การ คว่ำบาตรสินค้ามาเลเซียคือการโต้ตอบ อย่างไม่เป็นทางการของนักธุรกิจชาวอิหร่าน ต่อการรณรงค์ต่อต้านชีอะฮล่าสุดของพรรค UMNO ซึ่งได้ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ยางมูลค่ากว่า 2 ล้านริงกิตมาเลเซีย นอนแน่นิ่งอยู่ในคลังสินค้าแถบประเทศตะวันออกกลางไม่คาดคิด
อา ซีซี อะฮ์หมัด ผู้บริหารบริษัท มาเลเซีย-อิหร่าน คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การคว่ำบาตรไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจาก เตหะราน แต่เป็นความคิดริเริ่มของประชาชนในอิหร่าน ที่ไม่พอใจกับ การรณรงค์เพื่อทำลายชื่อเสียง ชิอะห์อิสลาม ซึ่งเป็นนิกายที่แพร่หลายในประเทศอิหร่าน
“ตั้งแต่ มีการรณรงค์ต่อต้านชิอะฮในประเทศมาเลเซีย เมื่อปีที่แล้ว นักธุรกิจชาวอิหร่านก็ปฏิเสธที่จะซื้อสินค้าทำเองของมาเลเซีย” อาซีซี บอกกับ สำนักข่าว Malaysian Insider ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ บริษัทอื่นที่มีการเชื่อมโยงกับรัฐบาลเองก็ดูเหมือนจะกำลังเผชิญกับปัญหา เช่นเดียวกันกับธุรกิจขนาดเล็กของอาซีซี เช่นเดียวกัน
เขากล่าวว่า ความจริง ที่ผู้นับถือนิกายชีอะห์ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากอุลามาอฺของพวกเขา ซึ่งต่างจากชาวมุสลิมสุหนี่
ประเด็นนี้อาจจะทำให้มาเลเซีย ประสบกับปัญหาร้ายแรง หากเกิดการเรียกร้องการคว่ำบาตรใดๆ
“เมื่อ ไหร่ก็ตามที่อุลามาอฺของพวกเขาเริ่มประกาศว่า อิหร่านควรจะหยุดการซื้อขายกับมาเลเซีย เราจะอยู่ในปัญหาร้ายแรงทันที” เขากล่าวเพิ่มว่าเขาเคยได้ยินข่าวลือดังกล่าวแล้ว
อา ซีซี กล่าวว่าอุปสรรคที่เขาต้องเผชิญนั้น ไม่เพียงแต่ในประเทศอิหร่านเท่านั้น แต่ที่บ้านก็เช่นเดียวกัน บางคนได้กล่าวหาว่าเขาเข้าข้างชีอะฮ เพราะความสัมพันธ์ของเขากับอิหร่าน
“ผม ได้ฟ้องร้องอุลามา สำหรับการสร้างเรื่องราวกล่าวหาผม เขาทำให้ผู้คนรังเกียจและหลีกเลี่ยงที่จะทำการคบค้าสมาคมกับผม” นักธุรกิจกล่าว
เขากล่าวเสริมอีกว่า นอกจากนี้ ธุรกิจของเขายังได้รับผลกระทบ จากการกล่าวหาที่ไม่มีน้ำหนักไร้ซึ่งแก่นสารต่างๆ ของอุลามาอีกด้วย
เจ้า หน้าทีประจำสถานทูตอิหร่านในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เองก็ได้ยอมรับว่า การค้าระหว่าง มาเลเซียและอิหร่านได้ลดลงในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้
อย่างไร ก็ตาม เจ้าหน้าที่ (ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม) กล่าวว่าเขาไม่เคยได้ยินเรื่องการคว่ำบาตรสินค้ามาเลเซียจากชุมชนธุรกิจชาว อิหร่านแต่อย่างใด
เขา กล่าวว่า ธุรกิจขนาดเล็กกว่า อาจจะได้รับผลกระทบ เพราะปัจจัยอื่น ๆ เช่น จากการกระจายการค้ากับประเทศอื่น ๆ ไปยังแหล่งวัตถุดิบอื่น ๆ ของอิหร่าน
ใน การประชุมทั่วไปของ UMNO ปีที่ผ่านมา รองประธานพรรค Datuk Seri Ahmad Zahid Hamidi เป็นตัวการโจมตี ผู้นับถือนิกายชีอะห์ ในการเคลื่อนไหวเพื่อให้มีประเด็นร่วมกับผู้นำระดับสูงของพรรคอิสลาม มาเลเซีย (PAS)
โดยส่วนใหญ่ แล้ว ชาวมุสลิมมาเลเซีย จะนับถือนิกายซุนหนี่ และหากมีใครต้องการตัดสินใจ จะเปลี่ยนเป็นนิกายชีอะห์ ทุกคนจะถูกวิพากษ์วิจารณ์และได้รับการลงโทษอย่างหนัก
อุลามาอฺท้องถิ่นเอง ในมัสยิดและสุเหร่า ก็ทำการโจมตีชีอะ์ และอธิบายในฐานะศัตรูของศาสนาอิสลาม ผ่านการสอนต่างๆด้วยเช่นกัน
ใน วันจันทร์ The Malaysian Insider ได้รายงานว่าการรณรงค์ต่อต้านชิอะห์ โดยปุตราจายา(ศูนย์ราชการส่วนกลาง) ต้องรับกรรมที่ก่อไว้ โดยมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ด้วยความเสียหายที่รัฐบาลต้องจ่ายกว่า ล้านริงกิต ทั้งยังต้องกดดันให้รัฐมนตรี ขอความช่วยเหลือจากผู้นำ PAS เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศอีก
