เมื่อวันที่ 3 ม.ค.ว่า สำนักพระราชวังซาอุดีอาระเบีย แถลงอาการของ อับดุลเลาะฮ์ กษัตริย์แห่งซาอุดีอาระเบีย ที่มีอายุ 90 พรรษา ได้เข้าโรงพยาบาลคิงส์ อับดุลอาซิซ เมดิคัล ซิตี้ ในกรุงริยาด ผลการตรวจพบว่า มีอาการปอดบวม ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ อาการโดยรวมทรงตัว แต่ไม่ได้เปิดเผยว่าจะรักษาตัวในโรงพยาบาลต่ออีกกี่วัน
ประเด็นอาการป่วยหนักของกษัตริย์ อับดุลเลาะฮ์ วัย 90 พรรษา ซึ่งโอกาสที่จะเสียชีวิตเป็นไปได้สูง และจะเกิดภาวะวิกฤตตามมาอย่างรุนแรงในซาอุดิอาระเบีย ซึ่งขณะนี้กลายเป็นข่าวหน้าหนึ่งของสื่อทั่วโลกไปแล้ว
ซัลมาน บิน อับดุลอาซิส และ ม็อคเรน บิน อับดุลอาซิส (น้องชายต่างมารดา) คือสองมกุฎราชกุมารแห่งซาอุดิอาระเบีย ที่เป็นแคนดีเดตที่มีการพูดถึงมากที่สุดที่จะขึ้นปกครองอำนาจแทนกษัตริย์ อับดุลเลาะฮ์
ทว่า ซัลมาน บิน อับดุลอาซิส ต้องต่อสู้กับความแก่ชราที่ย่างก้าวสู่วัย 80 พรรษา ส่วน ม็อคเรน บิน อับดุลอาซิส ที่ทำหน้าที่แทนกษัตริย์อับดุลลอฮ์ นั้น ก็กำลังเผชิญหน้ากับการต่อต้านและความขัดแย้งภายในราชสำนักอย่างหนัก
ประเด็นหลักที่สำคัญคือ การกำหนดแต่งตั้งตำแหน่งผู้ปกครองในซาอุดิอาระเบีย จะมุ่งไปในทิศทางใด ??? นี่คือสิ่งสำคัญที่จะต้องจับตามอง…
ในวันนี้หากมีการถามพลเมืองชาวซาอุดิอาระเบียว่า ใครจะเป็นผู้ที่จะขึ้นครองอำนาจและเป็นผู้ปกครองหลังกษัตริย์อับดุลลอฮ์ คำตอบที่จะได้รับคือ ซัลมาน บิน อับดุลอาซิส คือกษัตริย์คนต่อไป
ทว่าหาก ซัลมาน บิน อับดุลอาซิส วัย 80 ปี ขึ้นครองอำนาจในซาอุดิอาระเบียแล้ว ปัญหาที่จะตามมาคือ ใครจะขึ้นรับตำแหน่งรัชทายาทแห่งซาอุดิอาระเบียคนต่อไป เพราะภายในราชสำนักมีความขัดแย้งอย่างหนัก
ซัลมาน และ ม็อคเรน ทั้งสองเป็นลูกหลานของอับดุลอาซิส ผู้สถาปนาราชวงศ์ซาอูด ผู้เป็นกษัตริย์องค์แรกของซาอุดิอาระเบีย ซึ่ง กษัตริย์ อับดุลอาซิส ถูกรู้จักในนาม อิบนู มัสอูด เสียชีวิตเมื่อปี 1953
ซัลมาน บิน อับดุลอาซิส วัย 80 ปี เป็นหนึ่งในทายาทของ “7 สะดีรีย์” ที่เหลืออยู่ ซึ่ง สะดีรีย์ เป็นฉายานาม ที่บรรดาลูกๆ ของ อิบนุ มัสอูด ให้กับภรรยาสุดที่รักและภรรยาคนโปรดของกษัตริย์อับดุลอาซิส ซึ่งมีชื่อ ว่า ฮิศอฮ์ สะดีรีย์
ปัจจุบัน ซัลมาน บิน อับดุลอาซิส ดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรองนายกรัฐมนตรี และในปี 2012 ถูกแต่งตั้งให้เป็นรัชทายาทอันดับ 1 ของพระราชวงศ์ ซาอุดิอาระเบีย แทน เจ้าชาย นาเยฟ บิน อับดุลอาซิส ที่เสียชีวิต
มีหลักฐานและตัวอย่างมากมายที่บ่งชี้ว่า ซัลมาน บิน อับดุลอาซิส เป็นโรคอัลไซเมอร์ ดังนั้นจึงไม่มีความสมบูรณ์พอที่จะขึ้นดำรงตำแหน่งประมุขสูงสุดของซาอุดิอาระเบีย
ไซม่อน เฮนเดอร์สัน นักวิจัยแห่งสถาบันแห่งหนึ่งในกรุงวอชิงตันและผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองในราชวงศ์ซาอุฯ ได้เขียนหนังสือในประเด็นนี้เป็นการเฉพาะจำนวนสองเล่มด้วยกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นมีการเขียนถึงอาการโรคอัลไซเมอร์ ของ ซัลมาน บิน อับดุลอาซิส ว่า “แม้ว่า ซัลมานจะปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานในการดำเนินการประชุมในวาระต่างๆได้ แต่เนื้อหาทั้งหมดได้ถูกกำหนดวางและเตรียมมาแล้วทั้งสิ้น และมันเป็นตัวบ่งชี้ว่าเขากำลังเข้าสู่ภาวะเสื่อมถอยทางสติปัญญา และบรรดาบุคคลที่เคยเข้าพบก็เปิดเผยว่า เขาจะพูดได้เพียงแค่ไม่กี่นาทีเท่านั้น จากนั้นก็จะแสดงอาการของคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ให้เห็นในทันที”
ในแวดวงรัฐบาลของซาอุดิอาระเบียได้กล่าวว่า สภาพของซัลมานนั้นย่ำแย่ขนาดหนักโดยที่ไม่มีโอกาสที่จะดูแลกิจการใด ๆ ของประเทศได้อีกแล้วนอกจากดูแลอาการเจ็บป่วยของตนเองเท่านั้น!!
