วิเคราะห์ “โลกทัศน์ของตาลีบัน”  (ตอนที่1)

120

สามเดือนหลังจากการล่มสลายของรัฐบาลอัฟกานิสถานและการเข้ามามีอำนาจของตาลีบันในประเทศ  สถานการณ์ในอัฟกานิสถานก็ดูเหมือนว่าไม่เพียงแต่ยังไม่รู้ทิศทางการเมืองและในระดับนานาชาติเท่านั้น และเมื่อพิจารณาในด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้สถานการณ์ในประเทศมีความหวาดวิตกต่อภัยพิบัติด้านมนุษยธรรมที่ไม่อาจจินตนาการได้

ในเรื่องนี้ ทางสำนักข่าว IQNA  ได้สัมภาษณ์ ดร. อับดุลการีม พอกซาด์  อดีตศาสตราจารย์ด้านกฎหมายและรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคาบูลและนักวิจัยที่มูลนิธิฝรั่งเศสเพื่อการศึกษาระหว่างประเทศและยุทธศาสตร์ (L’IRIS) ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้

IQNA – สามเดือนผ่านไปนับตั้งแต่การถอนทหารสหรัฐออกจากอัฟกานิสถาน และเราเห็นว่ารัฐบาลตาลีบันยังไม่ได้รับการยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศ อะไรคือสาเหตุของเรื่องนี้?

ดร. อับดุลการีม พอกซาด์  – มีเหตุผลหลายประการสำหรับเรื่องนี้ สำหรับหลายประเทศ โดยเฉพาะบางประเทศในภูมิภาคนั้น   เมื่อย้อนดูอดีตของตาลีบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับอัลกออิดะห์แล้ว มันเป็นตัวยับยั้งสำหรับการเป็นที่ยอมรับของประชาคมระหว่างประเทศจนถึงทุกวันนี้  แม้ข้อเท็จจริงที่ว่าตาลีบันจะมีความแตกต่างกับไอซิส แต่โดยพื้นฐานแล้วพวกเขาไม่มีพื้นฐานทางอุดมการณ์หรือหลักความเชื่อ

ตาลีบันเชื่อว่า “ชะรีอัต” เป็นพื้นฐานของรัฐบาล เศรษฐกิจ สังคมสัมพันธ์ พลเรือนและการเมืองในทุกมิติ และไม่จำเป็นต้องมีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอาญาหรือกฎหมายแพ่งอื่น ๆ  ซึ่งไม่ห่างมากนักจากโลกทัศน์ของไอซิส   เหตุผลหลักสำหรับความแตกต่างและแม้กระทั่งความรุนแรงระหว่างสองกลุ่มนี้ คือตาลีบานเป็นขบวนการชาตินิยมและส่วนใหญ่เป็นขบวนการทางชาติพันธุ์ ในขณะที่ไอซิสเป็นขบวนการโลกาภิวัตน์และระดับนานาชาติที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้โลกเป็นอิสลามโดยการฟื้นฟูระบอบการปกครองแบบคอลีฟะห์

สำหรับไอซิส เป้าหมายนี้กำลังถูกใช้ในภาคปฏิบัติโดยอาศัยความไม่เป็นระเบียบและปัญหาความมั่นคงในประเทศอิสลาม  ไอซิสในอัฟกานิสถานพยายามที่จะบรรลุวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์นี้ผ่านการโจมตีฆ่าตัวตายและการสังหารชนกลุ่มน้อยทางศาสนาชีอะห์ (ฮาซารา) อันที่จริงแล้วไอซิสก่อตั้งขึ้นบนพื้นฐานของความเป็นปรปักษ์ ความรุนแรงและการต่อสู้ต่อชาวชีอะห์ในอิรัก และพวกเขาก็เคยยึดอำนาจสำเร็จมาแล้วในช่วงระยะเวลาหนึ่ง  แม้ว่าวันนี้ตาลีบันที่กำลังแสวงหาการยอมรับจากบรรดาประเทศในภูมิภาคและรู้ว่าชาติตะวันตกจะไม่ให้การยอมรับ “เอมิเรตอิสลาม” ของพวกเขาอย่างแน่นอน    และในทางตรงกันข้าม แม้ว่าชาวชีอะห์ในอัฟกานิสถานไม่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงและการสังหารหมู่เหมือนในช่วงแรกของการปกครองของพวกเขา แต่จากมุมมองโลกทัศน์นั้นตาลีบันก็ไม่ได้แตกต่างอะไรจากไอซิสในทัศนคติที่มีต่อชาวชีอะห์มากนัก   อย่างไรก็ตามการก่อตัวของรัฐบาลปัจจุบันซึ่งพวกเขาเรียกว่า “รัฐบาลที่ครอบคลุม” และชีอะห์ฮาซาราก็ไม่มีที่ยืนใดๆก็เป็นการบ่งชี้ถึงคำกล่าวอ้างนี้ได้อย่างดี

นอกจากนั้น ยังมีเหตุผลอื่นๆ ที่ประเทศที่สนับสนุนการยอมรับ “ตาลีบันในฐานะอิสลามิกเอมิเรต” เช่น ปากีสถาน กาตาร์ ตุรกี และแม้แต่จีน ก็ปฏิเสธที่จะยอมรับตาลีบันในสถานการณ์ปัจจุบัน   ส่วนทางด้านสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และองค์การสหประชาชาติได้กำหนดเงื่อนไขไว้อย่างชัดเจนสำหรับการยอมรับตาลีบัน ซึ่งบางส่วนได้รับการยอมรับจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาค เช่น สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน

ทั้งนี้ไม่อาจมองข้ามประเทศที่สนับสนุนให้การยอมรับการมีอยู่ของตาลีบันอย่างรวดเร็วได้  เว้นแต่พวกเขาจะยอมรับความเสี่ยงจากปฏิกิริยาเชิงลบในระดับสากล  และเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดคือการจัดตั้งรัฐบาลที่ครอบคลุมซึ่งภาคส่วนชาติพันธุ์และสังคมทั้งหมดของอัฟกานิสถานเข้ามามีส่วนร่วมด้วย

การจัดตั้งรัฐบาลเช่นนี้จึงจะสามารถยุติสงคราม 40 ปีในอัฟกานิสถานและฟื้นฟูสันติภาพและเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศได้  และด้วยเหตุนี้ สถานการณ์ปัจจุบันในอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นประเทศที่คุกคามสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาคและอื่น ๆก็จะสิ้นสุดลง

เงื่อนไขที่สอง ซึ่งประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ถือว่าสำคัญแต่ไม่มีประเทศอื่นคัดค้านอย่างเปิดเผย ได้แก่ การเคารพสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิพลเมือง สิทธิของชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์และศาสนา และสิทธิสตรี รวมทั้งสิทธิในการศึกษา และสิทธิในการทำงาน ไม่เพียง แต่เป็นความต้องการของโลก แต่ยังเป็นความต้องการของชาวอัฟกันส่วนใหญ่อีกด้วย

ทั้งนี้ ควรกล่าวว่า การตัดสินใจล่าสุดของสหประชาชาติที่เลื่อนคำเรียกร้องของกลุ่มตาลีบันให้ได้เก้าอี้ที่นั่งในองค์กรออกไปอย่างไม่มีกำหนดนั้น ไม่ใช่สิ่งจูงใจสำหรับผู้ที่ต้องการยอมรับกลุ่มตาลีบัน

ติดตอนตอนที่2

source:

https://iqna.ir/