ตุรกี – ระบอบการปกครองอิสราเอลกับความสัมพันธ์ยุคโควิด   : “สงครามเย็น” หรือ “สงครามลวง “?

305

ความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับระบอบอิสราเอลในฐานะที่เป็นสองนักแสดงที่มีอิทธิพลในตะวันออกกลางนั้นมีความสำคัญและเป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง  แต่ในทศวรรษที่ผ่านมาโดยเฉพาะหลังจากที่พรรคความยุติธรรมและการพัฒนา เข้ามามีอำนาจและบทบาท  ก่อให้เกิดเหตุการณ์ความตึงเครียดและความเย็นชาในความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่าย

ตุรกี – ระบอบอิสราเอลเริ่มสั่นคลอนในด้านความสัมพันธ์หลังจากที่ เรเซฟ ตอยยิบ เออร์โดกานขึ้นสู่อำนาจในปี 2003   ในเหตุการณ์อาหรับสปริงปี 2010    ตุรกีส่งเรือ “ให้การช่วยเหลือชาวกาซา” และถูกกองทัพอิสราเอลโจมตีอย่างรุนแรงส่งผลให้พลเรือนตุรกี 10 คนเสียชีวิตและบาดเจ็บอีกหลายสิบราย

หลายปีต่อมาหลังจากการไกล่เกลี่ยของประธานาธิบดี บารัค โอบามา   รัฐบาลอิสราเอลตกลงที่จะขอโทษและจ่ายค่าชดเชยให้กับครอบครัวของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในตุรกี   อย่างไรก็ตามความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลและตุรกียังไม่คลี่คลายลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออังการาและนายเออร์โดกาน สนับสนุนฮามาส ซึ่งได้นำไปสู่ความไม่พอใจอย่างมากให้กับระบอบยิวไซออนิสต์

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2008 เมื่อ  เรเซฟ ตอยยิบ เออร์โดกาน ( Recep Tayyip Erdogan )กลับถึงตุรกีหลังจากการประชุมสุดยอดดาวอส  มีชาวตุรกีเกือบ 5,000 คน มาต้อนรับเขา และเรียกเขาว่า “ผู้ชนะแห่งดาวอส”  การโต้เถียงกับสื่อที่มีชื่อเสียงระดับโลกและการแสดงความโกรธและไม่พอใจอย่างเห็นได้ชัดของ นายเออร์โดกาน ต่ออาชญากรรมของยิวไซออนิสต์ในฉนวนกาซาในยุคสมัยของ ชิมอน เปเรส  ทำให้เขากลายเป็นพระเอกในโลกอิสลาม

ในเวลาเดียวกัน  ผู้คนต่างก็คิดว่า ความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับระบอบยิวไซออนิสต์นั้นขาดสะบั้นลง   แต่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของตุรกีบางคน เช่น ฮุสเซน เซลิก  (  Hussein Celik )  รองประธานาธิบดีของ นายเออร์โดกาน กล่าวว่า ” ตุรกียังไม่ได้ทำลายสะพานเชื่อมทั้งหมดกับระบอบปกครองยิวไซออนิสต์   สถานทูตตุรกีในเทลอาวีฟก็ยังคงเปิดอยู่ เพียงแต่ถูกปรับลดระดับเจ้าหน้าที่ระดับสูง ให้เป็นเพียงแค่ รองเอกอัครราชทูตคนที่สอง ”

ในเวลานั้น ฮุสเซน เซลิก ยังระบุด้วยว่า “ตุรกีไม่ยอมรับนโยบายของระบอบการปกครองอิสราเอล แต่พวกเขาไม่มีปัญหาใดๆกับประชาชนชาวอิสราเอล”  และตอนนี้ด้วยการระบาดของไวรัสโคโรนาในโลก  ทางรัฐบาลตุรกีได้ประกาศว่า จะขายสินค้าทางการแพทย์ให้กับระบอบยิวไซออนิสต์  อันเป็นการตัดสินใจที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามของทั้งสองฝ่ายในการรักษาความสัมพันธ์ทวิภาคีแม้ว่าจะมีความขัดแย้งกันบ้างก็ตาม

