“สินามิทางการเมืองและความมั่นคง” ของซาอุดิอาระเบีย หลังปลดและโยกย้ายตำแหน่งสำคัญทางการเมือง
สำนักข่าว spa ซาอุฯ เผยว่า เมื่อเช้าค่ำวันพฤหัสบดี ที่ ( 30) เมษายน มีคำสั่งปรับโครงสร้างทางการเมืองการปกครองในประเทศ ด้วยการรวมราชสำนักและสำนักงานมกุฎราชมารเป็นองค์กรเดียวกัน ตามคำร้องขอของ เจ้าชาย มุฮัมมัด บินนาเยฟ หลานชายคนแรกของอับดุลอะซีซ ผู้ก่อตั้งระบอบการปกครองของซาอุดิอาระเบีย
กษัตริย์ ซัลมาน ได้ส่งสาส์นขอบคุณ ถึง ม็อคเรน บิน อับดุลอาซิส อาลีซาอูด มกุฎราชกุมาร และซาอูด อัลฟัยศอล รัฐมนตรีต่างประเทศ ในผลงานในอดีตที่ผ่านมา
ตามแถลงการณ์ของสำนักพระราชวัง ซาอุฯ การตัดสินใจรวมราชสำนักและสำนักมกุฎราชมารเป็นองค์กรเดียวกันนั้น เป็นไปตามคำขอของมุกฎราชกุมารองค์ใหม่
ขณะเดียวกันบางสื่อในโลกอาหรับ เผยว่า บรรดาเจ้าแห่งราชวงศ์ซาอูดและลูกหลานของกษัตริย์จำนวนมาก ที่คัดค้านและไม่เห็นด้วยในคำสั่งใหม่ล่าสุดของ กษัตริย์ซัลมาน ที่มีพระราชโองการให้พวกเขาให้การสัตยาบันแก่ มกุฎราชกุมารและรัชทายาทองค์ใหม่
ผู้สังเกตการณ์บางคนเชื่อว่า คำสั่งดังกล่าว เพื่อที่จะควบคุมบุคคลในครอบครัวของแห่งราชองค์ซาอูด ที่อยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับตน ให้มีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เป็นความพยายามของกษัตริย์ ซัลมาน ในการกดดันกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตมกุฎราชมาร
ในการเปลี่ยนตำแหน่งมกุฎราชกุมารในครั้งนี้ กษัตริย์ ซัลมาน อ้างว่า ม็อคเรน เป็นผู้ประกาศความต้องการของตนที่จะถอนตัวจากการเป็นมกุฎราชกุมาร
นอกจากนั้นการที่ กษัตริย์ซัลมาน ได้แต่งตั้งลูกชายของตนเป็นตัวแทนของ (รอง) มกุฎราชกุมารคนต่อไป ซึ่งมีกระแสต่อต้านอย่างมากมาย โดยเฉพาะในหมู่สมาชิก สถาบันให้การสัตยาบัน (สภาบัยอะฮ์) ที่มาจากลูกหลานของราชวงศ์ซาอูด
ในการนี้ ฏอลาล บิน อับดุลอาซิส ออกมาตำหนิ กษัตริย์ ซัลมาน พี่ชายต่างมารดาของตน ว่าเป็นการปฏิบัติและการกระทำที่ขาดความรอบคอบ ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งและความวุ่นวายในการให้สัตยาบันในหมู่ลูกหลานของราชวงศ์ซาอูด
(แฟ้มภาพ ฏอลาล บิน อับดุลอาซิส น้องชายต่างมารดาของ กษัตริย์ ซัลมาน)
เขาได้โพสต์ลงในทวิตเตอร์ ว่า คำสั่งดังกล่าวไม่มีความสอดคล้องใดๆกับหลักศาสนบัญญัติของอิสลาม และระบบการเมืองการปกครองของประเทศของเรา ซึ่งการให้สัตยาบันและเคารพเชื่อฟังต่อพวกเขานั้น ถือเป็นสิ่งที่ไม่วาญิบ(บังคับ)เหนือผู้ใดทั้งสิ้น
เขาได้เสนอและเรียกร้องให้มีการประชุมเพื่อพิจารณาในการทำร่างประชามติในเรื่องนี้ และย้ำว่า ควรเปิดการประชุมพิจารณา โดยมีการเชิญบรรดาลูกหลานของอับดุลอาซิส ลูกหลานของราชวงศ์ซาอูดบางกลุ่มที่เป็นสมาชิกของสภาบัยอัต สมาชิกสภาที่ปรึกษาบางคน นักการศาสนาบางคน และบุคคลที่เหมาะสมที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐบางส่วน มาร่วมกันพิจารณาในประเด็นดังกล่าว
สินามิทางการเมืองและความมั่นคงในซาอุ
การตัดสินใจของกษัตริย์ในการรวมราชสำนักกับสำนักมกุฎราชมาร เป็นองค์กรเดียวกันนั้น เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาไล่เลี่ยกัน ทีมีการประกาศเปลี่ยนแปลงและโยกย้ายตำแหน่งสำคัญๆในประเทศ อย่างไม่คาดฝัน เพื่อเสริมบารมีและอำนาจให้กับบุตรชายของเขา
กษัตริย์ ซัลมาน ได้ปลด เจ้าชาย ม็อคเรน บิน อับดุลอาซิส ออกจากตำแหน่ง มกุฎราชกุมาร รองประธานสภาชูรอคณะรัฐมนตรี และแต่งตั้งให้ มุฮัมมัด บิน นาเยฟ ขึ้นเป็น มกุฎราชกุมารองค์ใหม่แทน
