“สงครามตามรูปแบบ” กับอิหร่าน คือ “สิ่งที่เป็นไปไม่ได้” – วิเคราะห์วิกฤตการณ์ภายในโครงสร้างการบัญชาการของสหรัฐอเมริกา

1924

ในบทความนี้ เราจะทำการศึกษายุทธศาสตร์การทำสงครามของสหรัฐอเมริกา รวมถึงศักยภาพในการทำสงครามกับสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน

พิจารณาภายใต้เงื่อนไขปัจจุบัน เราอาจตั้งสมมุติฐานได้ว่า ยุทธการรบแบบรุกสายฟ้าแลบ (Blitzkrieg) สไตล์สงครามอิรัก ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนกำลังพลและอาวุธไปอยู่ในตำแหน่งพร้อมรบ ทั้งภาคพื้นดิน ภาคอากาศ และรวมถึงกองทัพเรือในเวลาเดียวกันนั้น มิอาจเป็นไปได้ ในกรณีของอิหร่าน

ด้วยเหตุผลหลายประการ อำนาจของสหรัฐในตะวันออกกลางถูกทำให้ลดลงเป็นอย่างมาก อันป็นผลมาจากโครงสร้างการพัฒนาด้านพันธมิตรทางทหารของสหรัฐฯเอง

สหรัฐฯไม่มีความสามารถในการดำเนินโครงการดังกล่าว

มีสองปัจจัยหลักที่กำหนดวาระการทหารของอเมริกา ในกรณีของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน

1. การทหารของอิหร่าน

ประการแรก มันเป็นประเด็นเรื่องขีดความสามารถทางทหารของอิหร่าน (กองกำลังภาคพื้นดิน กองทัพเรือ กองทัพอากาศ การป้องกันขีปนาวุธ) หรือ ศักยภาพของอิหร่าน ในการต่อต้าน และตอบสนองต่อสงครามตามแบบแผนทั้งหมด ของสหรัฐฯและพันธมิตร ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนกำลังพลและอาวุธไปอยู่ในตำแหน่งพร้อมรบ กล่าวคือ ภายในขอบเขตของการทำสงครามตามแบบ อิหร่านมีความสามารถทางทหารที่ใหญ่พอสมควร 

อิหร่านจะได้มาซึ่ง ระบบป้องกันภัยทางอากาศ S400 อันทันสมัยของรัสเซีย อิหร่านถูกจัดอันดับให้เป็น “หนึ่งในอำนาจทางทหารที่ยิ่งใหญ่ในตะวันออกกลาง โดยมีบุคลากรที่ประจำการ อยู่ประมาณ 534,000 นาย ในกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และกองกำลังปฏิวัติอิสลาม (IRGC) อิหร่านมีความสามารถด้านขีปนาวุธ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศอยู่ในระดับสูง ในกรณีของการโจมตีทางอากาศโดยสหรัฐฯ อิหร่านจะสามารถตั้งเป้าหมายไปที่ศูนย์ปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯในอ่าวเปอร์เซียได้อย่างแน่นอน

2. โครงสร้างการพัฒนาของพันธมิตรทางทหาร

ข้อพิจารณาประการที่สอง เกี่ยวข้องกับโครงสร้างการพัฒนาพันธมิตรทางทหารของสหรัฐฯ (ปี ค.ศ. 2003-2019) ซึ่งส่วนใหญ่ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสหรัฐอเมริกาเอง

พันธมิตรที่แข็งขันที่สุดของอเมริกาหลายรายกำลังนอนหลับอยู่กับศัตรู

ประเทศที่มีพรมแดนติดกับอิหร่าน อาทิ ตุรกีและปากีสถาน ต่างมีข้อตกลงความร่วมมือทางทหารร่วมกับอิหร่าน แม้ว่าสิ่งนี้จะไม่จัดอยู่ในปัจจัยเรื่องความเป็นไปได้ของสงครามภาคพื้นดิน แต่มันก็มีผลต่อการวางแผนปฏิบัติการทางทะเล และทางอากาศของสหรัฐฯและพันธมิตร

