ก้าวย่างของอิหร่านและชาติอาหรับในภูมิภาคในการปรับความสัมพันธ์

105

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านหารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทวิภาคีและระดับภูมิภาคกับคูเวต  เอมิเรตส์ โอมาน และกาตาร์

รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน ฮุสเซน อะมีร อับดุลลอฮิยอน  ทวีตเมื่อคืนวันอังคารที่26 กรกฎาคม ว่า : “วันนี้ ฉันได้พูดคุยกับพี่น้องของฉัน รัฐมนตรีต่างประเทศของคูเวต สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน และกาตาร์ และก่อนหน้านั้นที่อิรัก  การให้คำปรึกษาในประเด็นระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติและการตรวจสอบแนวทางแก้ไขสำหรับการพัฒนาความสัมพันธ์เป็นหนึ่งในข้อกำหนดของนโยบายกับประเทศเพื่อนบ้าน”

หัวหน้าฝ่ายบริการทางการทูตของอิหร่านกล่าวเสริมว่า: “เราจะเร่งความร่วมมือระหว่างกัน กับเพื่อนบ้านและ ชาวต่างชาติไม่สามารถขัดขวางกระบวนการของความร่วมมือระดับภูมิภาคนี้ได้”

รัฐบาลอิหร่านชุดนี้  ซึ่งจัดลำดับความสำคัญของประเทศเพื่อนบ้าน  และประเทศมุสลิม ไว้ในลำดับความสำคัญอันต้นๆของนโยบายต่างประเทศ  ก่อนหน้านี้ได้พยายามแก้ไขความเข้าใจผิดและขยายความสัมพันธ์กับพวกเขามากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะประเทศบริเวณชายแดนทางใต้ของอ่าวเปอร์เซีย  และประเทศเหล่านี้ ซึ่งตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความสัมพันธ์เพื่อนบ้านกับอิหร่าน ได้แสดงความปรารถนาที่จะปรับปรุงและส่งเสริมความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน

ตัวอย่างเช่น คูเวตได้ตัดสินใจที่จะขยายความสัมพันธ์ทางการเมืองกับอิหร่าน แม้ว่าจะมีข้อพิพาทเรื่องพรมแดนกับอิหร่านอยู่บ้าง ซึ่งรวมถึงข้อพิพาททางกฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งเขตแดนของน้ำและแหล่งก๊าซเอรัช และในบริบทนี้ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า เอกอัครราชทูตคูเวตประจำกรุงเตหะรานคนใหม่จะมายังอิหร่าน

ในรอบเจ็ดปี  ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ตัดสินใจที่จะขยายระดับความสัมพันธ์กับอิหร่านในเวทีการเมืองอีกครั้ง และยกระดับความสัมพันธ์เหล่านี้เป็นระดับเอกอัครราชทูต

ในการนี้ “ชีคอับดุลลาห์ บิน ซายิด อัล นาห์ยาน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กล่าวถึงผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกัน  และได้ยกระดับผู้แทนทางการเมืองในกรอบ ความสำคัญของการขยายความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และอิหร่านเป็นสองประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย

ในขณะเดียวกัน หลังจากการเจรจาระหว่างอิหร่านและซาอุดีอาระเบียกับการไกล่เกลี่ยของอิรักและการประกาศความพึงพอใจของฝ่ายต่างๆ ต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น  ทาง ฝ่ายอียิปต์และจอร์แดนก็ต้องการขยายความสัมพันธ์กับอิหร่านด้วยเช่นกัน

ความล้มเหลวของอเมริกาในการโดดเดี่ยวสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน

การพัฒนาและการปรึกษาหารือเหล่านี้มีขึ้นเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ที่สามารถกระชับการบรรจบกันและสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค   ในขณะที่การเยือนเอเชียตะวันตกครั้งล่าสุด ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ  ได้พยายามสร้างแนวร่วมต่อต้านอิหร่านโดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบอบไซออนิสต์และขยายความสัมพันธ์ของประเทศอาหรับกับระบอบการปกครองนี้ด้วยการกล่าวหาอิหร่านซ้ำแล้วซ้ำเล่า  แต่การตัดสินใจของประเทศอาหรับในภูมิภาคที่จะยกระดับความสัมพันธ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจกับสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน แสดงให้เห็นว่าวอชิงตันล้มเหลวอีกครั้งในการโดดเดี่ยวและกดดันอิหร่านอย่างสูงสุด

อันที่จริง ประเทศอาหรับในภูมิภาคได้ตระหนักว่าการเพิกเฉยต่อบทบาทของอิหร่านในฐานะประเทศที่มีอำนาจซึ่งมีความสามารถเชิงยุทธศาสตร์ในภูมิภาคนั้น มันเป็นไปไม่ได้ และด้วยเหตุนี้ พวกเขาไม่ได้แสดงการสนับสนุนอย่างจริงจังสำหรับแผนของอเมริกาในภูมิภาคนี้

ตัวอย่างเช่น นายไซอล บินฟัรฮาน  รัฐมนตรีต่างประเทศซาอุดิอาระเบียกล่าวว่าไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “นาโต้อาหรับ” และกล่าวว่า: “การแก้ปัญหาทางการทูตเป็นทางออกที่ดีที่สุดและเป็นหนทางเดียวในการปฏิสัมพันธ์กับอิหร่าน”

เห็นได้ชัดว่าหลังจากความล้มเหลวของสหรัฐอเมริกาและระบอบไซออนิสต์ในการสร้างพันธมิตรต่อต้านอิหร่านในภูมิภาคนี้ ดูเหมือนว่าประเทศอาหรับกำลังดำเนินการเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์กับอิหร่านอย่างจริงจังอีกครั้ง   และสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการบรรจบกันในฐานะเป็นข้อกำหนดสำหรับความมั่นคงและเสถียรภาพตลอดจนผู้ค้ำประกันผลประโยชน์ของชาติต่างๆ ในภูมิภาคนี้

ตามคำกล่าวของ อะห์มัด ดาสมอเลเชยอน  อดีตเอกอัครราชทูตอิหร่านในจอร์แดนว่า จนถึงขณะนี้ อเมริกาเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการสร้างสายสัมพันธ์ของประเทศเพื่อนบ้าน และอิสราเอลก็กำลังสร้างข้อพิพาท แต่เมื่อพิจารณาถึงความล้มเหลวอย่างต่อเนื่องของอเมริกาในภูมิภาคนี้ ดูเหมือนว่าประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้กำลังฟื้นความสัมพันธ์กับอิหร่าน

source:

tehrantimes

https://farsi.iranpress.com