เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำเนียบขาวได้จัดการประชุมสุดยอดผู้นำในการต่อกรกับลัทธินิยมความรุนแรง(CVE) ซึ่งเป็นการประชุมที่จัดขึ้นสามวัน ด้วยเจตนาให้มีการอภิปรายหาขั้นตอนที่เป็น “รูปธรรม” เพื่อให้สหรัฐฯและชาติพันธมิตรสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการลดหย่อนปัญหาความขัดแย้งที่บานปลายไปทั่วโลก
หนึ่งในวาระของการประชุมดังกล่าว วางอยู่บนความจริงที่ว่า สหรัฐฯมีข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงที่คับแคบเกินไป ตามที่รายงานกล่าวว่า ความเข้าใจของรัฐบาลสหรัฐฯต่อรูปแบบต่างๆ ของการก่อการร้าย ล้วนแล้วมาจากการอ่านข่าวหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ ภาษาเดียว ในตลอดระยะเวลากว่า 75 ปีทีสหรัฐฯ ทำการสำรวจและเฝ้าติดตาม สื่อต่างๆของโลก ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายในการเฝ้าติดตามข่าวเหล่านี้จะมีจำนวนสูงถึง หลายล้านดอลล่าร์เฉพาะแค่ในไม่กี่ปีที่แล้วก็ตาม
ทุกฝ่ายต่างส่ายหัวกับข้อมูลที่มีอยู่ในมือ ต้องยอมรับว่า หน่วยข่าวกรองเองก็แทบจะหาประโยชน์จากคลังข้อมูลของฝ่ายตนไม่ได้เลย แม้ข้อมูลดังกล่าวจะมาจากการดักจับวิธีการสื่อสารต่างๆของพวกหัวรุนแรงก็ตาม นักวิเคราะห์ที่ถูกส่งไปสำรวจและเก็บข้อมูลจาก กลุ่มผู้ก่อการร้าย Lashkar-e-Taiba ถึงกับตัดพ้อเมื่อพบว่า “ส่วนมากของข้อมูลที่มีอยู่ (ซึ่งได้มาจากการดักฟัง) ล้วนเป็นภาษาอาหรับและ ฟาร์ซี ซึ่งผมไม่สามารถทำอะไรกับมันได้เลย”
วอชิงตันมีความหวังที่จะต่อกรกับความรุนแรงได้อย่างไร? เมื่อนักวิเคราห์ที่ส่งไปเพื่อเฝ้าดูผู้ก่อความไม่สงบ กลับไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาในการสื่อสารของพวกเขาได้ แม้เพียงคำหนึ่งคำจากสิ่งที่พวกเขาอ่าน?
อย่างไรก็ดี การประชุมสุดยอดผู้นำนี้ นายวิลเวียม แบรนิฟ ได้เสนอแนวคิดเพื่อช่วยให้การประชุมวันนี้มีทางออกขึ้นมาบ้าง วิลเลี่ยมได้อธิบายแนวโน้มการก่อการร้ายทั่วโลกคร่าวๆ จาก ข้อมูล เดตาเซท ที่รู้จักกันภายใต้ชื่อ “the Global Terrorism Database” /ฐานข้อมูล การก่อการร้ายโลก (GTD) ซึ่ง GTD คือ ฐานข้อมูล หรือ คลังข้อมูลที่ได้ถูกรวบรวมและสร้างขึ้นโดย มหาวิทยาลัย Maryland จากการสนับสนุนของกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้ ข้อมูลจาก GTD ยังถูกใช้เพื่อการอ้างอิงอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเพื่อการร่างรายงานรัฐบาลและเขียนข่าวของสำนักข่าวชื่อดังหลายเจ้า อาทิ เช่น the New York Times, the Washington Post รวมไปถึง CNN อีกด้วย
แม้ว่า หน่วยงานต่างๆจะใช้ข้อมูลจาก GTD ด้วยเพราะเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการก่อการร้ายโลกที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ข้อมูลของ GTD เองก็ล้วนมาจากแหล่งข่าวเฉพาะภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ดังนี้แล้ว เป็นใครก็คงต้องตั้งคำถามกับความเข้าใจเรื่องความรุนแรงของ GTD โดยเฉพาะเมื่อรายงานจากแหล่งข่าวอย่าง the Los Angeles Times ถูกอ้างให้เป็นข้อมูลหลักเพื่ออธิบายเหตุการณ์ลักพาตัวใน อัลบับ ซีเรีย และ แหล่งข่าวอย่าง Chicago Tribune ติดโผรายชื่อแหล่งอ้างอิงหลักที่ GTD ใช้อธิบายเหตุการณ์ ลอบวางระเบิดตลาดใน ราจูอี ประเทศอินเดีย