ประเด็นดังกล่าวนี้เอง ที่เป็นเหตุทำให้เกิดการแบ่งอำนาจกันอย่างจริงจังขึ้นในระหว่างชั้นหลานของราชวงศ์ซาอูด และประเด็นดังกล่าวนี้ยังได้ลามเข้าไปถึงบรรดามุฟตีย์ (นักวิชาการศาสนา) ของซาอุฯ ด้วยเช่นกัน โดยที่บรรดาคณะเจ้าหน้าที่กำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว (ตำรวจศาสนา) ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังจากกลุ่มวะฮาบี จะให้การสนับสนุนเจ้าชายมุฮัมมัด บินนาเยฟ ส่วนบรรดานักวิชาการชาวซาลาฟีที่ไม่มีแนวคิดวะฮาบี และส่วนใหญ่รวมตัวกันอยู่ในนครมักกะฮ์และมะดีนะฮ์ ได้ให้การสนับสนุนเจ้าชายมัตอับ บินอับดุลอฮ์
ประเด็นที่น่าหวาดวิตกกังวลเช่นนี้ ทางการซาอุดิอาระเบียพยายามที่จะไม่มีมีการพูดถึงโดยตรง และอาจเป็นเพราะสาเหตุนี้เอง ทางการซาอุฯ จึงออกมาชี้แจงในการแต่งตั้งให้ ม็อคเรน เป็นรัชทายาทอันดับที่ 2 ในปี 2013 ซึ่งไม่เคยมีปรากฏมาก่อนในหน้าประวัติศาสตร์ซาอุฯ เพื่อจุดประสงค์ในการสืบราชบัลลังก์
อีกด้านหนึ่งทางสำนักข่าวกรองของอิสราเอล ฝ่ายกิจกรรมในซาอุดิอาระเบีย เปิดเผยว่า ประเด็นผู้ปกครองจะมีการกล่าวถึงเฉพาะภายในราชวงศ์ซาอูดเพียงเท่านั้น และนี่คือวิกฤตปัญหาภายในที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ขณะที่ผู้สนับสนุน ม็อคเรน (ทายาทคนสุดท้ายของคิงส์ อับดุลอาซิส ) เชื่อมั่นว่า เขามีโอกาสมากกว่าคนอื่นๆในบรรดาบุตรของอับดุลอาซิส ที่ยังหนุ่มแน่น ในการจะขึ้นครองอำนาจการปกครองสูงสุดแห่งซาอุดิอาระเบีย
แต่สามารถกล่าวได้เลยว่า การแต่งตั้งให้ ม็อคเรน ขึ้นมาเป็นผู้ปกครอง ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะบรรดารัชทายาทคนอื่นๆ ไม่เห็นด้วยและคัดค้านที่จะให้เขาขึ้นมาปกครอง และประเด็นนี้ที่เป็นที่โจษขานในซาอุดิอาระเบีย
อีกด้านหนึ่งมารดาของ ม็อคเรน เป็นหญิงทาส ชาวเยเมน ดังนั้นในด้านสถานะภาพ เขาจึงต่ำต้อยกว่าทายาทคนอื่นๆในราชวงศ์ซาอูด ด้วยเหตุนี้ ม็อคเรน จึงเป็นที่น่ารังเกียจในสายตาของบุคคลในราชสำนัก เพราะราชสำนักจะให้ความสำคัญต่อต้นกระกูลและเชื้อสายเป็นอย่างมาก
หลังจากที่ได้นำเสนอสองบุคคลที่มีโอกาสสูงในการขึ้นครองอำนาจหลังจากกษัตริย์ อับดุลเลาะฮ์ ทำให้บรรดานักวิเคราะห์ ผู้เชี่ยวชาญทางการเมือง ถือว่า การเมืองของซาอุฯ จะถึงขั้นวิกฤตอย่างแน่นอนหลังการเสียชีวิตของกษัตริย์อับดุลลอฮ์ และจะเกิดความขัดแย้งภายในอย่างรุนแรง
ในความเป็นจริงแล้ว ความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นบนประเด็น “เชื้อสายสะดีรีย์” กับ “เชื้อสายไม่ใช่สะดีรีย์” คือ ความขัดแย้งระหว่างมกุฎราชกุมารที่มาจากเชื้อสาย สะดีรีย์ คือ ซัลมาน ซุลฏอน มกุฎราชกุมารคนปัจจุบัน และมกุฎราชกุมารในอดีต กับกษัตริย์ อับดุลลอฮ์ และ วาลิด บิน ฏอลาล ซึ่งเป็นบุคคลที่มีเชื้อสายไม่ใช่สะดีรีย์
