รัสเซียกำลังขยายอิทธิพลด้านนิวเคลียร์ของตนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

1693

irna – ทางการรัสเซียได้เปิดเผยกรณีจัดตั้งคณะกรรมการทำงานให้ความร่วมมือในด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในพม่า เพื่อเพิ่มอิทธิพลด้านนิวเคลียร์ของตนเองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเผชิญหน้ากับอเมริกา

ในช่วงปีที่ผ่านมารัสเซียได้ลงนามข้อตกลงกับรัฐบาลพม่าชุดก่อนที่เป็นรัฐบาลกึ่งทหารซึ่งในบันทึกข้อตกลงได้ลงนามความร่วมมือในภาคส่วนการใช้พลังงานนิวเคลียร์อย่างสันติวิธีกับประเทศนี้

นี่คือขั้นตอนแรกของการสร้างกลไกทางกฎหมายแห่งความร่วมมือระหว่างรัสเซียและพม่าในด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยการผลิตสารไอโซโทปรังสี เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ความปลอดภัยนิวเคลียร์และการฝึกอบรมนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญ

นิโคไล โดรุสโดฟ ประธานผู้จัดการธุรกิจนานาชาติ Rosatom ได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ “พม่าไทม์ส”เมื่อวันพุธที่8 ว่า เราตั้งใจที่จะสร้างคณะทำงาน และเช่นเดียวกันเรามีการจัดทำแผนและโครงงานสำหรับการดำเนินการในด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อสันติ

เช่นเดียวกันนี้ในปี 2007 ยุคการปกครองของทหารในพม่า รัสเซียได้ลงนามข้อตกลงกับรัฐบาลในความร่วมมือด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์และศูนย์การวิจัยนิวเคลียร์ในประเทศพม่า

ประธานผู้จัดการบริษัทธุรกิจนานาชาติ Rosatom กล่าวว่า ตลอด 10 ปีที่ผ่านนักศึกษาพม่าจำนวนมากได้รับการฝึกฝนในด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์

เขากล่าวเสริมว่า ในปีนี้ทางมอสโกได้มอบสามทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาพม่าในด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ซึ่งนักศึกษาพม่าได้สำเร็จการศึกษาจากรัสเซียในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนิวเคลียร์อื่นที่ไม่ใช่นิวเคลียร์ฟิสิกส์แล้วจำนวน700 กว่าคน

บริษัทธุรกิจนานาชาติ Rosatom กำลังแสวงหาโอกาสในการลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพร้อมที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ที่ครอบคลุมในด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ให้กับประเทศในภูมิภาค

บริษัทธุรกิจนานาชาติ Rosatom ได้ทำการเปิดสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเป็นครั้งแรกในสิงคโปร์เมื่อปี 2012 ตามคำกล่าวของเจ้าหน้าที่ของบริษัทว่า นับตั้งแต่นั้นมาเราได้จัดโปรแกรมที่หลากหลายให้กับประเทศในภูมิภาคเยี่ยมชมจากโรงงานนิวเคลียร์ของรัสเซียหลายครั้ง

บริษัทนี้ยังมีการสร้างสองโรงไฟฟ้าเครื่องปฏิกรณ์น้ำมวลเบาในเวียดนาม และได้รับรางวัลการออกแบบเบื้องต้นของโรงไฟฟ้า 10 เมกะวัตต์ในอินโดนีเซีย

นิโคไล โดรุสโดฟ กล่าวว่า เราไม่แน่ใจว่าที่จะมีประเทศในกลุ่มอาเซียนที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นมาอีกหลังจากที่เวียดนามได้สร้างแล้วเสร็จ  แต่ในขณะเดียวกันทางเรามีการเจรจากับอินโดนีเซียและมาเลเซียในความร่วมมือและความเป็นไปได้ในโครงการสร้างโรงงานพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศทั้งสอง

เขากล่าวว่า ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราได้ลงนามบันทึกข้อตกลงในความร่วมมือกับไทย พม่า ลาวและกัมพูชาในด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์อย่างสันติและขั้นตอนต่อไปจะขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละประเทศ

จีนและอินเดียเป็นประเทศเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่ด้านนิวเคลียร์ของพม่าซึ่งในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ใช้ประโยชน์จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และทางสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศกำลังตรวจสอบความคืบหน้าของ เริ่มต้นของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของบังกลาเทศที่เพิ่งเปิดใช้ปีนี้เป็นครั้งแรก

ตามรายงานของสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ  บังกลาเทศได้ดำเนินการก่อตั้ง องค์กรกำกับดูแลความปลอดภัยนิวเคลียร์ และทางบริษัท Rosatom ก็ได้ตกลงที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในจังหวัดหนึ่งของบังกลาเทศ ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของกรุง ดากาบังกลาเทศประมาณ  160 กม.

Rosatom กำลังมองหาโอกาสในการลงทุนภาคธุรกิจในภูมิภาค และได้เชิญคณะผู้แทนจากต่างประเทศจำนวนมากและสื่อแขนงต่างๆเข้าร่วมงานนิทรรศการนานาชาติ ‘อะตอมเอ็กซ์โป’ ณ.กรุงมอสโกครั้งที่แปด และตลอดงานทางมอสโกสามารถลงนามข้อตกลงจำนวน 30 ฉบับ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 10 พันล้านดอลลาร์

ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลก ภายในในปี 2050 จะถึงหนึ่งพัน กิกะวัตต์

‘Sergey Kiriyenko’ ประธานรัฐคอร์ปอเรชั่น Rosatom กล่าวว่า การใช้พลังงานนิวเคลียร์ในรูปแบบของการผลิตกระแสไฟฟ้าโหลดฐานเป็นสิ่งที่ดี ความแตกต่างระหว่างพลังงานนิวเคลียร์และพลังงานทดแทนในการผลิตของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะมีในลักษณะนี้ และสามารถเป็นพื้นฐานสำหรับความสมดุลในการผลิตกระแสไฟฟ้าปลอดคาร์บอนอีกด้วย

โรงงานไฟฟ้าโหลดฐานเป็นโรงไฟฟ้าจำเป็นต้องใช้เครือข่ายพลังงานไฟฟ้าขั้นต่ำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปริมาณความต้องการขั้นต่ำสำหรับการไฟฟ้าใน 24 ชั่วโมง

ตามรายงานของสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในปัจจุบันมีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั่วโลกจำนวน 444 ซึ่งมีความจุสุทธิ 386,000  และ276 เมกะวัตต์ที่ใช้ในการหมุนเวียน และอีก 65 แห่งกำลังดำเนินการก่อสร้าง

‘Anna Brynda’ รองที่ปรึกษาประธานบริษัท ‘Yv.ayks’ ของสหรัฐ เชื่อว่า ตลาดพลังงานนิวเคลียร์ค่อนข้างช้าเพราะขั้นตอนของความสมดุลและการตั้งค่าใหม่นั้นจะใช้เวลานานพอสมควร