ทัศนะ: “บทบาทของประชาชน” ในการผลักดันระบอบ “สาธารณรัฐอิสลาม” สู่ความสำเร็จ

155
ในการกล่าวสุนทรพจน์ทางโทรทัศน์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 32 ปี อสัญกรรมอิหม่ามโคมัยนี ผู้นำสูงสุดรัฐปฏิวัติอิสลามอิหร่าน ได้กล่าวถึง สาธารณรัฐอิสลามว่าเป็นความสำเร็จที่สำคัญที่สุดของอิหม่ามโคมัยนี โดยกล่าวว่ากุญแจสำคัญ ที่มีความเฉิดฉาย และเป็นที่น่าภาคภูมิใจ ในการอยู่รอดของระบอบนี้ สามารถสรุปได้จากสองคำ (คือ คำว่า) “สาธารณรัฐและอิสลามการประสานกันอย่างลงรอยระหว่างสองสิ่งนี้ คือกุญแจสู่ความอยู่รอด และไม่ต้องสงสัยเลยว่า สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นจากองค์ประกอบทั้งสองนี้ จะอยู่รอด และคงอยู่ต่อไปได้
เพื่อชี้แจงถึงแง่มุมดังกล่าวจากสุนทรพจน์ของผู้นำสูงสุดฯ เว็ปไซต์ Khamenei.ir ได้ดำเนินการสัมภาษณ์ ดร. ฮามิด พอรซอนิยอ (Dr. Hamid Parsania) รองศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยเตหะราน (Tehran University) โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
คำถาม: สำหรับคำถามแรก โปรดอธิบายว่า การปฏิวัติอิสลามอิหร่านแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ในด้านการเมืองและระหว่างประเทศได้อย่างไร ท่ามกลางอุปสรรค และแผนการ ซึ่งกำหนดขึ้นโดยศัตรูของการปฏิวัติอิสลามอย่างกว้างขวาง? กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ แม้จะมีอุปสรรคทั้งหมดในด้านหนึ่ รวมถึงการคาดคะเนและการวิเคราะห์ต่างๆ ของฝ่ายตรงข้ามเกี่ยวกับการล่มสลาย และการโค่นล้มการปฏิวัติอิสลามในอีกด้านหนึ่ง ทว่าการปฏิวัติอิสลามยังคงอยู่รอดมาได้อย่างไร มากกว่า 40 ปี ในขณะเดียวกันที่ต้องยืนหยัดต่อต้านมหาอำนาจ?
ดร.พาร์ซาเนีย: ในศตวรรษที่ 20 เมื่อการปฏิวัติอิสลามถือกำเนิดขึ้น การปฏิวัติอื่นๆ อย่างมากมาย ก็เกิดขึ้นภายในประเทศที่เรียกกันว่า ประเทศโลกที่สาม เช่นเดียวกัน (อย่างไรก็ดี) การปฏิวัติส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ละตินอเมริกา และแอฟริกาใต้ตามสโลแกนและการเคลื่อนไหวในขั้นต้นของพวกเขาเองนั้น ไม่เพียงแค่ไม่สามารถอยู่รอดต่อไปได้ แต่ยังมีแนวคิดล่าอาณานิคมแบบใหม่เกิดขึ้นในบางประเทศด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่ง พวกล่าอาณานิคมออกจากประตูหนึ่ง และเข้ามาใหม่ในอีกประตูหนึ่ง
