“คานธีแห่งไนจีเรีย” นักสู้ผู้ยึดหลักสันติวิธีสู่ขบวนการเรียกร้องอิสรภาพ

247

อิบรอฮีม ยะอฺกูบ ซักซากีย์  (Sheikh  Ibrahim Yaqub Zakzaki ) ผู้นำขบวนการที่ยึดหลักสันติวิธีและไม่ใช้ความรุนแรงแห่งไนจีเรีย  ได้เลือกที่จะเดินทางมายังดินแดนของมหาตมะคานธีเพื่อรักษาบาดแผลที่ปราศจากการเยียวยารักษา แต่ทว่าสถานการณ์ในอินเดียกลับไม่ใช่สิ่งที่เขาคาดหวัง

ในเดือนธันวาคม 2015  กองทัพและตำรวจไนจีเรียบุกเข้าไปในฮุซัยนียะฮฺ บะกียะตุลเลาะห์ ในเมืองซารียาและบ้านของผู้นำชีอะฮฺในรัฐคาดูนาทางตอนเหนือของไนจีเรีย  ได้จับกุม ชัยค์ อิบรอฮีม ซักซากีย์ ผู้นำชีอะฮฺไนจีเรีย พร้อมกับภรรยาและหนึ่งในลูกชายของเขา  เขาต้องสูญเสียลูกชายทั้งสามคนของเขาไปเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ในการเดินขบวนวันอัลกุดส์สากล ( Quds Day ) และทำการฝังศพลูกชายทั้งสามด้วยมือของเขาเอง  ส่วนลูกชายอีกสามคนของเขาถูกฆ่าตายในวันเสาร์ทมิฬในวันเดียวกันโดยที่ไม่มีโอกาสฝังศพลูกๆของพวกเขา นอกจากนั้นพี่สาวและหลานชายของเขาก็ถูกฆ่าตายในวันเสาร์ทมิฬเช่นเดียวกัน  ทางการไนจีเรียไม่ต้องการทิ้งร่องรอยเหล่านี้ไว้เลยจึงเข้าไปบุกทำลายหลุมศพของแม่และลูก ๆ และบ้านของเขาอีกด้วย

นี่ไม่ใช่การโจมตีครั้งแรกที่เกิดกับชัยค์ซักซากีย์ผู้ยึดหลักแห่งสันติวิธี   มีการพยายามลอบสังหารเขาหลายต่อหลายครั้ง  ปี 1999 ปี 2007 ปี 2014 และปี 2015  ซึ่งในการโจมตีครั้งสุดท้าย เขาได้รับบาดเจ็บสาหัส  ภรรยาของเขาได้รับบาดเจ็บและถูกจับ    ทั้งๆที่ชัยค์และสหายของเขาไม่ได้ถือครองอาวุธใดๆ เหตุการณ์วันเสาร์ทมิฬซึ่งคล้ายกับปฏิบัติการทางทหารได้สังหารพลเรือนชีอะฮฺหลายร้อยคน บางสื่อรายงานว่าจากการบุกโจมตีบ้านของชัยค์ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 2,000  คน

ตามที่ทนายความของชัยค์ อิบรอฮีม ซักซากีย์ และทีมแพทย์ตรวจสอบที่มาจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอิสลามในกรุงลอนดอน เผยว่า ชัยค์ อิบรอฮีม ซักซากีย์ได้สูญเสียตาขวาของเขาไป และตาซ้ายของเขามีแนวโน้มการมองเห็นเพียงแค่ 15% เท่านั้นและมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะต้องสูญเสียดวงตาไปอีกข้าง

แพทย์บอกว่ายังคงมีกระสุนและเศษกระสุนปืนในตัวของชัยค์อิบรอฮีม ซักซากีย์ จากการที่กองทัพไนจีเรียบุกโจมตีที่บ้านของเขาในซารียาในปี 2015    “มีสารตะกั่วปนเปื้อนในเลือดของชัยค์ ” และมี “รอยร้าวจำนวนมากบนกะโหลกศีรษะของชัยค์อีกด้วย” สิ่งนี้สร้างความตกใจให้กับแพทย์เป็นอย่างมาก

ทำไม ชัยค์อิบรอฮีม ซักซากีย์ ถึงกลับมาจากอินเดีย?  