กษัตริย์ ซัลมาน ยังคงตำแหน่ง รัฐมนตรีกลาโหม ให้กับบุตรชายของตนเช่นเดิม ผู้สั่งการให้มีการโจมตีเยเมน อีกทั้งยังควบตำแหน่ง รองมกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรีและประธานสภากิจการเศรษฐกิจและการพัฒนา อีกด้วย
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ มีการวิเคราะห์คาดการณ์ ว่าอาจเกิดการก่อรัฐประหารภายใน โดย มุฮัมมัด บิน ซัลมาน เพื่อยึดครองอำนาจที่เบ็ดเสร็จให้ตนเอง ก็เป็นได้
(แฟ้มภาพ มุฮัมมัด ซัลมาน รัฐมนตรีกลาโหมซาอุดิอาระเบีย ผู้มีบทบาทมากที่สุดในการปฏิบัติการโจมตีเยเมน)
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในเรื่องของมกุฎราชกุมารเท่านั้น ทว่าเขาได้ปลด “ซะอูด อัล ไฟซอล” ออกจากตำแหน่งภายหลังการดำรงตำแหน่งมาเป็นเวลาถึง 40 ปี และแต่งตั้ง “อัล ญุบัยร์ ” ทูตซาอุฯ ประจำสหรัฐฯขึ้นมาแทน
กษัตริย์ ซัลมาน ทรงปลดเจ้าชายคาลิด บิน บันดาร์ บิน อับดุล อาซิซ อัล-ซาอูด ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรอง และให้พลเอก คาลิด บิน อาลี อับดุลลาห์ อัล-ฮูไมดัน ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน
ส่วนเจ้าชายบันดาร์ บิน สุลต่าน ทรงถูกปลดจากตำแหน่งเลขาธิการทั่วไปของสภาความมั่นคงแห่งชาติ และที่ปรึกษาของกษัตริย์ ซึ่งเจ้าชายบันดาร์ ทรงเคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐนานถึง 22 ปี ก่อนจะทรงย้ายไปดำรงตำแหน่งในสภาความมั่นคงแห่งซาอุดิอาระเบีย เมื่อปี 2548
แต่ประเด็นที่เขย่ารัฐบาลมากที่สุด คือ การปลดเจ้าชาย มิชาอัล ผู้ว่าการนครมักกะฮ์ และเจ้าชายตูร์กี ผู้ว่าการกรุงริยาด ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงเป็นพระโอรสของกษัตริย์อับดุลเลาะห์
หนังสือพิมพ์ “เราะยุลเยาม์” ได้ชี้ถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงล่าสุดในระบอบการปกครองของราชวงศ์ซะอูด และได้เขียนวิเคราะห์ว่า “คำสั่งต่างๆ ที่ออกโดยกษัตริย์ซัลมานนั้น คล้ายคลึงกับคำสั่งที่ ไฟซอล บินอับดุลอะซีซ พี่ชายของเขาได้ออกในปี 1965 ในการปลดกษัตริย์ซะอูด ผู้เป็นน้องชายของตน”
หนังสือพิมพ์นี้ได้เขียนต่อไปว่า “บางทีหากเราจะเรียกคำสั่งต่างๆ ที่ไม่คาดคิดที่ออกโดยกษัตริย์ซัลมาน บินอับดุลอะซีซ ว่าเป็น “รัฐประหาร ” ก็นับว่าไม่ได้พูดเกินจริง เขาได้ปลด “ม็อคเรน ” น้องชายต่างมารดาของตนออกจากการเป็นมกุฎราชกุมารหลังจากไม่กี่เดือน และได้แต่งตั้ง มุฮัมมัด บินนาเยฟ หลานชายคนแรกของอับดุลอะซีซ ผู้ก่อตั้งระบอบการปกครองของซาอุดิอาระเบียขึ้นแทนที่เขา และกษัตริย์ซัลมานได้แต่งตั้งลูกชายของตนเป็นรองมกุฎราชกุมาร”
เขาได้เปลี่ยน 9 รัฐมนตรี และ “คอลิด อัลตุวัยญะรี” อดีตหัวหน้าสำนักพระราชวังก็ถูกปลดออกจากตำแหน่งตั้งแต่ก่อนที่พระศพของกษัตริย์องค์ก่อนจะถูกฝัง
“การเปลี่ยนแปลงต่างๆ จะหยุดลงเพียงแค่นี้ หรือจะยังคงดำเนินต่อไปอีกในอนาคต?
ปฏิกิริยาของเจ้าชายซาอุฯ คนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกหลานของกษัตริย์ผู้ก่อตั้งประเทศซาอุดิอาระเบียที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเป็นอย่างไร?
ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะตอบคำถามนี้ แต่อาจกล่าวได้ว่า สามารถคาดหมายได้เลยว่ากษัตริย์องค์ใหม่จะยังมีการตัดสินใจที่ชวนตกตลึงอื่นๆอีกอย่างแน่นอน”……….
http://www.presstv.ir/DetailFa/2015/05/01/408934/Saudi-King-merges-royal-crown-prince-court