จนถึงปัจุบัน ทั้งตุรกี (นาโต้เฮฟวี่เวท) และปากีสถาน ล้วนก็เป็นหนึ่งในพันธมิตรที่ซื่อสัตย์ของอเมริกา ซึ่งคอยอำนวยความสะดวกให้แก่การติดตั้งฐานทัพทหารให้แก่สหรัฐฯในประเทศของตน

ทว่าจากมุมมองทางทหารที่กว้างไกล ตุรกีกำลังร่วมมือกับทั้งอิหร่านและรัสเซียอย่างแข็งขัน ยิ่งไปกว่านั้น อังการายังได้รับมาซึ่งระบบป้องกันอากาศ S-400 ของรัสเซีย ก่อนกำหนดอีกด้วย ในขณะที่โดยพฤตินัย ก็ได้ทำการยกเลิก ระบบการป้องกันทางอากาศของสหรัฐ – นาโต้ – อิสราเอล

เรายังไม่กล่าวถึงกรณีที่ องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO) กำลังตกอยู่ในช่วงวิกฤต การออกจากนาโต้ของตุรกีเกือบจะกลายเป็นจริง อเมริกาไม่สามารถพึ่งพาพันธมิตรที่ซื่อสัตย์ที่สุดได้อีกต่อไป นอกจากนี้ กองกำลังกึ่งทหารที่ได้รับการสนับสนุนโดยสหรัฐฯ และตุรกี ก็กำลังต่อสู้กันเองอยู่ในซีเรีย 

ยิ่งกว่านั้น รัฐสมาชิก NATO หลายประเทศ ก็ยังได้แสดงทัศนคติไม่เห็นชอบอย่างแข็งขันไปยังนโยบายที่มีต่ออิหร่านของวอชิงตัน: “พันธมิตรยุโรปกำลังต่อสู้กับความไม่เห็นด้วย ในประเด็นนโยบายต่างประเทศ และกำลังถูกทำให้หงุดหงิดกับสไตล์ความเป็นผู้นำของวอชิงตัน”

 “ การแสดงออกที่สำคัญที่สุด ในความไม่พึงพอใจไปยังความเป็นผู้นำของสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มขึ้นของยุโรป คือ การเคลื่อนไหว โดยฝรั่งเศสและอำนาจอื่น ๆ เพื่อสร้างความสามารถในการป้องกันอย่างอิสระ เรียกว่า “Europeans only” (ยุโรปเท่านั้น) – ดู National Interest 24 พฤษภาคม 2019)https://nationalinterest.org/feature/ally-angst-why-americas-iran-policy-doesnt-have-international-support-59142

อิรักยังระบุด้วยว่า ตนจะไม่ให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในกรณีสงครามภาคพื้นกับอิหร่าน

กล่าวคือ ภายใต้เงื่อนไขปัจจุบัน ไม่มีประเทศเพื่อนบ้านใดของอิหร่าน ได้แก่ ตุรกี ปากีสถาน อัฟกานิสถาน อิรัก เติร์กเมนิสถาน อาเซอร์ไบจาน และอาร์เมเนีย จะยินยอมให้กองกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐฯ และพันธมิตร ข้ามผ่านอาณาเขตของตนได้ และพวกเขาก็จะไม่ร่วมมือกับสหรัฐฯในการทำสงครามทางอากาศด้วยเช่นเดียวกัน

ในการพัฒนาเมื่อไม่นานมานี้ อาเซอร์ไบจาน ซึ่งได้กลายมาเป็นพันธมิตรของสหรัฐฯ รวมถึงการเป็นสมาชิกของพันธมิตรนาโต้เพื่อสันติภาพเมื่อช่วงสงครามเย็น ก็เลือกเปลี่ยนข้างเพิ่มอีกหนึ่งราย ข้อตกลงความร่วมมือทางทหารระหว่างสหรัฐฯกับอาเซอร์ไบจานก่อนหน้านี้ แทบจะไม่มีผลใดๆอีกแล้ว ณ ที่นี้ ประกอบด้วย ข้อตกลงพันธมิตรทางทหาร GUAM ภายหลังโซเวียต (จอร์เจีย, ยูเครน, อาเซอร์ไบจานและมอลโดวา)

