iqna.ir – จนถึงวันนี้ทางกรมศาสนาตุรกีได้ให้เงินสนับสนุนในการสร้างมัสยิดและโรงเรียน 100 กว่าแห่งใน 25 ประเทศทั่วโลก และขณะนี้กำลังสร้างมัสยิดติรานาอันเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรบอลข่านซึ่งอยู่ในระหว่างขั้นตอนของการก่อสร้าง และเป็นหนึ่งในโครงการที่ตุรกีให้การสนับสนุน
ขณะนี้กำลังมีการดำเนินการก่อสร้างมัสยิดขนาดใหญ่บนถนน “เซนต์จอร์จบุช” ในติรานา เมืองหลวงของแอลเบเนีย ใกล้กับอาคารรัฐสภาของประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากตุรกี เมื่อการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วก็จะเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรบอลข่าน
จนถึงวันนี้ทางกรมศาสนาตุรกีได้ให้เงินสนับสนุนในการสร้างมัสยิดและโรงเรียน 100 กว่าแห่งใน 25 ประเทศทั่วโลก ซึ่งกรมศาสนาตุรกีให้การสนับสนุนเงินทุนในการสร้างและซ่อมแซมบูรณะศาสนสถานของอิสลามที่ถูกทำลายในช่วงเกิดสงครามหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่นบอสเนียเฮอร์เซโกวิน่า ฟิลิปปินส์ และโซมาเลีย
ในฉนวนกาซา ตุรกีก็ได้ให้การสนับสนุนในการบูรณะซ่อมแซมมัสยิดที่ถูกทำลายจากการโจมตีของอิสราเอลเมื่อปี 2014 ซึ่งคาดว่ากรมศาสนาตุรกีจะให้การสนับสนุนประมาณ 200 ล้านดอลลาร์
ความพยายามที่จะฟื้นฟูมรดกของจักรวรรดิออตโตมัน
มัศฮัร เบลคิน เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรมกิจการศาสนาตุรกี ย้ำว่า ค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้รับทุนจากผู้มีจิตศรัทธา จากภาคเอกชนและการได้รับของขวัญ แต่ยังนักวิจารณ์ที่ไม่เชื่อในเรื่องนี้และเชื่อว่าด้วยการกระทำเช่นนี้ ตอบยิบ เออร์โดกัน ประธานนาธิบดีตุรกี มีความมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูมรดกของจักรวรรดิออตโตมันอีกครั้ง กลุ่มฆราวาสและชาตินิยมในแอลเบเนียซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ภายใต้ของการปกครองของคอมมิวนิสต์มาช้านาน (ปฏิเสธพระเจ้า) เกิดความตะลึงและฉงนใจขึ้นมาว่า อาคารรัฐสภาของพวกเขาจะกลายเป็นอาคารที่เล็กโดยปริยาย เมื่อเทียบกับมัสยิดใหญ่แห่งติรานา และอีกด้านหนึ่งนั้นหากมองในด้านพลเมืองที่ให้การสนับสนุนและรูปแบบของสถาปัตยกรรมและสไตล์มัสยิดออตโตที่มีความใหญ่โตแห่งติรานานั้นเป็นการบ่งชี้ถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้
ประชาชนชาวแอลเบเนียส่วนใหญ่กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐ หลังจากพ้นยุคสมัยของคอมมิวนิสต์แล้วได้อนุญาตให้มีการสร้างวิหารโบสถ์อันใหญ่ให้กับชาวคริสต์นิกายคาทอลิกและออโตดอกส์ในติรานา แต่ปล่อยให้ชาวมุสลิมทำการนมัสการ (นมาซ) นอกสถานที่ท่ามกลางอากาศที่หนาวเหน็บ (เนื่องจากการนมาซอีดฟิตร์และกุรบานของมวลมุสลิม จะทำการนมาตามท้องถนนหลักในใจกลางเมืองอิสกันดาร์ บิก) สำหรับพี่น้องมุสลิมผู้ศรัทธาต้องนมาซภายในมัสยิดเล็ก ๆ หลังหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 19 ท่ามกลางสายฝนและความหนาวเย็นที่พัดผ่านมา ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าทำไมรัฐบาลจึงล่าช้าในการอนุญาตให้สร้างมัสยิดตีรานาเช่นนี้ แต่จะอย่างไรก็ตามในที่สุดในปี 2013 ก็ออกคำสั่งให้ทำการก่อสร้างมัสยิด