นอกจากนี้ GTD ยังรวบรวมให้ประเทศที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ 3 ประเทศ ได้แก่ ไนจีเรีย อินเดีย และ ฟิลิปปินส์ ติด10 อันดับประเทศที่ประสบกับเหตุการรณ์ก่อการร้ายมากที่สุดในปี 2013 ขณะที่ความเป็นจริง ทั้งสามประเทศ ประสบกับเหตุการณ์ความไม่สงบรวมกันแล้วเพียงร้อยละ 17 ของการโจมตี และ ร้อยละ 16 ของการเสียชิวิต เมื่อคำนวณเทียบกับเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งหมดจาก 10 อันดับประเทศดังกล่าว
ยิ่งไปกว่านั้น GTD ยังให้ความสำคัญกับสื่อภาษาอังกฤษมากกว่า สื่อประจำท้องถิ่น เมื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเทศที่ใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร ซึ่งคลอบคลุมอยู่กว่า 83 ประเทศที่ประสบเหตุโจมตีจากการก่อการร้าย อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม GTD ก็ไม่ใช่หน่วยงานเดียวที่เดินอยู่บนถนนเส้นนี้ การให้ความสำคัญกับแหล่งข่าวและข้อมูลภาษาอังกฤษ เพื่อเฝ้าดูและเข้าใจโลก คือนโยบายไร้สมรรถภาพ ที่ได้ขยายไปทั่วแผนกงานของวอชิงตัน มันไม่ได้จบอยู่เพียงเท่านี้ เมื่อ โครงการเพื่อการวิจัยขั้นสูงของหน่วยข่าวกรอง –กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการในเครือ HealthMap; ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรสุขภาพ ต้องพลาดจากคำเตือน เรื่องโรคระบาดอีโบลา ด้วยสาเหตุเป็นเพราะคำเตือนฉบับดั้งเดิมของกรณีดังกล่าว ไม่ได้ออกเผยแพร่ตามสื่อโซเชียวภาษาอังกฤษที่พวกเขาเข้าถึงได้ แต่กลับไปออกอากาศผ่านทางช่องโทรทัศน์ฝรั่งเศสที่พวกเขาไม่ได้ให้ความสำคัญนั่นเอง
*HealthMap; ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรสุขภาพ คือ ระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกไม่แสวงหาผลกำไร ที่มีไว้เพื่อเฝ้าระวัง จัดการ และค้นหาข้อมูลจากรายงานเกี่ยวกับโรคระบาดต่างๆทั่วโลกตามลักษณะภูมิประเทศ เวลา และ พาหะนำโรค)
ระบบจัดการเตือนภัยสภาวะฉุกเฉินทั่วโลก (W-ICEWS) โครงการ “นำร่อง” (flagship) มูลค่ากว่า 250 ล้านดอลล่าห์ของ DARPA หรือ หน่วยงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ของสหรัฐอเมริกา มีฐานข้อมูลเกือบทั้งหมดมาจากช่องทางข่าวภาษาอังกฤษ W-ICEWS แทบจะไม่มีแรงงานมนุษย์สำรองไว้สำหรับแปลข้อมูลดิบจากภาษาอื่นๆ แถมความถูกต้องของระบบจัดการนี้ ยังด้อยกว่าร้อยละ 25 นอกจากนี้เมื่อลองเปิดดูข้อมูลที่แปลมาจากภาษาอื่น ซึ่งมีอยู่น้อยนิดอยู่แล้ว ก็ยิ่งต้องส่ายหัว เมื่อ W-ICEWS เล่นเอาข้อมูลในส่วนนี้มาจาก ศูนย์ข้อมูลเปิด (Open Source Center) ที่มีหน้าที่เฝ้าตามอ่านและแปลรายงานจากสื่อข่าวและสื่อโซเชียวทั่วโลก