ขณะที่ ข้อตกลงทางทหารและข่าวกรอง ทวิภาคีระหว่างอิหร่านและอาเซอร์ไบจานได้ถูกลงนามในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว (2561) และอิหร่านได้ร่วมมือกับเติร์กเมนิสถานอย่างกว้างขวางในประเด็นเกี่ยวกับอาฟกานิสถาน นอกจากนี้ สถานการณ์ภายในกับการที่กลุ่มตอลิบานควบคุมส่วนใหญ่ของดินแดนอาฟกานิสถาน จะไม่เอื้อต่อการติดตั้งกองกำลังภาคพื้นดินขนาดใหญ่ของสหรัฐฯและพันธมิตรในเขตชายแดนอิหร่าน-อาฟกัน

เห็นได้ชัดว่า ยุทธการตีวงล้อมเชิงยุทธศาสตร์ต่อต้านอิหร่าน ที่กำหนดขึ้นภายหลังสงครามอิรัก (ค.ศ. 2003) จะไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป อิหร่านมีความสัมพันธ์ฉันมิตรกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งก่อนหน้านี้อยู่ในขอบเขตอิทธิพลของสหรัฐฯ

สหรัฐฯโดดเดี่ยวมากขึ้นในตะวันออกกลาง ทั้งยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรนาโต้

ภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้ สงครามตามรูปแบบอย่างยิ่งใหญ่ โดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดตั้งกองกำลังภาคพื้นดิน จึงถือเป็นการฆ่าตัวตายของสหรัฐฯเอง

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่า สงครามจะไม่เกิดขึ้น ในบางกรณี ด้วยกับความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทางทหารสงครามสไตล์อิรัคนั้นจึงถือเป็นรูปแบบที่ล้าสมัย

อย่างไรก็ดี เรายังคงอยู่ในทางแยกที่เป็นอันตราย รูปแบบการแทรกแซงทางทหารอื่นๆ ซึ่งมุ่งร้ายต่ออิหร่านกำลังอยู่ในกระดานวาดแผนการของเพนตากอน เหล่านี้ประกอบด้วย:

  • รูปแบบต่างๆของ““สงครามจำกัด” (Limited Warfare) เช่น การโจมตีด้วยขีปนาวุธแบบเจาะจงเป้าหมาย
  • การสนับสนุนของสหรัฐฯและพันธมิตรที่มีไปยังกลุ่มผู้ก่อการร้าย แบบกองกำลังรบกึ่งทหารต่างๆ
  • การแทรกแซงที่เรียกว่า“bloody nose operations”  (ได้แก่ การใช้อาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธี)
  • การดำเนินการโค่นล้มความมั่นคงทางการเมือง และการปฏิวัติสี
  • การจัดฉากโจมตี และการคุกคามทางทหาร
  • การก่อวินาศกรรม การริบสินทรัพย์ทางการเงิน การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง
  • สงครามแม่เหล็กไฟฟ้าและภูมิอากาศ (electromagnetic and climatic warfare) และเทคนิคการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม (ENMOD)
  • สงครามไซเบอร์
  • สงครามเคมีและชีวภาพ
สำนักงานใหญ่กองบัญชาการกลางสหรัฐฯตั้งอยู่ในเขตศัตรู

เป็นอีกข้อพิจารณาประการหนึ่ง ว่าด้วยวิกฤติภายในโครงสร้างการบัญชาการของสหรัฐอเมริกา

USCENTCOM เป็นหน่วยบัญชาการจำลองยุทธ สำหรับปฏิบัติการทั้งหมดในภูมิภาคตะวันออกกลางที่กว้างขวาง ตั้งแต่อาฟกานิสถาน ไปจนถึงแอฟริกาเหนือ มันเป็นหน่วยที่ทำหน้าที่บัญชารบที่สำคัญที่สุดในโครงสร้างคำสั่งรวม หน่วยนี้ เป็นผู้นำและประสานงานการจำลองยุทธสงครามที่สำคัญหลายแห่งในตะวันออกกลาง ทั้งในอาฟกานิสถาน (2001) และอิรัก (2003) นอกจากนี้ มันยังมีส่วนร่วมในซีเรียอีกด้วย

