อิสลามเชิญชวนมนุษย์สู่อะไร ?

1593

หลักการที่อิสลามเชิญชวนมนุษย์ มีอยู่สามหลักพื้นฐาน ที่เรียบง่าย และชัดเจน ได้แก่

หลักที่ 1 สิ่งที่จำเป็นที่สุดสำหรับชีวิตคือ การใช้ชีวิตของมนุษย์ คือ การได้มาซึ่งความสำเร็จ หรือความผาสุข  

ไม่มีใครที่จะสงสัยในเรื่องนี้  เพราะไม่ว่าใครต่างก็คิดว่า พวกเขาต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตกันทุกคน  เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต ที่หวังที่จะประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ พวกเขาต้องการขจัดความต้องการ และทำให้ความบกพร่องในชีวิตสมบูรณ์ แม้แต่ผู้ที่เสียสละทรัพยสินและสิ่งที่ตนมีเพื่อผู้อื่น หรือผู้ที่ยอมทนทุกข์เพื่อให้ประชาชนสุขสบาย ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขาต่างก็ต้องการได้มาซึ่งการประสบความสำเร็จในชีวิต แม้ว่าจะต้องกระทำในสิ่งที่ขมขื่นและเหนื่อยยากก็ตาม หรือแม้แต่คนที่ผู้มีจิตใจกล้าหาญ พวกเขาต่างก็ถือว่าความสำเร็จ คือ การโอบกอดความตาย

ความสำเร็จอันนี้แหละ คือ สิ่งที่ท่านศาสดา ได้เริ่มต้น เชิญชวน สู่แนวทางนิ้ เช่น ที่ท่าน กล่าวว่า
«قولوا لا اله‏ إلّااللَّه تفلحوا»

“จงกล่าวเถิดว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ แล้วพกวท่าน จะประสบความสำเร็จ”

อ้างอิง : حكم النبى الاعظم ، ج‏1، ص 524

หลักที่ 2 มนุษย์ จำต้อง มองด้วยความเป็นจริง สำหรับ การได้มาซึ่งความสำเร็จ

เมื่อทุกคนต้องการประสบความเร็จ ซึ่งหมายถึงความสำเร็จจริงๆ ไม่ใช่การคาดเดา เลื่อนลอย หรือสมมุติ พวกเขาจะต้องมองหรือมีทัศนะอย่างแท้จริงด้วย คนที่หิวต้องการกินข้าว คนที่กระหายต้องการดื่มน้ำ เขาต้องการข้าว ต้องการน้ำจริงๆ ไม่ใช่สิ่งสมมุติ เขาต้องการสิ่งที่จะขจัดความหิว และกระหายได้จริงๆ ไม่ใช่ของปลอม  นั่นคือเขาต้องการ ไปสู่เป้าหมายที่สำเร็จอย่างแท้จริง ไม่ใช่การมโนภาพหรือการคาดไปเอง

สมมติว่า มนุษย์เราใช้ชีวิตกันสองรูปแบบ ในแบบที่หนึ่ง คือใช้ชีวิตอย่างราชา สุขสบาย และได้ทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการ แต่เป็นเพียงแค่ความเลื่อนลอย ไม่ใช่ความจริง และเป็นความคิดที่ผิด กับอีกชีวิตหนึ่ง คือใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย เป็นไปตามความเหมาะสม แต่เป็นชีวิตที่มีฐานจากการการมองด้วยสิ่งที่เป็นจริง  อยู่กับความเป็นจริง เมื่อเราเอาสองชีวิตมาเปรียบเทียบกัน   สามัญสำนึกของเขาย่อมเลือกชีวิตในรูปแบบที่สอง

ผลจากการ มีวิสัยทัศน์ที่สัจจริง คือ สำหรับผู้ที่ศึกษาแนวทางที่แท้จริงของอิสลาม ศึกษา อัลกุรอ่าน และ อัลฮาดิษ เขาจะไม่สงสัยเลยว่า แต่ละประโยคที่เป็นรากฐานของอิสลาม วางอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงที่มั่นคงของมนุษย์ ผลที่ได้รับก็คือ มนุษย์ จะปฏิบัติตามความจริง ,สัจธรรมในทุกสภา เขาจะยอมจำนนต่อสัจธรรม แม้ว่ามันจะขัดแย้งกับ อารมณ์ใฝ่ต่ำของเขาก็ตาม ตัวอย่างเหมือนกับคนป่วยที่ต้องรักษาสุขภาพเขาจะปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์เพื่อขจัดโรคที่ตัวเองมีให้หายไป และเหมือนกับสังคมทุกคนที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งในความเป็นจริงกฎหมายเหล่านี้จะต้องถูกปฏิบัติ แม้ว่ามันจะขัดแย้งกับความเห็นของคนบางกลุ่มก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ในทัศนะของอิสลาม การเชื่อฟัง สัจธรรม ครอบคลุมทุกมิติ และสภาพการ และไม่มีอื่นจากนี้ ไม่มี โมฆะชั่วครู่ สัจธรรมชั่วคราว โมฆะส่วนหนึ่ง และ สัจธรรมอีกส่วน

อัลกุรอ่านชี้นำว่า หากละทิ้งสัจธรรมแล้ว ไม่มีอะไรอื่น นอกจากความหลงผิด
فَمَاذَا بَعْدَ الْحَقِّ إِلَّا الضَّلَالُ ۖ فَأَنَّىٰ تُصْرَفُونَ

“ฉะนั้นหลังจากความจริงแล้วจะมีอะไรอีกเล่า นอกจากความหลงผิดเท่านั้น แล้วทำไมเล่าพวกท่านจึงถูกให้หันเหออกไปอีก?” บทยูนูส : 32