นอกเหนือจากจากนี้ ในประเทศโลกที่สาม ตามที่เรียกกันนั้น ไม่มีการปฏิวัติใดที่เกิดขึ้น สามารถเรียกว่า เป็นการปฏิวัติภายในประเทศอย่างแท้จริง แน่นอนว่า การปฏิวัติต่างๆนั้น เกิดขึ้นในประเทศของพวกเขา แต่ทว่าการปฏิวัติเหล่านี้ไม่ได้ขัดขวาง “ระเบียบโลก” ที่คิดค้นและสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 18 และ 19 โดยมหาอำนาจอาณานิคม การปฏิวัติดังกล่าว เพียงแค่เปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางการเมืองในประเทศของตนเท่านั้น
ดังนั้น ระเบียบโลกจึงเข้าแทรกแซง เพื่อเผชิญหน้ากับการปฏิวัติเหล่านั้น โดยดำเนินการเปลี่ยนแปลงตามที่มันเห็นสมควร อันที่จริง การปฏิวัติเหล่านั้น มีนัยยะเฉพาะในบริบทของระเบียบโลกเท่านั้น
เมื่อคุณมีปรากฏการณ์ อาทิ ปรากฏการณ์กลุ่มการเมืองด้านตะวันออก และตะวันตก ดังนี้แล้ว การปฏิวัติจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีลักษณะเฉพาะ และข้อจำกัดที่ถูกกำหนดนิยามโดยมหาอำนาจตะวันออก และตะวันตกเท่านั้น หากมิใช่เช่นนั้น ก็จะไม่มีการดำเนินการปฏิวัติใด ที่สามารถบรรลุผลได้ ส่วนใหญ่ของการปฏิวัติเหล่านี้ ซึ่งมุ่งเน้นไปยังแนวคิดแบบมาร์กซิสต์เป็นส่วนมาก ได้เริ่มต้นและพัฒนาขึ้น เพื่อตอบสนองต่อลัทธิล่าอาณานิคมของฝ่ายยุโรป พวกเขามีทั้งแนวคิดมาร์กซิสต์ หรือ ลักษณะชาตินิยมบางประการ อย่างไรก็ตาม เมื่อการปฏิวัติดังกล่าวเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติงาน พวกเขากลับพบว่า ตนเองต้องพึ่งพากลุ่มการเมืองตะวันออก
การปฏิวัติทั้งหลาย ซึ่งกำลังถูกก่อกวนอยู่ในวรรณกรรมการเมืองของโลกนั้น มีนัยยะความหมาย เฉพาะแต่ภายในกรอบความสัมพันธ์ ที่ถูกทำสัญลักษณ์โดยมหาอำนาจตะวันออก และตะวันตกเท่านั้น ไม่มีแบบอย่างสำหรับการปฏิวัติ ที่จะถือกำเนิดขึ้นนอกขอบเขตแนวคิดทวินิยมนี้ และที่ซึ่งรากฐานทางอุดมการณ์ของมัน แตกต่างจากอำนาจเหล่านั้น ทั้งยังไม่มีผู้ใด รู้สึกว่าสิ่งนั้นจะเกิดขึ้น และดำรงอยู่ต่อไปได้
ทว่าการปฏิวัติอิสลามกลับถือเป็นข้อยกเว้นสำหรับกระบวนทัศน์นี้ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาภายในภูมิภาคนี้การปฏิวัติอิสลามไม่ได้นิยามตนเองบนพื้นฐานของกลุ่มการเมืองตะวันออกสำหรับกลุ่มการเมืองตะวันตกนั้น ในเบื้องต้น ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการปฏิวัติอิสลามอย่างจริงจัง
มหาอำนาจในกลุ่มการเมืองตะวันตก ไม่รู้สึกว่า การปฏิวัติ(อิสลาม)ดังกล่าว จะสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน พวกเขาเคยคิดว่า ด้วยวิธีการโค่นล้มระบอบการเมือง อันเนื่องมาจากสถานการณ์ภายในประเทศ ในที่สุดแล้ว รัฐบาล และระบอบการปกครองอื่นก็จะมาแทนที่ ดังนั้น ทุกคนจึงคาดการณ์ว่า สภาวะคับขัน และชั่วคราวดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในหนึ่งหรือสองเดือน หรืออย่างมากที่สุด ก็ภายในหนึ่งปี จากนั้นระเบียบโลกก็จะดำเนินต่อไปตามปกติ
