อะไรคือสิ่งที่จะทำให้ “ความขัดแย้ง” ระหว่าง “ซาอุดิอาระเบีย” กับ “อิหร่าน” สิ้นสุดลง เป็นไปได้หรือไม่ว่า ความขัดแย้งระหว่างสองประเทศ จะจบลง ภายใต้เงื่อนไขที่ ทั้งซาอุดิอาระเบีย และอิหร่านต่างแสดงบทบาทการเมืองในการตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามในระดับที่รุนแรงถึงขั้นที่พร้อมจะส่งขุนศึกทำสงคราม ในบทความนี้ จะอธิบายคำตอบว่า ทำไมสองประเทศนี้ถึงไม่ลงรอยกัน โดยขอนำเสนอเรื่องราวจากมุมของอิหร่านดังนี้
การเมืองตามแบบศาสนา หรือ ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือทางการเมือง ?
เป็นเวลาเกือบสองศตวรรษ มีรัฐบาลใหม่ปรากฎขึ้น รัฐบาลนี้อ้างตนว่า เป็นคอลีฟะฮ์ของโลกอิสลาม รัฐบาลใหม่ ต้องการให้อิหร่านเชื่อฟังคำสั่งของพวกเขา เราเรียกรัฐบาลนั้นในปัจจุบันว่า ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นชื่อตระกูลของอาหรับเผ่าหนังที่สามารถเอาชนะกลุ่มอื่นๆ และตั้งตนเป็นเจ้าของประเทศได้สำเร็จ
ในมหาวิทยาลัยสอนศาสนาของตระกูลซาอู๊ด พวกเขาจะเรียกชีอะฮ์ว่า รอฟีดี (ผู้เลยเถิด), กาเฟร (ผู้ปฏิเสธ), มุชริก (ผู้ตั้งภาคี) และผู้รู้ชีอะฮ์บางคนถูกประกาศโดยอนุญาตให้ทำการสังหารได้ ในยุคปัจจุบันเทคนิคทางสงครามเย็น ที่ซาอุฯ ใช้ล้มชีอะฮ์ คือสงครามไซเบอร์ บางครั้ง พวกเขาจะนำนักการศาสนาที่เลยเถิดหลุดจากกรอบของชีอะฮ์ หรือ ชีอะฮ์ที่ถูกสร้างโดยตะวันตก มาเผยแพร่และใช้เป็นเครื่องมือในการหว่านเมล็ดพันธ์แห่งการฆ่า การสร้างความเกลียดชัง และการทำลาย เพื่อให้มุสลิมพูดว่า “ดูสิพวกชีอะฮ์ มันประนามศอฮาบะฮ์ (สาวกศาสดา) ดูสิพวกชีอะฮ์ ถือว่า อะฮลิซุนนะฮ์ตกมุรตัด (หลุดออกจากศาสนา)”
เรื่องราวมันชัดเจนอยู่แล้ว ใครคือกลุ่มอะฮลิซุนนะฮ์ ใครคือกลุ่มวะฮาบีย์ ถ้ามีใครสักคนบอกว่า ทั้งสองคือกลุ่มเดียวกัน มันก็เหมือนกับการบอกว่า ยิวทุกกลุ่มคือไซออนิสต์ ในตอนนี้ ตระกูลซาอูดพยายามหันหน้ามุสลิมทั้งโลก ให้ศัตรูที่อยู่ตรงหน้า คือ อิหร่าน ไม่ใช่อิสราเอล ด้วยการใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือ เพราะตั้งแต่วันแรกที่ตระกูลซาอู๊ด สามารถสร้างสภาผู้รู้วะฮาบีย์ และล็อบบี้ให้ผู้รู้เหล่านี้ใช้ศาสนาเพื่ออำนวยผลประโยชน์ให้กับพวกเขา วิถีทางการเมืองของประเทศนี้ จึงเป็นไปตามทิศทางของ ตระกูลซาอูด เท่ากับพิสูจน์ว่า พวกเขาไม่ได้ ดำเนินการเมืองแบบศาสนา แต่ใช่ศาสนาดำเนินเรื่องการเมือง
อะไรทำให้สองประเทศนี้ขัดแย้ง ?