ไม้เว้นแม้แต่ ผู้อำนวยการ CIA อย่าง John Brennan กับคำประกาศเจตนารมณ์ของเขาเพื่อให้มีการขยาย ศูนย์ข้อมูลเปิด หน่วยงานที่ข้อมูลเกือบกว่าครึ่งมาจากแหล่งข้อมูลภาษาอังกฤษ ซึ่งหลักๆ มักจะพึ่งพาหากินกับสำนักข่าวสัญชาติยุโรป ในการรายงานข่าวต่างๆ จากทางฝั่งแอฟริกา และละตินอเมริกา ซึ่งอันที่จริงแล้ว คงต้องบอกว่า ศูนย์ข้อมูลเปิดให้ความสำคัญกับการเฝ้าติดตามข่าวคราวจากรัสเซีย มากกว่า จากทั้งภูมิภาคของละตินอเมริกา ประเทศสเปน และโปรตุเกสรวมกันเสียอีก เช่นนี้ ชี้ให้เห็นว่า การติดตามข่าวในภาษาท้องถื่นประจำภูมิภาคที่เสี่ยงต่อการก่อการร้ายของหน่วยงานนี้ค่อนข้างจะไร้ประสิทธิภาพ โดยตัวอย่างที่สังเกตได้คือ ความเข้มข้นของการเฝ้าติดตามข่าวและข้อมูลในภาษา บังกาลี ภาษาราชการของประเทศบังกลาเทศ ซึ่งเฉลี่ย ตกอยู่ที่เพียง 1 บทความแปลต่อสัปดาห์ ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ในขณะที่บังกลาเทศ ถือเป็นประเทศที่ติดอันดับเสี่ยงการก่อการร้ายสูง ตามดรรชณีวัดการก่อการร้ายโลกประจำปี 2014
อย่างไรก็ดี สหรัฐฯคงไม่มีทางหา จำนวนคนที่เพียงพอ เพื่อให้มานั่งเฝ้าและแปลข่าวตามช่องทางสื่อ จากทุกๆ ภาษารอบโลก รวมกันทุกๆ วันได้อยู่วันยังค่ำ
จุดนี้เอง ที่เครื่องแปลภาษา ได้นำเสนอหนทางสู่โอกาสทองให้แก่หน่วยงานต่างๆ แม้อาจจะไม่ได้มีความถูกต้องเต็มร้อยและยังคงมีความผิดพลาดอยู่ แต่มันก็สามารถประเมินและปฏิบัติการแปลสารจากสื่อที่สามารถเข้าถึงได้ ต่างๆ กว่าทั่วโลกในทันทีทันใจได้อย่างไร้ขีดจำกัด
อันที่จริงแล้ว ในสัปดาห์เดียวกันที่มีการจัดประชุมสุดยอดผู้นำCVE นี้ โครงการ GDELT ก็ได้เปิดตัวเครื่องถอดรหัสภาษาสตรีมมิ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีความสามารถในการ แปลข้อมูลข่าวสาร ครอบคลุมกว่า 65 ภาษาทั่วโลกได้ ทั้งยังสามารถทำหน้าที่ในการเฝ้าติดตามข่าวภาษาอื่นๆที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษแทนคนงานได้ อีกกว่าร้อยละ 98.4 ต่อวัน
ภายในระยะเวลาเพียง 15 นาที ที่เข้าประมวลข่าวด่วน และรายงานประเภทอื่นๆ จากแหล่งข่าวและข้อมูลของประเทศต่างๆ รอบโลก GDELT มีศักยภาพที่จะแปล และปฏิบัติการจำแนก เหตุการณ์ คำปราศรัย ผู้คน องค์กร สถานที่ ธีม อารมณ์ ภาพที่เกี่ยวข้อง วิดิโอ และแม้แต่โพสต์ ตามโซเชียลมีเดีย ได้
ด้วยความสามารถในการประมวลผลที่ทำได้มากถึง 65 ภาษาทั่วโลกภายในระยะเวลาที่กำหนด บวกกับความเป็นสิ่งประดิษฐ์เพื่องานสื่อสารที่มีความละเอียดสูงของโลก GDELT สามารถทำการแปลและเข้าถึงข้อมูลต่างๆรอบโลก เพื่อทำความเข้าใจและเข้าถึงเหตุการณ์ความไม่สงบต่างๆได้อย่างไร้พรมแดน ซึ่งแน่นอน ย่อมแตกต่างจากความพยายามของเพนตาก้อน ที่มีข้อมูลจำกัดอยู่เพียงแค่ตามแหล่งข่าวภาษาอังกฤษเท่านั้น