และเช่นเดียวกัน อัลกุรอ่านยังชี้นำว่า  หากสัจธรรม คือ สิ่งที่สอดคล้องกับ อารมณ์ใฝ่ต่ำ โลกจะต้องพินาศย่อยยับอย่างแน่นอน

وَلَوِ اتَّبَعَ الْحَقُّ أَهْوَاءَهُمْ لَفَسَدَتِ السَّمَاوَاتُ وَالْأَرْضُ وَمَنْ فِيهِنَّ ۚ بَلْ أَتَيْنَاهُمْ بِذِكْرِهِمْ فَهُمْ عَنْ ذِكْرِهِمْ مُعْرِضُونَ

“และหากว่าความจริงนั้นสอดคล้องอารมณ์ใฝ่ต่ำของพวกเขาแล้ว ชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดินและสิ่งที่อยู่ในนั้นต้องเสียหายอย่างแน่นอน แต่ทว่าเราได้นำข้อเตือนสติของพวกเขา (คืออัลกุรอาน) มาให้พวกเขาแล้ว แต่พวกเขาเป็นผู้หันหลังให้กับข้อเตือนสติของพวกเขา”

บท มุอฺมีนูน  :71

นี่คือ ความจริง ในอิสลาม ซึ่งสอดคล้องกับ สามัญสำนึกของมนุษย์ และไม่ต้องสงสัยเลยว่า ไม่มีสามัญสำนักของมนุษย์คนใดที่ บอกกับมนุษย์ว่า อย่าตามสิ่งที่เป็นสัจธรรม

แน่นอน ในสังคมของมนุษย์ ย่อมมี ผู้ที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับธรรมะ และต่อต้านสัจธรรม แต่ถึงกระนั้น บางส่วนก็รู้ตัวว่า การต่อต้านสิ่งที่ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องที่น่าตำหนิและขัดแย้งกับคุณธรรมในจิตใจ และบางส่วนก็พยายามต่อต้านและสำนึกเสียใจต่อการต่อต้านคุณธรรมความดี พวกเขาได้เปลี่ยนแปลงตนเอง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่พวกเขาต้องการคือ การกลับสู่ทางที่ถูกต้องอีกครั้ง ทว่าเหนือสิ่งอื่นใด ประเด็นเรื่องความจำเป็นต่อการปฏิบัติตามสัจธรรม ต่อการปฏิบัติตามสิ่งที่ถูกต้อง  ก็ถือเป็นหลักที่สอดคล้องกับสติปัญญา และชัดเจนโดยตัวของมัน

หลักที่ 3 ในระหว่างการเดินทางของชีวิต มนุษย์จะต้องก้าวหน้าในการรู้จักวิธีใช้สติปัญญา

การที่มนุษย์ จะสามารถดำรงชีวิต บนเส้นทางที่ถูกต้องได้ เข้าจะต้องรู้จักวิธีใช้สติปัญญาอย่างถูกต้อง ไม่ใช่ใช้ความรู้สึก เพราะ คุณลักษณะที่ทำให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์ ก็คือ พลังแห่งสติปัญญา

พวกเขาสามารถกระทำทุกการงาน และตัดสินได้ โดยอาศัย พลังแห่งสติปัญญาอันนี้  และด้วยพลังอันนี้ มันจะทำให้พวกเขา สามารถแยกแยะ ผิด ถูก ชั่ว ดี จริง เท็จ และทำให้เขาสามารถตัดสินใจทำในสิ่งที่เหมาะสม และไม่ทำในสิ่งที่เหมาะสม ส่วน บรรดาสรรพสัตว์ จะใช้สัญชาติญาณดิบ ในการดำรงชีวิต

ด้วยสติปัญญา และความคิด จะนำพามนุษย์ไปสู่ความสำเร็จ และ ความผาสุข  ในชีวิตปัจเจก และสังคมของมนุษย์ พวกเขาจะต้องใช้ การใช้เหตุผลและตรรกะของมนุษย์ ในการใช้ชีวิต ไม่ใช่ วิธีการใช้ชีวิตแบบสัตว์ ปัญหาของมนุษย์ ไม่ได้อยู่ตรงที่ พวกเขาไม่มีสติปัญญา แต่อยู่ตรงที่พวกเขาไม่ใช้สติปัญญา

ความมั่นคงของหลักการนี้ ในโลกแห่งความเป็นมนุษย์ มีความชัดเจนถึงขั้นที่ ไม่มีผู้ใดบนโลกนี้ ที่จะพูดว่า การมีสติปัญญา และการใช้สติปัญญา ถือเป็นสิ่งที่ไม่ดี และไม่มีใครชอบที่จะอยู่อย่าง ไร้ปัญญา และอิสลามก็เรียกร้องมนุษย์ไปสู่สิ่งนี้

ผลของหลักทั้งสามประการ

จากหลักทั้งสามประการที่ได้นำเสนอไป ทำให้เราได้ข้อสรุปว่า มนุษย์จะต้องแสวงหาการประสบความสำเร็จของชีวิตที่เป็นจริง  ทั้งในด้านวัตถุ และ จิตวิญญาณ  ด้วยการใช้สติปัญญาและการใคร่ครวญ เป็นประตู เปิดไปสู่หนทางที่ถูกต้อง  ไม่มีใครในโลกนี้ ที่ไม่ต้องการความสำเร็จ หรือ ไม่ต้องการความสำเร็จที่เป็นจริง หรือ หากจะมีมนุษย์ ที่ไม่ใช้สติปัญญา เขาก็คงเปรียบดั่งเด็กแรกเกิดิ หรือ มนุษย์ที่ไม่ใช้ของขวัญที่ตัวเองได้รับ และในความเป็นมนุษย์ของเขา ก็จะไม่มีทางไปสู่ ความสมบูรณ์