ขอบเขตต่างๆ ที่คาดการณ์ไว้สำหรับการปฏิวัติอิสลาม ไม่ได้แตกต่างจากที่คาดการณ์ไว้สำหรับประเทศโลกที่สาม ตามที่เรียกกัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง ไม่มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เป็นอิสระ ซึ่งสามารถท้าทายขั้วอำนาจ และความมั่งคั่งระดับโลกได้ นอกจากนี้ สภาพเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าว ย่อมไม่สามารถดำเนินการได้ หากปราศจากการพึ่งพาไปยังประเทศที่มีอำนาจ
หากเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมใดๆ หาหนทางเข้ามาในประเทศโลกที่สามได้ มันก็มีจุดประสงค์ที่เป็นพาสซีพ และเพื่อผู้บริโภคเท่านั้น ด้วยเหตุผลนี้ จึงไม่มีประเทศใด ซึ่งดำเนินการปฏิบัติอยู่ภายใน และตามระเบียบโลกเป็นเวลา 40 ปี สามารถหลุดพ้นจากกรอบของระเบียบที่จัดตั้งขึ้นทั่วโลกได้ นอกจากนี้ พวกเขายังไม่สามารถปฏิบัติงานได้โดยเป็นอิสระ จากกรอบการทำงานนั้น อันเนื่องมาจากสภาพทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของพวกเขา
อย่างไรก็ตามการปฏิวัติอิสลามได้รับแรงบันดาลใจมาจากแหล่งที่มาอีกแห่งหนึ่งเพราะไม่มีการปฏิวัติใดในศตวรรษที่ 20 ที่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งที่มาของประชาชนในแบบเดียวกันกับที่การปฏิวัติอิหร่านได้รับกล่าวคือการปฏิวัติ(อิสลาม)ไม่ใช่ขบวนการกองโจรหรือเป็นการปฏิวัติที่เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากปัญหาภายในตัวเมืองและชนบทและมันก็ไม่ใช่การปฏิวัติที่หมุนรอบกลุ่มชนชั้นสูงเช่นแนวคิดทางการเมืองฝ่ายซ้ายไม่มีการปฏิวัติใดๆที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 ที่เป็นการปฏิวัติของประชาชนอย่างแท้จริงดำรงอยู่ในระดับประเทศอย่างกว้างขวางแต่การปฏิวัติอิสลาม(อิหร่าน)นั้สามารถดึงดูดผู้คนในหมู่บ้านห่างไกลและผู้คนที่อาศัยอยู่ในใจกลางเมืองได้
มันเป็นความพยายามที่กว้างขวางกว่าความพยายามที่เกิดขึ้นระหว่างการเคลื่อนไหวตามรัฐธรรมนูญของอิหร่าน แน่นอน ขบวนการตามรัฐธรรมนูญเอง ก็มีแง่มุมที่ได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างกว้างขวางเช่นเดียวกันกับการเคลื่อนไหวนั้น แม้แต่ผู้หญิงก็ปรากฏตัวในกิจกรรมทางสังคมเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลามและอิหร่าน อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการปฏิวัติอิสลาม เรื่องนี้เกิดขึ้นในขอบเขตที่กว้างขวางกว่ามาก เนื่องจากผู้หญิง และผู้ชาย ในวัยที่แตกต่าง และในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่หลากหลาย ได้แสดงความเห็นร่วมกันอย่างเป็นเอกฉันท์