บางภาษาอย่างเช่น ภาษารัสเซีย และเอสโตเนีย GDELT ได้หยิบยืมโมเดลการแปลมาจากผู้นำในสนาม อย่าง Google Translate แต่ทำการพัฒนาจนประสบความสำเร็จ โดยสามารถทำการแปลงานชิ้นเดียวกัน ให้มีความถูกต้องมากกว่า ส่วนในภาษาอื่นๆ ที่ไม่ค่อยมีทรัพยากรทางภาษาคอมพิวเตอร์กำหนดมาให้มากนัก เช่น ภาษาเซแวฮีลี (Swahili) GDELT ก็ยังคงสามารถจำแนก สถานที่ บุคคลสำคัญ และชื่อองค์กร ธีมรูปแบบ และชนิดของเหตุการณ์ ที่สำคัญได้อย่างคล่องแคล่ว และแม้ว่าจะมีบ้างที่เจ้าเครื่องแปลภาษาเครื่องนี้อาจจะไม่เข้าใจสำนวนที่แตกต่าง หรือคำถากถางอื่นๆ แต่พจนานุกรมภายในตัวเครื่องก็ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองและดึงความหมายมาจาก ข้อมูลเดต้าเซตที่มีความหลากหลาย อย่าง Wikipedia ได้ตลอดเวลาประมวลผล แน่นอนว่า เครื่องแปลภาษาจะยังไม่สามารถเอาชนะความเชี่ยวชาญของมนุษย์ได้กระนั้น จะดีจะเลวอย่างไร GDELT ก็ยังคงสามารถจำแนกรายละเอียดต่างๆ ของเรื่องๆ หนึ่งได้ดีเยี่ยม อย่างเช่น สามารถระบุชื่อเมืองที่เกิดเหตุจลาจล มีผู้เข้าร่วมประท้วงขนาดใหญ่ได้ ทั้งยังสามารถบอกลักษณะเชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้นทางสังคมของผู้ชุมนุมส่วนมาก รวมไปถึงพรรคการเมืองที่ให้การสนับสนุน และผู้นำการชุมนุมอีกด้วย
เหนืออื่นใด ความผิดพลาดต่างๆ ของการแปลยังสามารถทำการแก้ไขได้ และยิ่งไปกว่านั้น ตราบเท่าที่ความแม่นยำของเครื่องแปลภาษายังมีการพัฒนา ไปจนถึงความสามารถของเครื่องมือ และการเข้าถึงข้อมูลเดตาเซตสำหรับจำนวนของภาษาที่เพิ่มขึ้น มีความกว้างขวางตามที่คาดไว้ ชุดคำสั่งของ GDELT ก็จะได้รับการอัพเดทอยู่ตลอดเวลา โดยเป้าหมายของ เจ้าเครื่องแปลสารพัดภาษาล้ำสมัย GDELT นี้ก็เพื่อ แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของการประมวลและแปลสารต่างๆทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว และเพื่อเสนอรูปแบบการใช้ชีวิตสมัยใหม่ ที่ซึ่งมนุษย์ใช้สอยประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ
แผนที่ข้างล่างแสดงให้เห็น รายงานข่าวรอบโลก ที่ GDELT เฝ้าติดตามมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ (เหตุผลที่ ทำไมหน่วยงานต่างๆ จึงจำเป็นต้องสืบเสาะข้อมูลจากภาษาอื่นๆ)
ในแผนที่ปรากฏ การรายงานข่าวกรณีประเทศเยเมนจากรอบโลก โดยจุดสีฟ้า หมายถึงสถานที่ ที่พบการรายงานข่าวเรื่องเยเมนด้วยภาษาอังกฤษ ส่วนสีแดง คือสถานที่ ที่พบการรายงานข่าวกรณีเดียวกันด้วย 65 ภาษาอื่นๆ ที่ GDELT มีความสามารถจำแนกได้ จุดที่มีขนาดใหญ่ แสดงให้เห็นว่า สถานที่นั้นๆมีการรายงานสถานการณ์ข่าวในกรณีดังกล่าวบ่อยครั้งและเข้มข้น
รายงานข่าวด้วยภาษาอังกฤษ ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่เหตุการณ์ตามเมืองใหญ่ของเยเมน ซึ่งเป็นประเภทการรายงานที่พบบ่อยตามสื่อสากลของโลก เมือนึกถึงเหตุการณ์รอบนอกภูมิภาคตะวันตก ขณะที่สื่อจากภาษาอื่น ๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหรับ) จะเขียนอภิปรายข่าวเกี่ยวกับประเทศเยเมนทั้งประเทศ ที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแต่เหตุการณ์ในเมืองใหญ่ ซึ่งชัดเจนว่า หน่วยงานใดๆก็ตามที่ประสงค์อยากเข้าใจสถานการณ์ในเยเมนอย่างลึกซึ่งมากกว่าแค่ในเมือง ซานา หรือ เอเดน ก็คงจำเป็นต้องหันหน้าเข้าหาข่าวท้องถิ่นมาอ่านเป็นดีกว่า
Figure 1 – Locations mentioned in global news coverage of Yemen 2/19/2015 – 3/1/2015. (Blue = English news media, Red = Non-English news media.)