ในกรณีที่เกิดสงครามกับอิหร่าน ปฏิบัติการต่างๆในตะวันออกกลางจะถูกประสานงาน โดยหน่วยบัญชาการกลางของสหรัฐอเมริกา กับกองบังคับการในแทมปา รัฐฟลอริดา ในการประสานงานถาวรกับกองบังคับการ ใน กาตาร์

ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2019 ที่ผ่านมา หลังจากที่อิหร่านได้ยิงโดรนสหรัฐฯ ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ เรียกร้องการโจมตีทางทหารที่วางแผนไว้อย่างรวดเร็วต่ออิหร่าน”  ในขณะที่ประกาศในทวีตเตอร์ว่า “การโจมตีใดๆก็ตามโดยอิหร่าน ที่มีต่อกรณีใดๆก็ตามของอเมริกัน จะต้องพบกับกองกำลังที่ยิ่งใหญ่ และท่วมท้น”

กองบัญชาการกลางสหรัฐฯ (USCENTCOM) ยืนยันการติดตั้งเครื่องบินรบลักลอบ F-22 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯไปยังฐานทัพอากาศ al-Udeid ในกาตาร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ “ป้องกันกองกำลังทหาร และผลประโยชน์ของอเมริกัน” ในภูมิภาค เพื่อต่อกรกับอิหร่าน (ดู Michael Welch, Persian Peril, Global Research, 30 มิถุนายน 2019) 

มันฟังดูน่ากลัวใช่ไหม?

 “ ฐานทัพนี้ ทางเทคนิคแล้ว เป็นทรัพย์สินของกาตาร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองบังคับการของหน่วยบัญชาการกลางสหรัฐฯ” ด้วยบุคลากรทางทหารของสหรัฐ 11,000 นาย มันถูกอธิบายว่า เป็น“ หนึ่งในปฏิบัติการที่ยืนยง และมีกลยุทธ์มากที่สุดในบรรดาปฎิบัติการที่กำหนดตำแหน่ง ของโลกนี้ กองบังคับการ  Al-Udeid ยังเป็นเจ้าบ้าน อำนวยความสะดวกให้แก่ หน่วยการบินกองทัพอากาศที่ 379th ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็น “กองบัญชาการทางอากาศที่สำคัญที่สุดของอเมริกา”

สิ่งที่ทั้งสื่อและนักวิเคราะห์ทางทหารล้มเหลวที่จะยอมรับ ก็คือ การที่ กองบังคับการในตะวันออกกลางของ US CENTCOM ณ ฐานทัพ al-Udeid นั้น ตั้งอยู่ในดินแดนของศัตรู โดยพฤตินัย

นับตั้งแต่ ความแตกแยกของสภาความร่วมมืออ่าว (GCC) เกิดขึ้น เมื่อเดือนพฤษภาคม 2017  กาตาร์ได้กลายมาเป็นพันธมิตรที่แข็งขันของทั้งอิหร่านและตุรกี (ซึ่งตุรกีก็เป็นพันธมิตรของอิหร่านด้วย) แม้ว่าพวกเขาจะไม่มีข้อตกลงความร่วมมือทางทหารร่วมกับอิหร่านอย่างเป็นทางการ แต่พวกเขาก็มีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของแหล่งก๊าซทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดของโลก ร่วมกับอิหร่าน (ดูแผนที่ด้านล่าง)

ความแตกแยกของ GCC นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของพันธมิตรทางทหาร: ในเดือนพฤษภาคม 2017 ซาอุดิอาระเบียปิดกั้นพรมแดนทางบกเพียงแห่งเดียวของกาตาร์ จากนั้นซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ได้ปิดกั้น การขนส่งทางอากาศ เช่นเดียวกับการขนส่งทางทะเลเชิงพาณิชย์ไปยังโดฮา ตามลำดับ

สิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2017 คือ การเปลี่ยนแปลงเส้นทางการค้าของกาตาร์ โดยมีการทำข้อตกลงทวิภาคีกับอิหร่าน ตุรกี และปากีสถาน ในประเด็นนี้ รัสเซีย อิหร่าน และกาตาร์ ให้บริการแหล่งสำรองก๊าซ ที่เป็นที่รู้จัก มากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก

อนึ่ง ฐาน Al-Udeid ใกล้กรุงโดฮา เป็นฐานทัพที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกาในตะวันออกกลาง ต่อมา ตุรกีได้จัดตั้งศูนย์การทหารของตนในกาตาร์ ตุรกีไม่ได้เป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาอีกต่อไป กองกำลังพร็อกซี่ตุรกีในซีเรียกำลังต่อสู้กับกองกำลังรบกึ่งทหารของสหรัฐฯ

ขณะนี้ ตุรกีอยู่ในแนวเดียวกับรัสเซียและอิหร่าน อังการาได้ยืนยันแล้วว่า จะได้มาซึ่งระบบป้องกันขีปนาวุธทางอากาศ S-400 ของรัสเซีย ซึ่งเป็นการเรียกร้องความร่วมมือทางทหารกับมอสโก

ขณะเดียวกัน กาตาร์ก็กำลังปีนป่ายกับนักธุรกิจ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซชาวอิหร่าน (อาจเชื่อมไปยังหน่วยข่าวกรอง?) ทั้งนี้ เรายังไม่ได้กล่าวถึง การปรากฎตัวของบุคลากรชาวรัสเซีย และจีน ที่เข้ามามีส่วนร่วมด้วย

คำถาม. คุณจะทำสงครามกับอิหร่าน จากดินแดนของพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับอิหร่านได้อย่างไร?

จากมุมมองเชิงยุทธศาสตร์ มันไม่สมเหตุสมผล และนี่เป็นเพียงส่วนปลายของภูเขาน้ำแข็ง

แม้จะมีวาทกรรม เบื้องหลังความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างของสหรัฐฯ และกาตาร์ กระนั้นสภาแอตแลนติก (The Atlantic Council) คลังสมอง ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับทั้งเพนตากอน และนาโต้ ก็ได้ยืนยันว่า ขณะนี้ กาตาร์เป็นพันธมิตรที่มั่นคงของทั้งอิหร่านและตุรกี:

กล่าวอย่างง่ายๆก็คือ เพื่อให้กาตาร์สามารถรักษาความเป็นอิสระของตนต่อไป โดฮาแทบจะไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากการรักษาความเป็นหุ้นส่วนที่แข็งแกร่งกับตุรกี ซึ่งเป็นพันธมิตรที่สำคัญจากมุมมองการสนับสนุนทางทหาร และความมั่นคงด้านอาหาร เช่นเดียวกับ อิหร่าน ความเป็นต่อยังคงมีอยู่ เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่าน – กาตาร์ จะยังคงแข็งแกร่ง แม้ว่าเตหะรานและโดฮาจะไม่เห็นพ้องต้องกันในบางประเด็นก็ตาม … 

วันที่ 15 มิถุนายน 2019 ประธานาธิบดีฮัสซัน รูฮานี เน้นย้ำว่า การปรับปรุงความสัมพันธ์กับกาตาร์ เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆสำหรับผู้กำหนดนโยบายอิหร่าน … รูฮานี บอกกับกษัตริย์กาตาร์ว่า“ ความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศต่างๆในภูมิภาค มีความสัมพันธ์กัน” และประมุขของรัฐกาตาร์ก็ได้เน้นย้ำตามลำดับว่า โดฮาแสวงหาความเป็นหุ้นส่วนที่แข็งแกร่งร่วมกับสาธารณรัฐอิสลาม (สภาแอตแลนติก เดือนมิถุนายน 2019, เน้นเพิ่มเติม)

สิ่งที่แถลงการณ์ล่าสุด โดยสภาแอตแลนติกเสนอแนะ คือ ขณะเดียวกันที่กาตาร์เป็นเจ้าบ้าน ให้แก่กองบังคับการของ USCENTCOM อิหร่านและกาตาร์ก็กำลังร่วมมือกัน ในขอบเขตด้าน “ความปลอดภัย” อย่างไม่เป็นทางการ (อาทิ ด้านหน่วยข่าวกรองและความร่วมมือทางทหาร)

เรื่องตลกก็คือ คำแถลงของทรัมป์กลับยืนยันว่า อเมริกากำลังวางแผนที่จะเปิดสงครามกับอิหร่าน จากกองบังคับการดังกล่าว ซึ่งฐานทัพ Udeid นั้นตั้งอยู่ในดินแดนของศัตรู !