แหล่งข่าวกล่าวเมื่อวันศุกร์ ที่ 16 สิงหาคม  ชัยค์อิบรอฮีม ซักซากีย์  ผู้นำชีอะฮฺไนจีเรีย หลังจากที่ไม่ยอมรักษาตัวที่อินเดียเนื่องจากไม่พอใจและเชื่อมั่นต่อวิธีการรักษาและทีมงานแพทย์ของประเทศนี้จึงเดินทางกลับไปยังอาบูจา

ผู้นำขบวนการอิสลามแห่งไนจีเรียเดินทางกลับประเทศเนื่องจากการบิดพลิ้วสัญญาของรัฐบาลไนจีเรียจึงเดินทางกลับปะเทศโดยที่ไม่ได้รับการรักษาในประเทศอินเดีย

ก่อนหน้านี้มีการแพร่ข้อความบททวิตเตอร์ และไฟล์เสียงของชัยค์อิบรอฮีม ซักซากีย์ที่กล่าวว่า โรงพยาบาลอินเดียได้ตกลงที่จะให้เขาและภรรยาของเขากลับประเทศ

เขากล่าวอีกว่า เงื่อนไขการรักษาที่โรงพยาบาลอินเดียเลวร้ายยิ่งกว่าในไนจีเรียเสียอีก

ชัยค์อิบรอฮีม ซักซากีย์  กล่าวในไฟล์เสียงว่า  มันแตกต่างจากสิ่งที่เราได้ตกลงกันก่อนหน้านี้ ว่าทีมแพทย์ส่วนตัวจะให้การรักษา  แต่ทางโรงพยาบาลไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงก่อนหน้านี้โดยการเปลี่ยนทีมแพทย์

ชัยค์อิบรอฮีม ซักซากีย์  ยังกล่าวอีกว่า เจ้าหน้าที่ไนจีเรียให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพและอาการของเขาแก่แพทย์ชาวอินเดีย ซึ่งประเด็นนี้เองจึงนำไปสู่อุปสรรคและกีดขวางการรักษาตัวของเขา

ชัยค์ อิบรอฮีม ซักซากีย์  กล่าวเสริมว่า : เจ้าหน้าที่ไนจีเรียอ้างว่ายังไม่สามารถระบุได้ว่าฉันเป็นโรคอะไรและสุขภาพของฉันก็ไม่ชัดเจน ในขณะที่ก่อนหน้านี้ได้วินิจฉัยไปแล้ว และตอนนี้ฉันอยู่ในอินเดียเพื่อรับการรักษาตัวและไม่ใช่ตามคำอ้างของเจ้าหน้าที่ไนจีเรียที่กล่าวอ้างว่าเพื่อทำการวินิจฉัยโรค

ทำไมชัยค์เลือกไปอินเดีย?

จากการนำเสนอเรื่องราวดังกล่าว พอจะคาดเดาว่า มีสิ่งใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างสถานะของชาวมุสลิมในแคชเมียร์  การเลือกปฏิบัติความรุนแรงของอินเดียที่มีต่อพวกเขาในปัจจุบัน และการยอมรับการรักษาตัวของชัยค์ซักซากีย์ในอินเดีย มีความเกี่ยวข้องกับการแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมืองในพื้นที่พิพาทนี้หรือไม่อย่างไร? และทำไมสายการบินเอมิเรตส์ (ที่เป็นมิตรและใกล้ชิดกับรัฐบาลไนจีเรีย) จึงรับหน้าที่ในการรับส่งตัวชัยค์ซักซากีย์  อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในภูมิภาคของอาบูดาบีและเอมิเรตส์ในฐานะผู้สนับสนุนการปราบปรามชาวมุสลิมด้วยการเคลื่อนย้ายและรับส่ง “อยาตุลเลาะห์แห่งแอฟริกา”  ไปยังอินเดีย ?  แต่คำถามหลักในที่นี้คือ มีเหตุผลหลักอันใดที่ทำให้ชัยค์ซักซากีย์ยอมเดินทางมารักษาตัวในอินเดีย? ซึ่งยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนพอสำหรับคำถามนี้…..

ทว่า…. บางที   หนึ่งในเหตุผลที่ชัยค์ซักซากีย์นักต่อสู้ผู้ยึดหลักสันติวิธีแห่งไนจีเรียอาจยอมรับการเดินทางมารักษาตัวในดินแดนของมหาตะมะคานธีผู้สร้างประวัติศาสตร์ให้กับอินเดีย  คือตัวของมหาตะมะคานธีและภาพลักษณ์ในเชิงบวกของชาวอินเดียในการต่อสู้แบบยึดหลักสันติวิธี ที่ถูกจารึกไว้ในความทรงจำทางประวัติศาสตร์ของพวกเขา  

มหาตมะคานธีเป็นผู้นำทางการเมืองและจิตวิญญาณของชาวอินเดียที่เป็นผู้นำประเทศอินเดียในเส้นทางของการปลดปล่อยจากลัทธิล่าอาณานิคมของอังกฤษโดยยึดหลักสันติวิธี การไม่ใช้ความรุนแรงและอาศัยความสามัคคีของชาวมุสลิม – ฮินดูเป็นที่ตั้ง   มีความจริงประการหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้คือพื้นฐานความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งของมหาตมะคานธีกับจิตวิญญาณของศาสนาอิสลามนั่นคือความเชื่อของเขาในการลุกขึ้นต่อสู้จากเหตุการณ์อาชูรอ และ “ชัยชนะในการเผชิญกับการถูกกดขี่”

ตอนนี้นับเป็นเวลาเกือบ72 ปีที่อุดมการณ์แห่งการต่อสู้กับความรุนแรง การเหยียดสีผิว และการล่าอาณานิคมของมหาตะมะคานธีที่ได้ผ่านพ้นไป แม้ว่าอินเดียในปัจจุบันจะไม่ใช่อินเดียเมื่อ 70 ปีก่อน   แต่คานธีก็ยังคงมีหุ้นส่วนในมรดกของมนุษย์อย่างแน่นอน มรดกที่นำไปสู่นายกรัฐมนตรีอินเดียคนปัจจุบันที่ได้เดินทางมาเยือนมัสยิดชีอะฮฺในวันอาชูรอและภาพของเขาก็แพร่กระจายอย่างรวดเร็วบนโซเชียลมีเดีย   อาชูรอในปีนั้นเองที่นายกรัฐมนตรีอินเดียกล่าวในระหว่างการเยี่ยมชมมัสยิดชีอะฮฺ ในเมืองโบฮารา ( Buhra )แคว้นอินเดอร์ ว่า  : “อิหม่ามฮุสเซนได้เสียสละชีวิตของตนเพื่อความยุติธรรมและสันติภาพ  เขาได้ลุกขึ้นต่อสู้กับความอยุติธรรมและความอหังการ ซึ่งในวันนี้หลักคำสอนของเขานั่นมีความสำคัญมากกว่าทุกยุคสมัยที่ผ่านมา” 

ชัยค์ซักซากีย์และสหายของเขาถูกจับกุมและปราบปรามอย่างหนักหลังจากการจัดงานรำลึกวันอาชูรอในปี 2015 ในข้อหา “สนับสนุนการก่อการร้าย”  แต่ชาวไนจีเรียปฏิเสธข้อหาดังกล่าวนี้ และองค์กรตะวันตกและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนก็ออกประณามเหตุการณ์รุนแรงครั้งนี้ด้วย

ฮิวแมนไรท์วอทช์รายงานว่าหลังเหตุการณ์เสาร์ทมิฬไนจีเรียในปี 2015 ว่า อย่างน้อยสามร้อยคนถูกสังหารโดยกระสุนปืนกองทัพในวันนั้น และย้ำว่า “กระทำดังกล่าวปราศจากการยั่วยุใดๆ” 

แน่นอนว่าสถานการณ์ในอินเดียสำหรับผู้ได้รับบาดเจ็บเฉกเช่นชัยค์ซักซากีย์นั้น อาจไม่ใช่สิ่งที่เขาคาดหวัง  แต่ดูเหมือนว่าในการคำนวณของชัยค์ซักซากีย์นั้น การเดินทางไปยังประเทศอิสลามไม่สามารถสร้างพื้นที่สำหรับการสร้างประเด็นและการนำเสนอของสื่อได้เท่าที่ควรอีกทั้งมีค่าใช้จ่ายสูง จึงเลือกที่จะเดินทางเข้าประเทศที่ไม่ใช่อิสลาม  ซึ่งในความคิดเห็นของประชาชนยังมีศักยภาพทางประวัติศาสตร์เพียงพอในการความเข้าใจที่ดีของการต่อสู้ที่ยึดหลักสันติวิธีและการต่อสู้ที่ไม่ใช้ความรุนแรง

source:  irna