แง่มุมเกี่ยวกับประชาชนของการปฏิวัติ(อิสลาม) อิหร่าน เป็นเรื่องที่ไม่มีให้เห็นในการปฏิวัติอื่นๆ ด้วยความกว้างขวางเช่นนี้ แง่มุมเกี่ยวกับประชาชนของการปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน กลายเป็นความลับในการอยู่รอด ในช่วงรัฐประหารโนเจห์ (Nojeh Coup) หรือในระหว่างที่อิรักทำสงครามกับอิหร่าน อิหม่ามโคมัยนี (ขอพระเจ้าประทานความเมตตาแก่เขา)จึงพูดกับศัตรูอย่างมั่นใจ โดยกล่าวว่า ในที่สุดพวกเขาจะต้องเผชิญหน้ากับประชาชน เพราะประชาชนจะไม่ประนีประนอมแก่พวกเขา
ความเป็นต่อที่เรามีในช่วงสงครามไม่ใช่อาวุธทางทหารของเราแต่การปรากฏตัวของผู้คนต่างหากคือไพ่แอซ (ไพ่ไม้ตาย) ที่เรามีซ่อนอยู่ในแขนเสื้อ (เพื่อปราบคู่ต่อสู้) ยิ่งไปกว่านั้น การปฏิวัติอิสลาม มิได้เป็นที่รู้สึก เพียงจากภายในขอบเขตทางภูมิศาสตร์เท่านั้น แต่ยังดึงดูดผู้คนจำนวนมากทั่วโลก และนั่นเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อศัตรู พลังของการปฏิวัติ(อิสลาม) อยู่ในแหล่งที่มาของการสนับสนุนจากประชาชน และสิ่งที่รับประกันการสนับสนุนของประชาชนนี้ก็คือ วัฒนธรรมที่ครอบงำอยู่ในโลกอิสลามอันกว้างใหญ่
การปฏิวัติอิสลามมีชีวิตได้ ด้วยกับอัตลักษณ์ของอิสลาม ทั้งยังตอบสนองต่อความต้องการทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และอารยธรรมในโลกของอิสลาม นั่นคือเหตุผล ที่วัฒนธรรมนั้น มีอิทธิพลอย่างมากต่อชีวิตของผู้คน ประเด็นดังกล่าวทำให้ศัตรูต้องตั้งท่า เพราะอิหร่านแข็งแกร่งขึ้นจากภายใน และดึงดูดผู้คนในภูมิภาค ทั้งยังเปลี่ยนแปลงทิศทางของการต่อต้าน
การสันนิษฐานก็คือ ข้อตกลงแคมป์เดวิดได้แก้ไขความขัดแย้ง นำไปสู่การที่อิสราเอลนั่งร่วมบนโต๊ะเจรจากับทุกคนที่ยึดอาวุธต่อต้านมัน— (ณ ที่นี้ หมายถึง) กลุ่มชาตินิยมอาหรับ อย่างไรก็ตาม การปฏิวัติอิสลามได้เปลี่ยนสมการทั้งหลาย และกลายเป็นหัวหอกของขบวนการใหม่ และพลวัตใหม่ในปาเลสไตน์ แต่คราวนี้ การเคลื่อนไหวไม่ได้หมุนรอบแนวความคิดแบบชาตินิยมอาหรับ หรือรอบ ๆ วรรณกรรมฝ่ายซ้ายของแนวคิดมาร์กซิสต์ แต่ถูกหล่อหลอม โดยแนวความคิดอิสลาม และมันยังได้รับประโยชน์จากศักยภาพอย่างมหาศาล
ปัญหานี้นำไปสู่การเผชิญหน้ากันอย่างจริงจังในระดับโลก และในทางกลับกัน ได้ให้การหนุนหลังที่แข็งแกร่งสำหรับการปฏิวัติ—นั่นคือการสนับสนุนจากประชาชน พวกเขาคือ ผู้คนที่เติบโตอยู่ในใจกลางของวัฒนธรรมอิสลาม ซึ่งในหลักการแล้วมีพื้นฐานมาจากธรรมชาติของมนุษย์ ส่วนหนึ่งของธรรมชาตินี้มาจากการเรียกร้องความยุติธรรมของการปฏิวัติ ในขณะที่มันท้าทายระเบียบที่ไม่สมดุลและโหดร้ายในโลก ทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก สำหรับการเคลื่อนไหวของการปฏิวัติ ซึ่งพูดตามศาสนา ในส่วนของโลกที่ไม่ใช่อิสลาม และสิ่งนี้แสดงออกโดยตัวมันเอง จนถึงขอบเขตที่มันได้ท้าทายการตีความศาสนาในระดับสังคมวิทยาเป็นอย่างมาก