ความแตกแยกของ GCC 

ความไม่ลงรอยของสภาความร่วมมืออ่าว (GCC) นำไปสู่การเกิดขึ้นของสิ่งที่เรียกว่า “สัมพันธมิตรอิหร่าน – ตุรกี – กาตาร์” (Iran-Turkey-Qatar axis) ที่ส่งผลทำให้สหรัฐฯ มีอำนาจลดลงในตะวันออกกลาง ในขณะที่ตุรกีได้เข้าร่วมความร่วมมือทางทหารกับรัสเซีย ปากีสถานก็กำลังเป็นพันธมิตรร่วมกับจีน และปากีสถาน ได้กลายเป็นหุ้นส่วนหลักของกาตาร์

หลังจากความแตกแยกระหว่างกาตาร์และซาอุดิอารเบีย GCC อยู่ในความไม่พอใจไปยังกาตาร์ ที่เข้าข้างอิหร่านและตุรกี ในการต่อต้านซาอุดีอาระเบียและยูเออี

ถือได้ว่า กาตาร์นั้น มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์อยู่ในระดับสูง เพราะกาตาร์ มีหุ้นส่วนร่วมกับอิหร่าน ในแหล่งก๊าซทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย (ดูแผนที่ด้านบน) นอกจากนี้ ตั้งแต่เหตุความแตกแยกของ GCC เกิดขึ้น คูเวตเองก็ไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกันกับซาอุดิอาระเบียอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม มันยังคงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวอชิงตัน กล่าวคือ คูเวตเป็นเจ้าบ้าน อำนวยความสะดวกให้แก่ 7 ปฏิบัติการที่กำลังดำเนินการอยู่ของกองทัพสหรัฐฯ 

เรายังไม่ได้กล่าวถึงกรณีที่ความไม่ลงรอยของ GCC ในเดือนพฤษภาคม 2560 นั้น ได้ทำลายความมุ่งมั่นของทรัมป์ในการสร้าง “อาหรับนาโต้” (ภายใต้การดูแลโดยซาอุดิอาระเบีย) เพื่อการโจมตีอิหร่าน โครงการนี้ จำเป็นต้องถูกเพิกถอนอย่างจริงจัง ตามมาด้วยการถอนตัวของอียิปต์ ในเดือนเมษายน 2019

อ่าวโอมาน

เนื่องจากความแตกแยกของสภาความร่วมมืออ่าว (GCC) ในปี 2017 ดูเหมือนว่า โอมานจะเข้าร่วมด้วยกับอิหร่าน ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ การขนส่งเรือสงครามของสหรัฐฯ ไปยังกองบัญชาการทัพเรือที่ห้าของสหรัฐฯ ในบาห์เรน รวมถึงปฏิบัติการทางทะเลในอ่าวเปอร์เซีย จึงตกอยู่ในความเสี่ยงและอันตรายเป็นอย่างมาก  

กองเรือที่ห้า อยู่ภายใต้คำสั่งของกองบัญชาการ กองทัพเรือสหรัฐฯ (NAVCENT) พื้นที่รับผิดชอบของ NAVCENT ประกอบด้วย ทะเลแดง อ่าวโอมาน อ่าวเปอร์เซีย และทะเลอาหรับ

ช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งถือเป็นจุดเข้าสู่อ่าวเปอร์เซียจากอ่าวโอมาน ถูกควบคุมโดยอิหร่านและสุลต่านแห่งโอมาน (ดูแผนที่อาณาเขตของโอมาน ณ ปลายช่องแคบ)

ความกว้างของช่องแคบที่จุดหนึ่งอยู่ที่ 39 กิโลเมตร เรือใหญ่ทุกลำต้องเดินทางผ่านไปยังอิหร่าน และ / หรือน่านน้ำโอมานภายใต้บทบัญญัติที่เรียกว่า การขนส่งตามธรรมเนียมของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล

กล่าวคือ โครงสร้างพันธมิตรสหรัฐฯ กำลังตกอยู่ในความเสี่ยง สหรัฐฯไม่สามารถจำลองสงครามตามแบบอย่างเต็มตัวได้อย่างสมเหตุสมผลต่ออิหร่าน โดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรที่มีมายาวนาน ซึ่งตอนนี้พวกเขากำลัง “ นอนหลับอยู่กับศัตรู”

อาหรับนาโต้ของทรัมป์  ย้อนรอยความแตกแยกของ GCC

ท่ามกลางการล่มสลายของอิทธิพลอเมริกาในตะวันออกกลาง สโลแกน “ทำให้อเมริกายิ่งใหญ่อีกครั้ง” ของทรัมป์ ซึ่งประกอบด้วย ความพยายามสร้างโครงสร้างพันธมิตรทางทหาร ในช่วงเริ่มต้นตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา สิ่งที่มีอยู่ในความคิดของคณะบริหารทรัมป์ คือ การก่อตัวของพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ในตะวันออกกลาง (MESA) หรือ “อาหรับนาโต้”  (Arab NATO) พิมพ์เขียวที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯนี้ มีแผนการจะรวมอียิปต์และจอร์แดนเข้าด้วยกันกับหกประเทศสมาชิกของ GCC

ร่างของแผนการสร้างพันธมิตร MESA ได้ถูกจัดเตรียมขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ก่อนหน้าการมาเยือนซาอุดิอาระเบีย ครั้งประวัติศาสตร์ของทรัมป์ ในเดือนพฤษภาคม 2017  เพื่อพบปะกับกษัตริย์ซัลมาน ในฐานะผู้นำของ GCC เช่นเดียวกับ เจ้าหน้าที่ระดับสูงกว่า 50 ราย จากโลกอาหรับ และมุสลิมในการประชุมสุดยอด สหรัฐ – อิสลาม ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ปฏิญญาริยาด ออกเมื่อสิ้นสุดการประชุมสุดยอด เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2017 ป่าวประกาศถึงเจตนา ที่จะจัดตั้ง MESA ในริยาด” (Arab News, 19 กุมภาพันธ์ 2019) อาณัติที่ระบุไว้ของ “อาหรับนาโต้” คือ “การต่อสู้กับอำนาจของอิหร่าน” ในตะวันออกกลาง

อีกสองวันต่อมา เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2017 ภายหลังจากการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ ซาอุดิอาระเบียได้สั่งให้ปิดล้อมกาตาร์ โดยเรียกร้องให้มีการห้ามส่งสินค้าและระงับความสัมพันธ์ทางการทูตกับโดฮา ซึ่งซาอุดิอาระเบีย อ้างว่า ประมุขแห่งกาตาร์ กำลังให้ความร่วมมือกับเตหะราน

อะไร คือ วาระซ่อนเร้น? ไม่ต้องสงสัยเลยว่าได้มีการตัดสินใจในประเด็นดังกล่าวแล้ว ในริยาด เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2017 ด้วยการอนุมัติของเจ้าหน้าที่สหรัฐ

แผนดังกล่าว คือ การไม่รวมกาตาร์จากพันธมิตร MESA และ GCC ในขณะที่ยังคงรักษา GCC ไว้เหมือนเดิม

สิ่งที่เกิดขึ้น คือการคว่ำบาตรของซาอุดิอาระเบียต่อกาตาร์ (ด้วยการอนุมัติอย่างไม่เป็นทางการของวอชิงตัน) ซึ่งส่งผลไปสู่ความแตกแยกของ GCC ด้วยกับการที่โอมานและคูเวต เลือกเข้าข้างกาตาร์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ GCC ถูกแบ่งออกระหว่างกลาง ซาอุดิอาระเบียอ่อนแอลง และพิมพ์เขียว“ อาหรับนาโต้” ก็ใช้การไม่ได้เลยตั้งแต่เริ่มต้น