เว็บไซต์อังกฤษ  “Middle East I”   รายงานโดยอ้างจาก  นักการทูตตุรกีบางคนว่า  เจ้าหน้าที่อิสราเอลได้ติดต่อกับอังการาในเดือนนี้ โดยที่พวกเขาต้องการซื้อเครื่องมือทางการแพทย์และตุรกีก็ได้ตอบตกลง

สื่อของอิสราเอลระบุว่า  การจัดซื้อดังกล่าวประกอบด้วยหน้ากาก  เสื้อผ้า(เฉพาะทางการแพทย์) และอุปกรณ์ป้องกันอื่น ๆ ที่ผลิตโดยตุรกีสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลอิสราเอล

จากรายงานของหนังสือพิมพ์ เยรูซาเล็มโพสต์   ระบุว่า  ประธานาธิบดีเรเซฟ  ตอยยิบ เออร์โดกาน ( Recep Tayyip Erdogan )ได้อนุมัติการส่งความช่วยเหลือทางการแพทย์ไปยังประเทศอิสราเอล (ระบอบการปกครองยิวไซออนิสต์) ด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรมและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ”

ในขณะเดียวกัน นายเออร์โดกาน  เรียกร้องให้ระบอบการปกครองยิวไซออนิสต์  มิให้สกัดกั้นเรือส่งความช่วยเหลือคล้าย ๆกัน นี้ให้กับชาวปาเลสไตน์ในกาซา และเรือจะต้องไปถึงฉนวนกาซาโดยที่ไม่ถูกขัดขวางและยึดโดยระบอบการปกครองยิวไซออนิสต์

นายเออร์โดกาน ในการสนทนาทางโทรศัพท์เมื่อเร็ว ๆ นี้ กับอิสมาอีล ฮานียะห์ หัวหน้าสำนักการเมืองของฮามาสในฉนวนกาซา   นายเออร์โดกานยังแสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ของชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซาในระหว่างการต่อสู้กับไวรัสโคโรนา  โดยที่เขากล่าวว่าประเทศของเขาจะไม่ทิ้งการสนับสนุนปาเลสไตน์ภายใต้สถานการณ์เหล่านี้

ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดของตุรกีกับระบอบยิวไซออนิสต์ ดูเหมือนว่านักการเมืองตุรกีเล็งเห็นถึงความสำคัญต่อความคิดในการฟื้นฟูจักรวรรดิออตโตมันและพยายามแทรกซึมประเทศอิสลามที่เป็นไม้เบื่อไม้เมาและเผชิญหน้ากับระบอบยิวไซออนิสต์  แม้ว่าจะมีความขัดแย้งเชิงลึกในระดับภูมิภาคเกี่ยวกับประเด็นฉนวนกาซาและสถานการณ์ในกรุงเยรูซาเล็มที่ถูกยึดครองก็ตาม พวกเขาก็ยังตอกย้ำและยืนยันในจุดยืนของการรักษาความสัมพันธ์กับเทลอาวีฟอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้อย่างมีเหตุผลและน้ำหนัก จากคำกล่าวของบางสื่อที่เรียกว่า มันเป็น  “สงครามเย็น” ระหว่างตุรกีและระบอบยิวไซออนิสต์    และอาจเป็น “สงครามลวง”  ก็เป็นได้    และก็มีความเป็นไปได้เช่นกันที่ตุรกีจะดำเนินนโยบายสองแพร่งในวันนี้เนื่องจากไวรัสโคโรนา  ในขณะที่ตุรกีกำลังเผชิญกับวิกฤตไวรัสโคโรนา  ตุรกีก็กำลังเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน การลดค่าเงินอย่างต่อเนื่อง  โดยที่ค่าเงินของตุรกี ลดลงอีก 12 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา  และเมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา เนื่องจากระบอบยิวไซออนิสต์เป็นพันธมิตรที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาค  ตุรกีในยามที่ต้องการการสนับสนุนจากสหรัฐฯในเรื่องต่างๆทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ  จึงทำให้ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายและวาทกรรมบางส่วนของพวกเขาที่มีต่อระบอบการปกครองอิสราเอล(หวังมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ในตะวันออกกลาง)    พยายามติดต่อกับพันธมิตรใหม่กับตะวันตกและยุโรป และในขณะเดียวกันก็พยามรักษาความสัมพันธ์กับพี่น้องมุสลิมในภูมิภาคควบคู่ไปด้วย

source: http://www.iribnews.ir