คำถาม: ผู้นำการปฏิวัติอิสลามชี้ให้เห็นถึงบทบาทของสาธารณรัฐในมุมมองทางการเมืองของอิหม่ามโคมัยนี (ขอพระเจ้าประทานพระเมตตาแก่ท่าน) และความเข้าใจอย่างลึกซึ้งของอิหม่ามเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม และความไว้เนื้อเชื่อใจอย่างลึกซึ้งที่มีต่อประชาชน ในฐานะแหล่งที่มาของการสนับสนุน การดำเนินการเอาทฤษฎีสาธารณรัฐอิสลามมาปฏิบัติ ใช้ โปรดอธิบายบทบาทของการเลือกตั้ง ในการตระหนักถึงมุมมองของสาธารณรัฐในการปฏิวัติ
ดร.พาร์ซาเนีย: ในการปฏิวัติอิสลาม คำว่าอำนาจไม่ได้ถูกนิยามให้สัมพันธ์กับอำนาจ และรัฐทั้งหลาย ที่ครอบงำโลก ในขณะที่การปฏิวัติอื่นๆ ก่อนหน้านี้ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น อำนาจและอัตลักษณ์ดังกล่าว ถูกสร้างและกำหนดนิยาม โดยสัมพันธ์กับมหาอำนาจโลก
ในการปฏิวัติอิสลาม อำนาจมาจากประชาชน โดยหลักการแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับการปฏิวัติมีความสำคัญ โดยเฉพาะด้านวัฒนธรรม และการใช้เหตุผลทางสติปัญญา ซึ่งหมายความว่า หากอิสลาม ในฐานะศาสนา ไม่ได้มีปรากฏอยู่อย่างเข้มข้นในชีวิตของประชาชน (ของอิหร่านในกรณีนี้) หรือหากศาสนาอิสลาม ไม่เคยเน้นย้ำ ถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ในประเด็นทางการเมืองและสังคม) หรืออิสลามเอง ไม่มีการอ้างสิทธิ์ทางสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ และหากมี มันจะไม่ทำให้ภาระหน้าที่นี้ มีขึ้นกับผู้คนในการแสดงสถานะนี้ ความสัมพันธ์นี้ก็ย่อมจะไม่ได้รับการส่งเสริม
ดังนั้น รากนี้จึงมีอยู่ในคำสอนของศาสนาอิสลาม เช่นเดียวกัน โดยแก่นแท้แล้ว ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่เกี่ยวข้องกับสังคม เพราะในหลักการแล้ว ศาสนา(อิสลาม) ไม่อาจหลีกเลี่ยง การเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสังคมได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ศูนย์กลางของคำสอนทางศาสนา(อิสลาม)นั้น ไม่ได้เป็นเซคิวลาร์ (ซึ่งแยกศาสนาออกจากการเมือง) และมันเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในโลก ดังนั้นโลกนี้ จึงเป็นภาพสะท้อนของสัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์ และสัจธรรมอันศักดิ์สิทธิ์นั้น ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับศาสนา และยึดมั่นในแนวทางซึ่งข้องเกี่ยวกับศาสนา เมื่อคำนึงถึงโลกและมนุษยชาติ จึงไม่อาจกำหนดนิยามส่วนใดส่วนหนึ่งของชีวิตตนเอง อื่นไปจากจากความรู้ดังที่ว่ามาได้