Dr Syed Azman Ahmad Nawawi หัวหน้ากรมธุรกิจระหว่างประเทศ PAS กล่าวว่ารัฐมนตรีได้ขอความช่วยเหลือจากเขา เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้ เป็นบทเรียนราคาแพง ว่าด้วยการโต้ตอบของอิหร่าน ต่อการรณรงค์ต่อต้านชิอะฮในมาเลเซีย
“ผู้ เสียหายที่ใหญ่ที่สุด คือ Petronas ที่มีการสำรวจน้ำมันในอิหร่าน ซึ่งได้ประสบกับอุปสรรคมากมาย จากรัฐบาลอิหร่าน ในขณะเดียวกันกับที่ บริษัทอเมริกัน อย่าง Esso และ Conoco กำลังหาวิธีเข้ามาในประเทศ” Syed Azman กล่าวเพิ่ม
ความสัมพันธ์ ระหว่างเตหะรานและวอชิงตันและชาติตะวันตกอื่นๆ ที่ได้พัฒนาขึ้นตามมาจากชัยชนะในการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้วของ เชค Hassan Rouhani ที่ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีแทนที่ มะฮ์หมูด อามาห์ดีเนจาด
ซัยยิด อัสมาน พร้อมกับ ผู้นำระดับสูงของ PAS อื่นๆ รวมถึงประธาน PAS ดร เซอรี อับดุลฮาดี อาวัง และรองของเขา มูฮำหมัด ซาบู มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับผู้นำการเคลื่อนไหวอิสลามทั่วโลก รวมทั้งอิหร่านด้วย
นอก เหนือจาก Petronas อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของประเทศเองก็ได้รับความเดือดร้อนเช่นกัน เนื่องด้วย อิหร่านเลือกที่จะเสาะหาแหล่งอื่น เพื่อตอบสนองความต้องการของตน
ระหว่าง เดือนมกราคมและเดือนพฤศจิกายน ปีที่ผ่านมา อิหร่านนำเข้าน้ำมันปาล์มจำนวน 671,384 ตัน จากมาเลเซีย ซึ่งนี่ทำให้สาธารณรัฐอิสลามเป็นหนึ่งในผู้นำเข้าที่ใหญ่ที่สุด ของน้ำมันปาล์มมาเลเซีย
ปลาย ปีที่แล้ว เชค Jalaluddin Ash-Shoghiran สมาชิกรัฐสภาอิรัก กล่าวว่ารัฐบาลมาเลเซียเป็นเจ้าแรกในโลกที่ประกาศอย่างเป็นทางการว่าชีอะฮ อยู่นอกศาสนาอิสลาม เขากล่าวโจมตี ผู้มีอำนาจในมาเลเซีย แม้ว่ารัฐบาลอิรัก เป็นอีกหนึ่งประเทศชีอะฮฺ ไม่ได้แสดงท่าทีใดๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวก็ตาม
“บริษัท หลายบริษัทของมาเลเซียกำลังเก็บเกี่ยวหลายโครงการในอิรักอย่างเป็นสุข ทั้งโอกาสทางธุรกิจจำนวนมากก็ได้รับการส่งมอบเป็นพิเศษแก่รัฐบาลมาเลเซีย”
“ผม ไม่เข้าใจว่ารัฐบาลมาเลเซีย พยายามสร้างอุปสรรคและขยี้ความสัมพันธ์ทางการทูต และทำลายล้างความศรัทธา นี่ได้อย่างไร ไหนล่ะ องค์กรการประชุมอิสลาม/ Organisation of Islamic Conference (OIC)?” จาลาลุดดีน ตั้งคำถาม ซึ่งปรากฏ ในวิดิโอยูทูปที่แพร่หลายไปทั่ว
ศาสตราจารย์ Datuk Mohamad Abu Bakar ผู้สอนวิชา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในมหาวิทยาลัย Malaya กล่าวเตือน เมื่อไม่นานมานี้ว่า การโจมตีมุสลิมชีอะฮ จะส่งผลให้ ปุตราจายาเสี่ยงต่อการทำให้ประเทศตกเป็นเป้าหมายของนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิ ในข้อหาไม่ให้การยอมรับ การนับถือ ศาสนาที่อยู่ในสถาบันเดียวกัน (Intra-religious)
ในปี 2004 มาเลเซีย ภายใต้ Tun Abdullah Badawi ได้ลงนามใน สาร Amnan ความคิดริเริ่มโดยผู้ปกครองจอร์แดน กษัตริย์อับดุลลาห์ที่สอง เพื่อจำแนกความแตกตากในหมู่ศาสนิกชน นิกายต่างๆของศาสนาอิสลาม รวมทั้งสุหนี่และชิอะฮฺ
“ผู้ ใดก็ตามที่เป็นสาวกของหนึ่งใน สี่สำนักคิดนิติศาสสตร์อิสลามสุนหนี่ (Hanafi, Maliki, Shafi’i and Hanbali) และ สองจากสำนักคิดนิติศาสตร์อิสลามชีอะฮ (Jafari และ Zaydi) และสำนักคิดนิติศาสตร์อิสลาม Ibadi และสำนักคิดนิติศาสตร์อิสลาม Thahiri ถือว่า เขาเป็น มุสลิม” ประกาศถูกอ่าน และได้รับการลงนามโดยบุคคล อย่าง ผู้นำฝ่ายค้าน Datuk Seri Anwar Ibrahim และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเยาวชนและกีฬาKhairy Jamaluddin เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2014