HRW กังวล ซาอุฯใช้ “คลัสเตอร์บอมบ์” โจมตีเยเมน

2344

อัลอาลัม – ผู้สังเกตการณ์ ฮิวแมนไรท์วอทช์ (HRW ) แสดงความกังวลและเตือนซาอุฯ และชาติพันธมิตรมิตร  งดใช้   “คลัสเตอร์บอมบ์” โจมตีเยเมน

หลังครื่องบินรบซาอุและชาติพันธมิตร ได้โจมตีและถล่มเขตชุมชนในกรุงซานา  ทำให้พลเรือนเสียชีวิตหลายราย ผู้สังเกตการณ์ของฮิวแมนไรท์วอทช์ (HRW ) ได้ออกรายงานแสดงความกังวล กรณีที่ซาอุฯ และชาติพันธมิตรจะใช้ “คลัสเตอร์บอมบ์” อาวุธต้องห้ามขององค์กรระหว่างประเทศในการบุกโจมตีเยเมนอย่างไม่หยุดยั้ง

ในรายงานยังชี้ถึงหลักฐาน บ่งบอกว่า ซาอุฯ มีประวัติเคยใช้อาวุธต้องห้าม  “คลัสเตอร์บอมบ์” โจมตีเยเมน เมื่อธันวาคม 2009

Joe Stork รองผู้อำนวยการบริหารสิทธิมนุษย์ชนด้านตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ เผยว่า  กองกำลังซาอุฯ ต้องออกมาปฏิเสธให้ประชาคมโลกได้รับรู้ว่าไม่ได้ใช้ “คลัสเตอร์บอมบ์” อาวุธต้องห้ามดังกล่าว และต้องตระหนักด้วยว่า อาวุธดังกล่าวมีผลกระทบที่ร้ายแรงต่อพลเรือน

ทำความรู้จัก “คลัสเตอร์บอมบ์”

Cluster Bomb (คลัสเตอร์บอมบ์) เป็นอาวุธแบบระเบิดที่ใช้การทิ้งจากอากาศยาน หรือ ยิงจากภาคพื้นดิน ตัวหัวรบที่ใช้จะบรรจุลูกระเบิดย่อย หรือ smaller munitions โดยเมื่อยิงหัวรบหลักออกมา เมื่อถึงเหนือเป้าหมาย ตัวเปลือกหุ้มจะถูกสลัดออกมาจากนั้นจะปล่อยลูกระเบิดย่อยออกมา สำหรับลูกระเบิดย่อยที่ใช้งานปัจจุบันมีหลากหลายแบบ เช่น ระเบิดแรงสูง อาวุธเคมี อาวุธชีวภาพ หรือ กับระเบิด เป็นต้น ลงสู่เป้าหมาย โดยมุ่งหมายให้เกิดการทำลายเป็นบริเวณกว้างต่อบุคคล สิ่งปลูกสร้าง ทางวิ่งของสนามบิน และยานพาหนะ ยานพาหนะหุ้มเกราะ รวมถึงระบบการสื่อสารต่างๆ

เนื่องจากการที่มีหัวรบย่อยแตกตัวออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้รัศมีการทำลายล้างจึงเป็นวงกว้าง เกิดความเสี่ยงต่อประชาชนที่อยู่ในบริเวณใกล้การสู้รบ หรือหากเป็นพื้นที่ที่มีการอาศัยอยู่หนาแน่น จะทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้บริสุทธิ์ ดังนั้น จึงได้มีการห้ามใช้งานคลัสเตอร์ บอมบ์ในกว่า 30 ประเทศ ตามข้อตกลงเมื่อปี 2008 ที่กรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ โดยล่าสุดเมื่อเดือน มี.ค.ปี 2554 มี 108 รัฐลงนามในสัญญา และอีก 55 ประเทศ รวมทั้งไทย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา แต่ยังคงมีสะสมอยู่ในกองทัพ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากหัวรบที่เลือกใช้มักเป็นแบบ Mine-laying หรือ ทุ่นระเบิด สำหรับสังหารบุคคล และรถถัง เมื่อตกพื้นจึงยังไม่ระเบิดทันที แต่เป็น “นักฆ่าไร้เสียงและเงา” ที่รอเวลาให้คน สัตว์ หรือ ยานพาหนะมาเหยียบเพื่อจุดระเบิด แต่ในระเบิดซับมิวเตชันรุ่นใหม่ ที่สหรัฐฯ ใช้งานถูกออกแบบมาให้ลูกระเบิดย่อยทำลายตัวเองภายในเวลา 4-48 ชั่วโมง โดยมีความพยายามเจรจาต่อรองโดยชาติมหาอำนาจ ที่จะไม่ให้มีการผนวกคลัสเตอร์บอมบ์ แบบซับมิวเตชัน เข้าเป็นส่วนหนึ่งของระเบิดแบบทุ่นระเบิด หรือ กับระเบิด ที่มีการห้ามใช้ตามสนธิสัญญาออตตาวา แต่ในที่สุดก็มีการผนวกรวมใหม่ในภายหลัง

ในกองทัพยุคใหม่จึงมักจะมีกระสุนแบบนี้ในประจำการ ตามหน่วยทหารปืนใหญ่ แต่หัวรบย่อยรุ่นใหม่ๆ จะมีระยะยิงที่ไกลขึ้น แม่นยำขึ้น และไม่ค่อยด้าน หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น ฝาครอบระสุนไม่สลัด ระเบิดหัวรบย่อยไม่แตกตัวออกมา ก็จะมีระบบทำลายตัวเอง เพื่อไม่ให้ผิดข้อตกลงตามสนธิสัญญาออตตาวา เพราะหากไม่มีการทำลายตัวเองประชาชนที่ไม่รู้เรื่อง หรือ ผู้ที่พักอาศัยบริเวณที่มีการสู้รบ อาจเดินพลาดไปเหยียบ หรือ เด็กๆ ที่ไม่รู้เรื่องไปเก็บลูกคลัสเตอร์บอมบ์มาโยนเล่นแล้ว ทำให้ระบบจุดระเบิดทำงานก็อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ พิการเสียอวัยวะ หรือ ถึงแก่ชีวิตได้

ในทางทหารการมีอาวุธทำลายล้างแบบนี้ย่อมสร้างความเสียหาย และข่มขวัญฝ่ายตรงข้ามได้มาก อย่างไรก็ตามอาวุธทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเป็นอาวุธสงครามที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อประหัตประหารชีวิตมนุษย์ ทั้งในสงคราม และความขัดแย้งต่างๆ ไม่ว่าจะยิงแม่นยำ อำนาจการทำลายสูง แต่หากนำเอามาใช้ในการทำลายชีวิตมนุษย์ด้วยแล้ว เลือกที่จะไม่นำออกมาใช้คงเป็นการดีที่สุด

ข้อมูล

 

อ้างอิง
http://www.hrw.org/news/2015/03/28/yemen-saudi-led-airstrikes-take-civilian-toll
http://fa.alalam.ir/news/1690756
http://en.wikipedia.org/wiki/Shell_%28projectile%29
http://en.wikipedia.org/wiki/Cluster_bomb