แม้ว่าเขา/เธอไม่ต้องการมีสถานะทางการเมืองอย่างแข็งขัน อย่างไรก็ตาม การไม่แสดงสถานะทางการเมืองของเขา/เธอ ก็จะต้องมีการให้เหตุผล ด้วยสาเหตุนี้เอง ตราบใดที่วัฒนธรรมทางศาสนายังปรากฏอยู่อย่างจริงจังในโลก ยกเว้นในโลกสมัยใหม่ พวกเขาให้เหตุผลกับอำนาจทางการเมืองของตน ตามหลักการศาสนา(อิสลาม) เพราะแง่มุมทางศาสนา(อิสลาม)เรียกร้องสิ่งนี้จากพวกเขา
แน่นอน แง่มุมทางศาสนา เรียกร้องให้แง่มุม ต่างๆ ของชีวิตทำการนิยามความสัมพันธ์ของมันกับสัจธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ และที่เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า และจากนั้น อิสลามชี้แจงเกี่ยวกับศาสนาแห่งพระผู้เป็นเจ้านี้ ด้วยสโลแกนของมันเอง
ศาสนาได้ชี้แจงเรื่องเหล่านี้: การปกป้องความยุติธรรม ความอ่อนไหวต่อผู้อื่น การพัฒนาทางอารมณ์ ความผูกพันกับอิสลาม และครอบครัว ฯลฯ ทั้งหมด ล้วนมีเอกลักษณ์ทางศาสนา และถูกตีความอยู่บนพื้นฐานของศาสนา การเข้าร่วมกับผู้อื่น จากมุมมองทางสังคม ก็สามารถมีเหตุผลทางศาสนาได้เช่นกัน อันที่จริง อิหม่ามโคมัยนี ได้รับประโยชน์จากแง่มุมทางศาสนา ในศาสนาอิสลามและอิหร่าน และเสริมสร้างความสัมพันธ์ของมันกับผู้คน
จากมุมมองทางศาสนา จักรวาลทั้งหมดมุ่งไปที่พระเจ้า กล่าวอีกนัยหนึ่ง ระบบชีวิตถูกกำหนดด้วยพระประสงค์ของพระเจ้า และมันคือเหตุผลของมนุษย์ และการวิวรณ์จากพระองค์ ที่ทำความเข้าใจ และชี้แจงพระประสงค์ของพระเจ้านี้ ดังนั้น มุมมองอิสลาม จึงเป็นตัวกำหนดความชอบธรรมของระบบ แต่ภายในกรอบศาสนาเดียวกันนี้ ประเด็นนี้ เน้นว่าชีวิตปัจเจกบุคคล และชีวิตทางสังคมของผู้คน ก็จะต้องได้รับการตระหนักรู้ ผ่านความมุ่งมั่นโดยสำนึก และความคิดของตนเองเช่นกัน
แม้ว่าความชอบธรรมจะมาจากพระเจ้า ผู้ทรงฤทธานุภาพ แต่ความเป็นจริงของเรื่องนี้ เกิดขึ้นพร้อมกับการปรากฏของผู้คน ดังนั้น หากผู้ใดก็ตาม แสวงหาการเสริมสร้าง และช่วยเหลือศาสนาแล้ว เขาย่อมไม่สามารถละเลยบทบาทของผู้คนได้ พวกเขาควรส่งเสริมทัศนะของตน แต่ควรให้ความสนใจกับองค์ประกอบนี้ที่ว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงสถิตอยู่ในชีวิตของผู้คน สำนึกร่วม (ซึ่งเกิดจากความมุ่งมั่นโดยตนเอง) ของผู้คน มีความสำคัญต่อการเชื่อมนัยยะที่มีความหมาย ไปยังเรื่องนี้ หากผู้คนไม่ยอมรับสิ่งนี้ คุณควรรู้ว่ามันไม่ได้อยู่ในขอบเขตของอำนาจของคุณ ในการส่งเสริมศาสนา