นอกจากนี้ ตามเนื้อบทความในหน้าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ยังคงมีบริบททางอารมณ์ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่สามารถให้ผลผลิตข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญได้: เช่นในกรณีของรัสเซีย ในขณะที่รัฐบาลตะวันตกวาดภาพให้มอสโกเป็นผู้รุกรานยูเครน, โพลสำรวจล่าสุดกลับแสดงให้เห็นว่าร้อยละ 81 ของประชากรกลับ มีมุมมองเชิงลบต่อสหรัฐอเมริกา ทั้งยังเป็นมุมมองเชิงลบที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ยุคหลังสหภาพโซเวียต ในขณะที่คะแนนความเห็นชอบของปูตินสูงอยู่ที่ร้อยละ 86
ในทำนองเดียวกัน ส่วนมากของบทเสวนาและการอภิปรายอันเกี่ยวเนื่องกับการต่อกรกับปัญหาความรุนแรงล่าสุด มักจะมุ่งเน้นไปที่ “สาเหตุ” หรือปัจจัยที่ส่งผลให้ปัจเจกบุคลลหนึ่ง กลายมาเป็นผู้ก่อความไม่สงบ และตัดสินใจเข้าร่วมขบวนการของพวกหัวรุนแรงสุดโต่ง ในการให้สัมภาษณ์ช่วงเดือนกุมภาพันธ์กับ MSNBC กระทรวงการต่างประเทศ Marie Harf อ้างว่า เพราะ “ขาดโอกาสในการทำงาน” คือต้นต่อของสาเหตุที่ทำให้คนๆหนึ่งเข้าร่วมขบวนการก่อการร้าย สถานะที่ประธานาธิบดีเองก็ได้ใช้อธิบายคำปราศัยของตนในสัปดาห์หลังจากนั้น (และนี่เองคืดจุดกำเนิด แฮชเทค #JobsForISIS หรือ #งานสำหรับไอเอส บน Twitter)
ทว่า ปีเตอร์ เบอร์เกน บรรณาธิการประจำโต๊ะข่าวเอเชียใต้สำนักข่าว Foreign Policy และผู้ประกาศข่าวช่อง CNN อย่างไรก็ตาม ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ก่อการร้ายหลายๆคนที่มีข่าวพาดหัวดังไปทั่วโลก อย่าง บินลาเดน, อุมัร ฟารุก อับดุลมุตตาลิบ, โมฮัมเหม็ด อัตตา รวมถึง “จีหาดี จอห์น”, ล้วนแล้วแต่มีภูมิหลังทางด้านเศรษฐกิจที่มั่นคงไปจนถึงมั่งคั่ง จึงไม่เห็นว่า “ความยากจน” จะถือเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การก่อการร้าย หรืออาจกล่าวได้ว่าผู้ก่อการร้ายไม่ใช่คนจนนั่นเอง
เบอร์เกน ยังยอมรับอีกด้วยว่า พลทหารของไอเอส มักจะมาจากภูมิหลังที่มีความสงบเสงี่ยมเป็นอย่างมาก และตามที่ อาดัม เทย์เลอร์ เคยเขียนไว้ใน the Washington Post ว่า : แม้แต่คนที่โตมาในสถานภาพของคนชนชั้นกลางก็ไม่อาจเทียบเท่าโอกาสในการหยั่งรู้เหลือคณานับของพวกเขาได้เสมอไป
บางคนอาจจะเข้าร่วมกลุ่มไอเอสด้วยเพราะขาดแคลนโอกาส หรือเพราะไม่มีที่ยืนในสังคม ในขณะที่อีกบางคนอาจจะเข้าร่วม ตามความเชื่อทางศาสนา ความจริงก็คือ ปัจจัยที่นำไปสู่การก่อการร้ายไม่ได้ตายตัวอยู่เพียงแค่ หนึ่ง หรือ สองสาเหตุ ทำนองเดียวกันกับที่ไม่มีมุมมองหนึ่งเดียว เมื่อเจาะลึกลงไปในเรื่องที่เกี่ยวกับการควบคุมการใช้อาวุธปืน และการทำแท้ง ในสหรัฐฯ ดังนี้แล้ว เราต้องรู้จักยอมรับ ความเข้าใจที่แตกต่างและละเอียดกว่าจากมุมมองอื่นๆของโลก
เมื่อคำนึงถึงความซับซ้อนของวัฒนธรรมที่หลากหลายเป็นอย่างมากของโลกใบนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ จะสร้าง หรือแม้แต่ เริ่มปฏิสัมพันธ์ กับมุมมองและความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับความรุนแรงในระดับที่สูงและเสี่ยงได้อย่างไร?
