แต่ทางการออกมาปฏิเสธ
ความพยายามของยุโรปในการหยุดยั้งการอพยพในแอฟริกาเหนือ
ประเทศในยุโรปไม่เต็มใจที่จะยอมรับผู้ลี้ภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ลี้ภัยชาวแอฟริกัน ดังนั้นจึงมีความเข้มแข็งในการลาดตระเวนชายฝั่งทะเลและทางเรือและพยายามป้องกันไม่ให้ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยเข้าสู่ดินแดนของตนจากทางที่เป็นไปได้
นอกจากนี้ ประเทศในยุโรปได้จัดประชุมกับเจ้าหน้าที่แอฟริกาเหนืออย่างสม่ำเสมอในประเด็นการลี้ภัย และพยายามโน้มน้าวให้พวกเขามีอำนาจควบคุมพรมแดนทางทะเลของตนได้มากขึ้นและป้องกันไม่ให้ผู้อพยพผิดกฎหมายเข้ามาในยุโรป และได้มีการสร้างค่ายเพื่อป้องกันสิ่งนี้
นายอาเหม็ด โอยาห์ยา นากยกรัฐมนตรีแอลจีเรีย ได้วิพากษ์วิจารณ์นโยบายการอพยพของชาติยุโรปเมื่อสองสามวันก่อนว่า แอลจีเรียไม่สามารถเล่นบทบาทเป็นโล่ป้องกันภัยน้ำท่วมของผู้อพยพไปยังยุโรปได้
มีข้อสังเกตว่า วันนี้ปัญหาของผู้ลี้ภัยและผู้อพยพผิดกฎหมายได้กลายเป็นหนึ่งในความกังวลที่สำคัญที่สุดของเจ้าหน้าที่ยุโรป เช่นเดียวกับของประเทศแอฟริกาเหนือ นี่เป็นผลมาจากความวุ่นวายทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของหลายประเทศในภูมิภาคโดยเฉพาะประเทศในแอฟริกา และตราบเท่าที่ปัญหาของประเทศเหล่านี้ยังไม่สิ้นสุด ก็ไม่มีความหวังว่าจะมีการตัดทอนการหลั่งไหลเข้ามาของแรงงานข้ามชาติได้ ถึงแม้ว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยจะสามารถทำให้รัดกุมได้เพื่อไม่ให้เคลื่อนย้ายในระดับระหว่างประเทศต่างๆเป็นไปอย่างง่ายดาย แต่นี่ไม่ใช่ทางออกสุดท้าย
ตามที่ IRNA รายงาน ประเทศในยุโรปและประเทศที่มั่งคั่งควรช่วยฟื้นฟูเสถียรภาพและความมั่นคงให้กับประเทศที่ยากจนที่สุด เพื่อทำให้ประชาชนของประเทศเหล่านี้ไม่เสี่ยงเอาชีวิตของตนเข้าสู่อันตรายและเข้าไปยังยุโรป….