อันที่จริง ศาสนาขึ้นอยู่กับการปรากฏของผู้คนในแง่ของการตระหนักรู้ร่วมกันในสังคม ไม่ใช่ในแง่ของความชอบธรรม อิหม่ามอาลี (อ.) กล่าวกับมาลิก อัลอัชตาร์ว่า
“สามัญชนในชุมชนเป็นเสาหลักของศาสนา เป็นพลังของมุสลิม และเป็นการป้องกันไปยังศัตรู ดังนั้นคุณควรเอนเอียงไปทางพวกเขา และให้ความชอบของคุณอยู่กับพวกเขา” [นะฮ์ยุลบะลาเฆาะฮ์ จดหมายที่ 53]
มวลชนเป็นเสาหลักของศาสนา หากการละหมาดทุกวันเป็นเสาหลักของศาสนา การมีส่วนร่วมของประชาชนก็เช่นเดียวกัน เสาหลักของศาสนาขึ้นอยู่กับการปรากฏของผู้คน นั่นคือเหตุผลที่บรรดาศาสดา(อ.) จึงส่งเสริมคำสอนของพวกเขา ในหมู่ผู้คน หากผู้คนไม่ตอบรับการเชิญชวนของพวกเขา เป้าหมายของบรรดาศาสดา ก็จะไม่บรรลุผล
อิหม่ามอาลี (อ.) กล่าวสิ่งนี้กับมาลิก อัลอัชตาร์ ระหว่างดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ ในคราวที่การมีส่วนร่วมของผู้คนถูกสำแดงอย่างสมบูรณ์ หน้าที่ของตัวแทน และบรรดาศาสดาของพระเจ้า จึงถูกเติมเต็ม
พระเจ้ามีบัญชาให้ผู้คงแก่เรียนทำหน้าที่ของตนแต่ข้อกำหนดสำหรับสิ่งนั้นคือความร่วมมือของผู้คนเราควรให้ความสนใจว่าความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตามศาสนานั้นขึ้นอยู่กับการปรากฏ (มีส่วนร่วม) ของผู้คน ผู้นำการปฏิวัติอิสลามให้ความสำคัญกับเรื่องนี้โดยอธิบายมันในฐานะ ประชาธิปไตยในกรอบศาสนา [Religious democracy] ทำไมหรือ? เขาใช้คำนี้เพื่อจำแนกแยกแยะมันออกจากประชาธิปไตย [ประชาธิปไตยแบบตะวันตก/ Western democracy]
คำว่า “ประชาธิปไตย” เป็นการรวมกันของคำสองคำ: “demo” (มวลชน) และ “cracy” (อำนาจ) ในระบอบประชาธิปไตย ความชอบธรรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งดำรงอยู่สูงสุด และสัจธรรมสูงสุด แต่ความชอบธรรมนั้นขึ้นอยู่กับผู้คนที่อยู่ที่นั่น กล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้คนคือผู้ดำเนินการระบบ และเป็นสัจธรรมที่กำหนดนิยามแก่มัน อย่างไรก็ตาม ในระบอบประชาธิปไตยในกรอบศาสนา ความชอบธรรมมีตรรกะ ความเข้าใจ เหตุผลและข้อผูกมัดของมันเอง
การดำเนินการของประชาธิปไตยในกรอบศาสนา เป็นไปได้ โดยการอธิบายสัจธรรมในจิตใจ และการกระทำของผู้คน คุณลักษณะที่มีอยู่ในอิหม่ามโคมัยนี (ขอพระเจ้าประทานสวรรค์ให้กับเขา) คือ ความตระหนักรู้ของเขา เกี่ยวกับพัฒนาการของเวลา และความเข้าใจอย่างลึกซึ้งที่เขามีเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางศาสนาของผู้คน ในขณะที่เขาพยายามส่งเสริมความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับผู้คน และจัดตั้งทฤษฎีสาธารณรัฐอิสลาม และบรรลุทั้งสองอย่างร่วมกัน
______
Source: khamenei.ir