ตัดฉากกไปในช่วงกลางเดือนเมษายน 2019: ทรัมป์กลับมาที่ริยาดอีก: คราวนี้กษัตริย์ซาอุดิอาระเบีย ได้รับมอบหมายจากวอชิงตันให้เปิดตัวพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ในตะวันออกกลางที่เคยล้มเหลว (MESA) อีกครั้ง อย่างเป็นทางการ แม้ว่า ประเทศสมาชิกรับเชิญทั้งสาม ได้แก่ คูเวต โอมาน และกาตาร์ จะกำลังมุ่งมั่นฟื้นฟูความสัมพันธ์กับอิหร่านก็ตาม 

ในลำดับต่อมา รัฐบาลอียิปต์ โดยประธานาธิบดีซีซี ตัดสินใจบอยคอตการประชุมสุดยอดริยาด และถอนตัวจากข้อเสนอ“ อาหรับนาโต้” กรุงไคโรได้ชี้แจงตำแหน่งของตน ในกรณีของเตหะราน อียิปต์คัดค้านแผนการของทรัมป์อย่างแน่วแน่ เพราะมันจะเป็นการ “เพิ่มความตึงเครียดที่มีกับอิหร่าน”

ทรัมป์มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง “Arab Block” ทว่าสิ่งที่เขาได้รับในทางกลับกันคือ พันธมิตร “Arab block” ที่ถูกตัดทอน ซึ่งหล่อหลอมขึ้นจากความไม่ลงรอยของ GCC กับซาอุดิอารเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรนและจอร์แดน

คูเวตและโอมานแสดงท่าทีเป็นกลาง อย่างเป็นทางการ

กาตาร์เข้าข้างศัตรู ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อขอบเขตอิทธิพลของอเมริกาในอ่าวเปอร์เซีย

สัมพันธมิตรอะไรกัน?มันเป็นความล้มเหลวทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างย่อยยับ 

ขณะเดียวกัน กองบังคับการของกองบัญชาการกลางสหรัฐฯ ก็ยังคงตั้งอยู่ในกาตาร์ ท่ามกลางข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อสองปีก่อน ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2017 ประมุขของกาตาร์ ชีค ตามิม บินฮามัด อัลธานี ได้ถูกกล่าวหาโดย ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กรณีให้ความร่วมมือกับอิหร่าน

รูปถ่าย: ทรัมป์และประมุขแห่งกาตาร์, สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ, ตุลาคม 2560

ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ใครเป็นผู้ออกคำสั่ง ให้กำหนดการคว่ำบาตรกาตาร์ แต่ซาอุดิอาระเบียย่อมไม่ดำเนินการตัดสินใจใดๆ โดยไม่ปรึกษาวอชิงตัน เห็นได้ชัดว่า ความมุ่งมั่นของวอชิงตัน ก็คือการสร้างกลุ่มพันธมิตร อาหรับนาโต้ (Arab Block) ซึ่งจะถูกควบคุม กำกับ สำหรับทำการต่อต้านอิหร่าน 

ส่วนที่เหลือ คือประวัติศาสตร์ เพนตากอนได้ตัดสินใจที่จะคงอยู่ไว้ซึ่ง กองบังคับการของกองบัญชาการกลางของสหรัฐฯในกาตาร์ ซึ่งจู่ๆก็กลายเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดของอิหร่าน…………

มันเป็นความผิดพลาดของนโยบายต่างประเทศ? 

มีกองบังคับการใหญ่ อย่างเป็น“ ทางการ” ในดินแดนของศัตรู? 

แต่ขณะเดียวกัน ก็ส่งออกเครื่องบินรบ บุคลากรทางการทหาร และหน่วยบัญชาการไปยังสถานที่อื่นๆ (เช่น ในซาอุดิอาระเบีย) อย่าง “ไม่เป็นทางการ” ?

ไม่มีรายงานข่าว ไม่มีคำถามในรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกา 

ดูเหมือนว่า ไม่มีใครสังเกตเห็นว่า สงครามของทรัมป์ต่ออิหร่าน หากมันจะยังคงดำเนินอยู่ต่อไปนี้ จะถูกควบคุม จากอาณาเขตของหนึ่งในพันธมิตรใกล้ชิดของอิหร่าน

 

เรียบเรียงจากบทวิเคราะห์โดย: Prof Michel Chossudovsky

ที่มา: https://www.globalresearch.ca