โดยธรรมเนียมปฏิบัติของราชวงศ์ซาอูด จะมีการสลับอำนาจและตำแหน่งในลักษณะหมุนเวียนให้กับเหล่าบรรดารัชทายาททั้งหลาย กล่าวคือ หากครอบครัวตระกูลของสะดีรีย์ ขึ้นครองอำนาจเป็นกษัตริย์ แล้ว จะมอบตำแหน่งรัชทายาทให้กับผู้ที่สืบตระกูลจากเชื้อสายไม่ใช่สะดีรีย์ด้วยเพื่อรักษาความสงบและความมั่นคงในราชสำนัก
แต่ประเด็นปัญหาที่จะตามมาคือ กษัตริย์อับดุลเลาะฮ์ กษัตริย์คนปัจจุบัน จะยังคงปฏิบัติยึดมั่นตามขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติของราชสำนักหรือไม่ ???? หรือว่าจะเพิกเฉยและละเลยในสิ่งนี้ด้วยการแต่งตั้งให้ บุตรชายคนโตของท่าน คือ มัตอับ บิน อับดุลลอฮ์ บิน อับดุลอาซิส เป็นผู้ปกครองแทนตน
“มัตอับ บินอับดุลลอฮ์” ลูกชายของกษัตริย์ซาอุดีอาระเบียคนปัจจุบัน ซึ่งได้เตรียมพร้อมที่จะชิงชัยหลังจากการตายของบิดาของตน และได้ควบคุมเมืองหลวงของราชวงศ์ซาอูดในเมืองเจดดาห์ไว้แล้ว และทำนองเดียวกัน ได้ครอบครองเมืองสำคัญของแคว้นฮิญาซ อย่างเช่น มะดีนะฮ์ เมกกะ ฏออิฟและอับฮา ซึ่งมีครึ่งหนึ่งของประชากรของประเทศอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ และถือว่าเป็นเขตพื้นที่ที่มีความสำคัญในด้านศาสนา
มัตอับ ซึ่งระยะเวลายาวนานมากกว่า 3 ทศวรรษ ที่บิดาของเขามีอำนาจจัดการกิจการทั้งหมดในประเทศ เขาคือผู้บัญชาการกองกำลังพิทักษ์ชาติ (National Guard) ของซาอุฯ ตัวของมัตอับเองนั้น เขาเป็นทหารคนหนึ่งที่สำเร็จการศึกษาด้านนี้มาโดยตรง และยังมีอิทธิพลเป็นพิเศษเหนือบรรดาเจ้าชายที่อยู่ในกองทัพ และเหตุผลที่ว่าทำไมเขาจึงเลือกแคว้นฮิญาซ ก็เนื่องจากครอบครัวทางฝ่ายมารดาของเขามาจากเผ่า “ชิมร์” และเผ่านี้อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศซาอุดีอาระเบีย
คำถามสุดท้ายคือ กษัตริย์ อับดุลลอฮ์ กษัตริย์คนปัจจุบัน จะยังคงปฏิบัติและยึดมั่นตามขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติของราชสำนักหรือไม่ ด้วยการแต่งตั้งและถ่ายโอนอำนาจการปกครองให้กับบุตรชายของตนในขณะที่ตนเองยังมีชีวิตอยู่ ???? ซึ่งเราต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดว่า ใครจะเป็นผู้ปกครองคนใหม่แห่งซาอุดิอาระเบีย และศึกชิงบังลังค์จะเกิดขึ้นหรือไม่อย่างไร ???
ในขณะที่ราชวงศ์มีความพยายามที่จะปกปิดความขัดแย้งต่างๆภายในครอบครัวของตนเกี่ยวกับการแย่งชิงอำนาจ แต่ทว่าสายตระกูลในชั้นที่สองของราชวงศ์ซาอูด ไม่ต้องการที่จะเข้าคิวรอ ต่างขวนขวายพยายามกันตั้งแต่บัดนี้เพื่อที่ว่าหลังจากการตายของกษัตริย์อับดุลลอฮ์จะได้ขึ้นสู่อำนาจได้ทันที
ปัญหาต่าง ๆ ภายในของซาอุดิอาระเบียได้กลายเป็นความซับซ้อนซ่อนเงื่อน และมีความตรึงเครียดอย่างมากถึงขั้นที่ว่า เหมือนกับดินปืนซึ่งแค่เพียงมีประกายไฟเพียงเล็กน้อยก็พร้อมจะระเบิดได้ตลอดเวลา!!
source : http://www.farsnews.com/newstext.php?nn=13931015001589