ในบทรายงานหนึ่งของเรา ภายใต้หัวข้อ “มหานคร” ที่เคยตีพิมพ์ไปเมื่อช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา ซึ่งมี พลโท Michael Flynn, Charles Ehlschlaeger และตัวผู้เขียนเอง ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ในส่วนของอรัมภบทว่า ขอบเขตทางด้านภาษาและวัฒนธรรม คืออุปสรรคหลักในการทำความเข้าใจโลกที่กำลังพัฒนา โลกซึ่ง “มักจะโดดเด่นไปด้วย ลักษณะของชนเผ่า ชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา ครอบครัว ความสัมพันธ์และการสื่อสารในระดับสังคม ที่ล้วนแล้วแต่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก” อันจัดเป็นคุณลักษณะทางชีวิตและสังคม ที่ไม่คุ้นหู คุ้นตา สำหรับนักวิเคราะห์ชาวตะวันตกส่วนมาก เอาเสียเลย ซึ่งแม้ว่าพวกเขาจะสามารถอ่านภาษาของพวกหัวรุนแรงออกได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าความสามารถนั้นจะช่วยทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึก ซึ่งจำเป็นต่อการทำความเข้าใจโลกทัศน์พื้นฐานของกลุ่มหัวรุนแรงดังกล่าวได้
ความเป็นยุคดิจิตอล ณ วันนี้ ได้เปิดโอกาสให้เรา สามารถแสดงหาความรู้ และเก็บเกี่ยวข้อมูลได้อย่างดีเยี่ยม และถึงจะเป็นเช่นนี้ เราก็ยังคงคว้าน้ำเหลว เพราะ เก็บอย่างเดียว ไม่เคยนำไปขบคิดอย่างจริงจัง บางที่เราอาจต้องวางคอมพิวเตอร์แล้วหันมามองโลกบ้าง โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังพูดถึงการต่อกรกับลัทธิก่อการร้าย หรือ ความรุนแรง
ข้อมูลขนาดใหญ่ที่ได้มาจากการเฝ้าติดตามข่าวสารจาก 65 ภาษาทั่วโลก อาจจะช่วยประเทืองปัญญามนุษย์ที่จำกัดโลกทั้งใบอยู่เพียงแค่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษได้บ้าง ให้ครั้งหนึ่งอเมริกาในฐานะ “ตำรวจโลก” รู้จักรับฟังและมองดูโลกทั้งใบ ข้ามผ่านเขตกั้นทางภาษา และลึกลงไปศึกษาถึงปฏิกิริยา และ อารณณ์ที่สะท้อนออกมาจากเหตุการณ์ต่างๆ ทั่วโลก ในเจตนาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง ถูกบริบท
ถ้าหากผู้เขียนสามารถสร้างเครื่องแปลภาษากว่า 65 ภาษาได้ภายในระยะเวลาเพียง 2 เดือนกับอีกครึ่ง และสามารถสร้างสารบัญรวบรวมคำที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมความรู้กว่าพันล้านๆคำ นับมาตั้งแต่ครึ่งศตวรรษที่แล้ว ภายในระยะครึ่งปี … จินตนาการไม่ออกเลยว่า สหรัฐฯจะได้รับสิ่งใดบ้าง หากจะลองลงทุนเงินประมาณสัก 125 ล้านดอลล่าร์ เพื่อใช้ไปในการนั่งฟังโลก แทนที่การนั่งอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ?
โดย KALEV LEETARU
แปล/เรียบเรียงจาก http://foreignpolicy.com
BEHROUZ MEHRI/AFP/Getty Images