ก่อนหน้าการปฏิวัติอิสลามโดยการนำของ ซัยยิด รูฮุลลอฮ มูซาวีย์ โคมัยนีย์ อิหร่าน และ ซาอุดิอาระเบีย เป็นเสมือนแขนขาของสหรัฐที่ใช้บริหารตะวันออกกลาง โดยอิหร่านคือแขนขาทางการเมือง การทหาร และซาอุ คือ แขนขาทางเศรษฐกิจ แต่หลังจากการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านเกิดขึ้น ประชาชาติอิหร่านปลดแอกตนเองจากการเป็นข้ารับใช้ตะวันตก และหันมายึดระบบอิสลามเป็นวิถีนำการเมือง ซาอุดิอาระเบียจึงพบคู่แข่งคนใหม่ในกระดานตะวันออกกลาง เหตุผลหลักๆ ก็เพราะ อิหร่านต้องการถอนอิทธิพลของสหรัฐที่มีบนแผ่นดินตะวันออกกลาง ซาอุดิอาระเบียจึงรีบออกมายันนโยบายทางการเมืองแบบใหม่ ของอิหร่านอย่างไม่รอช้า
การสร้างสภาความร่วมมืออ่าวเปอร์เซีย โดยมี ซาอุดิอาระเบีย และประเทศรอบอ่าว เป็นสิ่งที่ซาอุดิอาระเบีย ได้ทำเป็นสิ่งแรก เพื่อสกัดอิทธิพลของอิหร่านที่มีต่อตะวันออกกลาง
การสนับสนุนซัดดัมในสงคราม อิรัค อิหร่าน
ในช่วงสงคราม ซาอุดิอาระเบีย คือผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ ต่อ ซัดดัม ฮูเซน ในการทำสงครามกับอิหร่าน ประเทศที่ต้นกล้าแห่งการปฏิวัติเพิ่งเจริญงอกงามได้ไม่นานนัก ในสงครามนี้ เราสามารถรู้ได้ว่า ใครอยู่แนวเดียวกับสหรัฐ โดยการดูว่า ใครบ้างที่สนับสนุนซัดดัม ในวันนั้น
สังหารหมู่ฮุจญาต ในปี 1366
มีเหตุโศกนาฎกรรมเกิดขึ้น กับ ฮุจญาตชาวอิหร่าน ในช่วงเวลานั้น เจ้าหน้าที่ซาอุดิอาราเบีย ได้สังหารหมู่ฮุจญาตชาวอิหร่าน ด้วยการใช้คำประกาศ “บะรออัตมุชรีกีน” เป็นเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
การทำให้ฝ่ายตรงข้ามอ่อนแอ ด้วยการส่งกองกำลังกลุ่มก่อการร้าย
เทคนิคนี้ ก็เป็นการเมืองอีกอย่างหนึ่งของซาอุดิอาระเบีย ที่ใช้สำหรับการทำลายความเข้มแข็งของประเทศที่พวกเขามองว่าเป็นคู่แข่ง มีหลักฐานมากมายชี้ว่า ตระกูลซาอูด เป็นผู้สนับสนุน ทางทรัพย์สิน การเมือง การศาสนา ในการสร้างกลุ่มสุดขั้วหลายๆ กลุ่ม ที่ถ่ายคลิปวิดิโอตัดหัวคนออกทีวี
สามปัจจัย ในปีล่าสุด
สามปัจจัยในปีล่าสุดที่ทำให้ ความหนักหน่วงทางการเมืองเพิ่มสูงขึ้น คือ เยเมน ซีเรีย และโศกนาฎกรรมที่มีนา ซึ่งทั้งสามปัจจัย คือ ความขัดแย้งที่พิสูจน์ว่า ทั้งสองฝ่าย ไม่อาจลงรอยทางการเมืองในร่องเดียวกันได้ และในตอนนี้ เหตุผล และจุดยืนของทั้งสอง เป็นที่ชัดเจนอย่างไม่ต้องสงสัย
แต่สิ่งที่จะบอกเราว่า “ใครถูก ใครผิด เราควรจะยืนตรงไหน ตัดสินคนด้วยภายนอกไม่ได้ ดังนั้น สิ่งที่จะบอกว่า ใครถูกใครผิดในเรื่องนี้ คือ ภาคปฏิบัติของเขา
และหากมองในมุมของมุสลิม สิ่งที่จะบอกเราว่า ใครอยู่บนความจริง คือ ในสองฝ่ายนี้ ฝ่ายใดอยู่กับอิสราเอล ….
—-
อ้างอิง
http://www.mashreghnews.ir