บทบาทของตุรกีในสังคมอิสลามแห่งแอลเบเนียนั้นมีนัยยะที่นอกเหนือจากการก่อสร้างมัสยิด ในบรรดางานสัมมนามุสลิมทั้งเจ็ดครั้งที่จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในแอลเบเนียนั้น มี 6 ครั้งด้วยกันที่เชื่อมต่อกับ Gulen ตุรกีซึ่งเป็นประธานจัดงาน สำนักงานพัฒนาตุรกี (Tika) ในแอลเบเนียจนถึงวันนี้ ได้ทำการโครงการสำเร็จมาแล้ว 248 ครั้งด้วยกัน นอกเหนือไปจากการบริจาคและการช่วยเหลือทางการเงินแล้ว ชาวแอลเบเนียจำนวนมากต่างตอบรับการแทรกซึมของตุรกีในฐานะเป็นทางสายกลางในการเผชิญหน้ากับกับการแพร่กระจายของพวกก่อการร้ายมุสลิม (หัวรุนแรง)
โอลา โควารา เผยว่า มุฟตีแห่งกรุงตีรานา เปิดเผย กรณีมีพลเมืองมุสลิมในประเทศจำนวน 150 คนเข้าร่วมกับกลุ่มไอซิสในซีเรีย ซึ่งเขาถือว่า บรรดาสลาฟีและวะหาบีที่เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันต่างๆ ในประเทศในปี 1990 เป็นตัวการละต้นเหตุในเรื่องนี้(ผู้ก่อตั้งสถาบันเหล่านี้จำนวนมากถูกไล่ออกจากแอลเบเนียหลังจากเหตุการณ์ 11 กันยา )
โอลา โควารา กล่าวว่า ส่วนใหญ่ชาวแอลเบเนียจะเป็นศัตรูกับกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงและส่วนใหญ่จะมีความสนใจและเป็นมิตรกับอิสลามสายกลาง (ซึ่งจะหมายถึงอิสลามแบบตุรกี) และในความเป็นจริงแล้วมุสลิมในแอลเบเนียจะมีความอ่อนแอเสียยิ่งกว่ามุสลิมในตุรกีและโน้มเอียงคลั่งไคล้ตะวันตกอย่างมาก
ในอีกด้านหนึ่งในสถาบันศาสนาในตุรกีก็มีความขัดแย้งภายใน รัฐบาลตุรกีจะมีความสัมพันธ์ร้าวกับ Gulen และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ Gulen หลายคนถูกจองจังในคุก
การแทรกซึมของกรมศาสนาตุรกีในบางประเทศ
ครั้นที่ เออร์โดกัน ได้มาเยือนแอลเบเนียในปี 2014 และเขาได้เข้าร่วมพิธีเปิดการก่อสร้างมัสยิดกรุงติรานา เขาได้เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐบาลแอลเบเนียสั่งปิดโรงเรียนที่อยู่สังกัดของ Gulen แต่เจ้าหน้าที่แอลเบเนียปฏิเสธคำขอนี้ อย่างไรก็ตามในแอลเบเนียและประเทศอื่น ๆ ที่สังคมและชุมชนมุสลิมได้รับการสนับสนุนจากตุรกีได้รับการกดดันอย่างหนัก กะรัม อักตัม ศาสตราจารย์ชาวเตริก์แห่งมหาวิทยาลัยเป็น “กราซ” ออสเตรีย กล่าวว่า เออร์โดกัน เป็นผู้บีบบังคับให้พวกเขาออกไป !
ในทางตรงกันข้าม กรมศาสนาตุรกียังคงขยายอิทธิพลและการเข้าไปแทรกซึมในประเทศต่างๆที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับจักรวรรดิออตโตมัน
ในปี 2014 Erdogan ได้กล่าวว่า ประเทศคิวบาก่อนที่จะถูกค้นพบโดยคริสโตเฟอร์โคลัมบัส มีมุสลิมอยู่อาศัยมาก่อนแล้ว ซึ่งการแสดงทัศนะของเขาเพื่อจะใช้โอกาสเพื่อจะสร้างมัสยิดในประเทศนี้
ตุรกียังมีแผนที่จะสร้างมัสยิดในประเทศเฮติอีกด้วย
กะรัม อักตัม กล่าวสรุป ว่า เป้าหมายหลักของตุรกีในการนี้เพื่อเข้าไปแทรกซึมในดินแดนใหม่ต่างๆ และยังมีความคิดที่ว่า “ตุรกีจะต้องเป็นผู้นำของโลกอิสลาม”
อ้างอิง http://iqna.ir/fa/news/3472679/پشت-پرده-حمایت-ترکیه-از-ساخت-مساجد-در-آلبانی